x
icon-filter ค้นหาบ้าน
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter

ปัญหาบ้านหน้าฝน : วิธีกันน้ำท่วมเข้าบ้าน ใช้ได้จริงรีวิวจากผู้ประสบภัย

icon 12 ต.ค. 65 icon 11,667
ปัญหาบ้านหน้าฝน : วิธีกันน้ำท่วมเข้าบ้าน ใช้ได้จริงรีวิวจากผู้ประสบภัย
ช่วงนี้พายุเข้าไม่เว้นวันเลย ปัญหาที่เจอนอกจากผ้าไม่แห้งแล้วน้ำก็ยังท่วมขังที่ถนนอีก นั่งดูข่าวค่ำกับครอบครัวก็เจอข่าวฝนตกต่อเนื่อง 5-7 วัน เตือนให้ประชาชนยกของขึ้นที่สูง ใจไม่ดีเลยใช่มั้ยคะ บ้านก็ไม่อยากทิ้ง ของก็ห่วง วันนี้เช็คราคา.คอมเลยรวบรวมวิธีรับมือกับน้ำท่วมแบบเบื้องต้น ด้วยการป้องกันหรือชะลอไม่ให้น้ำท่วมเข้าบ้านค่ะ
 1. กระสอบทราย
 
อย่างแรกที่คนชอบใช้กัน คลาสสิกสุดๆ เลยก็คือใช้ "กระสอบทราย" เพราะมีน้ำหนักสามารถต้านทานน้ำไหว หาง่าย แต่ข้อควรระวังก็คือต้องรู้จักวิธีการจัดเรียง เพราะถ้าเรียงๆ ไปก็จะเหมือนซื้อทรายมาละลายน้ำได้ วิธีที่ถูกต้องสามารถทำตามนี้ได้เลยค่ะ
  • เติมทรายแค่ครึ่งหนึ่งของกระสอบ รัดปากให้แน่น
  • เพื่อความมั่นคงให้ขุดฐานตรงกลางเพื่อวางกระสอบขุดให้ลึกพอดีกับ 1 กระสอบ และกว้างประมาณ 2 กระสอบ
  • ทำซ้อนขึ้นไปเรื่อยๆ คล้ายกับพิรามิดให้ฐานกว้างกว่าความสูง 3 เท่า
  • ใช้ถุงพลาสติกคลุมทับอีกชั้นและเอากระสอบทราบทับไว้
ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก www.mgronline.com
 2. เขื่อนอิฐบล็อก
 
เขื่อนอิฐบล็อกนี้เป็นผลงานของ รศ.ประภาส โฉลกพันธ์รัตน์ โดยเขื่อนกั้นน้ำอิฐบล็อกนี้เกิดจากการมองในระยะยาวที่มองว่าน้ำท่วมที่หมูบ้านทุกปี จะให้วางกระสอบทรายทุกปีคงไม่ไหว บวกกับอายุที่เยอะขึ้น ต้องทำเขื่อนให้เล็กที่สุดเพื่อกันน้ำเข้าบ้าน อุปกรณ์ที่ใช้ก็จะมีอิฐบล็อก แผ่นพลาสติก เทปกาว ถุงทรายขนาดเล็ก ส่วนขั้นตอนการทำนั้นมีดังนี้
  • เอาอิฐมาวางเรียงให้พอดีกับประตูหรือตรงที่น้ำจะเข้ามา
  • คลุมด้วยแผ่นพลาสติกชนิดเดียว แปะด้วยเทปกาวอีกครั้ง
  • เอากระสอบทราขนาดเล็กมาวางเพื่อป้องกันน้ำรั่วซึม
ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก https://home.kku.ac.th/pracha/Small%20Dam%20Construction.htm
 3. กระจกกั้นน้ำ
 
ไอเดียของ รศ.ประภาส โฉลกพันธ์รัตน์ อีกแล้วค่ะ เพื่อให้เหนื่อยน้อยลง ก้อนอิฐหนักเกินกว่าผู้สูงอายุจะทำไหว จึงเปลี่ยนมาเป็นกระจกแทน อุปกรณ์คือกระจก รางสำหรับเดินสายไฟ และกาวซิลิโคน ทำตามง่ายๆ ดังนี้
  • ตัดกระจกขนาดพอดีประตู
  • ติดรางเดินสายไฟไว้ที่ด้านหลังกระจกเพื่อรับน้ำหนักกระจกไว้
  • ยิงด้วยกาวซิลิโคนยึดให้ทั่ว
เมื่อน้ำลดลงก็กรีดกาวซิลิโคนและถอดกระจกมา แต่วิธีนี้อาจจะต้องทำสัญลักษณ์ไว้ด้วย เพราะกระจกใสอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่ายๆ เลย
ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก https://home.kku.ac.th/pracha/Small%20Dam%20Construction.htm
 4. บานเหล็กกั้นน้ำ
 
จากประสบการณ์น้ำท่วมเชียงใหม่และกระสอบทรายไม่อาจต้านทานน้ำได้ คุณทองกาญจนา (ชื่อใน www.bloggang.com) จึงได้คิดประดิษฐ์บานเหล็กกั้นน้ำ พร้อมกับใช้เครื่องสูบน้ำช่วย ทำให้น้ำไม่ทะลักเข้าไปสร้างความเสียหาย โดยอุปกรณ์ที่ใช้ก็จะมีบานเหล็กที่ออกแบบมาเฉพาะประตูบ้านและดินน้ำมัน ขั้นตอนการติดตั้งมีดังนี้
  • ติดบานเหล็กเข้ากับประตูรั้วบ้าน
  • ใช้ดินน้ำมันอุดตามรอยต่อระหว่างบานกับกรอบรางเหล็ก
  • ใช้เครื่องสูบน้ำช่วยในการควบคุมปริมาณน้ำ
ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก www.bloggang.com
อย่างไรก็ตามหากบ้านอยู่ท้ายเขื่อน หรืออยู่ในจุดที่ต่ำกว่าถนนมากๆ  อาจจะใช้วิธีดังกล่าวไม่ได้ผลเท่าไหร่นัก เพราะน้ำนั้นไม่ได้ไหลมาจากถนนทางเดียว แต่น้ำเป็นของเหลวที่แทรกซึมมาได้ทั้งทางบกและใต้ดิน คงต้องเตรียมรับมือกับการขนของขึ้นที่สูง เอารถยนต์ไปจอดในที่ที่ปลอดภัย และเตรียมอพยพย้ายถิ่นชั่วคราวไปจนกว่าสถานการณ์จะกลับมาปกติ เช็คราคา.คอมขอให้ทุกคนปลอดภัยตลอดหน้าฝนนี้นะคะ
แท็กที่เกี่ยวข้อง น้ำท่วม ป้องกันน้ำท่วม น้ำท่วมบ้าน
Property Guru
เขียนโดย เช็คราคา.คอม Property Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)