x
icon-filter ค้นหาบ้าน
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter

ผ่อนบ้านไม่ไหว มีทางออกอะไรบ้าง ?

icon 27 ต.ค. 64 icon 4,186
ผ่อนบ้านไม่ไหว มีทางออกอะไรบ้าง ?
การได้มีบ้านเป็นของตัวเอง เป็นอีกหนึ่งเป้าหมายของชีวิตของหลายๆ คนเลยก็ว่าได้ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วก็คงกู้เงินซื้อบ้านกัน ทำให้ต้องผ่อนบ้านเป็นระยะยาวหลายสิบปี ซึ่งต่อให้ในวันที่ยื่นกู้ซื้อบ้านไปนั้นเรามีอาชีพการงานที่มั่นคง มีเงินเดือนที่พร้อม แต่ก็ไม่สามารถทราบถึงอนาคตได้อยู่ดีว่าจะเกิดเหตุไม่คาดคิดทางด้านการเงินขึ้นเมื่อไหร่ อีกทั้งในเรื่องของเศรษฐกิจที่ไม่แน่นอน วันนี้เราจะมาแนะนำวิธีการถ้าหากเราเริ่มเข้าสู่สภาวะผ่อนบ้านไม่ไหว ว่าจะมีทางออกอะไรให้เราได้บ้าง ?

 ผ่อนบ้านไม่ไหว มีทางออกอะไรบ้าง ?

เมื่อเราเริ่มรู้ตัวแล้วว่าอาจจะผ่อนบ้านต่อไปไม่ไหวแน่ๆ เช่น ตกงาน ขาดรายได้ประจำ เงินเดือนน้อยลง หรือประสบปัญหาจากเศรษฐกิจที่ถดถอย ให้เรารีบไปที่สถาบันการเงินที่เรากู้เงิน เพื่อเจรจาให้ใช้มาตรการช่วยเหลือแก่เรา โดยจะมีวิธีไหนบ้างนั้น มาดูกันค่ะ

1. ขยายเวลาชำระหนี้

วิธีนี้คือการเพิ่มระยะเวลาชำระหนี้ให้ยาวนานออกไป เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการผ่อนค่างวดต่อเดือนลดลง เป็นการแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายต่อเดือนนั่นเอง เหมาะกับผู้ที่มีรายได้ประจำแต่รายได้ลดลง ซึ่งมีเงื่อนไขว่าอายุของผู้กู้กับระยะเวลาที่ขอขยายเวลาชำระหนี้นั้นต้องไม่เกิน 70 ปี

2. พักชำระเงินต้น จ่ายแต่ดอกเบี้ย

วิธีนี้เป็นวิธีที่หลายๆ ธนาคารมีออกมาเป็นมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ในช่วงโควิด-19 ซึ่งเป็นอีกวิธีที่ใช้ประนอมหนี้กับธนาคารด้วยเช่นกัน การพักชำระเงินต้น คือการขอผ่อนชำระเฉพาะดอกเบี้ยรายเดือน โดยไม่ต้องจ่ายเงินต้น แต่ข้อเสียคือ เมื่อครบกำหนดระยะเวลาการพักชำระเงินต้น จำนวนเงินต้นก็ยังมีเท่าเดิม ที่เราต้องจ่ายต่อไป

3. ลดยอดผ่อนชำระรายเดือนให้ต่ำกว่าปกติ

บางธนาคารมีมาตรการช่วยเหลือในเรื่องการให้ชำระค่างวดให้ต่ำกว่าปกติ โดยปรับลดให้ถึง 30% - 50% ส่วนใหญ่แล้วจะสามารถทำได้ไม่เกิน 2 ปี

4. โอนหลักทรัพย์เป็นของธนาคารชั่วคราว

เราสามารถโอนบ้านให้เป็นของสถาบันการเงินไปก่อนชั่วคราว แล้วค่อยขอซื้อคืนในภายหลัง วิธีนี้เราต้องโอนบ้านไปเป็นของสถาบันการเงิน แล้วเราจะเปลี่ยนสถานะกลายเป็นผู้เช่า ซึ่งทางสถาบันการเงินจะคิดค่าเช่าเราประมาณเดือนละ 0.4 - 0.6% ของมูลค่าหลักประกัน ต่อสัญญา 1 ปี และเมื่อเราต้องการซื้อคืน ส่วนใหญ่แล้วราคาขายจะคิดจากยอดหนี้ที่เหลือ ซึ่งเราก็สามารถขอสินเชื่อกับสถาบันการเงินเดิมได้เช่นกัน
 

