CHERY Automobile ผู้นำนวัตกรรมยานยนต์ระดับโลก ประกาศวิสัยทัศน์พร้อมนำประเทศไทยตอกย้ำความเป็นผู้นำด้านนวัตกรรมยานยนต์ระดับโลก ด้วยการเปิดตัวเทคโนโลยีระบบขับเคลื่อนไฮบริดเจเนอเรชันใหม่ ที่มาพร้อมสมรรถนะ ความปลอดภัย และประสิทธิภาพพลังงานระดับสูงสุด เพื่อก้าวสู่ยุคใหม่แห่งพลังงานสะอาด ผ่านแบรนด์
CHERY,
OMODA และ
JAECOO ที่จะเป็นซึ่งเป็นหัวหอกสำคัญในการทำตลาดปีนี้ และยังเตรียมเปิดสายการผลิตในโรงงานไทยไตรมาส 3 การกลับมาอีกครั้งของแบรนด์ CHERY จะเป็นไปในทิศทางไหน
กูรูช้าง-สินธนุ จำปีศรี จะมาพูดให้ฟังครับ
อ่านบทความและข่าวที่เกี่ยวข้อง
การกลับมาอีกครั้งของแบรนด์ CHERY
.jpg.webp)
.jpg.webp)
หลังจากเปิดตัวรถยนต์ OMODA และ JAECOO มาได้สักระยะ ล่าสุดแบรนด์ CHERY ได้ประกาศเปิดตัวแบรนด์อย่างเป็นทางการในประเทศไทย พร้อมแผนการลงทุนสร้างโรงงานภายในประเทศ และเปิดตัวรถรุ่นใหม่อีกหลายรุ่นในปีนี้ โดยมีกำหนดการเปิดตัว JAECOO 5 EV และ JAECOO 6T EV ภายในไตรมาส 3 ตามมาด้วย OMODA C7 SHS และ OMODA C9 SHS ในไตรมาส 4 ของปีนี้
ส่วน CHERY ก็เตรียมเปิดตัวรถยนต์รุ่นใหม่หลายรุ่นได้แก่ CHERY Tiggo 8, CHERY V23 (iCAR V23), CHERY Tiggo Cross และ CHERY Tiggo 7 พร้อมทั้งเดินหน้าขยายเครือข่ายผู้จำหน่าย CHERY ทั่วประเทศไทยให้ครบ 30 แห่ง
แม้ก่อนหน้านี้หลายคนอาจเข้าใจว่า OMODA และ JAECOO อยู่ภายใต้ CHERY Automobile อยู่แล้ว แต่แท้จริงแล้วแต่ละแบรนด์มีการแยกบริหารและจัดตั้งโชว์รูมแยกชัดเจน เพื่อกระจายความเสี่ยงและวางกลยุทธ์เฉพาะของแต่ละแบรนด์
แนวทางการขยายตลาดของ CHERY ในไทย
- แบรนด์ CHERY เน้นรถพรีเมียมเป็นหลัก แต่เพื่อให้เข้ากับความต้องการตลาดไทยที่ SUV มาแรง เชอรี่เตรียมเปิดตัวรถ SUV รุ่นใหม่หลายรุ่น
- แบรนด์ลูก "iCAR" อย่าง V23 ที่เป็นรถออฟโรดขนาดกลาง จะถูกนำมาอยู่ภายใต้แบรนด์ CHERY ในไทย เพื่อให้เข้าถึงตลาดได้ง่ายขึ้น
- โชว์รูม OMODA/JAECOO และ Chery จะแยกออกจากกัน แม้จะอยู่ในกลุ่มเดียวกัน
รถรุ่นใหม่ของ CHERY ที่เตรียมเปิดตัวในไทยมีทั้งหมด 4 รุ่น ได้แก่
- CHERY V23 (เดิม iCAR V23) – รถสไตล์ออฟโรดเล็กกะทัดรัด ขับเคลื่อนสี่ล้อ มอเตอร์คู่ 400V กำลังประมาณ 221 แรงม้า แรงบิด 292 Nm
- CHERY TIGGO Cross – SUV ขนาดประมาณ OMODA C5 ใช้ระบบ Hybrid (เครื่องยนต์ 1.5L + มอเตอร์ไฟฟ้า) กำลังรวม 204 แรงม้า แรงบิด 310 Nm


- CHERY TIGGO 7 และ CHERY TIGGO 8 – เตรียมเข้าสู่ตลาดในช่วงปลายปี
จุดเด่นของแบรนด์ CHERY ในไทย
- มีแผนสร้างโรงงานในไทย คาดว่าจะผลิตรถรุ่น OMODA C5 และ JAECOO 6 EV
- ระบบขับเคลื่อน CHS (CHERY Hybrid System) / SHS (Super Hybrid System) ล้ำสมัย ที่โดดเด่นใน 4 ด้านหลัก
- ประสิทธิภาพพลังงานสูงสุด: เครื่องยนต์ไฮบริดเฉพาะทาง 1.5T GDI ให้ประสิทธิภาพทางความร้อนสูงถึง 44.5% สูงที่สุดในอุตสาหกรรม
- พลังขับเคลื่อนระดับโลก: ระบบส่งกำลัง DHT 230/280 สามารถให้กำลังสูงสุดถึง 280 กิโลวัตต์ และรอบเครื่องสูงสุดถึง 24,000 รอบ/นาที
- ความปลอดภัยเหนือมาตรฐาน: ระบบตัดพลังงานฉุกเฉินภายใน 2 มิลลิวินาที และการปกป้องในทุกสภาพอากาศ รวมถึงการลุยน้ำลึกถึง 700 มม.
