ประเมินวงเงินรู้ผลใน 3 นาที

กับ กรุงศรี ออโต้ พร้อมสตาร์ท

เริ่มประเมินวงเงินพร้อมสตาร์ท
ผ่านมือถือ สแกนเลย

ดูวงเงินพร้อมสตาร์ทที่ได้รับ

x
icon-filter ค้นหารถยนต์
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter

"ดัดแปลงสภาพรถ" แบบไหนผิด แบบไหนถูก มาดูกัน

icon 12 ต.ค. 59 icon 114,003
"ดัดแปลงสภาพรถ" แบบไหนผิด แบบไหนถูก มาดูกัน

"ดัดแปลงสภาพรถ" แบบไหนผิด แบบไหนถูก มาดูกัน

กลายเป็นประเด็นใหญ่ สำหรับผู้ใช้รถยนต์กระบะที่บรรทุกของและดัดแปลงสภาพช่วงล่างรถยนต์กระบะด้วยการเสริมแหนบ จนมีคลิปโด่งดังในโลกโซเชียลเน็ตเวิร์ค รวมถึงผู้ใช้รถยนต์ทั่วไปที่ติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ กับตัวรถ เช่น แร็คจักรยาน บันไดข้าง หรือ โครงหลังคาเหล็กสำหรับรถกระบะ จนถูกร้องเรียนจากการถูกจับกุมจากเจ้าหน้าที่ตำรวจกันมากมาย วันนี้เช็คราคา.คอม มีคำตอบมาให้ครับว่า กรณีติดตั้ง ดัดแปลง และเสริมอุปกรณ์ต่างๆ นั้น แบบไหนถูก แบบไหนผิด และต้องทำอย่างไรให้ถูกต้องมาดูกันเลย

ดัดแปลงสภาพรถแบบไหนถูก แบบไหนผิด ?

เนื่องจากผู้ใช้รถมีความเดือดร้อนจากการถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมในข้อหาดัดแปลงสภาพรถ ทั้งการดัดแปลงช่วงล่าง โครงหลังคาในรถปิคอัพ หรือส่วนต่างๆ ของรถยนต์ และได้ร้องเรียนไปยังสื่อต่างๆ  ทางกรมการขนส่งทางบกจึงได้มีหนังสือชี้แจงไปยังผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติและเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องถึงการดัดแปลงสภาพรถยนต์ว่าอย่างไรผิด อย่างไรถูก เช่น การดัดแปลงสภาพรถยนต์ที่ต้องแจ้งต่อกรมขนส่ง โดยมีเนื้อหาสำคัญแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ การดัดแปลงแก้ไขสภาพรถยนต์ ที่ "ต้องแจ้ง" กับ "ไม่ต้องแจ้ง" ต่อนายทะเบียน 
1. การแก้ไขดัดแปลงสภาพรถที่ "ต้องแจ้ง" ขออนุญาตต่อนายทะเบียน เป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงตัวรถ หรือส่วนใดส่วนหนึ่งของรถให้ผิดไปจากรายการที่จดทะเบียนไว้ เจ้าของรถต้องแจ้งต่อนายทะเบียนเพื่อแก้ไขรายการในเอกสารใบคู่มือจดทะเบียนให้ถูกต้องก่อนนำรถไปใช้งาน ซึ่งได้แก่ การเปลี่ยนเครื่องยนต์, สีรถ, การติดตั้งโครงหลังคา หรือโครงเหล็กด้านในรถ, ฝาปิดด้านท้ายติดตั้งอุปกรณ์ทุ่นแรงยกสิ่งของ, หรือการเปลี่ยนชนิดเชื้อเพลิง รวมทั้งการแก้ไขเปลี่ยนตัวถังรถ ระบบรองรับน้ำหนัก ระบบกันสะเทือน ระบบบังคับเลี้ยว และระบบขับเคลื่อน เป็นต้น
จากข้อความข้างต้น สามารถสรุปได้ว่า การดัดแปลงรถใดๆ ที่อยู่ในข้อ 1 หากไม่มีการแจ้งแก้ไขต่อกรมการขนส่งนับว่า "ผิด" 
2. การแก้ไขดัดแปลงรถที่ "ไม่ต้องแจ้ง" ขออนุญาตนั้น ได้แก่ การติดตั้งอุปกรณ์ตกแต่งรถหรืออุปกรณ์อำนวยความสะดวกต่าง เช่น แร็คหลังคา, โรลบาร์, บันไดขึ้น-ลงรถ, สปอยเลอร์, แม็กไลน์เนอร์, กันชน, อุปกรณ์ขนจักรยาน, และจุ๊บไขลาน เป็นต้น เนื่องจากเป็นการเสริมเพียงเล็กน้อยไม่ทำให้สภาพรถเปลี่ยนไป หากขนาดและตำแหน่งที่ติดตั้งเหมาะสมมีความแข็งแรงมั่นคงปลอดภัยในการใช้งาน รวมทั้งไม่ก่อให้เกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจของผู้อื่น การดำเนินการดังกล่าวไม่ถือเป็นการดัดแปลงสภาพรถและไม่มีความผิดแต่ประการใด
ดังนั้นหากใครที่มีการดัดแปลงรถยนต์ในลักษณะที่เข้าข่าย "ผิด" ก็ควรดำเนินการให้ถูกต้องเพื่อความสะดวกและความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน

หนังสือชี้แจงจากกรมการขนส่งทางบกเกี่ยวกับการแก้ไขดัดแปลงสภาพรถ
และการติดตั้งอุปกรณ์ตกแต่งรถ หรืออุปกรณ์อำนวยความสะดวกต่างๆ
สรุปการดัดแปลงที่ต้องแจ้งขออนุญาต และไม่ต้องแจ้งขออนุญาต
1. "ต้องแจ้ง" ขออนุญาตต่อนายทะเบียนก่อน ได้แก่
  • เปลี่ยนเครื่องยนต์
  • เปลี่ยนสี
  • ติดตั้งโครงหลังคาหรือโครงเหล็กด้านข้างรถ
  • ฝาปิดด้านท้ายติดตั้งอุปกรณ์ทุ่นแรงยกสิ่งของ
  • เปลี่ยนชนิดเชื้อเพลิง
  • แก้ไขดัดแปลงตัวถังรถ
  • ระบบรองรับน้ำหนัก
  • ระบบกันสะเทือน
  • ระบบบังคับเลี้ยว
  • ระบบขับเคลื่อน
2. "ไม่ต้องแจ้ง" ขออนุญาตต่อนายทะเบียน ได้แก่
  • แร็คหลังคา
  • โรลบาร์ 
  • บันไดขึ้น-ลงห้องโดยสาร 
  • สปอยเลอร์ 
  • แม็กไลน์เนอร์ 
  • กันชน 
  • อุปกรณ์ขนจักรยาน จุ๊บไขลาน
ในกรณีที่ต้องแจ้งต่อนายทะเบียน หลักฐานในการแจ้งมีอะไรบ้าง?
ในกรณีที่ต้องแจ้งดัดแปลงสภาพรถต่อนายทะเบียนต้องใช้เอกสารต่างๆ ดังต่อไปนี้ 
  • คู่มือจดทะเบียนรถยนต์
  • ใบมอบอำนาจพร้อมบัตรประชาชนตัวจริง กรณีไม่มายื่นด้วยตนเอง
  • กรณีเปลี่ยนสีต้องมีหลักฐาน เช่น ใบเสร็จค่าจ้าง หรือใบยืนยันทำสีด้วยตนเอง
  • กรณีเปลี่ยนเครื่องยนต์ต้องมีหลักฐานการส่งบัญชีรับและจำหน่ายเครื่องยนต์ หนังสือแจ้งจำหน่าย ใบเสร็จ หนังสือซื้อขายหรือหลักฐานการยกเครื่องยนต์ให้ เป็นต้น

การติดตั้งโครงหลังเหล็ก จำเป็นต้องแจ้งหรือไม่?

ในส่วนของการต่อเติมโครงหลังเหล็กสำหรับรถยนต์กระบะ นับเป็นการดัดแปลงที่เข้าข่ายต้องแจ้งขออนุญาตต่อนายทะเบียนก่อน หากไม่ดำเนินการแจ้งเอาไว้จะมีความผิด ถูกปรับถึง 2,000 บาท ซึ่งจากบันทึกข้อความกรมการขนส่งทางบกได้ชี้แจ้งไว้ดังนี้

การนำรถกระบะบรรทุก (ไม่มีหลังคา) ไปติดตั้งหลังคาหรือโครงเหล็กมีฝาปิดด้านข้างและท้าย หรือเสริมกระบะข้าง หรือแก้ไขดัดแปลงเป็นรถตู้บรรทุกโดยมิได้แจ้งต่อนายทะเบียน ถือเป็นความผิดฐานดัดแปลงสภาพรถให้ผิดไปจากลักษณะของรถที่จดทะเบีนนไว้ ตามมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท เจ้าของรถต้องแจ้งต่อนายทะเบียนเพื่อแก้ไขลักษณะรถในเอกสารคู่มือจดทะเบียนให้ถูกต้องก่อน จึงนำไปใช้งานได้ โดยนำรถไปตรวจสภาพพร้อมแนบหลักฐานดังต่อไปนี้
  • คู่มือจดทะเบียน 
  • หลักฐานประจำตัวเจ้าของรถ สำเนาบัตรประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน หนังสือรับรองการจดทะเบียน (กรณีนิติบุคคล)
  • หลักฐานการได้มาของอุปกรณ์ที่ดัดแปลงรถ (ใบเสร็จ)
  • หนังสือมอบอำนาจ หากไม่มาด้วยตัวเอง 
สำหรับการติดตั้งอุปกรณ์ตกแต่งหรืออุปกณ์อำนวยความสะดวก แร็คหลังคา โรลบาร์ บันไดขึ้น-ลงห้องโดยสาร สปอยเลอร์ แม็กซ์ไลน์เนอร์ หรือกันชน เป็นต้น เป็นการเสริมอุปกรณ์เพียงเล็กน้อย  ไม่ทำให้สภาพของรถเปลี่ยนแปลงไป หากการติดตั้งมีความมั่นคงแข็งปลอดภัยในการใช้งานและไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อร่ายกายและจิดใจของผู้อื่น การดำเนินการดังกล่าวไม่ถือเป็นการดัดแปลงสภาพรถและไม่มีความผิดตามกฏหมายแต่ประการได้
การดัดแปลงสภาพรถยนต์นั้น มีทั้งที่ต้องแจ้ง และไม่ต้องแจ้ง ผู้ใช้รถยนต์ควรศึกษาให้ดีและครบถ้วน เพื่อความปลอดภัยต่อผู้ใช่รถใช้ถนนด้วยกัน และไม่ต้องกังวลเรื่องจะถูกจับอีกด้วย
แท็กที่เกี่ยวข้อง รถยนต์ รถกระบะ ดัดแปลงสภาพ แร็คจักรยาน เสริมแหนบ
CAR GURU
เขียนโดย เช็คราคา.คอม CAR GURU

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)