ประเมินวงเงินรู้ผลใน 3 นาที

กับ กรุงศรี ออโต้ พร้อมสตาร์ท

เริ่มประเมินวงเงินพร้อมสตาร์ท
ผ่านมือถือ สแกนเลย

ดูวงเงินพร้อมสตาร์ทที่ได้รับ

x
icon-filter ค้นหารถยนต์
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter

M-Flow ผ่านก่อนจ่ายหลังใช้ยังไงเข้าช่องไหนปรับแพงไหมต้องอ่าน!

icon 23 ก.พ. 65 icon 4,891
M-Flow ผ่านก่อนจ่ายหลังใช้ยังไงเข้าช่องไหนปรับแพงไหมต้องอ่าน!
หลังจากการเปิดระบบผ่านทางแบบ M-Flow ในช่วงเดือนมกราคม ก็เกิดความสับสนและลังเลของผู้ที่ใช้เส้นทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองในช่วงด่าน "ทับช้าง" จนรถติดสะสมยาวและถูกวิจารย์อย่างหนัก โดยเฉพาะการประชาสัมพันธ์อาจจะไม่ครอบคลุมและไม่ทั่วถึงกลุ่มผู้ใช้งานทั่วไปนัก จะมีเพียงแค่ผู้ที่เคยใช้งานระบบ M-Pass หรือ Easy Pass อาจจะได้รับข่าวสารเท่านั้น นอกจากนี้ป้ายบอกช่องอาจจะดูสับสนเพราะในป้ายมีหลายชื่อทั้ง M-Pass, Easy Pass หรือ M-Flow และยังมีภาษาไทยอีก "เงินสด" "บัตรอัตโนมัติ" ทำให้ผู้ขับขี่อ่านไม่ทัน และขับเข้าช่องเดิมด้วยความเคยชิน แต่ความจริงแล้ว M-Flow ถือว่าเป็นระบบที่ดีมากอันนึงในการแก้ปัญหารถติดหน้าด่านแบบที่นิยมใช้กันในต่างประเทศ แต่เพราะอะไรทำไมในไทยจึงสร้างปัญหา แล้วการใช้งานยุ่งยากไหม ต้องลงทะเบียนอย่างไร ผ่านแล้วจ่ายยังไง หากไม่ได้จ่ายจะเสียค่าปรับเท่าไหร่ หากาคคำตอบกันครับ
M-Flow คืออะไร?
ระบบ M Flow เป็นระบบจัดเก็บค่าผ่านทางอัตโนมัติแบบไม่มีไม้กั้น (Free Flow) ตามนโยบายของกระทรวงคมนาคม เพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรติดขัดบนทางด่วนและมอเตอร์เวย์ โดยการใช้เทคโนโลยี AI มาพัฒนาระบบจัดเก็บค่าผ่านทางด้วยกล้องตรวจบันทึกภาพป้ายทะเบียนรถ ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลแบบ Video Tolling แทนการเก็บค่าผ่านทางอัตโนมัติแบบระบบไม้กั้น ทำให้ผู้ใช้รถยนต์สามารถขับขี่ผ่านบริเวณด่านฯ โดยไม่ต้องหยุดหรือชะลอรถ ด้วยความเร็วได้ถึง 120 กม./ชม. ช่วยระบายรถได้ 2,000 - 2,500 คัน/ชม./ช่องทาง เร็วขึ้นกว่าระบบเดิมที่ใช้อยู่ถึง 5 เท่า รองรับการใช้งานกับรถยนต์ทุกประเภทที่ได้รับอนุญาตให้วิ่งบนทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหรือทางพิเศษ ทั้งรถยนต์ 4 ล้อ รถยนต์ 6 ล้อ และรถยนต์มากกว่า 6 ล้อขึ้นไป โดยชำระค่าธรรมเนียมผ่านวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หลังการใช้บริการ หรือ ระบบ Post Paid ทั้งแบบชำระเป็นรายครั้งหรือชำระตามรอบบิล รวมไปถึงการชำระผ่านเว็บไซต์หรือโมบายแอปพลิเคชันของระบบ M-Flow ตลอดจนการชำระด้วยระบบ QR Code และการชำระผ่านระบบตัดเงินอัตโนมัติ
