ประเมินวงเงินรู้ผลใน 3 นาที

กับ กรุงศรี ออโต้ พร้อมสตาร์ท

เริ่มประเมินวงเงินพร้อมสตาร์ท
ผ่านมือถือ สแกนเลย

ดูวงเงินพร้อมสตาร์ทที่ได้รับ

x
icon-filter ค้นหารถยนต์
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter

หัวชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าหน้าตาเป็นไงบ้าง?

icon 4 ก.ค. 65 icon 97,692
หัวชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าหน้าตาเป็นไงบ้าง?
ช่วงหลายเดือนที่ผ่านมามีคนสนใจรถยนต์ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับราคาน้ำมันที่ขึ้นพรวดแบบไม่สงสารคนบนโลกนี้ จากเหตุการณ์หลาย ๆ อย่างทั้งโรคระบาด เศรษฐกิจพัง ชิฟขาดแคลม ผลิตไม่ทัน และสงคราม ทำให้หลายคนเริ่มสนใจรถยนต์ไฟฟ้าและหาข้อมูลเพิ่มมากขึ้น 
รถยนต์ไฟฟ้าจึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่จำเป็นมากขึ้นในยุคน้ำมันแพง แต่ก่อนจะซื้อรถยนต์ไฟฟ้ามาใช้งานจะต้องคำนึงในหลายด้าน ทั้ง การใช้งานประจำวัน ระยะทางที่ใช้ ความพร้อมของระบบไฟฟ้าในบ้าน ฯลฯ และสิ่งที่จำเป็นต้องรู้และศึกษาอีกก็คือ "หัวชาร์จ" สำหรับรถยนต์ไฟฟ้า ว่ามีกี่แบบ หน้าตาเป็นอย่างไร และใช้งานอย่างไร 

หัวชาร์จมีกี่แบบ

หัวชาร์จไม่ว่าจะตามสถานีชาร์จต่าง ๆ หรือติดตั้งเองที่บ้านนั้น ในประเทศไทยจะมีอยู่ด้วยกัน 3 แบบ คือ AC Type 2 , CHAdeMO และ CCS2 (DC charger) แล้วแบบไหนใช้งานกับรถอะไร มาทำความรู้จักอีกทีครับ 
AC หัวชาร์จไฟฟ้ากระแสสลับ หรือไฟแบบตามบ้าน อาคาร ต่าง ๆ จากการใช้กำลังไฟฟ้าแบบ 220V ปกติทั่วไป หรือบางแห่งเพิ่มกำลังไฟฟ้าให้สูงเท่าระบบโรงงานอุตสหกรรม เป็น 380V ก็ได้ หัวชาร์จแบบ AC นี้รถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยมักนิยมเป็น Type 2 กันแทบทั้งหมด ซึ่งแบบ Type 1 อาจจะพบเจอได้น้อยกว่า โดยหัวชาร์จแบบนี้สามารถใช้ได้กับทั้งรถยนต์ไฟฟ้าล้วน 100% และรถยนต์แบบปลั๊กอิน ไฮบริด
ซึ่งจะจ่ายกระแสไฟฟ้าช้าและใช้เวลานาน หากต้องการกำลังเพิ่มขึ้นสัก 10% อย่างน้อยใช้เวลาถึงเกือบ 2 ชม. (ขึ้นกับกำลังไฟที่จ่ายออกมาและความเร็วในการรับไฟเข้าแบตฯของรถรุ่นนั้น)  แต่ก็นับเป็นการชาร์จแบบมาตรฐานที่จะไม่ทำให้ระบบแบตเตอรี่เสื่อมเร็ว เนื่องจากความร้อนน้อยและเป็นการค่อย ๆ อัดประจุไฟฟ้าเข้าเซลส์แบตเตอรี่ ช่วยถนอมแบตฯ ให้ยาวนานกว่า โดยระยะเวลาในการชาร์จขึ้นอยู่กับขนาดกำลังไฟที่จ่ายออกไป เช่น ตั้งแต่ 7 - 50 KhW เป็นต้น   
CHAdeMO ชาร์จเร็วแบบกระแสตรง (DC)  อันนี้เป็นหัวชาร์จที่ในปัจจุบันเหลือเพียงรถยนต์จากค่าย Nissan เท่านั้น เจ้าอื่น ๆ ไม่นิยมใช้งานกัน และส่วนใหญ่จะมีในสถานีชาร์จของปั้มปตท.บางแห่งอีกด้วย หัวชาร์จนี้เป็นแบบ DC ชาร์จเร็ว จึงใช้เวลาในการชาร์จถึง 80% ในเวลาไม่ถึง 45 นาที ขึ้นอยู่กับปริมาณคงเหลือในแบตฯ กระแสไฟที่จ่ายจากตู้ด้วย 
CCS2 (DC)  หัวชาร์จกระแสตรงรวดเร็วใช้แพร่หลาย เรียกว่ารถยนต์ไฟฟ้าแทบทุกรุ่นสามารถใช้งานได้ และยังจ่ายไฟรวดเร็วแบบ Quick charger ใช้เวลาไม่ถึง 30 - 45 นาที ไฟก็กลับมาเต็ม 80% ได้สบาย ๆ 
การชาร์จ CCS2 (DC) และ CHAdeMO แบบเร็วหรือ Quick Charger จะถูกจำกัดไว้เพียง 80% เท่านั้น เพื่อการถนอมแบตเตอรี่จากการสะสมความร้อน ป้องกันแบตฯ เสื่อมเร็วนั่นเองครับ

