x
icon-filter ค้นหาบ้าน
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter

เลือก "แอร์ & พัดลม" อย่างไร ให้ "คุ้มเงิน" และ "ประหยัด" ที่สุด?

icon 28 เม.ย. 59 icon 15,222
เลือก "แอร์ & พัดลม" อย่างไร ให้ "คุ้มเงิน" และ "ประหยัด" ที่สุด?

เลือก "แอร์ & พัดลม" อย่างไร ให้ "คุ้มเงิน" และ "ประหยัด" ที่สุด?
อุณหภูมิช่วงนี้ในกรุงเทพวิ่งขึ้นไปเกือบ 40 องศาเซลเซียส เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ขายดิบขายดีในช่วงนี้ ก็คือ "แอร์ (เครื่องปรับอากาศ)" และ "พัดลม" อย่างไม่ต้องสงสัยค่ะ โดยเฉพาะ "แอร์บ้าน" นี้จะค่อนข้างที่จะคึกคักเป็นพิเศษ ยี่ห้อที่เป็นที่นิยมในท้องตลาด ก็ เช่น "แอร์มิตซูบิชิ" และ "แอร์ไดกิ้น" ฯลฯ โดยเฉพาะเดี๋ยวนี้เครื่องใช้ไฟฟ้าสามารถเปรียบเทียบราคากันล่วงหน้า และซื้อขายกันทาง Online ได้ด้วย เช่น "Central Online" www.central.co.th ทำให้การเลือกซื้อต่างๆ ทำได้ง่ายยิ่งขึ้น แต่ถึงแอร์ และพัดลมจะเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าพื้นฐานที่ทุกคนต้องมี แต่ในความเป็นจริงแล้ว ความแตกต่างเล็กๆ น้อยๆ ในสเปคของแอร์ และพัดลม รวมถึงประเภท และขนาดของสินค้าประเภทนี้ จะมีผลต่อค่าไฟฟ้า และค่าใช้จ่ายต่อเนื่องตามมาเยอะเหมือนกัน วันนี้ CheckRaka.com เลยถือโอกาสแนะนำวิธีง่ายๆ ในการเลือกซื้อแอร์ และพัดลม ให้ "คุ้มค่าเงิน" และ "ประหยัดไฟ" มาฝากกันค่ะ
ก่อนซื้อแอร์ต้องดูอะไรบ้าง?
สำหรับการเลือกซื้อแอร์บ้าน ในที่นี้ขอกล่าวถึง แอร์แบบแขวนผนัง ซึ่งนิยมใช้ในที่พักอาศัย เช่น บ้าน และคอนโด ละกันนะคะ โดยสิ่งที่ต้องคำนึงง่ายๆ มีอยู่ 3 อย่าง คือ 1) ระบบเครื่องปรับอากาศ 2) ขนาดของ BTU 3) ชนิดของน้ำยาแอร์ 4) อัตราการกินไฟฟ้า และ 5) การติดตั้ง
1) ระบบเครื่องปรับอากาศ
แอร์บ้านในท้องตลาดในปัจจุบันจะมีระบบเครื่องปรับอากาศอยู่ 2 แบบหลักๆ คือ Inverter และ Non-Inverter ค่ะ ระบบ Inverter จะเป็นระบบที่ใหม่กว่า และประหยัดไฟค่ะ ส่วน ระบบ Non-Inverter จะเป็นระบบที่เก่ากว่า แต่มีราคาที่ถูกกว่าค่ะ วิธีการเลือกซื้อก็ให้ดูตามลักษณะการทำงานที่จะสอดคล้องกับเรามากที่สุด ตามตารางด้านล่างกันเลยค่ะ


ตัวอย่าง เปรียบเทียบ ราคา แอร์ไดกิ้น ขนาด 12000 BTU ระหว่างรุ่นแบบ Non-Inverter และ Inverter
(แบบ Inverter จะมีราคาสูงกว่า แบบ Non-Inverter อยู่ 8,800 บาท) ส่วนถ้าเป็น แอร์มิตซูบิชิ ก็จะมีราคาที่ไล่เลี่ยกันค่ะ
ข้อมูลจาก Central Online ณ วันที่ 24 มี.ค.59

2) ขนาดของ BTU

ก่อนอื่นมาทำความรู้จักกับ BTU กันก่อนนะคะ BTU (British Thermal Unit) เป็นหน่วยที่ใช้วัดปริมาณความร้อนแบบหนึ่งของอังกฤษที่ใช้กับแอร์ และเครื่องทำความเย็นประเภทต่างๆ ค่ะ โดยความร้อน 1 BTU คือ ปริมาณความร้อนที่จะทำให้น้ำ 1 ปอนด์ มีอุณหภูมิเปลี่ยนแปลงไป 1 องศาฟาเรนไฮต์ หากเราเลือกซื้อแอร์ที่มีขนาด BTU ที่สูงไป Compressor ก็จะตัดบ่อย ห้องก็จะมีความชื้นสูง และสิ้นเปลืองไฟโดยไม่จำเป็นค่ะ ส่วนถ้าเราเลือกซื้อแอร์ที่มีขนาด BTU ที่ต่ำไป Compressor ก็จะทำงานตลอดเวลา ไม่ตัดเลย เพราะทำความเย็นไม่ถึงตามที่เราปรับไว้ เนื่องจากกำลังไม่พอ อายุการใช้งานของเครื่องก็จะสั้นลง รวมถึงเปลืองค่าไฟโดยรวมอีกด้วยค่ะ เพราะฉะนั้นถ้าจะให้ดีที่สุด เราควรเลือกซื้อแอร์บ้านให้เหมาะสมกับขนาดของห้องให้มากที่สุดค่ะ ดูได้ง่ายๆ จากตารางด้านล่างนี้เลยค่ะ


