x
icon-filter ค้นหาบ้าน
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter

Townhouse/ Townhome/ Homeoffice ในเมืองไทยต่างกันอย่างไร?

icon 27 มิ.ย. 57 icon 56,093
Townhouse/ Townhome/ Homeoffice ในเมืองไทยต่างกันอย่างไร?


Townhouse/ Townhome/ Homeoffice ในเมืองไทยต่างกันอย่างไร?
หลายท่านอาจจะเคยสงสัยกันอยู่บ่อยๆ นะคะว่า ทาวน์เฮ้าส์, ทาวน์โฮม และ โฮมออฟฟิศ แตกต่างกันไหม และอย่างไร โดยเฉพาะในบ้านเรานั้น ทาวน์เฮ้าส์ และทาวน์โฮม นั้นมีความหมายที่ใกล้เคียงกันมาก จนหลายๆ ท่านอาจสงสัยว่ามันเหมือนกันหรือไม่ วันนี้ CheckRaka.com จะขอเสนอมุมมอง และความเห็นของเราค่ะว่า บ้านทั้งสามแบบนั้น มีลักษณะเหมือน หรือแตกต่างกันอย่างไร
ทาวน์เฮ้าส์ (Townhouse)
คำว่า "Townhouse" หากแปลตามพจนานุกรมของ Cambridge.org นั้นจะแปลได้ว่า "One of a row of similar houses that are usually joined by a shared wall" แปลง่ายๆ ก็ประมาณว่า "บ้านที่มีหน้าตาคล้ายๆ กัน และมีกำแพงติดกัน หรือร่วมกันเป็นแถวเป็นแนวไป" อาจมีความสูงเพียงแค่ 2 ชั้น อาจใช้วัสดุก่อสร้างพื้นฐาน และใช้พื้นที่ในการเพาะปลูกไม่มาก ตัวอย่างของโครงการหมู่บ้านที่เรียกตัวเองว่าเป็นประเภททาวน์เฮ้าส์ ก็เช่น บ้านพฤกษา 75 เพชรเกษม-ยอแซฟ จาก พฤกษา, โนโว วิลล์ วงแหวน - ลำลูกกา คลอง 5 จาก ศุภาลัย และ โกลเด้น ทาวน์ ปิ่นเกล้า-จรัญสนิทวงศ์ จาก โกลเด้น แลนด์ เรสซิเด้นซ์

ภาพตัวอย่างโครงการทาวน์เฮ้าส์จาก บ้านพฤกษา 75 เพชรเกษม-ยอแซฟ โดย Pruksa

ภาพตัวอย่างโครงการทาวน์เฮ้าส์จาก โนโว วิลล์ วงแหวน-ลำลูกกา คลอง 5 โดย Supalai

ภาพตัวอย่างโครงการทาวน์เฮ้าส์จาก โกลเด้น ทาวน์ ปิ่นเกล้า-จรัญสนิทวงศ์ จาก Goldenland Residence
ทาวน์โฮม (Townhome) 
เป็นคำที่เพิ่งนิยมใช้ในช่วงหลังๆ พัฒนามาจากคำว่า Townhouse นั่นเอง เป็นคำที่ไม่มีอธิบายความหมายไว้ใน English Dictionary ทั่วไป แต่เป็นคำที่มักใช้โดยบริษัทอสังหาริมทรัพย์ในทางการตลาด ให้ดูดีดูทันสมัย เพราะในแง่ภาษาอังกฤษคำว่า "Home" ให้ความรู้สึกของความอบอุ่นในบ้าน หรือความเป็นบ้านของเราเอง ไม่ใช่เพียงแค่ตัวโครงบ้าน (House) หรือ Feeling ของการเป็นบ้านของคนอื่น เป็นต้น ตัวอย่างของโครงการหมู่บ้านที่เรียกตัวเองว่าเป็นทาวน์โฮมก็เช่น กัสโต้ ท่าน้ำนนท์ - พระราม 5 จาก กัสโต้ วิลเลจ (ในเครือ ควอลิตี้เฮ้าส์) และ โมดิ วิลล่า - ลาดกระบัง สุวรรณภูมิ โดย Property Perfect

