x
icon-filter ค้นหาบ้าน
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter

บ้านเก่าอายุมากกว่า 15 ปีควรตรวจอะไรบ้าง?

icon 18 ก.ค. 66 icon 22,174
บ้านเก่าอายุมากกว่า 15 ปีควรตรวจอะไรบ้าง?
บ้านเก่าที่อยู่ไปนานๆ อายุมากกว่า 15 ปีนั้น เป็นบ้านที่มักจะเริ่มทำการต่อเติมหรือรีโนเวทรอบใหญ่ เนื่องจากมีการเพิ่มจำนวนของสมาชิกภายในบ้าน และยังเป็นช่วงที่บ้านหรือตัวอาคารเริ่มเกิดความเสื่อมโทรม เจ้าของบ้านอาจพบปัญหาต่างๆ ทั้งเล็กและใหญ่จุกจิกที่ส่งผลต่อการอยู่อาศัยมากขึ้น  โดยปัญหาที่พบเจอบ่อยๆ ก็จะเกี่ยวกับวัสดุกรุผิวในส่วนต่างๆ และปัญหาเรื่องงานระบบ วันนี้เราได้มืออาชีพ SCG HOME มาแชร์ความรู้และบอกวิธีแก้ปัญหาสำหรับบ้านเก่าค่ะ โดยในตอนนี้เราจะพูดถึงการตรวจสอบวัสดุกรุผิวและงานระบบอาคาร

ปัญหาเกี่ยวกับวัสดุกรุผิวในส่วนต่างๆ

ปัญหาที่เกิดขึ้นกับบ้านเก่าส่วนมากคือความเสื่อมของวัสดุกรุผิวอาคาร ซึ่งก็คือพวก วัสดุตกแต่งพื้นและผนังต่างๆ รวมถึงวัสดุมุงหลังคา เป็นต้น เรามาดูกันว่ามีอะไรบ้างและควรแก้ไขอย่างไรค่ะ

1. วัสดุกรุพื้น

พื้นที่จอดรถหรือทางเดินรอบบ้านแตกร้าวเนื่องจากการทรุดตัวไม่เท่ากันของพื้นที่
จุดสังเกต
อาจเริ่มสังเกตว่าพื้นเริ่มแยกและมีระดับที่แตกต่างกัน หรืออาจมีอาการทรุดตัวเป็นแอ่งลงไปตรงกลางผืนที่จอดรถโดยมีรอยร้าวร่วมด้วย มักเกิดจากสาเหตุที่โครงสร้างพื้นที่ใช้ในบริเวณดังกล่าวนั้นมักจะเป็นโครงสร้างพื้นวางบนดิน (Slab on ground) โดยปราศจากโครงสร้างใต้ดินหรือเสาเข็มรองรับด้านล่าง แตกต่างกับโครงสร้างบ้านที่ถูกออกแบบเป็นโครงสร้างพื้นที่วางบนคาน (Slab on beam) ซึ่งภายใต้ตัวบ้านนั้นจะมีโครงสร้างเสาเข็มรองรับ โดยรอยแยกที่ว่านี้ไม่เป็นอันตรายและไม่มีผลทำให้โครงสร้างบ้านของเราพังทลาย เพียงแต่อาจสร้างความหงุดหงิดใจและทำให้การใช้งานในบริเวณนั้นเป็นไปอย่างยากลำบาก
วิธีการแก้ไข

โฟมเส้นที่ใช้ในการอุดรอยต่อ
หากเจ้าของบ้านท่านใดที่ไม่อยากรื้อทุบพื้นเดิมนั้นสามารถแก้ไขโดยการตัดแยกรอยต่อระหว่างพื้นโครงสร้างที่วางบนคานและพื้นโครงสร้างที่วางบนดิน จากนั้นบริเวณรอยต่อที่ทำการตัดแยกอาจใช้วิธีโรยกรวด หรือกรณีที่รอยร้าวมีไม่มากนักอาจใช้วิธีอุดรอยต่อด้วยโฟมเส้นและยาแนวด้านบนด้วยวัสดุอุดรอยต่อ อาทิ PU หรือ ซิลิโคน
ใช้กรวดโรยเพื่อความสวยงามปกปิดช่องว่างระหว่างรอยต่อของพื้น
ส่วนกรณีที่รอยร้าวเกิดขึ้นบริเวณกลางผืนที่จอดรถโดยมีรอยแยกบริเวณขอบรอยต่อร่วมด้วยนั้น วิธีนี้การตัดแยกโครงสร้างอาจไม่สามารถแก้ปัญหาได้ทั้งหมด ควรทำการสกัดพื้นที่จอดรถเดิมที่มีปัญหาและทำการเทพื้นบริเวณใหม่ ซึ่งวิธีการเทพื้นใหม่นั้นควรแยกรอยต่อระหว่างโครงสร้างบ้านและพื้นที่จอดรถเช่นกัน รวมถึงหากเป็นการเทคอนกรีตใหม่บนพื้นที่ขนาดใหญ่มากๆ ควรทำการตัดแยกรอยต่อบนพื้นทุกๆ 3 เมตร เพื่อป้องกันการแตกร้าวอันเนื่องมาจากการยึดหดตัวของคอนกรีต