โดยในปี 2564 นี้ ผู้ใช้ทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 9 ของกรมทางหลวง ได้แก่ ด่านทับช้าง 1 ด่านทับช้าง 2 ด่านธัญบุรี 1 ด่านธัญบุรี 2 จะได้สัมผัสมิติใหม่ของการให้บริการ ซึ่งกรมทางหลวง และการทางพิเศษแห่งประเทศไทยได้บูรณาการการทำงานให้เป็นรูปแบบและมาตรฐานเดียวกัน (Single Platform System) เพื่อเตรียมขยายผลนำระบบ M Flow ไปใช้กับทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองและทางพิเศษ ในเส้นทางอื่นๆ ต่อไป
การสมัครใช้งาน M-Flow สามารถลงทะเบียนได้ 3 ช่องทาง คือ
1.เว็บไซต์ www.mflowthai.com 
2.Mobile application - Mflowthai ได้ทั้ง App Store / Play Store 
3.Walk in 5 จุดบริการได้แก่ 
-กรมทางหลวง พระราม 6
-ด่านทับช้าง 1 ขาเข้า กม.51+445
-ด่านทับช้าง 2 ขาออก กม.49+035
-สถานที่บริการทางหลวงบางปะกง 1 ขาออก กม.49+300
-สถานที่บริการทางหลวงบางปะกง 2 ขาเข้า กม.49+300
ขั้นตอนลงทะเบียน
1.ยืนยันตัวตนด้วยเบอร์โทรศัพท์ รอเลข OTP 
2.กรอกข้อมูลส่วนตัว บัตรประชาชน/อีเมล
3.ที่อยู่ตามทะเบียนบ้านและปัจจุบัน
4.ทะเบียนรถยนต์ ถ่ายรูปหน้ารายการจดทะเบียนและถ่ายหน้ารถ
5. เลือกชำระเงินเป็นรายครั้งหรือตามรอบบิล 
เลือกชำระเงินได้ 5 แบบคือ
- ผ่านบัตรเดบิต
- ผ่านบัตรเครดิต
- บัญชีธนาคาร
- ตัดจาก M-PASS
- ตัดจาก Easy Pass
หรือชำระผ่านเว็บไซต์/ Application M-Flow 
ชำระผ่านคิวอาร์หรือบาร์โค้ดได้ 4 ช่องทาง        
- ตู้ ATM
- เคาน์เตอร์ธนาคาร
- เคาน์เตอร์เซอร์วิส
- Mobile Banking (ทุกธนาคาร)
ราคาค่าผ่านทางเท่าเดิมทุกประการ
กรณีที่ขับผ่านช่อง M-Flow แต่ยังไม่ลงทะเบียน?
หากยังไม่ลงทะเบียนระบบนี้สามารถขับผ่านไปก่อนไม่ต้องตกใจ แต่ต้องรีบไปชำระค่าผ่านทางย้อนหลังไม่เกิน 2 วัน หากเกินกว่านั้นอาจมีความผิดทางอาญาเจตนาหลีกเลี่ยงและผิดพรบ. ทางหลวงด้วย และในช่วงเริ่มเปิด M-Flow เมื่อลงทะเบียน 100,000 คนแรกจะได้ผ่าน 2 เที่ยวฟรี! ภายใน 31 มี.ค.65
ค่าปรับ....สำหรับกรณีที่ขับเข้าไปโดยไม่ลงทะเบียนหรือเงินไม่พอจ่ายจะคิดค่าปรับอย่างไร?
ปรับหนักเบาตามช่วงเวลา 
