x
icon-filter ค้นหาบ้าน
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter

เตรียมรับมือน้ำท่วม! ก่อนน้ำจะเข้าบ้าน

icon 12 ต.ค. 64 icon 3,846
เตรียมรับมือน้ำท่วม! ก่อนน้ำจะเข้าบ้าน
ช่วงนี้หลายพื้นที่ในประเทศไทยกำลังต้องประสบกับอุทกภัย Checkraka ขอเป็นกำลังใจให้กับทุกๆ ท่าน ให้ก้าวผ่านภัยนี้ไปได้อย่างปลอดภัยนะคะ และสำหรับอีกหลายพื้นที่รวมถึงกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ที่มวลน้ำกำลังจะไหลลงมา บางจังหวัดมีประกาศให้ยกของขึ้นที่สูงและเฝ้าระวังน้ำท่วมแล้ว ซึ่งการแจ้งเตือนน้ำท่วมมี 4 ระดับ ดังนี้
1. การเฝ้าระวังน้ำท่วม : พื้นที่มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดน้ำท่วม ต้องสังเกตุการณ์อย่างใกล้ชิด
2. การเตือนภัยน้ำท่วม : เตือนภัยว่าจะเกิดน้ำท่วมแน่นอน ให้เตรียมรับมือกับน้ำที่กำลังจะมาถึง
3. การเตือนภัยน้ำท่วมรุนแรง : ให้อพยพทันทีหากไม่สามารถออกจากพื้นที่ได้ให้รอการช่วยเหลือ
4. การกลับสู่ภาวะปกติ : แจ้งว่ากลับสู่ปกติหรือเป็นพื้นที่ไม่ได้รับผลกระทบจากภาวะน้ำท่วมแล้ว
หากเราอยู่ระดับที่ 1 และกำลังจะเข้าสู่ระดับที่ 2 จะทำยังไงดี? ตั้งสติให้ดีและวันนี้เรามีวิธีเตรียมรับมือน้ำท่วมมาบอกกันค่ะ
 

1. ขนย้ายสิ่งของและสัตว์เลี้ยงขึ้นที่สูงที่คาดว่าจะพ้นน้ำ

 
เมื่อประกาศเตือนภัยน้ำท่วมระดับ 1 หรือ 2 มาให้เริ่มนำของใช้ที่จำเป็นขึ้นที่สูงทันที บ้านใครมีชั้น 2 ขึ้นไปก็ให้ขนขึ้นไปไว้เลยค่ะ โดยอาจจะเริ่มจากเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีราคาแพง รวมถึงรถยนต์อาจจะต้องนำไปจอดไว้ที่ทางการจัดไว้ให้ เช่น อาคารจอดรถ ทางด่วน โทลล์เวย์ เป็นต้น (อาจจะต้องสอบถามอีกครั้ง)
 

2. กักตุนน้ำดื่มไว้ให้ได้มากที่สุด

 
น้ำสะอาดถือเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในการดำรงชีวิต และต้องระวังน้ำท่วมขังให้ดีด้วยค่ะ ห้ามบริโภคทุกอย่างที่สัมผัสน้ำ ระวังอย่าให้เข้าปาก ตา หรือจมูก เพราะเต็มไปด้วยเชื้อโรคที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า แถมยุคนี้เชื้อโควิดยังระบาดหนัก ใครมีเครื่องกรองก็กรอกใส่ขวดใหญ่ไว้หรือรีบหาซื้อกันไว้เลยนะคะ เพราะต้องใช้ทั้งดื่มและชำระร่างกาย
 

3. กักตุนอาหารพลังงานสูงและยาสามัญประจำบ้าน

 
อาหารที่ควรซื้อเก็บไว้คืออาการจำพวกหมูหยอง หมูฝอย ซีเรียลบาร์ อาหารกระป๋อง หรือโปรตีนชนิดผง เพราะไม่ต้องใช้เวลาในการประกอบอาหาร สามารถรับประทานได้ทันทีและอิ่มนาน ปริมาณที่เหมาะสมอาจจะอยู่ที่ 7 วัน (สำหรับทุกคนในครอบครัว) ส่วนยานั้นควรมีพาราเซตามอล เกลือแร่ ยาแก้ปวดท้อง ยาใส่แผล เป็นต้น
 

4. เก็บของสำคัญใส่กระเป๋าที่คล่องตัวพร้อมหยิบไปได้ทุกเมื่อ

 
ทุกคนในบ้านต้องมีกระเป๋าคนละ 1 ใบ ใส่สิ่งที่สำคัญที่สุดของตนเอง เช่น บัตรประชาชน ทะเบียนบ้าน สมุดบัญชี โฉนดที่ดิน เป็นต้น โดยกระเป๋าควรจะเป็นกระเป๋าเป้ หรือกระเป๋าที่มีซิป เอกสารที่เป็นกระดาษควรใส่ในถุงซิปล็อกอีกครั้งเพื่อป้องกันน้ำเข้า เมื่อใส่แล้ววางไว้ให้ใกล้ตัวเมื่อเกิดน้ำท่วมหากต้องอพยพต้องหยิบและพร้อมไปได้ทุกเมื่อ
 