ตัวอย่าง เปรียบเทียบ ราคาแอร์ ยี่ห้อเดียวกัน แบบ Non-Inverter เหมือนกัน
ในตัวอย่างจะเป็น ราคา แอร์ไดกิ้น ส่วนถ้าเป็น แอร์มิตซูบิชิ ก็จะมีราคาที่ไล่เลี่ยกันค่ะ
ในขนาด BTU ที่ต่างกัน ยิ่ง BTU สูง ราคาก็จะสูงตาม
ข้อมูลจาก Central Online ณ วันที่ 24 มี.ค.59

3) ชนิดของน้ำยาแอร์

แอร์บ้านแต่ละรุ่นที่ผลิตออกมาจากโรงงาน ก็จะใช้ชนิดน้ำยาแอร์ที่ต่างกันค่ะ ในปัจจุบันที่นิยมใช้กันส่วนมากก็จะเป็นน้ำยาแอร์แบบ R32 และ R410a ซึ่งมีลักษณะเฉพาะที่ต่างกันตามตารางด้านล่างค่ะ

4) อัตราการกินไฟฟ้า

อีกสิ่งที่เราต้องดูในการเลือกซื้อแอร์บ้านก็คือ ต้องมั่นใจว่ามีฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 ค่ะ ซึ่งฉลากประหยัดไฟนี้คือ ฉลากที่บอกถึงค่าระดับการใช้งานของเครื่องใช้ไฟฟ้านั้นๆ ทดสอบตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม และข้อกำหนดของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

ข้อมูลต่างๆ ที่เราสามารถดูได้จากฉลากประหยัดไฟ มีดังนี้
  • ชื่อรุ่นของเครื่องปรับอากาศ
  • รุ่นของแฟนคอยล์ และรุ่นของคอนเดนซิ่งคอยล์
  • ระดับประสิทธิภาพในการประหยัดไฟโดยรวม มีตั้งแต่ระดับ 1 (ต่ำสุด) ไปจนถึงระดับ 5 (สูงสุด) ยิ่งสูงยิ่งดี
  • ค่าวัดประสิทธิภาพในการใช้พลังงานของเครื่องปรับอากาศ Energy Efficiency Ratio (EER) (ยิ่งสูงยิ่งดี ถือว่ามีประสิทธิภาพในการทำความเย็นที่ดี)
  • ค่าวัดประสิทธิภาพในการใช้พลังงานตามฤดูกาลของเครื่องปรับอากาศ Seasonal Energy Efficiency Ratio (SEER) (ยิ่งสูงยิ่งดี)
  • อัตราการใช้พลังงานไฟฟ้าหน่วยต่อปี (ยิ่งต่ำยิ่งดี)
  • ค่าไฟฟ้าหน่วยเป็นบาทต่อปี (ยิ่งต่ำยิ่งดี)
5) การติดตั้ง
สำหรับการติดตั้งเครื่องปรับอากาศในปัจจุบัน ก็จะมีทั้งแบบรวมค่าติดตั้ง และแยกค่าติดตั้งออกมาจากราคาขายค่ะ แบบรวมค่าติดตั้งมักใช้คำว่าติดตั้งฟรีไปเลย เช่น ถ้าหากซื้อที่ร้านแอร์ทั่วไป ก็จะให้อุปกรณ์มาตรฐาน เช่น ท่อน้ำยาแอร์, สายไฟ, Breaker และ ขาแหวนคอมเพรสเซอร์ มาให้ครบ เพียงพอสำหรับการติดตั้งในบ้าน หรือคอนโด ทั่วไปได้ แต่ถ้ามีความจำเป็นที่จะต้องเพิ่มความยาวของท่อน้ำยาแอร์ หรือสายไฟ ในการติดตั้ง ก็สามารถเพิ่มเติมได้หน้างาน โดยมีค่าใช้จ่ายตามอุปกรณ์ที่เพิ่ม เช่น ท่อน้ำยาแอร์ขนาด 6000-13000 BTU หากต้องใช้เกินจากที่ร้านกำหนดมาให้ ก็จะคิดเพิ่มในราคาเมตรละ 500 บาท ส่วนสายไฟ หากเกินก็จะคิดเมตรละ 50 บาทเป็นต้น
ก่อนซื้อพัดลมต้องดูอะไรบ้าง?
สำหรับการเลือกซื้อพัดลม ที่ใช้ทั่วไปในที่พักอาศัยนั้นจะมีอยู่หลายแบบค่ะ ซึ่งแต่ละแบบก็จะมีลักษณะการใช้งาน และข้อดีข้อเสียที่ต่างกันไป ดูได้จากตารางด้านล่างได้เลยนะคะ




