x
icon-filter ค้นหาคอนโด
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter

รับมืออย่างไรกับค่าผ่อนคอนโดที่สูงขึ้น แต่เงินเดือนกลับไม่ขึ้น

icon 18 ก.ค. 66 icon 24,839
รับมืออย่างไรกับค่าผ่อนคอนโดที่สูงขึ้น แต่เงินเดือนกลับไม่ขึ้น
ทุกวันนี้อะไรๆ ก็แพงขึ้นทุกอย่าง จนมนุษย์เงินเดือนหลายคนก็อาจจะใช้ชีวิตค่อนข้างลำบาก โดยเฉพาะกับคนที่เงินเดือนไม่ขึ้น โบนัสก็ไม่ได้ แต่รายจ่ายนั้นกลับขึ้นเอาๆ ไม่ว่าจะเป็นค่ากิน ค่าใช้ชีวิตประจำวัน ค่าไฟ ค่าน้ำ และยังมีค่าผ่อนคอนโดที่มักจะสูงขึ้นเป็นขั้นบันได วันนี้เราเลยจะมาแนะนำในเรื่องของค่าผ่อนคอนโดที่สูงขึ้นนี่เองค่ะ แม้ว่าบางคนอาจจะเงินเดือนขึ้นบ้าง แต่ก็อาจจะยังไม่พอกับค่าใช้จ่ายอยู่ดี มาดูกันว่ามีวิธีรับมือกับปัญหาเหล่านี้ยังไงได้บ้าง ถึงแม้ว่าอาจจะแก้ปัญหาไม่ได้ 100% แต่ก็พอต่อชีวิตออกไปได้บ้างค่ะ

1. ปล่อยให้เช่า

กรณีที่ไม่ได้เข้าไปอยู่ มีบ้านอยู่แล้ว หรือมีที่พักอาศัยอื่น อาจจะลองให้ปล่อยเช่าห้องคอนโดไปก่อน แต่ถ้าเราเป็นผู้อาศัยอยู่ในคอนโดนี้เอง ไม่มีที่อื่นให้ย้ายแล้ว ข้ามไปดูข้อต่อไปเลยค่ะ (ดูวิธี อยากลงทุนปล่อยเช่าคอนโด ควรเริ่มต้นยังไง? ให้ปล่อยเช่าง่าย คนเช่าชอบ ได้ที่นี่)

2. หารายได้เสริม


Image by Freepik
กรณีที่ยังพอจะผ่อนต่อไปไหว เพียงแต่รายรับไม่ได้กระเตื้องขึ้นนั้น แต่ต้องจ่ายค่าผ่อนคอนโดที่เพิ่มขึ้น (ในกรณีที่รีไฟแนนซ์แล้วก็ยังไม่เพียงพอ) เราอาจจะลองหารายได้เสริมไปก่อนค่ะ ถึงแม้ว่าอาจจะเหนื่อย และลำบาก แต่ถ้าเรายังต้องการที่จะอยู่คอนโดนี้ต่อ ก็จำเป็นต้องทำแล้วค่ะ รายได้เสริมที่ว่านี้ อาจจะเป็นการขายของออนไลน์ หรือถ้าใครพอมีทักษะในการเขียนก็อาจจะรับงานเขียนคอนเทนต์ทั่วไป หรือถ้ามีทักษะด้านอื่นๆ ก็ลองขุดมาใช้เพื่อนำมาหารายได้เสริมดูค่ะ แต่ถ้ามองแล้วไม่สามารถจะหารายได้เสริมได้เลย ลองมองดูข้อถัดไปก็ได้ค่ะ

3. ใช้จ่ายให้น้อยลง เก็บเงินให้มากขึ้น


Image by pch.vector on Freepik  
อีกวิธีที่อาจจะเหนื่อยอีกเช่นกัน ก็คือการรัดเข็มขัดแบบสุดโต่งไปเลยค่ะ รายได้เราอาจจะเท่าเดิม เพิ่มเติมคือรายจ่ายที่มากขึ้น แต่ถ้าเราไม่มีเวลาไปหารายได้เพิ่ม และยังต้องอาศัยอยู่ในคอนโดที่กำลังผ่อน สิ่งที่พอจะทำได้อีกอย่างก็คือการประหยัดแบบสุดๆ นี่เองค่ะ อาจจะตัดค่าใช้จ่ายที่จำเป็นน้อยที่สุดออกไป เช่นค่าช็อปปิ้ง ค่าท่องเที่ยว เพื่อนำมาจ่ายในส่วนค่าผ่อนคอนโดก่อน อาจจะยากไปหน่อยสำหรับบางคน แต่ถ้าไม่ทำเช่นนี้ ก็อาจจะต้องขายคอนโดทิ้งแล้วค่ะ แต่ถ้าใครยังไม่อยากทำถึงขั้นนั้น ไปดูวิธีต่อไปกันค่ะ

