ประเมินวงเงินรู้ผลใน 3 นาที

กับ กรุงศรี ออโต้ พร้อมสตาร์ท

เริ่มประเมินวงเงินพร้อมสตาร์ท
ผ่านมือถือ สแกนเลย

ดูวงเงินพร้อมสตาร์ทที่ได้รับ

x
icon-filter ค้นหารถยนต์
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter

ซื้อรถมือสองอย่า 'โอนลอย' เสียเวลานิดหน่อย เสียงปัญหาตามมาเพียบ!

icon 24 พ.ค. 64 icon 35,914
ซื้อรถมือสองอย่า 'โอนลอย' เสียเวลานิดหน่อย เสียงปัญหาตามมาเพียบ!

ซื้อรถมือสองอย่า 'โอนลอย' เสียเวลานิดหน่อย เสียงปัญหาตามมาเพียบ!

"การโอนลอย" คือ การมอบฉันทะการโอนกรรมสิทธิ์ในการซื้อขายอย่างไม่เป็นทางการ ในกรณีการซื้อขายรถยนต์ คือการที่เจ้าของรถได้ขายรถของตน และทำการลงนามในเอกสารการโอนรถและใบมอบอำนาจให้แก่ผู้ซื้อ โดยไม่ได้มีการดำเนินการทางทะเบียนที่สำนักงานขนส่งฯ ด้วยตนเอง
ซึ่งหลายคนคิดว่าวิธีนี้สะดวก และไม่เสียเวลากันทั้งสองฝ่าย แต่ความจริงแล้วเป็นสิ่งที่ไม่ควรอย่างยิ่ง!
ผู้ที่ต้องการซื้อขายรถมือสองทั้งการซื้อต่อจากบุคคลหรือเต้นท์รถ ควรดำเนินการตามขั้นตอนโอนทางทะเบียนรถ ณ สำนักงานขนส่งที่จดทะเบียนด้วยตนเอง เนื่องจากการซื้อ-ขายรถด้วยวิธีการโอนลอยโดยไม่ดำเนินการโอนทางทะเบียนให้ถูกต้องในทันที อาจก่อปัญหาให้ทั้งผู้ซื้อและผู้ขายตามมาได้

"โอนลอย" อาจซวยเรื่องไหนบ้าง? 

แม้ว่าในทางกฎหมายถือว่าเป็นการซื้อขายเสร็จสมบูรณ์ เพราะกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ขายนั้นย่อมโอนไปยังผู้ซื้อตั้งแต่ขณะเมื่อได้ทำสัญญาซื้อขายกัน (ปพพ. มาตรา 458)
แต่ถ้าผู้ซื้อยังไม่ไปดำเนินการโอนทางทะเบียนให้เป็นที่เรียบร้อย หากเกิดกรณีผู้ซื้อไม่ดำเนินการชำระภาษีรถประจำปี รถเกิดอุบัติเหตุ หรือนำรถไปกระทำผิดกฎหมาย ผู้ขายรถ (ซึ่งยังมีชื่อในทะเบียน) ก็ต้องไปพิสูจน์กับเจ้าหน้าที่ตำรวจในคดีอาญา หอบเอกสาร พยานไปแก้ต่างกัน เสียจิต เสียเวลาแน่นอนครับ
ดังนั้น ทางที่ดีที่สุดเมื่อมีการซื้อขายรถยนต์ ควรดำเนินการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนให้เรียบร้อยด้วยตัวเอง ที่กรมขนส่งฯ นอกจากจะเป็นการป้องกันตัวเองในแง่ของคดีความแล้วแล้ว ยังเป็นการช่วยตรวจสอบรถอย่างละเอียดด้วยว่าเป็นรถที่ไม่ถูกโจรกรรม สวมซากย้อมแมวขายด้วย

หลักฐานที่ใช้การโอนกรรมสิทธิ์รถ

1. ใบคู่มือจดทะเบียนรถ
2. บัตรประจำตัวประชาชน ถ้ากรณีเป็นนิติบุคคลใช้หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม
3. สัญญาซื้อขาย ใบเสร็จรับเงิน และใบกำกับภาษี
4. สำเนาใบมรณะบัตรเจ้าของรถ และคำสั่งศาลหรือพินัยกรรมพร้อมสำเนา (กรณีโอนรับมรดก)
5. แบบคำขอโอนและรับโอน ซึ่งกรอกรายการและลงลายมือชื่อผู้โอนและผู้รับโอนเรียนร้อยแล้ว
6. หนังสือมอบอำนาจพร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้รับมอง กรณีผู้โอน และ/หรือผู้รับโอนมิได้มาดำเนินการด้วยตัวเอง

สถานที่ติดต่อ

สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานคร สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ สำนักงานขนส่งจังหวัดหรือสำนักงานขนส่งจังหวัดสาขาที่ผู้โอนมีที่อยู่ปรากฎในใบคู่มือจดทะเบียนรถหรือที่ขอแจ้งใช้รถไว้

ขั้นตอนการดำเนินการ

1. นำรถเข้ารับการตรวจสอบ ที่งานตรวจสภาพรถยนต์ (ยกเว้นกรณีโอนปิดบัญชีจากผู้ให้เช่าซื้อไปยังผู้เช่าซื้อ ซึ่งเป็นผู้ครอบครองรถตามรายการจดทะเบียน ไม่ต้องตรวจสอบรถ)
2. ยื่นเรื่องโอนกรรมสิทธิ์และชำระค่าธรรมเนียม ที่งานทะเบียนรถ
3. รับใบคู่มือจดทะเบียนรถคืน
4. รับใบเสร็จรับเงิน ใบคู่มือจดทะเบียนรถ เครื่องหมายการเสียภาษี และแผ่นป้าย ทะเบียนรถ

ค่าธรรมเนียม

1. ค่าคำขอ 5 บาท
2. ค่าธรรมเนียมโอน 100 บาท
3. ค่าอากรแสตมป์ 500 บาทต่อราคาประเมินรถทุก 100,000 บาท (เช่น หากประเมินราคารถยนต์ที่ 300,000 บาท ค่าอากรแสตมป์ก็จะเท่ากับ 1,500 บาท)
4. ค่าเปลี่ยนป้ายทะเบียน 200 บาท (กรณีเปลี่ยน)
5. ค่าเปลี่ยนเล่มทะเบียน 100 บาท (กรณีเล่มทะเบียนขาด เก่า หรือชำรุด)
แท็กที่เกี่ยวข้อง รถมือสอง โอนลอย กรรมสิทธิ์รถยนต์
CAR GURU
เขียนโดย วโรดม อิ้วลันตา CAR GURU

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)