
มิตซูบิชิ มอเตอร์ส คอร์ปอเรชั่น ประกาศยุติการร่วมทุนกับ บริษัท เสิ่นหยาง แอโรสเปซ เอ็มที. เอ็นจิน แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด ซึ่งถือเป็นการถอนจากภาคการผลิตยานยนต์ในประเทศจีน ซึ่งการตัดสินใจครั้งนี้เกิดขึ้นหลังจากที่ มิตซูบิชิ ยุติการผลิตรถยนต์ในจีนไปในปี 2023 ดูเหมือนจะเป็นการปรับกลยุทธ์ครั้งใหญ่ของมิตซูบิชิ เพื่อเปลี่ยนผ่านสู่การผลิตรถยนต์พลังงานใหม่ (NEV)
.jpg.webp)
พื้นหลังของการร่วมทุนกับ บริษัท เสิ่นหยาง แอโรสเปซ มิตซูบิชิ ก่อตั้งเมื่อเดือนสิงหาคม ปี 1997 และเริ่มดำเนินงานในปี 1998 เป็นหนึ่งในหัวใจหลักของยุทธศาสตร์มิตซูบิชิในจีน โดยรับหน้าที่ผลิตเครื่องยนต์ให้กับทั้งแบรนด์มิตซูบิชิและผู้ผลิตรถยนต์จีนรายอื่นๆ จนเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2025 บริษัทนี้ได้เปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท เสิ่นหยาง กัวชิง พาวเวอร์ เทคโนโลยี จำกัด และมิตซูบิชิได้ถอนตัวจากการถือหุ้นอย่างเป็นทางการ
เหตุผลการถอนตัวครั้งนี้มิตซูบิชิระบุว่ามาจาก “การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของอุตสาหกรรมยานยนต์จีน” ซึ่งบีบให้ต้องทบทวนลำดับความสำคัญและปรับกลยุทธ์ในระดับภูมิภาค
.jpg.webp)
เส้นทางของมิตซูบิชิในจีน
- ปี 1973 เริ่มเข้าสู่ตลาดจีนด้วยการส่งออกรถบรรทุกขนาดกลาง
- ปี 2000 ร่วมทุนผลิตเครื่องยนต์ที่มีสัดส่วนครอบคลุม 30% ของรถยนต์ที่ผลิตในจีน
- ปี 2012 จัดตั้งบริษัทร่วมทุน GAC Mitsubishi โดย GAC ถือหุ้น 50%, Mitsubishi Corporation ถือหุ้น 30% และ Mitsubishi Motors ถือหุ้น 20%
- ปี 2018 สร้างยอดขายสูงสุดที่ 144,000 คัน โดย 105,600 คันเป็น Outlander
- ปี 2022 ยอดขายลดลงเหลือ 33,600 คัน
- จนเมื่อ 31 มีนาคม 2023 GAC Mitsubishi ก็ประสบปัญหาทางการเงิน จากรายงานสินทรัพย์รวม 4.198 พันล้านหยวน (ประมาณ 582 ล้านดอลลาร์) มีหนี้สินรวม 5.613 พันล้านหยวน (ประมาณ 778 ล้านดอลลาร์) ทำให้มูลค่าทรัพย์สินสุทธิลดลงเหลือ -1.414 พันล้านหยวน (196 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) พอถึงเดือนตุลาคมปีเดียวกันนี้ มิตซูบิชิ ก็ได้ประกาศยุติการผลิตในจีน และ GAC ได้เข้าซื้อกิจการทั้งหมด พร้อมแผนปรับโรงงานเพื่อผลิตรถยนต์ไฟฟ้าแบรนด์ Aion
.jpg.webp)
ผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมจีน ให้ความเห็นว่า “ภูมิทัศน์ยานยนต์ของจีนกลายเป็นสนามรบของนวัตกรรม EV ซึ่งบริษัทรถยนต์รุ่นเก่าเริ่มสูญเสียความสามารถในการแข่งขัน การถอนตัวของมิตซูบิชิสะท้อนถึงการเปลี่ยนแปลงที่ไม่อาจย้อนกลับได้” ปัจจุบันแบรนด์ BYD และ Tesla ครองส่วนแบ่งตลาดได้อย่างแข็งแกร่ง ขณะที่บริษัทร่วมทุนอื่น ๆ เช่น GAC-FCA ล้มละลายไปแล้ว อีกทั้งความต้องการเครื่องยนต์สันดาปภายใน (ICE) ก็ลดลงอย่างต่อเนื่อง
การยุติการร่วมทุนและถอนตัวจากตลาดจีนของมิตซูบิชิ แสดงให้เห็นถึงความท้าทายของบริษัทรถยนต์ญี่ปุ่นในยุคที่ตลาดรถยนต์เปลี่ยนผ่านสู่พลังงานไฟฟ้าอย่างเต็มรูปแบบ โดยเฉพาะในจีนซึ่งกลายเป็นผู้นำด้าน EV และแบตเตอรี่ระดับโลก

เขียนโดย
วโรดม อิ้วลันตา
CAR GURU

พูดคุยกับกูรูได้ที่