4. ติดต่อธนาคารขอประนอมหนี้

เมื่อมาถึงขั้นที่เราไม่สามารถจะผ่อนคอนโดได้ไหวอีกต่อไป สิ่งแรกก็คือการประนอมหนี้กับธนาคาร โดยให้เราไปติดต่อกับธนาคารเพื่อขอประนอมหนี้ โดยธนาคารก็จะมีทางเลือกให้เราว่าจะใช้วิธีไหน หลักๆ ก็จะมีดังต่อไปนี้ค่ะ
1. ขยายเวลาชำระหนี้
วิธีนี้คือการเพิ่มระยะเวลาชำระหนี้ให้ยาวนานออกไป เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการผ่อนค่างวดต่อเดือนลดลง เป็นการแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายต่อเดือนนั่นเอง เหมาะกับผู้ที่มีรายได้ประจำแต่รายได้ลดลง ซึ่งมีเงื่อนไขว่าอายุของผู้กู้กับระยะเวลาที่ขอขยายเวลาชำระหนี้นั้นต้องไม่เกิน 70 ปี
2. พักชำระเงินต้น จ่ายแต่ดอกเบี้ย
อีกวิธีที่ใช้ประนอมหนี้กับธนาคารด้วยการพักชำระเงินต้น หรือก็คือการขอผ่อนชำระเฉพาะดอกเบี้ยรายเดือน โดยไม่ต้องจ่ายเงินต้น แต่ข้อเสียคือ เมื่อครบกำหนดระยะเวลาการพักชำระเงินต้น จำนวนเงินต้นก็ยังมีเท่าเดิม ที่เราต้องจ่ายต่อไป
3. ลดยอดผ่อนชำระรายเดือนให้ต่ำกว่าปกติ
บางธนาคารมีมาตรการช่วยเหลือในเรื่องการให้ชำระค่างวดให้ต่ำกว่าปกติ โดยปรับลดให้ถึง 30% - 50% ส่วนใหญ่แล้วจะสามารถทำได้ไม่เกิน 2 ปี
4. โอนหลักทรัพย์เป็นของธนาคารชั่วคราว
เราสามารถโอนบ้านให้เป็นของสถาบันการเงินไปก่อนชั่วคราว แล้วค่อยขอซื้อคืนในภายหลัง วิธีนี้เราต้องโอนบ้านไปเป็นของสถาบันการเงิน แล้วเราจะเปลี่ยนสถานะกลายเป็นผู้เช่า ซึ่งทางสถาบันการเงินจะคิดค่าเช่าเราประมาณเดือนละ 0.4 - 0.6% ของมูลค่าหลักประกัน ต่อสัญญา 1 ปี และเมื่อเราต้องการซื้อคืน ส่วนใหญ่แล้วราคาขายจะคิดจากยอดหนี้ที่เหลือ ซึ่งเราก็สามารถขอสินเชื่อกับสถาบันการเงินเดิมได้เช่นกัน
5. พักชำระหนี้
การพักชำระหนี้จะสามารถพักการจ่ายได้ทั้งเงินต้น และดอกเบี้ย ใช้ในกรณีที่เราประสบปัญหาด้านการเงินจนทำให้ไม่สามารถจ่ายหนี้ได้จริงๆ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วสถาบันการเงินจะให้ระยะเวลาในการพักหนี้ประมาณ 3-6 เดือน หลังจากนั้นเราก็กลับมาชำระหนี้ใหม่ โดยส่วนที่พักชำระไปนั้นก็ไม่ได้หายไปไหนค่ะ หนี้ทั้งหมดก็ยังคงอยู่เหมือนเดิม
6. Refinance หรือ Retention
การรีไฟแนนซ์ เป็นวิธีที่หลายคนใช้เป็นวิธีปกติของการผ่อนชำระหนี้ เพื่อปรับลดดอกเบี้ยเป็นประจำทุกๆ 3 ปีอยู่แล้ว ซึ่งก็เป็นอีกวิธีที่ใช้ในการประนอมหนี้ได้ด้วยเช่นกัน เงื่อนไขก็คือต้องมีการผ่อนชำระกับสถาบันการเงินมาก่อนขั้นต่ำ 3 ปี ซึ่งหลังจากนั้นดอกเบี้ยก็จะเริ่มสูงขึ้น เราสามารถสิ้นสุดสัญญากับสถาบันการเงินเก่า เพื่อไปยื่นเรื่องของรีไฟแนนซ์กับสถาบันการเงินใหม่ โดยเลือกสถาบันที่ให้ดอกเบี้ยต่ำ แต่ก็จะมีในเรื่องของค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม เช่น ค่าจัดการสินเชื่อ ค่าธรรมเนียม และค่าอื่นๆ แต่โดยรวมแล้วการที่ได้ดอกเบี้ยที่ต่ำเหมือนกับช่วง 3 ปีแรกของการกู้ จะทำให้สามารถจ่ายเงินต้นได้มากขึ้นเหมือนเดิม ก็จะสามารถปิดหนี้ได้เร็วขึ้นอีกด้วยค่ะ
การรีเทนชั่น ก็เป็นอีกวิธีที่หลักการจะคล้ายๆ กับการรีไฟแนนซ์ แต่จะเป็นการขอปรับลดดอกเบี้ยกับธนาคารเดิม ที่มีการผ่อนชำระมาแล้ว 3 ปี วิธีนี้จะมีข้อดีก็ตรงที่สถาบันการเงินเดิมของเรามีข้อมูลและเอกสารของเราอยู่แล้ว ทำให้ง่ายต่อการพิจารณาอนุมัติ ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายที่น้อยกว่าการรีไฟแนนซ์ แต่ทั้งนี้ก็อาจจะได้ดอกเบี้ยที่ต่ำไม่เท่ากับการรีไฟแนนซ์ ซึ่งเราก็ต้องไปพิจารณากันให้ดีอีกที

สำหรับชาวมนุษย์เงินเดือนทั่วไปท่านใดที่กำลังประสบปัญหา หวังว่าจะมีวิธีใดวิธีหนึ่งพอช่วยได้บ้างนะคะ ขอให้โชคดีค่ะ

หากใครมีข้อสงสัยอะไรเพิ่มเติม สามารถเข้าร่วมพูดคุยกับกูรูได้ที่นี่เลยค่ะ https://page.line.me/uht3147t
แท็กที่เกี่ยวข้อง ผ่อนคอนโด
Condo Guru
เขียนโดย เช็คราคา.คอม Condo Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)