5. ชาร์ตแบตเตอรีโทรศัพท์ไว้ให้เต็มอยู่เสมอ

โทรศัพท์เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมากในยุคนี้ ควรชาร์ตแบตให้เต็ม เปิดโหมดประหยัดพลังงานเพื่อรักษาแบตให้ได้มากที่สุด เพราะอาจจะต้องติดต่อเจ้าหน้าที่ให้เข้ามาช่วยเหลือ โดยเบอร์ที่สำคัญที่ควรบันทึกไว้มีดังนี้
  • สายด่วนนิรภัย โทร. 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง หรือ Line ID @1784DDPM
  • บริการแพทย์ฉุกเฉิน และนำส่งโรงพยาบาล ศูนย์นเรนทร โทร.1669
  • ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) สายด่วนรับแจ้ง-เตือนภัย 154 คู่สาย ตลอด 24 ชั่วโมง โทร. 1111 กด 5
  • ขอความช่วยเหลือจากเหตุน้ำท่วม (พื้นที่กรุงเทพมหานคร) ตลอด 24 ชั่วโมง โทร. 02-248-5115
  • แจ้งเหตุ-ขอความช่วยเหลือเหตุน้ำท่วม ผ่าน SMS สำหรับโทรศัพท์มือถือทุกเครือข่ายฟรี ส่งข้อความไปที่ 4567892
  • สายด่วนกรมชลประทาน โทร.1460, 026692560
  • สายด่วนกรมทางหลวง โทร.1586
  • ศูนย์ความปลอดภัย กรมทางหลวงชนบท โทร.1146
  • สายด่วนกรมทางหลวง โทร.1586
  • ศูนย์ปลอดภัยคมนาคม โทร. 1356
  • การไฟฟ้านครหลวง โทร.1130
  • การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค โทร.1129
  • สายด่วน 191
  • สายด่วนกรมตำรวจทางหลวง 1193 
  • สายด่วน กฟภ. โทร.1129
  • กรมอุตุนิยมวิทยา โทร. 1182
  • สายด่วนสุขภาพ (กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ) โทร. 0-2590-2000
 

6. ปิดเต้าเสียบไฟด้วยเทปกาว

 
วิธีนี้แม้จะกันน้ำไม่ได้ถ้าหากน้ำท่วมถึง แต่ก็ป้องกันไฟดูดและสะดวกต่อการมาเก็บกวาดทำความสะอาดเมื่อน้ำลดเพราะเศษดินต่างๆ จะไม่เข้าอุดตันไปในรูค่ะ
 

7. เตรียมอุปกรณ์ส่องสว่าง/ขอความช่วยเหลือ

 
เตรียมเทียนไข ไฟจุด หรือไฟฉายไว้ เผื่อทางการตัดไฟฟ้าก็จะทำให้เราสามารถดำรงชีวิตตอนกลางคืนได้อย่างปลอดภัย มองเห็นสัตว์มีพิษต่างๆ ที่มากับน้ำได้ และแสงไฟจากไฟฉายยังสามารถใช้ขอความช่วยเหลือได้ด้วย ส่วนอุปกรณ์อื่นๆ เช่น นกหวีด เชือก ถ้าหาไว้ได้ก็จะทำให้ได้รับการช่วยเหลือที่เร็วขึ้นค่ะ
 

8. เตรียมปิดวาล์วแก๊สและตัดระบบไฟ

 
ถ้าหากทราบว่าน้ำมาแน่ๆ ปิดแก๊สให้สนิท และตัดระบบไฟฟ้าที่ชั้น 1 (หากแยกระบบ) เพราะจะได้สามารถใช้ไฟที่ชั้น 2 ได้ หากไม่ได้แยกให้ตัดไฟทั้งบ้านเพื่อความปลอดภัยของชีวิต และไม่ใกล้เสาไฟ สายไฟตามถนนในระยะ 5 เมตร เพื่อป้องกันไฟดูด
 
หากอยู่ในพื้นที่ที่น้ำไม่ท่วมหนักมาก อาจก่อแนวกั้นน้ำหรือวางกระสอบทรายไว้ตรงบริเวณหน้าประตูเข้าบ้านก็จะช่วยให้น้ำซึมเข้าได้ช้าลง และป้องกันคลื่นที่มาจากการเคลื่อนที่ของรถยนต์ซัดเข้าบ้านได้ด้วย
 
สามารถติดตามข่าวสภาพอากาศและระดับได้ที่กรมอุตุนิยมวิทยา www.tmd.go.th กรมชลประทาน www1.rid.go.th/main/index.php/th กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย www.disaster.go.th
 
แท็กที่เกี่ยวข้อง น้ำท่วม ป้องกันน้ำท่วม น้ำท่วมบ้าน
Property Guru
เขียนโดย ปรียานุช สองศร Property Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)