ประเมินวงเงินรู้ผลใน 3 นาที

กับ กรุงศรี ออโต้ พร้อมสตาร์ท

เริ่มประเมินวงเงินพร้อมสตาร์ท
ผ่านมือถือ สแกนเลย

ดูวงเงินพร้อมสตาร์ทที่ได้รับ

x
icon-filter ค้นหารถยนต์
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter

ซื้อรถแบบติดไฟแนนซ์ ไม่ทำประกันรถยนต์ได้ไหม?

icon 13 ธ.ค. 66 icon 508
ซื้อรถแบบติดไฟแนนซ์ ไม่ทำประกันรถยนต์ได้ไหม?
รถยนต์หนึ่งคันนั้นมีแต่ ลด ไม่ว่าจะเป็นมรดกตกทอดที่ได้ครอบครองต่อจากคนในครอบครัว หรือถ้าไม่อยากได้รถเก่าตกรุ่นก็เลือกซื้อรถยนต์ใหม่ป้ายแดงกันไปเลย แต่การเป็นเจ้าของรถสักคันนั้นมีค่าใช้จ่ายอะไรกันบ้างนะ? ในกรณีที่ซื้อรถใหม่ก็จะต้องมีค่าตัวรถคันนั้น ถ้าเป็นรถเก่าจากคุณพ่อคุณแม่ก็ประหยัดส่วนนี้ไปเป็นค่าซ่อมบำรุงแทนได้, ค่าประกันภัย ส่วนนี้เป็นการทำประกันภัยภาคสมัครใจที่ไม่ได้ถูกกำหนดให้ต้องทำตามกฎหมาย แต่เป็นการทำเพิ่มความคุ้มครองให้กับรถยนต์และผู้ขับขี่มากขึ้น, ค่าจดทะเบียนและภาษี ที่ต้องจ่ายในการจดทะเบียนและการชำระภาษีประจำปี, ค่าบำรุงรักษา สำหรับการเช็คระยะและการซ่อมแซมที่อาจเกิดขึ้นได้ตลอดการใช้งาน, ค่าน้ำมันในส่วนนี้ก็จะขึ้นอยู่กับการใช้งานที่แตกต่างกัน นอกจากนี้ยังมีค่าใช้จ่ายอีกมากมาย
 
 
แต่ก็มีคำถามนึงเกิดขึ้นตามมาว่า แล้วถ้าซื้อรถยนต์มาแล้วยังติดไฟแนนซ์อยู่ ไม่ทำประกันรถยนต์ได้ไหม ? บทความนี้เราจะไปไขข้อสงสัยนี้กัน 
 
 
ก่อนอื่นเรามาดูกันก่อนว่าการซื้อรถด้วยเงินสด กับการซื้อรถผ่านไฟแนนซ์ แตกต่างกันอย่างไร? กันก่อน สำหรับคนที่ซื้อรถใหม่ก็จะเจอกับ 2 ทางเลือกคือซื้อด้วยเงินสด กับซื้อผ่านการจัดไฟแนนซ์ที่มีความแตกต่างกันในหลายด้าน มาเริ่มดูกันที่รถที่ซื้อด้วยเงินสดกันก่อน จะมีแต่ค่ารถเพียว ๆ ไม่มีดอกเบี้ยที่ต้องชำระเพิ่มเติมเหมือนอย่างรถที่ติดไฟแนนซ์ อีกทั้งได้เป็นเจ้าของรถยนต์ทันทีหลังจากที่การซื้อขายจบลง, ความยืดหยุ่นทางการเงินลดลงจากการจ่ายเงินสดเป็นก้อนใหญ่ อาจลดความยืดหยุ่นทางการเงินในระยะสั้นไปนั่นเอง ส่วนการซื้อรถยนต์ผ่านการจัดไฟแนนซ์ ขั้นแรกค่ารถมีดอกเบี้ย และค่าธรรมเนียมอื่นๆ เพราะทันทีที่การซื้อขายจบลงคุณเพียงจ่ายเงินดาวน์ และชำระค่างวดรายเดือนที่มีดอกเบี้ย แต่คุณจะได้เป็นเพียงผู้ครอบครอง แต่ยังไม่ได้เป็นเจ้าของเพราะรถยนต์คันนั้นจะมีบริษัทไฟแนนซ์เป็นเจ้าของรถจนกว่าคุณจะชำระหนี้เสร็จสมบูรณ์ และจะทำการโอนมาให้คุณ, ค่าใช้จ่ายเรียกว่าอยู่ในระยะยาว เพราะจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม เพราะอาจมีค่าดอกเบี้ย และค่าธรรมเนียมที่เกี่ยวข้อง, ส่วนความยืดหยุ่นทางการเงินที่ดีกว่าการซื้อด้วยเงินสด เพราะการซื้อแบบนี้จะช่วยรักษาสภาพเงินสดเอาไว้ให้คุณสามารถมีกำลังการจับจ่ายในสิ่งอื่นและกระจายค่าใช้จ่ายในการซื้อรถออกเป็นระยะเวลานานตามข้อตกลง และได้รับข้อเสนอที่ดีกว่าซื้อเงินสด แต่...การเลือกระหว่างการซื้อรถด้วยเงินสดและการซื้อรถผ่านการจัดไฟแนนซ์ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ทางการเงินส่วนบุคคลและความต้องการของคุณ ดังนั้นจึงควรที่จะพิจารณาในทุกด้าน และทำการวิเคราะห์ความสามารถในการจ่ายเงินของคุณเป็นสิ่งสำคัญด้วยนะครับ
 