ตัวอย่างภาพโครงการทาวน์โฮมจาก กัสโต้ ท่าน้ำนนท์ - พระราม 5 โดย กัสโต้วิลเลจ (ในเครือ ควอลิตี้เฮ้าส์)

ตัวอย่างภาพโครงการทาวน์โฮมจาก โมดิ วิลล่า - ลาดกระบัง สุวรรณภูมิ โดย Property Perfect
โฮมออฟฟิศ (Homeoffice)
คำว่า "Homeoffice" หากแปลตามพจนานุกรมของ Cambridge.org นั้นจะแปลได้ว่า "An office in someone's home, or a room in a home with a phone, computer, etc. in it" แปลง่ายๆ ก็ประมาณว่าสำนักงานกึ่งที่พักนั่นเอง มีการออกแบบให้มีพื้นที่สำหรับใช้ทำงานได้สะดวก และมีการออกแบบระบบเพื่อรองรับการใช้งานคอมพิวเตอร์ หรือเครื่องแฟกซ์ไว้เป็นอย่างดี ในบ้านเรา Homeoffice มักจะหมายถึง โครงการบ้านจัดสรรที่ออกแบบมาเพื่อให้เป็นโฮมออฟฟิศโดยเฉพาะ ซึ่งจะต่างจากบ้าน หรือตึกแถวที่นำมาดัดแปลงให้เป็นสำนักงานออฟฟิศในภายหลัง ทำเลที่อาจเป็นที่นิยมสำหรับโฮมออฟฟิศก็เช่น แถวพระราม 3 ทาวน์อินทาวน์ ตัวอย่างโครงการที่เรียกตัวเองว่าเป็นโฮมออฟฟิศก็เช่น บี สแควร์ พระราม 9-เหม่งจ๋าย จาก แสนสิริ และ S-Town Home Office ลาดพร้าว 130 จาก เสนาดีเวลลอปเม้นท์