การใช้งานสถานีชาร์จ

 ก่อนที่จะใช้งานสถานีชาร์จต่าง ๆ จะต้องดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่นของผู้ให้บริการนั้น ๆ ด้วย เช่น EV Station, EA Anyeher, MEA EV, PEA VOLTA เป็นต้น เพราะจะต้องลงทะเบียนข้อมูลต่าง ๆ พร้อมกับผูกบัตรเครดิตเข้าไปเพื่อใช้ในการจ่ายเงิน แต่ก้มีบางเจ้าสามารถจ่ายด้วยการสแกนหรือผูกบัญชีธนาคารที่ตู้ได้เลยอย่างเช่นของ EleXA By BMW ที่ใช้งานสะดวก แต่ก็มีจุดให้บริการน้อยกว่าชาวบ้าน 
ขั้นตอนการใช้งานของแต่ละให้บริการก็คล้าย ๆ กัน เช่น เข้าไปค้นหา เลือกประเภทหัวชาร์จ กดจอง หรืออาจจะมาถึงแล้วค่อยสแกนที่หัวชาร์จเลยก็ได้  แต่ในกรณีจอง หากมาช้าเกินกว่าเวลาจอง 10 - 15 นาที ระบบจะตัดการจอง เพื่อให้สิทธิกับคนที่ใช้บริการอื่น ๆ ต่อไป หรือบางเจ้าก็อาจจะตัดเงินค่าจองอีกด้วยครับ และเพื่อป้องกันการ "กั๊ก" ที่ชาร์จได้อีกด้วย 
เมื่อมาถึงก็สแกนคิวอาร์โค้ดที่หัวชาร์จหรือหน้าจอ แล้วแต่ผู้ให้บริการ จากนั้นก็ชำระเงิน รอให้แอปฯ มีการแสดงผลการชาร์จ เป็นอันเสร็จ รอจนกว่าจะชาร์จเรียบร้อยในกรณีระบบชาร์จเร็ว DC ก็ใช้เวลาไม่เกิน 30 - 45 นาที ส่วนแบบ AC จะใช้เวลานาน  แต่โดยทั่วไปแล้วจะกำลังให้ใช้ได้ครั้งละไม่เกิน 3 - 5 ชม. แล้วแต่สถานีชาร์จครับ ถ้าเป็นตามห้างสรรพสินค้าก็จะให้ไม่เกิน 4 ชม. ครับ     
ในการใช้งานหัวชาร์จสาธารณะหรือสถานีต่าง ๆ นั้น ต้องมีแอปฯ ของผู้ให้บริการ จึงใช้งานได้ และค่าใช้จ่ายจะไม่เท่ากันทุกครั้ง เวลาในการใช้งานจะแบ่งตามประเภทการชาร์จ ถ้าชาร์จ DC จะไม่เกิน 45 นาทีก็เต็ม 80% ระบบก็ตัดหยุดชาร์จไฟ เจ้าของรถจึงต้องคอยดูสถานะให้แอปฯ เองด้วยว่าชาร์จเสร็จหรือยัง เพื่อให้ผู้อื่นมาใช้บริการต่อไปได้ อย่ากั๊ก อย่าจอดแล้วไปทำธุระนาน 
 
ส่วนการชาร์จปกติแบบ AC จะใช้เวลานานกว่าจึงสามารถทำธุระได้นานขึ้น โดยทั่วไปก็ใช้ได้ไม่เกิน 4 ชม. ต่อครั้ง และเจ้าของรถก็ต้องดูสถานะในแอปฯ ด้วยว่าใกล้สิ้นสุดการชาร์จหรือไม่ เพื่อให้คันอื่นใช้งานต่อไปครับ 
บางครั้งการใช้งานก็ต้องค้นหาดูก่อนว่าหัวชาร์จที่จะใช้ว่างหรือไม่ บางครั้งอาจต้องจองล่วงหน้า เพื่อให้ไปถึงแล้วได้ชาร์จทันทีไม่เสียเวลา และจะต้องไปให้ตรงเวลาด้วยครับ ไม่เช่นนั้นระบบจะถือว่าจองแล้วไม่มา ก็จะยกเลิกอัตโนมัติโดยบางแอปฯ ก็ต้องเสียค่าใช้จ่ายด้วย 
เมื่อเรียนรู้ที่จะใช้หัวชาร์จแล้วรับรองว่า การใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าไม่ยากกว่าที่คิด แค่ต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการเติมพลังงานจากน้ำมันเป็นไฟฟ้าและต้องบริการตนเอง นอกจากนี้ใครที่ซื้อรถยนต์ไฟฟ้าส่วนใหญ่ก็จะมีเครื่องชาร์จติดตั้งที่บ้าน หากใช้งานในระยะทางไม่เกินกว่าที่รถรุ่นนั้น ๆ กำหนด ก็สามารถกลับมาชาร์จที่บ้านได้ ไม่ต้องวุ่นวายกับการค้นหารสถานีชาร์จไฟ แค้ถ้าใครจำเป็นต้องเดินทางไกล ๆ อาจจะต้องเผื่อเวลาและวางแผนดี ๆ สักหน่อย เพราะว่าจะต้องขับไปชาร์จไป ใช้ชีวิตในปั้มน้ำมันหรือจุดชาร์จที่ไม่สิ่งอำนวยความสะวดกใด ๆ เลยก็เป็นได้ครับ 
แท็กที่เกี่ยวข้อง รถยนต์ไฟฟ้า new mg zs ev ora good cat BMW iX3 M Sport
CAR GURU
เขียนโดย สินธนุ จำปีศรี CAR GURU

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)