x
icon-filter ค้นหาคอนโด
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter

กทม. เอา "สายไฟลงดิน" ถึงไหนแล้วและจะเสร็จเมื่อไหร่? - อัปเดต 2564

icon 26 เม.ย. 64 icon 24,915
กทม. เอา "สายไฟลงดิน" ถึงไหนแล้วและจะเสร็จเมื่อไหร่? - อัปเดต 2564

กทม. เอา "สายไฟลงดิน" ถึงไหนแล้วและจะเสร็จเมื่อไหร่? - อัปเดต 2564 

ปฏิเสธไม่ได้ว่าสายไฟและสายสื่อสารที่ระโยงระยางทำให้ภูมิทัศน์ของประเทศไทยเสียไปอย่างมาก บางแห่งมีสถาปัตยกรรมสวยๆ แต่ถูกบดบังด้วยสายไฟก็ทำให้ความสวยนั้นลดลงทันที หลายๆ คนที่ไปต่างประเทศอย่างเช่น สิงคโปร์ ดูไบ ฯลฯ ก็จะเห็นว่าบ้านเมืองเขานั้นสวยงามเป็นระเบียบ ซึ่งส่วนหนึ่งก็มาจากการเก็บสายไฟให้เป็นระเบียบ วันนี้เราเลยจะมาพูดถึงเรื่องนี้ว่าข้อดีของการนำสายไฟลงดินคืออะไร พร้อมอัปเดตในพื้นที่ กทม. และปริมณฑลว่าถนนสายไหนทำเสร็จแล้วบ้าง
1. ประโยชน์ของการนำสายไฟลงดิน

1. ทำให้ทัศนียภาพสวยงาม
ขอบคุณภาพจาก mea
เป็นสิ่งที่แรกที่เห็นได้ทันทีเมื่อนำสายไฟลงดิน เพราะสายไฟในประเทศเราค่อนข้างยุ่งเหยิงพันกันวุ่นวาย บางครั้งก็ย้อยลงมาเป็นภาพที่ไม่น่ามอง โดยเฉพาะกับเขตที่มีสถาปัตยกรรมสวยๆ อาทิ วัด อาคารเก่า เขตศูนย์กลางธุรกิจ 
2. ลดปัญหาไฟตก-ไฟดับจากภัยธรรมชาติ

ขอบคุณภาพจาก voicetv
เมื่อเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ อาทิ ฝนตกหนัก พายุเข้า ก็มักจะทำให้ป้ายโฆษณาหรือต้นไม้เกี่ยวเสาไฟฟ้าล้มเป็นผลให้ไฟดับ นอกจากนี้ก็ยังมีอุบัติเหตุรถชนเสาไฟฟ้าด้วย เมื่อนำสายไฟลงดินช่วยเสริมสร้างความมั่นคง ปลอดภัย ของระบบไฟฟ้า  และตัดปัญหาตรงนี้ไปได้เลย 
3. เพิ่มความปลอดภัยให้กับประชาชน
ขอบคุณภาพจาก เฟซบุ๊กคุณ Noppamas Nuy
เราจะเห็นได้จากข่าวบ่อยๆ ว่ามีชาวบ้านได้รับอุบัติเหตุจากสายไฟไม่ว่าจะเป็นสายไฟที่หย่อนลงมาทำให้ผู้ที่สัญจรโดยรถมอเตอร์ไซค์เกี่ยวถูกสายไฟคอทำให้เสียชีวิต หรือขับรถหรือเดินมาอยู่ดีๆ สายไฟก็ตกลงมาช็อตเสียชีวิต เป็นเหตุการณ์น่าเศร้าที่ไม่ควรเกิดขึ้น และจะไม่เกิดขึ้นอีกเมื่อสายไฟถูกจัดเก็บอยู่ในอุโมงค์ที่มีระบบการจัดการที่ดี
4. รองรับการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น

ขอบคุณภาพจาก mea
อัตราการใช้ไฟฟ้ามีมากขึ้นทุกวันตามการเติบโตของสังคมเมือง ดังนั้นการนำสายไฟลงดินจึงมีความมั่นคงและมีประสิทธิภาพมากกว่าระบบสายไฟฟ้าอากาศ เพราะสามารถจัดระเบียบและรองรับปริมาณไฟที่เพิ่มขึ้นได้
2. ปัจจุบันในกทม.นำสายไฟลงดินถึงไหนแล้ว?