- ความสามารถรอบด้าน (All Scenario): ระบบบริหารพลังงานล่วงหน้า (Predictive Energy Management) ลดการใช้พลังงานลง 15% และสามารถกู้คืนพลังงานจากเบรกได้ถึง 80%
โดย JAECOO J7 SHS (Plug-in Hybrid) เป็นตัวอย่างที่ใช้งานแล้วในไทย
โปรโมชั่นแรง
- OMODA C5 EV ปรับราคาเริ่มต้นที่ 649,000-699,00 บาท พร้อมปรับชื่อรุ่น Long Range Dynamic เดิมชื่อ Long Range Plus และ Long Range Max เดิมชื่อ Long Range Ultimate
- JAECOO 6 EV ปรับราคา
- JAECOO J7 SHS
.jpg.webp)
ความเป็นไปได้ของ “รถยนต์แบรนด์ไทย” ภายใต้ความร่วมมือกับ CHERY
CHERY Automobile ยังจับมือ บริษัท คิง เจน จำกัด (มหาชน) หรือ KGEN ภายใต้นโยบายการสนับสนุนการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.), สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และนโยบายการสนับสนุนการใช้ชิ้นส่วนภายในประเทศจากกระทรวงพาณิชย์ เพื่อศึกษาความเป็นไปได้และร่วมกันพัฒนาแบรนด์รถยนต์ไฟฟ้า (EV) สัญชาติไทย ซึ่งนับเป็นอีกหนึ่งก้าวสำคัญในการยกระดับศักยภาพอุตสาหกรรมยานยนต์ของประเทศไทยสู่การเป็นศูนย์กลางการผลิต EV ในภูมิภาค พร้อมขับเคลื่อนประเทศเข้าสู่ยุคใหม่แห่งพลังงานสะอาด และนวัตกรรมยานยนต์อย่างยั่งยืน
แต่ในมุมมอง กูรูช้าง มองว่าอาจเป็นไปใน 2 แนวทาง
- นำรถจากจีนมาประกอบและติดแบรนด์ไทย
- พัฒนาแบรนด์ไทยใหม่จากแพลตฟอร์มของเชอรี่
ความท้าทาย
- การสร้างแบรนด์ต้องใช้เวลาและงบประมาณมหาศาล
- ระบบบริการหลังการขาย ศูนย์บริการ อะไหล่ และความเชื่อมั่นในคุณภาพรถ
- ราคาต้องแข่งขันได้กับแบรนด์ต่างประเทศ เช่น หากต้นทุน 500,000 บาท ราคาขายควรไม่เกิน 700,000-800,000 บาท
.jpg.webp)
สรุปสำหรับแบรนด์ CHERYจากมุมมองกูรูช้าง
การที่ CHERY กลับมาลงทุนอย่างจริงจังในไทย สะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อมั่นในตลาด และยังเป็นโอกาสของประเทศไทยในการมี “แบรนด์รถยนต์สัญชาติไทย” หากมีความร่วมมืออย่างเหมาะสม ทั้งจากภาครัฐและเอกชน แต่กว่าจะถึงจุดนั้น สิ่งสำคัญคือต้องวางรากฐานให้มั่นคง ทั้งด้านคุณภาพสินค้า การบริการ และความเข้าใจในตลาดผู้บริโภคอย่างลึกซึ้ง