ประเมินวงเงินรู้ผลใน 3 นาที

กับ กรุงศรี ออโต้ พร้อมสตาร์ท

เริ่มประเมินวงเงินพร้อมสตาร์ท
ผ่านมือถือ สแกนเลย

ดูวงเงินพร้อมสตาร์ทที่ได้รับ

x
icon-filter ค้นหารถยนต์
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter

อาการเบรกแตกเป็นอย่างไร และวิธีปฏิบัติเบื้องต้นเมื่อเบรกไม่อยู่!

icon 22 ก.พ. 60 icon 50,184
อาการเบรกแตกเป็นอย่างไร และวิธีปฏิบัติเบื้องต้นเมื่อเบรกไม่อยู่!

อาการเบรกแตกเป็นอย่างไร?

อาการ "เบรกแตก" "เบรกหาย" เบรกแล้วจม! ล้วนเกิดจากระบบเบรกที่มีปัญหา เกิดการรั่วซึมจากทีละน้อยไปจนถึงรั่วมากๆ มาดูสาเหตุและวิธีการป้องกันแกไขกันดีกว่า
ระบบเบรก
ระบบเบรกเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของรถยนต์ ทำหน้าที่ห้ามล้อ ชะลอหรือลดความเร็ว โดยมีส่วนประกอบคือ หม้อลมเบรก กระบอกลูกสูบเบรกด้านบน (ส่วนที่ต่อกับแป้นเบรกในรถ), ท่อทางเดินระบบเบรกไปยังชิ้นส่วนต่างๆ, วาล์วควบคุมแรงดันและกระจายแรงเบรก, อุปกรณ์ระบบปั๊ม ABS (ถ้ามี), แม่ปั๊มเบรกล่างหรือคาลิปเปอร์ (ดิสก์เบรก) / ลูกสูบเบรก (ดรัมเบรก), และน้ำมันเบรก เป็นต้น   

ภาพจาก www.how-to-build-hotrods.com
หลักการทำงาน เมื่อเหยียบแป้นเบรก ขาเบรกจะมีแกนที่ต่อไปกระบอกสูบด้านบน และเคลื่อนที่เพื่อดันน้ำมันเบรกที่อยู่ภายในให้ไหลไปตามท่อทางเดินและผ่านอุปกรณ์ต่างๆ เช่น วาล์วกระจายแรงเบรก, ระบบ ABS และไปยังแม่ปั๊มเบรกล่างทั้งคาลิปเปอร์ที่ล้อหรือกระบอกลูกสูบเบรก (ดรัม) ทั้ง 4 ล้อ เพื่อขยับหรือดันให้ผ้าเบรกไปสัมผัสกับจานเบรก/ดรัมเบรก เพื่อให้เกิดความฝืดและสามารถชะลอหรือหยุดรถได้ โดยอาศัยหน้าสัมผัสผ้าเบรกเป็นตัวช่วยสร้างความฝืดที่จาน/ดรัมเบรกนั่นเอง

ภาพจาก echanicalgoods.blogspot.com

ภาพจาก echanicalgoods.blogspot.com

ภาพจาก motorist.org
อาการของเบรกรั่ว-ซึม
อาการเบรกรั่วซึมสังเกตได้โดย เมื่อวางเท้าบนแป้นเบรกและออกแรงกดหนักๆ หากพบว่าแป้นเบรกค่อยๆ จมลงเรื่อยๆ อย่างช้าๆ แสดงว่ามีการรั่วซึมเกิดขึ้น การรั่วซึมนั้น สามารถแบ่งออกเป็นรั่วซึมภายนอก เช่น เกิดการรั่วตามท่อทางเดินน้ำมันเบรก, ข้อต่อต่างๆ ระหว่างอุปกรณ์ในระบบ และแม่ปั๊มตัวบนหรือล่างเกิดรั่วซึม อาการนี้มักส่งผลให้น้ำมันเบรกในกระปุกที่ใส่เอาไว้ลดต่ำลงหรือแห้งจนเกือบหมด ทำให้ไม่มีน้ำมันเบรกในระบบ 