กทม. ร่วมกับทาง สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) นำสายไฟฟ้าและเสาไฟฟ้าลงดิน โดยในพื้นที่กรุงเทพฯ อยู่ในความรับผิดชอบของ กฟน. ส่วนการนำสายสื่อสารลงดิน กทม. ได้มอบหมายให้บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด เป็นผู้ดำเนินการร่วมกับ กสทช. ปัจจุบันได้ดำเนินการเสร็จสิ้นเป็นระยะทางรวม 48.6 กิโลเมตร ประกอบด้วยถนนสายสำคัญต่างๆ เช่น 
  • ถนนสีลม
  • ถนนสุขุมวิท
  • ถนนพหลโยธิน
  • ถนนพญาไท
  • ถนนพระราม 1
  • ถนนพระราม 4
  • ถนนราชดำริ
  • ถนนราชวิถี
  • ถนนราชปรารภ
  • ถนนศรีอยุธยา
  • ถนนสวรรคโลก
  • ถนนสาธุประดิษฐ์
  • ถนนสว่างอารมณ์
  • ถนนพิษณุโลก
  • ถนนนครสวรรค์

โดยการคัดเลือกจะมีเกณฑ์ดังนี้ 1. ตามแนวก่อสร้างรถไฟฟ้า 2. สาธารณูปโภคสำคัญ 3. แนวถนนสายหลัก และ 4. บริเวณย่านธุรกิจและสถานที่สำคัญ โดยพื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ที่มีความต้องการใช้ไฟฟ้าหนาแน่นและมีการเติบโตของความต้องการไฟฟ้าอย่างรวดเร็วจึงต้องเร่งดำเนินการก่อน




3. ในอนาคตมีแผนจะทำเส้นไหนต่อ?

ปัจจุบันมีถนนที่อยู่ระหว่างการดำเนินงาน ระยะทางรวม 167 กิโลเมตร ประกอบด้วย
1. โครงการที่อยู่ระหว่างก่อสร้าง ระยะทางรวม 128.2 กิโลเมตร ได้แก่ ถนนนนทรี ถนนพระราม 3 รัชดาภิเษก-พระราม 9 รัชดาภิเษก-อโศก รอบพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน ถนนพระราม 4 ถนนวิทยุ พื้นที่เมืองชั้นใน (ถนนสาทร ถนนเจริญราษฎร์ ถนนชิดลม ถนนเพชรบุรี ถนนดินแดง) ถนนอังรีดูนังต์ ตามแนวรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน สายสีเขียวอ่อน สายสีชมพู และสายสีเหลือง
2. โครงการที่อยู่ระหว่างจัดหาผู้รับจ้าง ระยะทางรวม 38.8 กิโลเมตร ได้แก่ ตามแนวรถไฟฟ้าสายสีส้ม สายสีเขียวส่วนต่อขยาย และสายสีม่วง โครงการร่วมกรุงเทพมหานคร (ถนนอรุณอัมรินทร์-ถนนบรมราชชนนี-ถนนพรานนก-ถนนทหาร-ถนนประชาราษฎร์สาย 1 และถนนสามเสน)
สำหรับในอนาคตก็จะนำสายไฟฟ้า-สายสื่อสารลงดิน รวมระยะทางทั้งสิ้น ประมาณ 2,450 กิโลเมตร ตามระยะทางเท้า หรือประมาณ 1,260 กิโลเมตร ตามระยะถนน โดยจะเริ่มต้นในปี 2564 แบ่งพื้นที่โครงการนำสายสื่อสารลงใต้ดินในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ออกเป็น 4 พื้นที่ ครอบคลุมทั้ง 50 เขตในกรุงเทพฯ ประกอบไปด้วย 


