x
icon-filter ค้นหาบ้าน
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter

สิ่งที่ควรทำเมื่อเกิด "ไฟไหม้" หนีอย่างไรให้รอด?

icon 6 ม.ค. 66 icon 3,589
สิ่งที่ควรทำเมื่อเกิด "ไฟไหม้" หนีอย่างไรให้รอด?
การเกิด "เพลิงไหม้" หรือ "อัคคีภัย"  เป็นเหตุการณ์ที่สร้างความสูญเสียเป็นอย่างมากทั้งต่อชีวิตและทรัพย์สิน ซึ่งไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น โดยสาเหตุอาจเกิดได้จากหลายปัจจัย เช่น จากไฟฟ้าลัดวงจร หรือจากความประมาทเลินเล่อ ดังนั้นราจึงควรศึกษาและเตรียมพร้อมรับมือหากต้องตกอยู่ในสถานการณ์เพลิงไหม้ วันนี้เราจะพาไปดูสิ่งที่ควรทำและไม่ควรทำเมื่อเกิด "ไฟไหม้" และหนีอย่างไรให้รอด
1. ตั้งสติ ไม่ตื่นตระหนก
หากตกอยู่ในสถานการเพลิงไหม้สิ่งแรกที่ต้องทำให้ได้คือ ตั้งสติ ไม่ตื่นตระหนก และประเมินสถานการณ์ในเบื้องต้นว่าเหตุไฟไหม้ที่เกิดขึ้นนั้นมีความรุนแรงแค่ไหน 
  • เกิดไฟไหม้เล็กน้อย : ให้มองหาถังดับเพลิงและใช้ฉีดเพื่อทำการควบคุมเพลิงในเบื้องต้น หลังจากนั้นให้แจ้งเจ้าหน้าที่ดับเพลิงเพื่อมาควบคุมเพลิงต่อ
  • เกิดไฟไหม้ขนาดใหญ่ : หากพบว่ามีประกายไฟหรือเกิดควันที่อาจเกิดจากไฟไหม้ ควรตะโกนบอกทุกคนที่อยู่ในพื้นที่นั้นให้ทราบทั่วกัน แล้วให้รีบกดสัญญาณเตือนภัยทันที
  • โทรศัพท์แจ้ง 199 : รีบโทรแจ้งเจ้าหน้าที่ดับเพลิงที่เบอร์ 199 ทันทีให้มาควบคุมเพลิง
2. สังเกตทางออกฉุกเฉิน หรือทางหนีไฟ
หากต้องไปในอาคารที่ไม่คุ้นเคย หรือแม้แต่ที่พักอาศัยที่พักอยู่เป็นประจำอย่างหอพัก คอนโดมิเนียม หรืออาคารสำนักงานก็ตาม ควรสังเกตและจดจำตำแหน่งทางออกฉุกเฉินหรือทางหนีไฟไว้ให้ดี เพราะเมื่อเกิดเหตุจะได้หนีออกได้อย่างทันท่วงที และควรปิดประตูหนีไฟทันทีเมื่อหนีออกไปได้แล้ว ไม่ควรเปิดประตูค้างเอาไว้ เพราะจะทำให้ควันไฟลอยวเข้ามายังทางหนีไฟ และเป็นอันตรายได้
3. ใช้ผ้าเปียกปิดจมูกหรือคลุมตัว
หาผ้ามาปิดจมูกและปากเพื่อป้องกันการสำลักควัน จะเป็นผ้าขนหนู หรือผ้าเช็ดตัวก็ได้ นำไปชุบน้ำบิดให้หมาดแล้วนำมาปิดจมูกและปาก หากไม่สะดวกชุบน้ำจะใช้เป็นผ้าแห้งก็ได้เช่นกันแต่ประสิทธิภาพในการป้องกันอาจจะน้อยกว่า นอกจากนี้การใช้ผ้าผืนใหญ่ชุบน้ำและคลุมตัวไว้ยังช่วยป้องกันความร้อนจากเปลวไฟได้ด้วย สำหรับคุณผู้หญิงกรณีที่หาผ้าไม่ได้สามารถใช้ของใกล้ตัวอย่างเสื้อชั้นในมาปิดจมูกแทนได้เช่นกัน
4. ใช้ถุงพลาสติกขนาดใหญ่เก็บอากาศ
การนำถุงพลาสติกใสขนาดใหญ่มาตักอากาศบริสุทธิ์ที่ไม่มีกลุ่มควันหลังจากนัันนำมาครอบศีรษะแล้วปิดปากถุงให้สนิท จะเป็นการช่วยซื้อเวลาให้หายใจได้นานประมาณ 5-8 นาที ป้องกันการสูดดมควันไฟเข้าสู่ร่างกายที่อาจจะทำให้หมดสติและเสียชีวิตได้
5. หมอบคลานต่ำ