บล็อกปูพื้นและกระเบื้องคอนกรีต
หรืออาจเลือกใช้เป็นบล็อกปูพื้นหรือกระเบื้องคอนกรีตทดแทนพื้นคอนกรีตก็ได้เช่นกัน เพราะหากเกิดการทรุดตัวเพิ่มเติมอีกก็ไม่ทำให้วัสดุปูพื้นเสียหาย เนื่องจากสามารถรื้อบล็อกหรือกระเบื้องคอนกรีตขึ้นมาทำการปรับระดับและติดตั้งใหม่ก็ง่ายและประหยัดด้วยนะคะ ยิ่งปัจจุบันมีหลายหลากรูปแบบและสีสันให้เลือกใช้ น่าจะตอบโจทย์เจ้าของบ้านหลายท่านได้ดีทีเดียว
2. วัสดุกรุผนัง

เชื้อราบนผนัง
จุดสังเกต
สีลอกร่อน ผนังเป็นเชื้อรา เกิดจากความชื้นสะสมบริเวณผนังเป็นสัญญาณว่าอาจมีรอยร้าวบริเวณผนังหรือสีทาผนังอาจมีการเสื่อมสภาพ มักเกิดขึ้นบริเวณชั้น 1 สูงจากพื้นประมาณ 1 เมตร
วิธีการแก้ไข
ก่อนอื่นควรทำความสะอาดและกำจัดเชื้อราจากผนังเสียก่อน จากนั้นจึงแก้ปัญหาการรั่วซึมของผนังโดยใช้ผลิตภัณฑ์กันซึม โดยใช้เครื่องเจียร์ขัดสีออกให้เหลือแต่เนื้อปูนโดยมีระยะสูงจากพื้นประมาณ 1 เมตร จากนั้นจึงทาด้วยผลิตภัณฑ์กันซึม ทิ้งไว้ประมาณ 15-20 วัน จากนั้นเมื่อตรวจสอบว่าผนังไม่มีความชื้นแล้ว ก่อนจะทาการทาสีบริเวณผนังด้านนอกควรทำการทาน้ำยาป้องกันความชื้น ให้สูงจากพื้นประมาณ 1 เมตร จากนั้นทิ้งให้แห้งอย่างน้อย 3-4 ชั่วโมง จากนั้นจึงเข้าสู่ขั้นตอนทาสีต่อไป โดยควรเลือกใช้สีที่มีประสิทธิภาพป้องกันความชื้นได้ดี เพื่อช่วยป้องกันป้ญหาสีลอกร่อนที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
3. วัสดุหลังคา
กระเบื้องหลังคาแตกร้าว