 
แต่การซื้อรถใหม่จากดีลเลอร์ เซลมักจะให้ของแถมมามากมายหลายรายการหนึ่งในนั้นก็คือประกันภัยรถยนต์ชั้น 1 อย่างน้อย 1 ปี แล้วพอปีที่ 2 ก็เกิดคำถามว่า ถ้าซื้อรถแบบติดไฟแนนซ์ ไม่ทำประกันรถยนต์ได้ไหม? ส่วนนี้ก็ต้องบอกว่าการที่รถติดอยู่กับไฟแนนซ์นั้นการไม่ทำประกันภัยขึ้นอยู่กับนโยบายของบริษัทไฟแนนซ์ที่ใช้บริการอยู่ แต่ไฟแนนซ์มักจะต้องการให้ลูกค้าทำประกันภัยรถยนต์เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับรถยนต์ที่ยังอยู่ในช่วงการชำระหนี้นั่นเอง โดยรถที่มีราคาสูงๆ ไฟแนนซ์มักจะกำหนดให้คุณทำประกันภัยชั้นหนึ่ง ซึ่งจะครอบคลุมทั้งความเสียหายของทั้งหมดของรถคุณ ส่วนรถที่มีราคาต่ำลงมาหน่อยไฟแนนซ์อาจอนุญาตให้คุณทำประกันภัยชั้น 2 หรือ 3 ได้นั่นเอง ส่วนกรณีที่เลือกจะไม่ทำประกันภัยหากไฟแนนซ์ยินยอมให้คุณไม่ทำประกันภัย มาจากหลายสาเหตุหนึ่งในนั้นก็คือ รถที่มีความเสี่ยงสูงอย่างรถหายาก หรือรถที่มีราคาแพงมากๆ ที่จะมีความเสี่ยงสูงต่อคุณ และไฟแนนซ์ หากเกิดอุบัติเหตุ หรือความเสียหายต่อรถยนต์ แต่เพื่อให้คุณได้รับความคุ้มครองจากการเกิดอุบัติเหตุ ทำประกันเถอะครับไม่ว่าชั้นไหนติดรถไว้อุ่นใจกว่าแน่นอน แต่ถ้าใครเลือกที่จะไม่ทำประกันก็ขอแนะนำให้ตรวจสอบกับไฟแนนซ์ให้ดี ๆ ไม่ว่าจะเป็นเงื่อนไขต่าง ๆ อย่างละเอียดเพื่อทำความเข้าใจถึงความเสี่ยงและตัวเลือกที่เหมาะสมกับคุณ
 
