รองศาสตราจารย์ ดร.อนันต์ ทองระอา อธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (กลาง), คุณกฤษฎา อุตตโมทย์ ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารกิจการองค์กร บริษัท บีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป ประเทศไทย (ซ้าย) และคุณปริญ กัญจนาทิพย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เชิดชัยออโต้เฮ้าส์ (ขวา) ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือพื่อขับเคลื่อนนวัตกรรมและสร้างการเปลี่ยนแปลงด้านพลังงานอย่างยั่งยืนในการขยายผลโครงการ ReVolt เพื่อยกระดับความยั่งยืนจากแนวคิดสู่การปฏิบัติจริงในวงกว้าง เป็นโครงการริเริ่มที่ได้รับรางวัลของเชิดชัย ออโต้เฮาส์ ในการนำแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่ ความร่วมมือเชิงกลยุทธ์นี้ตอกย้ำความมุ่งมั่นร่วมกันในการพัฒนาโซลูชันเศรษฐกิจหมุนเวียน และเสริมสร้างความเป็นผู้นำของบีเอ็มดับเบิลยูในด้านนวัตกรรมที่ยั่งยืนในอุตสาหกรรมยานยนต์
โครงการ “ReVolt” โดยเชิดชัย ออโต้เฮาส์ร่วมกับรองศาสตราจารย์ ดร.วรวัฒน์ มีวาสนา อาจารย์ประจำสำนักวิชาวิทยาศาสตร์
ความร่วมมือในบันทึกข้อตกลงดังกล่าวนี้มีเป้าหมายหลักเพื่อขับเคลื่อนนวัตกรรมและสร้างการเปลี่ยนแปลงด้านพลังงานอย่างยั่งยืน โดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีจะร่วมดำเนินงานในสองประเด็นหลัก ได้แก่ 1) การนำแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนจากยานยนต์ไฟฟ้าที่ผ่านการใช้งานแล้ว มาใช้ประโยชน์ใหม่ในโครงการ ReVolt 2) การพัฒนาเทคโนโลยีสำหรับการรีไซเคิลแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนจากยานยนต์ไฟฟ้าที่หมดอายุการใช้งาน โดยได้รับการสนับสนุนจากบีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป ประเทศไทย ความร่วมมือนี้จะนำไปสู่การพัฒนาบุคลากรของมหาวิทยาลัย ทั้งในด้านองค์ความรู้และทักษะ รวมถึงการวิจัยเทคโนโลยีสมัยใหม่ เพื่อสนับสนุนการเติบโตของอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าและการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ
.jpg.webp)
คุณปริญ กัญจนาทิพย์ (กลาง) กรรมการผู้จัดการ และคุณกฤตกมล กัญจนาทิพย์ (ที่ 4 จากซ้าย) รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท เชิดชัย ออโต้เฮ้าส์ จำกัด พร้อมด้วย รศ.ดร.วรวัฒน์ มีวาสนา (ขวาสุด) รองผู้อำนวยการเทคโนธานี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ร่วมรับมอบรางวัลยอดเยี่ยมด้านแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนจาก มร. เรเน่ แกร์ฮาร์ด (ที่ 2 จากซ้าย) ประธานและซีอีโอ และคุณกฤษฎา อุตตโมทย์ (ซ้ายสุด) ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารกิจการองค์กร บีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป ประเทศไทย
มร. เรเน่ แกร์ฮาร์ด ประธานและซีอีโอ บีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป ประเทศไทย กล่าวว่า “บีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป ประเทศไทย เชื่อว่าการก้าวไปสู่อนาคตที่ยั่งยืนอย่างแท้จริงจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือกันอย่างแข็งแกร่งและต่อเนื่องจากทุกภาคส่วน บันทึกข้อตกลงความร่วมมือนี้สะท้อนถึงความพยายามที่สำคัญของบีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป ประเทศไทย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี และเชิดชัย ออโต้เฮาส์ ในการวิจัยด้านความยั่งยืนและการนำแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดมาใช้ในการศึกษาเพื่อนำแบตเตอรี่กลับมาใช้ใหม่และการรีไซเคิล ด้วยการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาคอุตสาหกรรมและภาคการศึกษานนี้ เรามุ่งมั่นที่จะพัฒนาแนวทางแบบองค์รวมที่ครอบคลุมมากยิ่งขึ้นสำหรับเศรษฐกิจหมุนเวียน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เชิดชัย ออโต้เฮาส์ ซึ่งมีความโดดเด่นในโครงการดังกล่าวที่แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในด้านความยั่งยืน ผมขอชื่นชมอย่างจริงใจต่อการมีส่วนร่วมของเชิดชัย ออโต้เฮาส์ และผู้จำหน่ายทุกรายที่เข้าร่วมโครงการ ซึ่งได้แสดงให้เห็นถึงความทุ่มเทอย่างแข็งแกร่งและต่อเนื่องในด้านความยั่งยืน ไม่ใช่เพราะเป็นข้อผูกมัด แต่เป็นเพราะทุกๆท่านเลือกที่จะก้าวไปข้างหน้าบนแนวคิดเพื่อความยั่งยืนของประเทศไทยในอนาคต”
.JPG.webp)
ในภาพจากซ้าย - ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สงบ คำค้อ อาจารย์ประจำสำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์, ดร.วรวัฒน์ มีวาสนา อาจารย์ประจำสำนักวิชาวิทยาศาสตร์, ศาสตราจารย์ ดร. สันติ แม้นศิริ คณบดีสำนักวิชาวิทยาศาสตร์, คุณกฤษฎา อุตตโมทย์ ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารกิจการองค์กร บีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป ประเทศไทย, รองศาสตราจารย์ ดร.อนันต์ ทองระอา อธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี, คุณปริญ กัญจนาทิพย์ กรรมการผู้จัดการ เชิดชัย ออโต้เฮ้าส์, คุณกฤตกมล กัญจนาทิพย์ รองกรรมการผู้จัดการ เชิดชัย ออโต้เฮ้าส์ และคุณรอน ศิริวันสาณฑ์ ผู้อำนวยการฝ่ายรัฐกิจสัมพันธ์ บีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป ประเทศไทย
โครงการ ReVolt เป็นโครงการริเริ่มที่เกิดจากความร่วมมือระหว่างเชิดชัย ออโต้เฮาส์ บีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป ประเทศไทย และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ในการพัฒนาโซลูชันเพื่อเปลี่ยนแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า ที่ใช้แล้วให้กลับมามีประโยชน์ใหม่ ลดขยะอิเล็กทรอนิกส์ และนำเสนอโซลูชันที่ใช้งานได้จริง ถือเป็นนวัตกรรมที่ช่วยเปลี่ยนแบตเตอรี่ที่หมดอายุการใช้งานให้เป็นทรัพยากรที่มีคุณค่า จัดการกับความท้าทายด้านสิ่งแวดล้อม และแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นที่จับต้องได้ในการลดของเสียและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากร ซึ่งได้รับรางวัล "Outstanding Circularity Initiatives" จากโครงการ Dealer Sustainability Awards 2024 สะท้อนถึงความมุ่งมั่นอย่างต่อเนื่องของบีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป ประเทศไทย ในการดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบและสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสังคม รางวัลนี้ได้รับการตัดสินอย่างเข้มงวดตามเกณฑ์ ESG (สิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล) โดยโครงการดังกล่าวมีความโดดเด่นเป็นพิเศษทั้งด้านสิ่งแวดล้อม จากการที่แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพอันยอดเยี่ยมในการนำหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนมาใช้และใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน ด้านแนวทางนวัตกรรมในการสร้างประโยชน์ต่อชุมชนซึ่งสอดคล้องกับเกณฑ์ด้านสังคม ที่เกี่ยวเนื่องกับผลกระทบเชิงบวกในด้านต่าง ๆ เช่น การบรรเทาภาวะวิกฤตและการเข้าถึงทรัพยากร