ระหว่างที่กำลังหนีไฟควรหมอบคลานต่ำหรือย่อตัวให้ใกล้กับพื้นมากที่สุด เพราะอากาศบริสุทธิ์ที่สามารถหายใจได้จะอยู่สูงจากระดับพื้นไม่เกิน 1 ฟุต และรีบไปยังทางหนีไฟหรือออกจากที่เกิดเหตุให้เร็วที่สุด
6. เช็คประตูห้องก่อนจะเปิดเสมอ
อย่าเพิ่งเปิดประตูในทันทีให้ลองสำรวจประตูให้แน่ใจก่อนว่าภายนอกห้องปลอดภัย โดยการใช้หลังมือสัมผัสลูกบิดประตูเช็คดูว่าไม่ร้อนมาก หรือใช้น้ำสาดไปบนผนังบริเวณด้านบนของประตูที่สูงๆ เพราะเวลาเกิดเพลิงไหม้ความร้อนจะเกิดขึ้นด้านบน หากน้ำละลายในทันทีนั้นแสดงว่าด้านนอกมีความร้อนสูง อย่าเปิดเด็ดขาดให้อยู่ภายในห้องและหาวิธีขอความช่วยเหลือ
7. ป้องกันควันไฟเข้าห้อง
กรณีที่ติดอยู่ภายในห้องและไม่สามารถหนีออกจากห้องพักได้  ให้เปิดประตูหน้าต่างทุกบานที่สามารถช่วยระบายควัน ความร้อน หรือก๊าซได้ รวมถึงปิดและอุดทุกช่องที่อาจเป็นทางผ่านของความร้อน และควัน เช่น หาผ้าปูที่นอนหรือผ้าขนาดใหญ่ชุบน้ำแล้วนำมาปิดบริเวณช่องประตูด่านล่าง เพื่อป้องกันกลุ่มควันลอยเข้ามาภายในห้อง
8. ส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือ
หากติดอยู่ในห้องหรืออาคารสูงให้ออกมาที่หน้าต่างหรือระเบียง แล้วใช้ผ้าโบกสะบัดไปมาเพื่อส่งสัญญาณของความช่วยเหลือ กรณีที่เหตุเกิดในตอนกลางคืน ให้ใช้ไฟฉายส่องไปมาหรือกระพริบไฟเพื่อส่งสัญญาณให้เจ้าหน้าที่ทราบตำแหน่งและเข้าทำการช่วยเหลือ
9. ไฟไหม้เสื้อผ้าหรือร่างกายอย่าวิ่ง
เพราะการวิ่งจะเป็นการเติมอากาศทำให้ไฟลุกลามเร็วยิ่งขึ้น วิธีที่ถูกต้องคือ
  • กลิ้งตัวลงกับพื้นทำให้เกิดการอับอากาศจะช่วยให้ไฟดับได้เร็วขึ้น 
  • ราดด้วยน้ำ หรือนำผ้าเปียกมาคลุ่มตัว
  • ใช้ถังดับเพลิงฉีดพ่นที่ร่างกาย (เฉพาะถังดับเพลิงรุ่นใหม่) แต่ต้องปิดหน้าและพยายามไม่สูดดมเข้าไปเพื่อความปลอดภัย
10. ใช้อุปกรณ์ดับเพลิงให้เป็นประโยชน์
ดับเพลิงด้วยเครื่องมือดับเพลิงที่มีอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกับที่เกิดเหตุ เช่น ขวาน สายฉีดน้ำ หรือถังดับเพลิง ซึ่งประโยชน์ของถังดับเพลิงนอกจากจะฉีดพ่นดับไฟแล้วก็ยังสามารถใช้เป็นอุปกรณ์ในการทุบกระจกให้แตกได้ด้วยเช่นกัน  ช่วยระบายกลุ่มควัน และเอาคนที่ติดอยู่ในห้องหรืออาคารออกมาได้
 11. ห้ามใช้ลิฟต์ขณะเกิดไฟไหม้
ระหว่างที่เกิดเพลิงไหม้ห้ามใช้ลิฟต์เป็นอันขาด เนื่องจากขณะเกิดเหตุไฟไหม้อาจทำให้ไฟดับ และทำให้เราถูกขังติดอยู่ในลิฟต์ได้
12. การรักษาแผลไฟไหม้ที่ถูกวิธี
หากเกิดแผลที่เกิดจากไฟไหม้ ควรล้างด้วยน้ำสะอาดและไปพบแพทย์โดยทันทีที่ทำได้ ไม่ควรทาด้วยน้ำปลา ไข่ขาว หรือยาสีฟัน เพราะจะทำให้แผลเกิดการอักเสบและเกิดการติดเชื้อ
แท็กที่เกี่ยวข้อง knowledge ไฟไหม้บ้าน
Property Guru
เขียนโดย เช็คราคา.คอม Property Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)