ระดับน้ำมันเบรกไม่ควรลดลงบ่อยเกินไป

ระบบเบรกรั่วอาจเกิดจากสายเบรกบริเวณคาลิปเปอร์เบรกหน้า
การรั่วภายในระบบ เช่น เกิดช่องว่างระหว่างผิวกระบอกแม่ปั๊มเบรกด้านบนกับลูกยางที่ทำหน้าที่ผลักน้ำมันเบรก ไม่สามารถดันน้ำมันฯ ไปในทิศทางกำหนดได้ และเกิดการรั่วย้อนกลับมาอีกฝั่งของลูกสูบเบรก ส่งผลให้น้ำมันไม่สามารถส่งแรงดันไปยังล้อได้นั่นเอง 

แม้ระดับน้ำมันไม่ ลดอาการเบรกไม่อยู่อาจเกิดขึ้นได้จากการรั่วในกระบอกแม่ปั๊มตัวบน
อาการรั่วอีกกรณีที่เรียกกันว่า "เบรกแตก" มักเกิดจากการรั่วออกของน้ำมันเบรกในปริมาณที่มากๆ จนกระบอกเก็บน้ำมันเบรกแห้งสนิทไม่มีน้ำมันอยู่ในระบบ ทำให้ไม่สามารถเบรกได้
วิธีปฏิบัติเบื้องต้นเมื่อเบรกไม่อยู่!
หากเกิดอาการเหยียบเบรกแล้วจมหายไปหรือเบรกไม่อยู่ไม่ต้องตกใจครับ เพียงแค่ย้ำเบรกแรงๆ และถี่ๆ พร้อมกับเปลี่ยนตำแหน่งเกียร์ให้ต่ำลงมา หากเป็นเกียร์อัตโนมัติก็เลือกตำแหน่ง 2, L หรือเกียร์ต่ำ เพื่อให้เครื่องยนต์ช่วยลดความเร็ว หรือรถยนต์เกียร์ธรรมดาให้ใช้เกียร์ต่ำค่อยๆ ลดระดับลงเรื่อยๆ ซึ่งโดยปกตินั้นการรั่วของระบบเบรกมักรั่วภายในกระบอกแม่ปั๊มเบรกด้านบน จึงไม่สามารถสังเกตการลดต่ำลงของน้ำมันเบรกในกระบอกเก็บได้ แต่ใช้วิธี "ย้ำ" เบรกถี่เพื่อกระตุ้นให้ระบบพอทำงานได้และชะลอรถได้อย่างปลอดภัย เมื่อจอดรถได้ปลอดภัยแล้วรีบติดต่อศูนย์บริการใกล้ๆ นำรถเข้ารับบริการทันทีครับ 

เบรกย้ำบ่อยๆ จนรู้สึกว่าแป้นเบรกเริ่มแข็งสู้เท้าขึ้นมา

หากเกียร์เป็นโหมดบวก-ลบให้ใช้ตำแหน่ง "ลบ" ให้เกียร์ต่ำลง

แป้นเกียร์แบบนี้ใส่ตำแหน่ง "M"

เกียร์ธรรมดาให้เปลี่ยนตำแหน่งจังหวะต่ำลงมาตามความเร็วที่เหมาะสม
เบรกรั่วซ่อมได้
เมื่อตรวจสอบให้แน่ใจแล้วว่า สาเหตุเกิดจากอะไร สามารถซ่อมแซมได้ไม่ยากนัก และงบประมาณไม่สูง หากนำรถเข้าศูนย์บริการอาจคิดค่าบริการรายชั่วโมงเพิ่มเติมขึ้นมาบ้าง แต่นับว่าให้ความน่าเชื่อถือและมั่นใจในอะไหล่แท้ๆ ได้ ส่วนผู้ที่ซ่อมนอกศูนย์ แนะนำว่าควรเลือกร้านที่มีประสบการณ์ด้านระบบเบรกโดยตรงหรือมีความชำนาญสูง เพื่อจะได้แก้ไขปัญหาได้ตรงจุด และสามารถกลับมาใช้งานได้อย่างปลอดภัย 