ตัวอย่างภาพโครงการโฮมออฟฟิศจาก บี สแควร์ พระราม 9 - เหม่งจ๋าย โดย Sansiri

ตัวอย่างภาพโครงการ S-Town ลาดพร้าว 130 โดย Sena Development
ข้อแตกต่าง
Townhouse  เทียบกับ  Townhome
ในบ้านเรานั้น Townhouse กับ Townhome นั้นค่อนข้างจะคล้ายคลึงกันมาก และก็ไม่มีกฏเกณฑ์ หรือหลักการตายตัวว่าแตกต่าง หรือจะต้องแตกต่างกันอย่างไร แต่ถ้าจะแยกแยะความแตกต่างนั้น ก็พอจะแยกแยะได้ดังนี้ 
(ก)    ในแง่ภาพลักษณ์และการวางตำแหน่งสินค้า - ในบ้านเรานั้น เจ้าของโครงการบางราย และผู้บริโภคอาจมองความแตกต่างของคำสองคำนี้ว่าเป็นเรื่องของภาพลักษณ์ (Image) และการวางตำแหน่งสินค้า (Positioning) ของเจ้าของโครงการ ซึ่งก็จะเป็นประมาณว่า ถ้าเป็นบ้านแถวเรียงกัน ใช้วัสดุธรรมดา สูงแค่ 2 ชั้น ราคาไม่สูง ให้ความรู้สึกเหมือนบ้านตึก ก็อาจจัดกลุ่มโครงการตัวเองว่าเป็น Townhouse ส่วนบ้านแถวที่สูงเกิน 2 ชั้น มีดีไซน์สวย ใช้วัสดุที่ดีกว่า ดูโมเดิร์น มีพื้นที่ใช้สอยมากกว่า และให้ความรู้สึกอบอุ่นไม่เหมือนบ้านตึก ก็อาจจัดกลุ่มโครงการตัวเองว่าเป็น Townhome แต่หลักการตรงนี้ก็ไม่ได้เป็นกฏตายตัว เจ้าของโครงการบางรายอาจไม่ได้มองแบบนี้ก็ได้ (เช่น แสนสิริหรือโนเบิล) และโครงการไหนจะเลือกใช้คำไหนก็แล้วแต่เจ้าของโครงการจะเลือก ซึ่งก็คงจะมีเรื่องของ Branding และ Positioning เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย
(ข)    ในแง่กฎการควบคุมอาคาร - ปกติการก่อสร้างอาคารจะต้องปฏิบัติตามกฎกระทรวงมหาดไทยฉบับที่ 55 (พศ. 2543) ออกภายใต้ พรบ. ควบคุมอาคาร ซึ่งไม่ว่าโครงการจะเรียกตัวเองว่าเป็น Townhouse หรือ Townhome แต่ถ้าจำนวนชั้นต่างกัน กฎเกณฑ์การก่อสร้างที่ใช้บังคับจะไม่เหมือนกัน กล่าวคือ ถ้า Townhouse หรือ Townhome นั้นมีจำนวนชั้นไม่เกิน 3 ชั้น ตามกฎจะเรียกว่าเป็น "บ้านแถว" ซึ่งในการสร้างบ้านแถวก็จะต้องปฏิบัติตามกฎของบ้านแถว เช่น ต้องมีความกว้างไม่น้อย 4 เมตร สร้างติดกันได้ไม่เกิน 10 คูหา เป็นต้น (คำว่า "บ้านแถว" ในกฎกระทรวงนี้คือห้องแถว หรือตึกแถวที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัยซึ่งมีที่ว่างด้านหน้า และด้านหลังระหว่างรั้ว หรือแนวเขตที่ดินกับตัวอาคารแต่ละคูหา และมีความสูงไม่เกิน 3 ชั้น) แต่ถ้าอาคารที่สร้างขายไม่ว่าจะเรียกตัวเองว่าเป็น Townhome หรือ Townhouse ถ้าสูงเกิน 3 ชั้น เช่น 4 ชั้น กฏหมายจะจัดเป็นประเภทอื่นไป เช่นเป็น "อาคารพาณิชย์" หรือ "ตึกแถว" ซึ่งในการสร้างก็ต้องทำตามกฎของอาคารพาณิชย์ หรือตึกแถว เป็นต้น  
Homeoffice  เทียบกับ  Townhouse / Townhome
ส่วน Homeoffice นั้นค่อนข้างจะแตกต่างกับ Townhouse และ Townhome ชัดเจน คือ 
(ก)     วัตถุประสงค์ - Homeoffice เป็นบ้านที่ออกแบบตั้งแต่แรกมาเลยว่าให้เป็นออฟฟิศสำนักงานกึ่งที่พัก และภายในโครงการอาจมีที่จอดรถส่วนกลางค่อนข้างมากกว่า Townhouse และ Townhome ทั้งนี้ เพื่อความสะดวกในการรองรับลูกค้าที่จะมาติดต่อ หรือเยี่ยมเยียนออฟฟิศภายในโครงการ 
(ข)     ในแง่กฎการควบคุมอาคาร  - Homeoffice มักจะถูกจัดให้เป็น "อาคารพาณิชย์" ซึ่งก็จะต้องปฏิบัติตามกฏการสร้างอาคารพาณิชย์ เช่น ต้องมีที่ว่างอย่างน้อยเท่าไหร่ ต้องมีการร่นแนวอาคารอย่างน้อยเท่าไหร่ เป็นต้น คำว่า"อาคารพาณิชย์" ในกฎกระทรวงคืออาคารที่ใช้เพื่อประโยชน์ในการพาณิชยกรรม หรือบริการธุรกิจ . . . รวมถึงอาคารอื่นใดที่ก่อสร้างห่างจากถนน หรือทางสาธารณะไม่เกิน 20 เมตร ซึ่งอาจใช้เป็นอาคารเพื่อประโยชน์ในการพาณิชยกรรมได้ 
                                                            ตารางสรุปความแตกต่าง