5. พักชำระหนี้

การพักชำระหนี้จะสามารถพักการจ่ายได้ทั้งเงินต้น และดอกเบี้ย ใช้ในกรณีที่เราประสบปัญหาด้านการเงินจนทำให้ไม่สามารถจ่ายหนี้ได้จริงๆ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วสถาบันการเงินจะให้ระยะเวลาในการพักหนี้ประมาณ 3-6 เดือน หลังจากนั้นเราก็กลับมาชำระหนี้ใหม่ โดยส่วนที่พักชำระไปนั้นก็ไม่ได้หายไปไหนค่ะ หนี้ทั้งหมดก็ยังคงอยู่เหมือนเดิม

6. Refinance

การรีไฟแนนซ์ เป็นวิธีที่หลายคนใช้เป็นวิธีปกติของการผ่อนชำระหนี้ เพื่อปรับลดดอกเบี้ยเป็นประจำทุกๆ 3 ปีอยู่แล้ว ซึ่งก็เป็นอีกวิธีที่ใช้ในการประนอมหนี้ได้ด้วยเช่นกัน เงื่อนไขก็คือต้องมีการผ่อนชำระกับสถาบันการเงินมาก่อนขั้นต่ำ 3 ปี ซึ่งหลังจากนั้นดอกเบี้ยก็จะเริ่มสูงขึ้น เราสามารถสิ้นสุดสัญญากับสถาบันการเงินเก่า เพื่อไปยื่นเรื่องของรีไฟแนนซ์กับสถาบันการเงินใหม่ โดยเลือกสถาบันที่ให้ดอกเบี้ยต่ำ แต่ก็จะมีในเรื่องของค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม เช่น ค่าจัดการสินเชื่อ ค่าธรรมเนียม และค่าอื่นๆ แต่โดยรวมแล้วการที่ได้ดอกเบี้ยที่ต่ำเหมือนกับช่วง 3 ปีแรกของการกู้ จะทำให้สามารถจ่ายเงินต้นได้มากขึ้นเหมือนเดิม ก็จะสามารถปิดหนี้ได้เร็วขึ้นอีกด้วยค่ะ

7. Retention

การรีเทนชั่น ก็เป็นอีกวิธีที่หลักการจะคล้ายๆ กับการรีไฟแนนซ์ แต่จะเป็นการขอปรับลดดอกเบี้ยกับธนาคารเดิม ที่มีการผ่อนชำระมาแล้ว 3 ปี วิธีนี้จะมีข้อดีก็ตรงที่สถาบันการเงินเดิมของเรามีข้อมูลและเอกสารของเราอยู่แล้ว ทำให้ง่ายต่อการพิจารณาอนุมัติ ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายที่น้อยกว่าการรีไฟแนนซ์ แต่ทั้งนี้ก็อาจจะได้ดอกเบี้ยที่ต่ำไม่เท่ากับการรีไฟแนนซ์ ซึ่งเราก็ต้องไปพิจารณากันให้ดีอีกที

สำหรับวิธีทั้งหมดที่กล่าวมานี้ เป็นวิธีคร่าวๆ ที่เราสามารถเจรจากับทางสถาบันการเงินที่เรากู้เงินซื้อบ้านอยู่ในขณะที่เรากำลังประสบปัญหาด้านการเงินค่ะ ทั้งนี้ แต่ละสถาบันก็จะให้วิธีการแก้ปัญหาที่แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับเครดิตทางการเงินที่เรามี ประวัติการชำระเงินของเรา เป็นต้น อย่างไรก็ตาม เมื่อเราเริ่มกู้เงินซื้อบ้าน เป็นหนี้ในระยะยาวแล้ว เราก็ควรต้องมีการวางแผนทางการเงินให้ดี และควรจะต้องมีเงินเก็บเผื่อไว้ในยามฉุกเฉินด้วยค่ะ

แท็กที่เกี่ยวข้อง ผ่อนบ้าน
Property Guru
เขียนโดย เช็คราคา.คอม Property Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)