ภาพจาก seller.gasgoo.com
ลักษณะการซ่อมระบบเบรก หากเกิดจากการรั่วภายในกระบอกแม่ปั๊มด้านบน สามารถซื้อชุดซ่อมมาเปลี่ยนได้ ประกอบด้วย ลูกยาง, สปริง, โอริง เป็นต้น ในกรณีที่ผิวของกระบอกเบรกด้านในยังมีสภาพดี ไม่มี "ตามด" หรือพื้นผิวที่ขรุขระ สามารถเปลี่ยนชุดซ่อมได้เลย แต่ถ้าหากผิวกระบอกเบรกด้านในมีร่องรอยมาก ควรเปลี่ยนทั้งกระบอกเพื่อให้ใช้งานได้ในระยะยาว โดยราคาชุดซ่อมนั้นขึ้นกับรุ่นรถและร้านจำหน่าย โดยมีราคาเฉลี่ยราวๆ 600 - 1,000 บาทขึ้นไป ส่วนอะไหล่กระบอกเบรกทั้งชุดอยู่ที่ราวๆ 3,000 บาทขึ้นไป (ศูนย์บริการมาตรฐานของค่ายรถยนต์มีค่าแรงเป็นรายชั่วโมงรวมเข้าไปด้วย) 

ภาพจาก www.eurotruck-importers.com
การดูแลรักษา
การดูแลรักษาระบบเบรกรถยนต์นั้นทำได้ง่ายๆ เพียงหมั่นตรวจเช็คระดับน้ำมันเบรกที่อยู่ในกระบอกเก็บว่าลดระดับลงมากน้อยเพียงใด และระยะเวลาในการลดสั้นหรือยาว เช่น ตรวจเช็คทุกๆ 2 เดือนระดับไม่ลด นับว่าปกติ แต่ถ้าตรวจเช็คทุกเดือนระดับน้ำมันเบรกในกระบอกเก็บลดลงต่ำบ่อยๆ อาจเกิดการรั่วซึมได้

การดูระดับน้ำมันเบรกที่ลดระดับลงในบางกรณีนั้นอาจเกิดจากการใช้งานของผ้าเบรกที่สึกหรอและบางลงไปเรื่อยๆ น้ำมันเบรกจะถูกไหลเข้าไปแทนที่เนื้อผ้าเบรกที่บางลงไป จึงทำให้ระดับน้ำมันเบรกลดลงตามไปแทนที่กัน

ดังนั้น เพื่อความแน่ใจให้ใช้วิธีเหยียบแป้นเบรกเต็มแรงค้างเอาไว้ และสังเกตดูว่าแป้นเบรกต้องไม่ขยับต่ำลง หากพบว่าขยับต่ำลงเรื่อยๆ และค่อยๆ จมจนติดพื้น แสดงว่าเกิดการรั่วและนำรถเข้าตรวจเช็คต่อไป ขั้นตอนนี้ควรติดเครื่องยนต์เอาไว้ด้วยนะครับ
อาการผิดปกติต่างๆ เกี่ยวกับเบรก เป็นสิ่งที่ผู้ใช้รถยนต์มีโอกาสต้องพบในรถคันเก่งของคุณเมื่อใช้งานมาเป็นเวลานาน ซึ่งบางครั้งไม่สามารถคาดเดาได้ว่าระบบเบรกจะรั่วเมื่อไหร่ แต่อย่างน้อยก็พอที่จะแก้ปัญหาเฉพาะหน้าให้สามารถหยุดรถได้อย่างปลอดภัย และที่สำคัญเมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิด "ต้องมีสติและไม่ตื่นตระหนก" นะครับ
แท็กที่เกี่ยวข้อง อาการเบรกแตกเป็นอย่างไร? เบรกแตก เบรกหาย เบรกไม่อยู่ เบรกรั่ว เบรกจม
CAR GURU
เขียนโดย เช็คราคา.คอม CAR GURU

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)