ทาวน์เฮ้าส์  ทาวน์โฮม โฮมออฟฟิศ 
วัตถุประสงค์ เพื่อเป็นที่พักอาศัย เพื่อเป็นที่พักอาศัย เพื่อเป็นออฟฟิศสำนักงานพร้อมที่พักอาศัยในตัว 
จำนวนชั้น มักมีความสูง 2 ชั้น (แต่ช่วงหลังๆ บาง Brand ก็สูง 3 ชั้น)
มักจะมีความสูง 2 - 3 ชั้น (แต่ช่วงหลังๆ บาง Brand ก็สูง 4 ชั้น) มักมีความสูงประมาณ 3-4 ชั้นเป็นอย่างต่ำ 
ราคา มักมีราคาต่ำกว่าทาวน์โฮม และโฮมออฟฟิศ  มักมีราคาสูงกว่าทาวน์เฮ้าส์และอาจมีราคาใกล้เคียง สูงกว่า หรือต่ำกว่าโฮมออฟฟิศก็ได้ มักมีราคาสูงกว่าทาวน์เฮ้าส์ และอาจมีราคาใกล้เคียง สูงกว่า หรือต่ำกว่าทาวน์โฮมก็ได้
ดีไซน์การออกแบบ
  • ดีไซน์อาจไม่ทันสมัยเท่าทาวน์โฮม และโฮมออฟฟิศ
  • ในหนึ่งแถวอาจมีจำนวนคูหามากกว่าทาวน์โฮม
  • ดีไซน์อาจทันสมัยกว่าทาวน์เฮ้าส์ และอาจมีการออกแบบให้มีความรู้สึกเหมือนบ้านเดี่ยวมากกว่าทาวน์เฮ้าส์
  • ในหนึ่งแถวอาจมีจำนวนคูหาน้อยกว่าทาวน์เฮ้าส์
  • มองจากภายนอกค่อนข้างคล้ายทาวน์โฮม แต่ภายในอาจออกแบบให้มีการจัดแบ่งสัดส่วนระหว่างพื้นที่ทำงาน และพื้นที่อาศัยอย่างชัดเจน มีการวางระบบไฟ และเครื่องปรับอากาศไว้อย่างเพียบพร้อม
  • ในหนึ่งแถวอาจมีจำนวนคูหาน้อยกว่าทาวน์เฮ้าส์ และทาวน์โฮม
พื้นที่ใช้สอยและขนาดที่ดิน อาจจะไม่ค่อยใหญ่นัก โดยพื้นที่ใช้สอยส่วนใหญ่อาจเป็นได้ตั้งแต่ 90-120 ตรม. และขนาดที่ดินตั้งแต่ 16-25 ตรว.  อาจจะมากกว่าทาวน์เฮ้าส์ และอาจใกล้เคียงกับโฮมออฟฟิศ โดยพื้นที่ใช้สอยส่วนใหญ่อาจเป็นได้ตั้งแต่ 100-160 ตรม. และขนาดที่ดินตั้งแต่ 18-40 ตรว. มากกว่าทาวน์เฮ้าส์ และอาจใกล้เคียง หรือมากกว่าทาวน์โฮม โดยพื้นที่ใช้สอยส่วนใหญ่อาจเป็นได้ตั้งแต่ 100-260 ตรม. และขนาดที่ดินตั้งแต่ 20-45 ตรว.
ความหมายตามพจนานุกรมภาษาอังกฤษ (Cambridge) One of a row of similar houses that are usually joined by a shared wall                 ไม่มี An office in someone's home, or a room in a home with a phone, computer, etc. in it 
เป็นยังไงกันบ้างคะ คราวนี้พวกเราคงน่าจะพอทราบถึงข้อแตกต่างคร่าวๆ ของบ้านทั้ง 3 แบบแล้ว หวังว่าบทความนี้คงจะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยเพื่อให้ท่านได้ทราบถึงข้อแตกต่าง และสามารถนำไปประกอบการเลือกซื้อทาวน์เฮ้าส์ ทาวน์โฮม และโฮมออฟฟิศได้ดีขึ้นนะคะ
แท็กที่เกี่ยวข้อง
Property Guru
เขียนโดย เช็คราคา.คอม Property Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)