ตัวอย่าง พัดลมรุ่นต่างๆ ใน Central Online
พอเลือกประเภทของพัดลมได้แล้ว ก็ให้เลือกขนาดของใบพัดค่ะ ในท้องตลาดขนาดของใบพัดของพัดลม ก็คือ ขนาด 12, 14, 16, 18 และ 22 นิ้ว ค่ะ ถ้าเป็นไปได้ก่อนเลือกซื้อพัดลมรุ่นต่างๆ ให้เราตรวจสอบดูก่อนว่าอะไหล่ในส่วนของใบพัดนั้น หาซื้อได้ง่าย มีจำหน่ายอย่างแพร่หลายหรือไม่ เพราะใบพัดเป็นส่วนที่มีโอกาสในการหัก หรือแตกได้อยู่เหมือนกันค่ะ เวลาที่พัดลมล้ม หรือมีสิ่งของแปลกปลอมหลุดเข้าไปในใบพัด แต่ถ้าเราเลือกซื้อยี่ห้อพัดลมที่เป็นที่แพร่หลายในท้องตลาด ก็จะหาซื้ออะไหล่ใบพัดได้ง่ายหน่อย บางครั้งจะวางขายอยู่ใกล้ๆ กับพัดลมเลยค่ะ
นอกจากนี้ขนาดของใบพัดจะเป็นตัวกำหนดขนาดของ Body ตัวพัดลมไปในตัว เช่น พัดลมขนาดใบพัด 16 นิ้ว จะมี Body ที่ใหญ่กว่าพัดลมขนาดใบพัด 12 นิ้ว เย็น และให้ลมที่แรงกว่า เนื่องจากมีใบพัดที่ใหญ่กว่า แต่ก็จะมีน้ำหนักที่หนักกว่า และกินไฟมากกว่าซึ่งถ้าเป็นห้องนอนขนาดเล็กมีพื้นที่จำกัด เราก็จะอาจจะเลือกพัดลมแบบตั้งโต๊ะเพื่อประหยัดพื้นที่ สามารถเคลื่อนย้ายไปมาระหว่างห้องได้สะดวก ส่วนถ้าเป็นห้องขนาดใหญ่ ก็อาจจะเลือกใช้พัดลมแบบตั้งพื้นไปได้เลย เพราะสามารถให้ลมที่แรงกว่า ครอบคลุมพื้นที่ได้ทั่วไปค่ะ
Shop Online - Trend ใหม่ในการเลือกซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้า
ต้องถือว่าไม่ใช่เรื่องใหม่เลยนะคะ สำหรับการซื้อสินค้าผ่านทาง Internet ข้อดีของการเลือกซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้า Online ก็คือ ช่วยประหยัดเวลาในการไปเดินเลือกซื้อ บางครั้งก็จะมีโปโมชั่นพิเศษ นอกจากนี้ยังสามารถเปรียบเทียบยี่ห้อ, รุ่น และราคา ได้สะดวก การจัดส่งก็สามารถระบุได้ว่าอยากให้ช่างไปติดตั้งที่ไหน หรือจะไปรับสินค้าเองที่ห้างไหนใกล้บ้านที่สะดวกก็สามารถระบุได้เช่นกันค่ะ

ตัวอย่างหน้าจอ Shop Online ของ Central Online แสดงรุ่นของ แอร์ไดกิ้น และ แอร์มิตซูบิชิ

ลูกค้าสามารถเลือกกรอกที่อยู่ในการติดตั้งรับสินค้าได้โดยตรงจากทางเว็บไซต์ ช่องทางเลือกที่หลากหลายในการชำระไม่ว่าจะเป็นทาง Credit Card, Paysabuy และ Line Pay นอกจากนี้ยังมี Option พิเศษ เช่น SMS แจ้งสถานะการสั่งซื้อ, บริการห่อของขวัญ หรือ ให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ โดยที่ยังคงได้คะแนนสะสมแต้มอีกด้วย
เป็นอย่างไรบ้างคะ คราวนี้น่าจะเห็นแนวทางในการเลือกซื้อแอร์บ้าน และพัดลม เพื่อรับซัมเมอร์นี้แล้วนะคะ ถ้าเราเลือกซื้อแอร์ และพัดลม ที่มีขนาดที่เหมาะกับการใช้งาน ก็จะทำให้ประหยัดไฟ และสอดคล้องกับการใช้งานของเราได้มากที่สุดค่ะ แล้วยังไงพบกันใหม่กับบทความในการเลือกซื้อสินค้าต่างๆ จาก CheckRaka.com ได้ในโอกาสหน้านะคะ
บทความนี้เป็นบทความเชิงข้อมูลความรู้ และ Advertorial
แท็กที่เกี่ยวข้อง พัดลม แอร์ แอร์มิตซูบิชิ แอร์ไดกิ้น เครื่องปรับอากาศ
Property Guru
เขียนโดย เช็คราคา.คอม Property Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)