การเสื่อมสภาพของหลังคา
จุดสังเกต
ตรวจสอบสภาพความสมบูรณ์ของกระเบื้องหลังคาว่ามีการแตกร้าวหรือไม่ เนื่องจากอาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดการรั่วซึมขึ้นได้ หากเจ้าของบ้านยังไม่สัมผัสถึงน้ำที่มีการรั่วซึมลงมาภายในอาคาร อาจใช้วิธีการสังเกตรอยคราบน้ำบริเวณฝ้าภายในบ้านก็ได้เช่นกัน เพราะนั่นคือสัญญาณบอกเหตุว่าหลังคาของเราอาจจะเริ่มมีปัญหานั่นเอง 
วิธีการแก้ไข
เบื้องต้นหากพบคราบน้ำหรือพบการรั่วซึมภายในอาคาร ควรทำการตรวจสอบสภาพหลังคาว่ามีส่วนใดชำรุดเสียหายหรือไม่ เพราะนอกจากสาเหตุจากตัวกระเบื้องหลังคาแล้ว อาจมีสาเหตุมาจากปัจจัยอื่นๆร่วมด้วย อาทิ อุปกรณ์ครอบต่างๆ อาจมีการแตกหักเสียหาย หรืออาจเกิดจากปัญหาน้ำล้นรางก็เป็นไปได้เช่นกัน หากเจ้าของบ้านไม่ชำนาญในการตรวจสอบ อาจทำการติดต่อผู้เชี่ยวชาญเข้าตรวจสอบเพิ่มเติมเพื่อทำการวิเคราะห์หาสาเหตุและทำการซ่อมแซมต่อไป หรือหากต้องการปรึกษาเพิ่มเติมสามารถติดต่อ SCG HOME ซึ่งมีทั้งบริการซ่อมแซมและเปลี่ยนหลังคาทั้งผืนโดยช่างผู้เชี่ยวชาญได้
หลังคาสีซีดจางหรือเกิดราดำ
จุดสังเกต
ปัญหาหลังคาสีซีดหรือเกิดสิ่งสกปรกเกาะที่พื้นผิวจนทำให้เกิดความไม่สวยงาม มักเกิดขึ้นได้กับบ้านพักอาศัยที่อยู่มานาน ทำให้บ้านดูหม่นหมองไม่สวยงามเหมือนก่อน โดยเฉพาะหลังคาที่ไม่ได้มีการเคลือบผิวก็มักจะมีคราบสกปรกและตะไคร่เกิดขึ้นเห็นได้ชัดเจนมากกว่ากระเบื้องผิวมันเนื่องมาจากพื้นผิวที่ขรุขระมากกว่าทำให้สิ่งสกปรกสามารถยึดเกาะได้มากกว่านั่นเอง 
วิธีการแก้ไข
สามารถทำความสะอาดด้วยเครื่องฉีดน้ำแรงดันสูงได้ แต่ทั้งนี้ควรระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการฉีดน้ำไปยังบริเวณรอยต่อหรือจุดเปราะบางเพราะอาจทำให้หลังคาเกิดการแตกหักหรือเสียหายได้ นอกจากนี้หลังคาทำความสะอาดหลังคาเรียบร้อยแล้วอาจทำการทาสีหลังคาใหม่เพิ่มเติมเพื่อคืนความสดใสให้บ้านของเรา หรือหากต้องการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติมสามารถติดต่อ SCG HOME ซึ่งมีบริการทาสีหลังคาเพื่อช่วยปรับโฉมให้บ้านคุณกลับมาสวยงามดังเดิม

ปัญหาเรื่องงานระบบ

1. งานไฟฟ้า
จุดสังเกต
ตรวจสอบอุปกรณ์ไฟฟ้า เต้ารับ เต้าเสียบ สายไฟ สวิตซ์ไฟ ว่ายังสามารถใช้งานได้ดีหรือไม่ หากพบว่ามีการฉีกขาดหรือผิดปกติในบริเวณใดควรรีบทำการแก้ไขเพราะอาจส่งผลต่อชีวิตและทรัพย์สินได้ โดยเฉพาะสายไฟที่เดินลอยอาจพบว่ามีอัตราความเสื่อมสูงกว่าสายไฟที่เดินในท่อร้อยสายไฟ
2. งานสุขาภิบาล
ระบายน้ำเสียออกนอกพื้นที่ไม่ได้
จุดสังเกต
ไม่สามารถระบายน้ำภายในบ้านออกสู่ท่อสาธารณะไม่ได้เนื่องจากบ้านต่ำกว่าถนน กรณีนี้อาจเกิดขึ้นได้เมื่อบริบทรอบๆบ้านของเรามีการเปลี่ยนแปลง เช่น มีการยกถนนหน้าบ้านให้สูงขึ้นส่งผลให้มีการยกระดับท่อระบายน้ำสาธารณะให้สูงขึ้นไปด้วย ทำให้การระบายน้ำจากภายในบ้านออกสู่ด้านนอกเป็นไปได้ยาก
วิธีการแก้ไข
ทำการปรับบริเวณรอบบ้าน โดยการทำขอบคันกั้นและขุดบ่อดักน้ำเอาไว้ แล้วใช้ปั๊มสูบน้ำออกภายนอกบริเวณบ้าน สำหรับน้ำทิ้งที่ไหลย้อนกลับมาทางท่อระบายน้ำสาธารณะ ต้องทำการอุดปิดตรงปากทางท่อระบายน้ำด้านที่ส่งน้ำลงท่อสาธารณะ จากนั้นต่อขอบบ่อพักเดิมให้สูงขึ้นและติดตั้งปั๊มจุ่มเพื่อสูบน้ำออก เพื่อให้สามารถรับน้ำทิ้งจากบ้านได้ตามปกติ
ขอขอบคุณข้อมูลความรู้ดีๆ จาก SCG HOME ถ้าอยากปรึกษาเรื่องการปรับปรุง ซ่อมแซมบ้านกับผู้เชี่ยวชาญติดต่อได้ที่
https://bit.ly/3CQUNku

 
แท็กที่เกี่ยวข้อง รีโนเวทบ้าน รีโนเวทบ้านเก่า บ้านเก่า
Property Guru
เขียนโดย ปรียานุช สองศร Property Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)