x
icon-filter ค้นหาบ้าน
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter

เทคนิคจัดการคราบเชื้อราภายในบ้านให้อยู่หมัดหลังน้ำลด

icon 28 ต.ค. 64 icon 2,633
เทคนิคจัดการคราบเชื้อราภายในบ้านให้อยู่หมัดหลังน้ำลด
"คราบเชื้อรา" ปัญหาใหญ่ที่หลายคนมักพบเจอหลังจากปัญหาสถานการณ์น้ำท่วมบ้านเป็นเวลานาน ซึ่งหากปล่อยไว้อาจกลายเป็นแหล่งสะสม และแพร่กระจายของเชื้อโรคได้ โดยก่อนที่จะกลับเข้าไปพักอาศัยในบ้านอีกครั้งจำเป็นต้องทำความสะอาดบ้าน กำจัดขยะ คราบสิ่งสกปรก โดยเฉพาะขัดล้างทำความสะอาดพื้นผนัง และกำจัดเชื้อราในบ้านภายใน 24-48 ชั่วโมงหลังน้ำลด เพื่อความปลอดภัยและสุขอนามัยที่ดีของผู้พักอาศัย วันนี้เรามีวิธีจัดการคราบเชื้อราให้อยู่หมัดมากฝากกันค่ะ
 
คราบเชื้อราบนเฟอร์นิเจอร์ไม้ เพดาน ผนังบ้าน หรือบริเวณพื้นผิววัสดุที่ขึ้นรามีสภาพแห้ง   
1. ใช้กระดาษทิชชูแผ่นหนาที่มีขนาดใหญ่ หรือใช้กระดาษหนังสือพิมพ์พรมน้ำพอชื้นๆ เช็ดบนพื้นผิวหรือวัสดุที่มีเชื่อรา โดยเช็ดไปในทิศทางเดียวกัน ทิ้งกระดาษที่ใช้แล้วนั้นใส่ถุง มัดปากถุงให้แน่น และนำไปทิ้งในถังขยะที่ปิดมิดชิด
2. ใช้กระดาษทิชชูแผ่นหนาขนาดใหญ่ หรือกระดาษหนังสือพิมพ์ ชุบน้ำที่ผสมสบู่หรือน้ำยาล้างจาน เช็ดซ้ำในจุดเดิมอีกครั้ง
3. เช็ดทำความสะอาดซ้ำอีกครั้งเพื่อฆ่าเชื้อราบนวัสดุต่างๆ ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อรา เช่น น้ำส้มสายชู 5-7% หรือแอลกอฮอล์ความเข้มข้น 60-90%
4. สำหรับเฟอร์นิเจอร์ไม้สามารถไล่ความชื้นได้ด้วยการนำไปวางไว้ในที่ร่ม อากาศถ่ายเทสะดวก ไม่ควรนำไปตากแดดเด็ดขาดเพราะไม้อาจจะแตกหรือเสียรูปได้
 
คราบเชื้อราบนที่นอน
1. ใช้น้ำยาฆ่าเชื้อฉีดพรมให้ทั่วที่นอนหรือใช้แอลกอฮอล์ล้างแผลผสมน้ำอุ่น เช็ดร่องรอยเชื้อราบนที่นอน
2. นำที่นอนไปตากแดดจัด ๆ
3. เมื่อที่นอนแห้งสนิท ให้ดูดฝุ่นที่นอนทั้ง 2 ด้านอีกครั้ง
4. หากพบร่องรอยเชื้อราจำนวนมากจนยากกำจัดได้  ไม่ควรนำที่นอนหรือฟูกดังกล่าวมาใช้  โดย
คราบเชื้อราที่ติดตามยาแนวในห้องน้ำ
1.  นำน้ำสะอาดผสมน้ำส้มสายชูเทใส่ขวดสเปรย์ฉีดพ่นบริเวณที่มีเชื้อราทิ้งไว้ประมาณ 1 ชั่วโมง 
2.  ใช้แปรงขัดบริเวณที่มีคราบเชื้อรา แล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาด
3. ใช้ผงเบกกิ้งโซดาผสมกับน้ำ ขัดซ้ำอีกรอบ เพื่อให้คราบเชื้อราออกให้เกลี้ยงหมด
4. ล้างทำความสะอาดด้วยน้ำเปล่าให้ทั่วอีกครั้ง
คราบเชื้อราบนผ้าม่าน
1. ถอดผ้าม่านไปซักในน้ำที่ผสมผงซักฟอก + ผสมน้ำส้มสายชู 1 ถ้วย
2. ซักให้ผ้าสะอาดจนกว่าคราบเชื้อราจะหมดไป
3. นำไปตากแดดให้แห้งในที่ที่มีแดดจัดเพื่อเป็นการฆ่าเชื้อโรค เมื่อแห้งสนิทนำมาติดที่ราวผ้าม่านได้ตามปกติ
 
คราบเชื้อราบนเสื้อผ้า
1. นำเสื้อผ้าแช่ในน้ำร้อน จากนั้นให้ขยี้และซักให้สะอาดอย่างน้อน 3 ครั้ง
2. นำไปตากให้แห้งสนิทในที่แดดจัดเพื่อฆ่าเชื้อโรค หลังจากแห้งสนิทก็สามารถนำมาใช้ได้ตามปกติ
 
ข้อแนะนำ
1. ก่อนทำความสะอาดบ้านและกำจัดเชื้อราทุกครั้งต้องสวมถุงมือยาง หน้ากาก แว่นตานิรภัย หรือแว่นตาว่ายน้ำ และรองเท้าบูท เพื่อป้องกันเชื้อราที่กระจายอยู่ในอากาศเข้าสู่ร่างกาย และหลังจากกำจัดคราบเชื้อราเสร็จควรอาบน้ำทำความสะอาดร่างกายทันทีเพื่อความปลอดภัย
2. ในระหว่างที่ทำความสะอาดหรือกำจัดคราบเชื้อรา ไม่ควรเปิดพัดลมหรือเครื่องปรับอากาศเด็ดขาด เพราะการเปิดพัดลมและแอร์จะทำให้สปอร์เชื้อราฟุ้งกระจายไปทั่วบ้าน
3. หลังทำความสะอาดบ้านเสร็จ ควรเปิดประตูหน้าต่างเพื่อให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก และให้แสงแดดส่องเข้าบ้านได้อย่างทั่วถึง
 
หวังว่าเทคนิคการกำจัดคราบเชื้อรานี้จะเป็นประโยชน์กับผู้ที่กำลังประสบกับปัญหาบ้านน้ำท่วม หรือหากแม่บ้านจะนำไปประยุกต์ใช้กำจัดคราบเชื้อราภายในบ้าน เพื่อให้บ้านสะอาดปราศจากเชื้อราก็ไม่ว่ากัน และกลับมาพบกับเทคนิคดีๆ ในการดูแลบ้านที่เราจะนำมาฝากกันอีกครั้งต่อไปนะคะ
แท็กที่เกี่ยวข้อง น้ำท่วมบ้าน น้ำลด กำจัดเชื้อรา,
Property Guru
เขียนโดย เช็คราคา.คอม Property Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)