ประเมินวงเงินรู้ผลใน 3 นาที

กับ กรุงศรี ออโต้ พร้อมสตาร์ท

เริ่มประเมินวงเงินพร้อมสตาร์ท
ผ่านมือถือ สแกนเลย

ดูวงเงินพร้อมสตาร์ทที่ได้รับ

x
icon-filter ค้นหารถยนต์
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter

ควรเติมลมยางรถยนต์กี่ปอนด์ดี?

icon 2 ต.ค. 58 icon 61,766
ควรเติมลมยางรถยนต์กี่ปอนด์ดี?

ควรเติมลมยางรถยนต์กี่ปอนด์ดี?

ลมยางรถยนต์ หรือความแข็ง-อ่อน มีผลต่อการขับขี่มากๆ ส่งผลทั้งความประหยัด การเกาะถนน ความนุ่มนวล การสึกหรอและประสิทธิภาพสูงสุดของยาง การเติมลมยางให้เหมาะสมจึงเป็นเรื่องจำเป็น วิธีง่ายๆ ที่สุดก็อาจขับเข้าปั๊มน้ำมันแล้วไหว้วานพนักงานบริการให้ช่วยเติมและบอกแรงดันตามที่เราต้องการ ยกเว้นว่าจำเป็นต้องเติมลมยางเอง และอาจมีเครื่องวัดลมยางติดรถไว้เช็คแรงดันว่าอ่อน-แข็งไปหรือเปล่า แต่ว่า...ควรเติมเท่าไหร่ดี ต้องเติมกี่ปอนด์? (หน่วยแรงดันลมยางวัดเป็น-ปอนด์ต่อตารางนิ้ว) มาหาคำตอบกันเลยครับ

เครื่องวัดแรงดันลมยาง

รถที่ใช้ล้อเดิมสเปคโรงงาน


รถยนต์ที่ใช้ล้อขนาดเดิมจากโรงงานสามารถตรวจเช็คค่าความแข็งของแรงดันลมยางได้ที่แผ่นโลหะที่ติดอยู่บริเวณข้างประตู ซึ่งจะบอกรายละเอียดของแรงดันลมยางเอาไว้ และให้เติมลมตามที่ผู้ผลิตกำหนด หรืออาจเติมเผื่อจากสเปคประมาณ 1-2 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว ในกรณีที่ไม่ค่อยมีเวลาตรวจเช็คลมยางบ่อยๆ ครับ

รถยนต์ที่เปลี่ยนขนาดล้อมาใหม่


สำหรับรถยนต์ที่เปลี่ยนขนาดล้อมาใหม่แตกต่างจากขนาดเดิม หรืออาจจะเปลี่ยนแต่ขนาดของยางและคงใช้ล้อเดิมๆ ก็มีวิธีง่ายๆ ในการเติมลมดังนี้ครับ
ล้อขนาด 15 นิ้ว
ถ้าตัวเลขของความสูงแก้มยางและความกว้างใกล้เคียงกันก็สามารถเติมเท่ากับสเปคโรงงานได้เลยครับ เช่น เดิม 185/60R15 เปลี่ยนเป็น 195/50R15 หรือ 205/50R15 ใช้เสปคเดิมได้เลยครับ โดยทั่วไปแล้วจะอยู่ที่ประมาณ 28-32 PSI (ปอนด์ต่อตารางนิ้ว)
ล้อขนาด 16 - 18 นิ้ว
ยางขนาดใหญ่ขึ้นมักจะอยู่ในรถยนต์ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ให้ใช้ลมยางเพิ่มจากสเปคเดิมของผู้ผลิตเล็กน้อยสัก 2-5 PSI (ปอนด์ต่อตารางนิ้ว) เช่น เดิม 32 PSI ให้เพิ่มเป็น 36 PSI เป็นต้น 
กรณีรถยนต์ขนาดเล็กแต่ใส่ล้อโต แนะนำว่าให้เพิ่มจากสเปคผู้ผลิตประมาณ 2-4 PSI เพราะถ้าเติมมากเกินไปจะเกิดความกระด้างและผิวสัมผัสหน้ายางอาจสึกหรอไม่เท่ากัน (หน้ายางส่วนกลางสึกหรอ) หรืออ่อนไป (หน้ายางส่วนข้างสึกหรอ) 

ล้อขนาด 18 นิ้วขึ้นไป
ให้ดูว่าใส่กับขนาดใด และต้องการความนุ่มหรือแข็ง แล้วจึงเติมเพิ่มตามความเหมาะสมจากสเปคเดิม เช่น รถขนาดเล็กเดิมใช้เพียง 28 PSI เปลี่ยนยางขนาด 19 นิ้ว ให้เติมเป็น 33-35 PSI เป็นต้น หรือดูจากตัวเลขที่ระบุตรงแก้มยางก็ย่อมได้  

รถปิคอัพ


ถ้าเป็นขนาดเดิมจากโรงงานผู้ผลิตให้ยึดตามสเปคเดิมเป็นหลักครับ ส่วนกรณีเปลี่ยนล้อขนาดใหญ่ขึ้นให้บวกแรงดันลมยางเพิ่มขึ้นจากเดิมอีก 5-6 PSI (โดยประมาณ) ตามชนิดของยางที่ใช้ เช่น ยางที่ใช้ทางเรียบปกติก็ให้เพิ่มขึ้นเล็กน้อยประมาณ 3-5 PSI หรือยางสำหรับลุยทาง Off-Road ให้เพิ่มประมาณ 5-6 PSI หรือมากกว่านั้นถ้ามีขนาดความกว้างของยางเพิ่มมากขึ้นด้วย หรืออาจดูคู่มือ และร้านยางที่รับบริการให้ตรวจเช็จค่าที่ถูกต้องและให้ใช้ตามนั้นทุกครั้งไป สำหรับรถที่ใช้งานบรรทุกหนัก นอกจากต้องใช้ยางเพื่อทนต่อการรับน้ำหนักแล้ว ควรดูคู่มือหรือสเปคที่แก้มยางประกอบด้วย 

ยางรุ่นนี้เติมได้สูงสุด 50 PSI ขณะอุณหภูมิปกติ
ยางรถยนต์ที่มีสมรรถนะดี เทคโนโลยีสูงส่งเพียงใด แต่ถ้าละเลยหรือใช้งานไม่ถูกต้องตามประเภท, สเปค หรือใช้เกินขอบเขต ก็อาจไม่เกิดประโยชน์ตามที่เราจ่ายเงินซื้อ และแรงดันลมยางก็เช่นกันถ้าอ่อนไปก็กินหน้ายางด้านนอก แข็งไปก็กินหน้ายางตรงกลาง และเมื่อหน้าสัมผัสไม่เติมถนนก็ยึดเกาะได้น้อยลง และยังส่งผลให้กินน้ำมันเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้นอีกด้วย และถ้ายางเริ่มเสื่อมสภาพควรรีบเปลี่ยนให้เร็วที่สุดครับ เพราะอาจจะแตก, รั่ว หรือระเบิดเมื่อไหร่ก็ได้ 
"ใส่ใจเรื่องลมยางสักนิด ชีวิตจะปลอดภัยมากขึ้นครับ"
แท็กที่เกี่ยวข้อง
CAR GURU
เขียนโดย เช็คราคา.คอม CAR GURU

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)