 
แล้วรถที่ติดไฟแนนซ์อยู่นั้นใครเป็นเจ้าของรถกันแน่นะ? บอกง่าย ๆ เมื่อคุณซื้อรถ โดยทำการชำระผ่านระบบการผ่อนผ่านไฟแนนซ์ ในช่วงที่คุณกำลังทำการผ่อน รถคันนั้นๆ มักจะถูกไฟแนนซ์ถือสิทธิ์เป็นเจ้าของรถ แต่คุณจะเป็นผู้ครอบครองรถและดูแลรักษารถคันนั้น แต่ตามกฎหมายแล้วไฟแนนซ์จะเป็นเจ้าของจนกว่าจะผ่อนหมด แต่หลังจากผ่อนหมดแล้ว ไฟแนนซ์ก็จะโอนสิทธิ์ในการเป็นเจ้าของรถยนต์มายังคุณ ดูได้จากการโอนชื่อในเล่มทะเบียนรถยนต์จากบริษัทไฟแนนซ์ไปยังคุณ
 
แล้วรถติดไฟแนนซ์ เลือกบริษัทประกันภัยเองได้มั้ย ตอบเลยว่าได้ แต่มีหลายปัจจัยที่ต้องพิจารณา เริ่มด้วยนโยบายของบริษัทไฟแนนซ์ที่อาจมีนโยบาย หรือข้อจำกัดเฉพาะเกี่ยวกับประเภท หรือขอบเขตของประกันภัยที่คุณต้องทำ อาจกำหนดชั้นประกันภัยเพื่อให้ตัวรถมีความคุ้มครองความเสียหายในบางกรณีอาจเรียกร้องให้ทำประกันภัยชั้น 1 เท่านั้น นอกเหนือจากประกันภัยภาคบังคับที่ถูกกำหนดให้ทำตามกฎหมาย แต่ก็ต้องตรวจสอบสัญญากับไฟแนนซ์เพื่อดูว่ามีข้อกำหนดหรือเงื่อนไขใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำประกันภัยหรือไม่ 
 
 
รวมไปถึงการต่อประกันภัยหากเราพึงพอใจกับประกันภัยเจ้าเดิมอยู่แล้วสามารถต่อกับทางไฟแนนซ์ได้เลย หรือจะเลือกต่อประกันรถยนต์ด้วยตนเองกับบริษัทฯ ใหม่ก็ได้หรือคำตอบคือได้ ในกรณีที่คุณจะต่อประกันเจ้าเดิมผ่านไฟแนนซ์ สามารถต่อประกันผ่านไฟแนนซ์ได้เพราะส่วนใหญ่ไฟแนนซ์อาจมีความร่วมมือกับบริษัทประกันภัยที่จะช่วยอำนวยความสะดวกในการต่ออายุกรมธรรม์ของคุณ รวมถึงข้อเสนอพิเศษในบางครั้งด้วย แต่ถ้าคุณมีความสนใจที่จะเลือกทำประกันภัยกับบริษัทใหม่ก็ยังมีอิสระในการเลือกได้เนื่องจากคุณอาจพบข้อเสนอที่ดีกว่า หรือความครอบคลุมที่เหมาะสมกว่าสำหรับสถานการณ์ของคุณ
 
แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม การทำประกันภัยรถยนต์ไม่ว่าจะเป็นบริษัทเดิมหรือบริษัทใหม่ ก็เป็นสิ่งที่ควรจะต้องทำเอาไว้เพื่อลดความเสี่ยงต่อกระเป๋าสตางค์ของคุณ แต่ต้องตรวจสอบว่าประกันภัยนั้นตรงตามเงื่อนไขและข้อกำหนดของคุณและบริษัทไฟแนนซ์หรือไม่ ดังนั้นควรอ่านเงื่อนไขของกรมธรรม์ประกันภัยอย่างละเอียดและแจ้งให้ไฟแนนซ์ทราบถึงการต่ออายุหรือการเปลี่ยนแปลงบริษัทประกันภัยของคุณด้วยนะครับ
แท็กที่เกี่ยวข้อง ประกันภัยรถยนต์ insurance
CAR GURU
เขียนโดย เช็คราคา.คอม CAR GURU

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)