
ช่วงนี้ผู้ใช้รถยนต์ต้องเจอกับฝนตกบ่อย ๆ การดูแลสภาพของรถยนต์เป็นเรื่องสำคัญโดยเฉพาะเรื่องของ "ยางรถยนต์" ที่ต้องใส่ใจเป็นพิเศษ เพื่อให้การเดินทางถึงจุดหมายได้อย่างปลอดภัย โดยปกติแล้วยางรถยนต์จะมีอายุการใช้งานของเนื้อยางอยู่ราว ๆ 3 - 5 ปี นับตั้งแต่ลงพื้น ไม่รวมการ "แตก-ตำ-บวม" หรือในยุคเศรษฐกิจไม่ดี อาจเลือกยางใหม่ปีเก่าหรือภาษาทั่วไปเรียกว่า "ยางใหม่ค้างปี" ซึ่งจะมีราคาที่ถูกลงกว่าปกติ แต่มีข้อแม้ว่าการเก็บรักษาต้องดีและคงสภาพสมบูรณ์เหมือนเพิ่งออกจากแม่พิมพ์มากที่สุดจึงจะสามารถใช้งานต่อได้อีก 3 - 5 ปีครับ การเลือกซื้อยางรถยนต์จึงเลือกตามกำลังทรัพย์ ถ้ามีงบประมาณเยอะก็ขยับไปเล่นยางปีใหม่ล่าสุดเพื่อง่ายในการนับอายุการใช้งานครับ
.jpg)
.jpg)
แต่ช้าก่อน..! ก่อนจะเลือกซื้อยางรถยนต์นอกจากจะต้องคำนึงถึงขนาดวงล้อ ความกว้างหน้ายางและความสูงให้เหมาะสมกับการใช้งานแล้ว สิ่งหนึ่งที่หลายคน (รวมทั้งผมเอง) อาจเคยมองข้ามไปก็คือ "สติ๊กเกอร์" ที่ติดบนหน้ายางและต้องแกะออกตอนใส่เราจึงมักไม่ค่อยสนใจหรือสังเกตุมากนัก

สติ๊เกอร์บนหน้ายางคืออะไร?
สติ๊กเกอร์ยางหรืออาจเรียกเป็น "Eco Stiker" เป็นการบอกรายละเอียดคุณภาพของยางรุ่นนั้น ๆ ว่ายางเส้นนั้นมีประสิทธิภาพหรือคุณสมบัติอะไรบ้าง เพื่อให้ผู้ซื้อเลือกคุณสมบัติยางให้ตรงกับความต้องการนำไปใช้งานได้อย่างเหมาะเจาะมากที่สุด โดยถูกกำหนดจากสหภาพยุโรป (EU) เพื่อให้ผู้ผลิตลงรายละเอียดคุณสมบัติความปลอดภัยของยางรุ่นนั้น ๆ รวมถึงเรื่องของการลดมลภาวะสิ่งแวดล้อม มีผลตั้งแต่ช่วงปี 2555 (ข้อมูล https://ec.europa.eu/energy/eepf-labels/label-type/tyres) และในประเทศไทยทางสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) ร่วมกับสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) เป็นผู้กำหนดป้ายข้อมูลยางรถยนต์ตามมาตรฐานสากล (ECO Sticker) นั่นเอง
บนสติ๊กเกอร์จะมีข้อมูลทั้งชื่อยี่ห้อ รุ่น ขนาด ข้อความบรรยายสรรพคุณ สเปคยางว่าใส่ได้กับขนาดล้อใดบ้าง และประเทศผู้ผลิต แต่สิ่งที่น่าสนใจกว่าก็คือ รายละเอียดการทดสอบคุณสมบัติยางซึ่งจะเป็นรูปกราฟฟิกสวย ๆ แสดงรายละเอียดอย่างชัดเจนได้แก่ อัตราการประหยัดน้ำมัน ความปลอดภัยในสภาพถนนเปียกลื่นและความเงียบ (หน่วยเป็นเดซิเบล) เนื่องจากว่าข้อมูลทั่วไปเช่น ขยาด ยาง เทรดแวร์ สัญลักษณ์รองรับความเร็ว มีระบุในแก้มยางแล้ว จึงขอขยายความในข้อมูลบนสติ๊เกอร์เฉพาะ 3 ส่วนง่าย ๆ ดังนี้ครับ
1.ระดับความประหยัดน้ำมัน (Fuel Efficency)
หมายถึงประสิทธิภาพการประหยัดน้ำมันสูงสุด การที่ยางกลิ่งตัวเองไปโดยที่มีแรงเสียดทานต่ำที่สุด ลดภาระของเครื่องยนต์ได้มากที่สุดหรือประหยัดน้ำมันมากที่สุด กำหนดเป็นตัวอักษรไล่จาก A ประสิทธิภาพสูงสุดไปจนถึง G ประสิทธิภาพต่ำสุด ด้วยการวัดจากแรงต้านทานการหมุน
2.การยึดเกาะถนนเปียก (Wet Grip)
2.การยึดเกาะถนนเปียก (Wet Grip)
อ้างอิงการทดสอบบนถนนเปียกที่ความเร็ว 85 กม./ชม. ไล่ระดับจาก A เกาะถนนเปียกได้ดีที่สุดไปจนถึง G เกาะถนนเปียกน้อยที่สุด
3.ระดับเสียงความเงียบ (External Rolling Noise)
3.ระดับเสียงความเงียบ (External Rolling Noise)
สัญลักษณ์รูปลำโพงที่จะแสดงความเงียบ 3 ระดับ จากระดับ 1 ขีดเงียบสุดไปจนถึง 3 ขีดดังสุด หน่วยเดซิเบล (dB) ซึ่งถ้ามีความดังเกิน 80 เดซิเบลจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพหูครับ
แถมอีกนิด ประเภทของยาง (Tyre Class) เป็นการบอกว่าเป็นยางใช้งานประเภทไหน เช่น C1 รถเก๋ง SUV รถกระบะ, C2 รถกระบะเชิงพาณิชย์ และ C3 รถบรรทุก
แถมอีกนิด ประเภทของยาง (Tyre Class) เป็นการบอกว่าเป็นยางใช้งานประเภทไหน เช่น C1 รถเก๋ง SUV รถกระบะ, C2 รถกระบะเชิงพาณิชย์ และ C3 รถบรรทุก



สรุปว่าก่อนเปลี่ยนยางรถยนต์ครั้งต่อไปนอกจากจะต้องดูสเปคขนาดยางแล้ว อย่าลืมดูสติ๊กเกอร์บนยางว่ามีคุณสมบัติที่ตรงกับความต้องการใช้งานในชีวิตประจำวันหรือไม่ เพื่อให้ได้ยางที่เหมาะสมใช้งานยาว ๆ รับหน้าฝนและพร้อมเดินทางในเทศกาลต่าง ๆ ได้อย่างปลอดภัยครับ
ข้อมูลอ้างอิงจาก ec.europa.eu / tyre.go.th และภาพสติ๊กเกอร์จากอินเตอร์เน็ต

เขียนโดย
สินธนุ จำปีศรี
CAR GURU

พูดคุยกับกูรูได้ที่