ไม่เกิน 2 วัน หากขับเข้าช่อง M-Flow โดยไม่ลงทะเบียนและไม่จ่ายค่าผ่านทางในระหว่างไม่เกิน 2 วัน จะส่งเอกสารทวงถามทางไปรษณีย์ตามชื่อที่อยู่ของทะเบียนรถที่แจ้งไว้กับกรมขนส่ง ส่วนผู้ที่ลงทะเบียนแล้วจะแจ้งเตือนผ่าน SMS,email หรือ บน Application Mflow โดยสามารถเช็คยอดค่าผ่านทางได้ผ่านเว็บไซต์ M-flow 
หลังจากผ่านด่านระหว่าง 3 - 12 วัน 
ผู้ลงทะเบียนหากเงินในระบบไม่พอหรือจ่ายไม่ได้ก็จะคิดอัตราค่าปรับ 2 เท่าของค่าผ่านทางรวมกับค่าผ่านทางที่ค้างเอาไว้อีก เช่น ค่าผ่านที่ค้างไว้ 30 บาท ค่าปรับ 2 เท่า เป็น 60 บาท รวมต้องจ่ายทั้งหมด 90 บาท!
หากผู้ที่ไม่ลงทะเบียนไว้จะมีความผิดพรบ.กรมทางหลวง ฝ่าฝืนป้ายหรือเครื่องหมายบังคับ ถูกปรับ 10 เท่า! เช่น ค่าผ่านทาง 30 บาท ค่าปรับ 10 เท่า เป็น 300 บาท รวมกับที่ค้างชำระเป็น 330 บาท บร๊ะเจ้าาาา โหดเอาเรื่องเลยครับ
หลังจากผ่านด่านไปแล้วเกิน 12 วัน 
ผู้ที่ลงทะเบียนจะถูกปรับ 10 เท่า และผิดพรบ. ค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนต์บนทางหลวง และค่าเปรียบเทียบปรับอีก 200 บาท เช่น ค่าผ่านทาง 30 บาท ค่าเสียหาย 2 เท่า เป็น 60 บาท ค่าปรับ 10 เท่าเป็น 300 บาท ค่าปรับผิดพรบ.อีก 200 บาท รวมทั้งหมด 30+60+300+200 เป็น 590 บาท 
และผู้ไม่ลงทะเบียนเอาไว้จะเพิ่มโทษความผิดพรบ. ค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนต์บนทางหลวงอีก 200 บาท เช่น ค่าผ่านทาง 30 บาท ค่าปรับ 10 เท่าเป็น 300 บาท ค่าปรับตามพรบ. 200 บาท เป็น 30+300+200 รวมเป็น 530 บาท แต่ต้องมารวมโทษปรับพรบ.ทางหลวงอีกเด้งหนึ่ง 5,000 บาท ดังนั้นอาจถูกปรับแบบขั้นต่ำที่ 5,530 บาท!!!!
อันสุดท้ายถ้ายังไม่จ่ายอีกก็จะยกระดับขึ้นไปโดยขั้นตอนตามกฏหมาย วิธีพิจารณาความอาญา หรือ ร่วมกับหน่วยงานเกี่ยวข้อง เช่น ขึ้นบัญชีดำ, จ่ายรวมกับการต่อภาษีรถยนต์ครั้งต่อไป
สรุปง่าย ๆ ว่า หากใช้งานบ่อยเส้นทางนี้บ่อย ๆ ก็ลงทะเบียนไปเลยครับ สะดวกกว่าไม่ต้องรอคิวและขับผ่านได้ที่ความเร็วไม่เกิน 120 กม./ชม.อีกด้วย เร็วกว่า M-Pass และ Easy Pass ให้ขับเข้าช่องทางซีกขวาเอาไว้หรือมองป้ายบอกทาง ส่วนใครยังไม่ลงทะเบียนหรือจำเป็นต้องจ่ายเงินสดเพื่อรับใบเสร็จ ก็ให้อยู่ช่องทางซีกซ้าย ๆ เอาไว้ก่อนครับ 
"M-Flow ใช้ไม่ยากถ้าเข้าใจ ผ่านไวไม่รอคิว"
สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ Call center 1586 กด 1 หรือ www.mflowthai.com
ข้อมูลจาก mflowthai.com
แท็กที่เกี่ยวข้อง รีวิว M-Flow
CAR GURU
เขียนโดย สินธนุ จำปีศรี CAR GURU

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)