โดยความร่วมมือในครั้งนี้มีเป้าหมายหลักเพื่อขับเคลื่อนนวัตกรรมและสร้างการเปลี่ยนแปลงด้านพลังงานอย่างยั่งยืน ซึ่งจะดำเนินงานร่วมกันใน 2 ประเด็นหลัก ได้แก่
- การนำแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนจากยานยนต์ไฟฟ้าที่ผ่านการใช้งานแล้ว มาใช้ประโยชน์ใหม่ในโครงการ “Revolt” โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.วรวัฒน์ มีวาสนา อาจารย์ประจำสำนักวิชาวิทยาศาสตร์ หัวหน้าโครงการวิจัยแนวหน้าและการขับเคลื่อนเทคโนโลยีควอนตัมเพื่อการประยุกต์ใช้ในด้านการแพทย์ พลังงาน และอุตสาหกรรมแห่งอนาคต เป็นผู้ประสานงานหลัก
- การพัฒนาเทคโนโลยีสำหรับการรีไซเคิลแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนจากยานยนต์ไฟฟ้าที่หมดอายุการใช้งาน ภายใต้การประสานงานของผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สงบ คำค้อ อาจารย์ประจำสำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ และทีมวิจัย
คุณปริญ กัญจนาทิพย์ กรรมการผู้จัดการ เชิดชัย ออโต้เฮาส์ กล่าวว่า "การได้รับรางวัลยอดเยี่ยมด้านแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Outstanding Circularity Initiatives) ถือเป็นเกียรติอย่างยิ่ง และบันทึกข้อตกลงความร่วมมือนี้คือ ก้าวสำคัญต่อไปในการเปลี่ยนการยอมรับนั้นให้กลายเป็นผลลัพธ์ที่จับต้องได้และเกิดขึ้นจริง โครงการ 'ReVolt' ของเรา ซึ่งสอดคล้องอย่างสมบูรณ์แบบกับเกณฑ์ ESG ที่เข้มงวดของ Dealer Sustainability Awards เป็นเครื่องพิสูจน์ถึงความทุ่มเทของเราต่อความรับผิดชอบด้านสิ่งแวดล้อมและการมี
ส่วนร่วมทางสังคม เรามุ่งมั่นอย่างลึกซึ้งที่จะขับเคลื่อนโครงการนี้ไปข้างหน้า ความร่วมมือกับบีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป ประเทศไทย และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีนี้ มอบกรอบการทำงานที่จำเป็นในการขยายผลความพยายามของเรา เพื่อนำโซลูชันแบตเตอรี่ที่ยั่งยืนไปสู่ชุมชนและอุตสาหกรรมต่างๆ ทั่วประเทศไทย"
รองศาสตราจารย์ ดร.อนันต์ ทองระอา อธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี กล่าวว่า "มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ภูมิใจที่ได้ร่วมมือกับบีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป ประเทศไทย และเชิดชัย ออโต้เฮาส์ ในการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการใช้ประโยชน์จากแบตเตอรี่ลิเธียมไอออน ทั้งที่ผ่านการใช้งานแล้วและที่หมดอายุการใช้งาน โครงการนี้มีเป้าหมายเพื่อเสริมสร้างอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า และส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนในภาคพลังงานและสิ่งแวดล้อมของประเทศ ความร่วมมือนี้จะช่วยยกระดับบุคลากรของมหาวิทยาลัย โดยการเพิ่มพูนองค์ความรู้และทักษะผ่านกระบวนการ Upskill/Reskill นอกจากนี้ยังเสริมสร้างศักยภาพในการวิจัยเทคโนโลยีล้ำสมัย ซึ่งจะสนับสนุนการเติบโตของภาคยานยนต์ไฟฟ้า การพัฒนาพลังงาน และการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน เราพร้อมที่จะเดินหน้าพัฒนาในระยะต่อไปตลอดระยะเวลาสองปีของบันทึกข้อตกลงความร่วมมือนี้ และขอขอบคุณทุกท่านที่เกี่ยวข้องกับโครงการนี้เป็นอย่างยิ่ง"