ประเมินวงเงินรู้ผลใน 3 นาที

กับ กรุงศรี ออโต้ พร้อมสตาร์ท

เริ่มประเมินวงเงินพร้อมสตาร์ท
ผ่านมือถือ สแกนเลย

ดูวงเงินพร้อมสตาร์ทที่ได้รับ

x
icon-filter ค้นหารถยนต์
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter

กรมขนส่งชี้แจงกรณีรถทะเบียนซ้ำ มีถูกเพียงคันเดียว แนะซื้อรถควรโอนด้วยตนเอง

ข่าว icon 10 มิ.ย. 59 icon 8,941
กรมขนส่งชี้แจงกรณีรถทะเบียนซ้ำ มีถูกเพียงคันเดียว แนะซื้อรถควรโอนด้วยตนเอง


กรณีรถยนต์ที่ทะเบียนซ้ำกันมีโอกาสเป็นไปได้สูง เช่น รถยนต์กระบะ 2 คัน เลขทะเบียนเดียวกันที่แชร์กันในสังคมออนไลน์ขณะนี้ ซึ่ง 1 ในนั้นจะต้องมีรถที่ปลอมแปลงเอกสารทางราชการเกี่ยวกับการทำทะเบียนรถ การโอน และธุรกรรมต่างที่เกี่ยวข้อง แต่เรื่องนี้ก็คงต้องรอการพิสูจนข้อเท็จจริงต่อไป  

ภาพจาก ไทยรัฐ ออนไลน์
ทางด้าน นายสนิท พรหมวงษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก เปิดเผยถึงกรณีรถยนต์ฝาแฝดยี่ห้อ Mitsubishi ทะเบียน 1กภ 4437 กทม. ซึ่งมีทะเบียนซ้ำซ้อนกันว่า "ในระบบทะเบียนจะมีรถที่ถูกต้องเพียงคันเดียว โดยขณะนี้ได้ประสานไปยังเจ้าของรถที่ปรากฏข้อมูลในระบบทะเบียนของกรมการขนส่งทางบกให้นำรถเข้ามาตรวจสอบยืนยันความถูกต้อง และสำหรับรถอีกคันที่ไม่ปรากฏข้อมูลในระบบนั้น กรมการขนส่งทางบกขอให้ผู้ครอบครองรถคันดังกล่าวเข้ามายืนยันที่มาของรถ พร้อมแนะนำให้เข้าแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนเพื่อเข้าสู่กระบวนการตรวจสอบตามกฎหมายเพื่อให้ความเป็นธรรมต่อไป"

ภาพจาก ไทยรัฐ ออนไลน์
นอกจากนี้ จะมีการตรวจสอบหลักฐานการดำเนินการทางทะเบียนและตรวจสอบเลขตัวรถ เลขเครื่องยนต์ เพื่อพิจารณาว่ารถคันใดเป็นรถที่จดทะเบียนถูกต้อง กรณีพบว่ามีเลขตัวรถและเลขเครื่องยนต์ซ้ำซ้อนกัน ต้องส่งพิสูจน์หลักฐานโดยกองพิสูจน์หลักฐาน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อตรวจพิสูจน์ว่ามีการขูดลบเลขตัวรถ เลขเครื่องยนต์ และสีรถหรือไม่ กรณีที่ไม่สามารถพิสูจน์ได้ชัดเจนจะส่งตัวรถไปให้บริษัทผู้ผลิตตรวจรหัสลับของตัวรถ เพื่อประกอบการตรวจพิสูจน์ยืนยันตัวรถที่ถูกต้องอีกทางหนึ่ง
สำหรับปัญหาทะเบียนซ้ำซ้อนกันนี้อาจเกิดจากกลุ่มมิจฉาชีพได้นำรถที่โจรกรรมมาหลอกขาย โดยทำการปลอมแปลงใบคู่มือจดทะเบียนรถ หรือปลอมแปลงเอกสารทางราชการ ซึ่งรถที่นำไปสวมทะเบียนอาจมีการแก้ไขเลขตัวรถร่วมด้วย มักเกิดขึ้นกับการซื้อขายรถด้วยวิธีการโอนลอย ที่ผู้ซื้อไม่นำรถไปดำเนินการจดทะเบียนและตรวจสภาพรถด้วยตนเองตามขั้นตอนของกรมการขนส่งทางบก โดยมอบให้ผู้ขายเป็นผู้ดำเนินการแต่เพียงฝ่ายเดียว ซึ่งทำให้เกิดช่องว่างในการปลอมแปลงเอกสารจนอาจเป็นสาเหตุของ การสวมทะเบียนรถดังเช่นที่ปรากฏ ดังนั้น เพื่อความปลอดภัยผู้ซื้อควรดำเนินการโอนทะเบียนรถด้วยตนเอง และควรตรวจสอบหลักฐานเกี่ยวกับตัวรถโดยละเอียด


การตรวจสอบก่อนจะซื้อจะขายสภาพรถต้องตรงตามที่ระบุในคู่มือจดทะเบียน หรือหากมีการแก้ไขดัดแปลงสภาพรถต้องมีเอกสารหลักฐานระบุชัดเจน เช่น มีการติดตั้งแก๊ส การเปลี่ยนสีรถ เปลี่ยนเครื่องยนต์ เป็นต้น โดยสามารถขอหลักฐานทะเบียนรถจากเจ้าของรถหรือผู้ขายมาขอตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้นที่สำนักงานขนส่งจังหวัดหรือสำนักงานขนส่งสาขา และเพื่อเพิ่มความมั่นใจยิ่งขึ้นสามารถนำรถเข้ามาตรวจสอบความถูกต้อง ณ สำนักงานขนส่งจังหวัดหรือสำนักงานขนส่งสาขาที่รถนั้นจดทะเบียนไว้ หากผลการตรวจสอบถูกต้องจึงค่อยดำเนินการซื้อขายรถต่อไป

ทั้งนี้ กรมการขนส่งทางบกได้กำชับเจ้าหน้าที่ให้เข้มงวดกวดขันการตรวจสภาพรถตามรายการที่กำหนดทุกคัน เพื่อป้องกันไม่ให้รถผิดกฎหมายดำเนินการทางทะเบียนได้โดยเด็ดขาด ซึ่งเมื่อเจ้าหน้าที่ตรวจพบจะมีการระงับ การดำเนินการทางทะเบียนที่ไม่ถูกต้องทันที  
สรุปว่าการจะซื้อจะขายรถหากหลีกเลี่ยงการโอนลอยและสามารถดำเนินการด้านธุรกรรมด้วยตนเองจะให้ความมั่นใจและปลอดภัยกว่า เพื่อเป็นการป้องกันความผิดพลาดที่ไม่สามารถรู้ได้ว่า "ใครผิดใครถูก" 
ขอขอบคุณภาพและข้อมูลจาก ไทยรัฐ ออนไลน์

แท็กที่เกี่ยวข้อง

รถยนต์ ทะเบียนซ้ำ

ข่าวและอีเว้นท์รถยนต์ล่าสุด




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)