บริเวณหน้าตลาดราชวัตร เขตดุสิต
  • พื้นที่ 1 กรุงเทพตอนเหนือ ระยะทางรวมประมาณ 620 กม. ตามระยะทางเท้า (หรือประมาณ 335 กม. ตามระยะถนน) ครอบคลุมถนนสายหลัก ถนนสายรอง ถนนโครงข่าย และซอย ในบริเวณพื้นที่เขตดุสิต เขตพญาไท เขตบางซื่อ เขตลาดพร้าว เขต บางเขน เขตหลักสี่ เขตดอนเมือง เขตสายไหม เขตบึงกุ่ม เขตคันนายาว รวมถึงพื้นที่บางส่วนของเขตราชเทวี เขตจตุจักร เขตวังทองหลาง เขตบางกะปิ เขตมีนบุรี และเขตคลองสามวา
บริเวณซอยสุขุมวิท 71 เขตวัฒนา
  • พื้นที่ 2 กรุงเทพตะวันออก ระยะทางรวมประมาณ 605 กม. ตามระยะทางเท้า (หรือประมาณ 315 กม. ตามระยะถนน) ครอบคลุมถนนสายหลัก ถนนสายรอง ถนนโครงข่าย และซอย ในบริเวณพื้นที่เขตดินแดง เขตวัฒนา เขตห้วยขวาง เขตสะพานสูง เขตหนองจอก รวมถึงพื้นที่บางส่วนของเขตสวนหลวง เขตมีนบุรี เขตลาดกระบัง เขตราชเทวี เขต คลองเตย เขตวังทองหลาง เขตบางกะปิ เขตประเวศ และเขตคลองสามวา
บริเวณหน้าเซ็นทรัล บางนา เขตบางนา
  • พื้นที่ 3 กรุงธนเหนือ ระยะทางรวมประมาณ 605 กม. ตามระยะทางเท้า (หรือประมาณ 315 กม. ตามระยะถนน)ครอบคลุมถนนสายหลัก ถนนสายรอง ถนนโครงข่าย และซอย ในบริเวณพื้นที่เขตบางรัก เขตสาทร เขตยานนาวา เขตบางคอแหลม เขตราษฎร์บูรณะ เขตทุ่งครุ เขตบางขุนเทียน เขตพระโขนง เขตบางนา รวมถึงพื้นที่บางส่วนของ เขตคลองเตย เขตสวนหลวง เขตประเวศ เขตลาดกระบัง เขตจอมทอง และเขตบางบอน
บริเวณหน้าคลองถม คอร์เนอร์ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย
  • พื้นที่ 4 กรุงธนใต้ ระยะทางรวมประมาณ 620 กม. ตามระยะทางเท้า (หรือประมาณ 330 กม. ตามระยะถนน) ครอบคลุมถนนสายหลัก ถนนสายรอง ถนนโครงข่าย และซอย ในบริเวณพื้นที่เขตพระนคร เขตสัมพันธวงศ์ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เขตปทุมวัน เขตธนบุรี เขตคลองสาน เขตบางพลัด เขตบางกอกน้อย เขตบางกอกใหญ่ เขตตลิ่งชัน เขตทวีวัฒนา เขตภาษีเจริญ เขตบางแค เขตหนองแขม รวมถึงพื้นที่บางส่วนของเขตดุสิต เขตราชเทวี เขต จอมทอง และเขตบางบอน
*ขอบคุณข้อมูลจาก กรุงเทพธนาคม
เหมือนกับว่าฝันจะเป็นจริงในไม่ช้าแล้วนะคะ ปัจจุบันเริ่มจากในเมืองที่มีความต้องการการใช้ไฟฟ้าสูงก่อน ในอนาคตเราก็จะได้เห็นตามต่างจังหวัด ซึ่งตอนนี้ก็เริ่มมีการทำแล้วในบางพื้นที่ที่เป็นสถานทีท่องเที่ยวสำคัญๆ เช่น จังหวัดเชียงใหม่ นครพนม ขอนแก่น นครราชสีมา น่าน ภูเก็ต อำเภอหาดใหญ่ เมืองพัทยา เป็นต้น
แท็กที่เกี่ยวข้อง เอาสายไฟลงใต้ดิน นำสายไฟลงใต้ดิน สายไฟลงดิน อุโมงค์สายไฟ
Condo Guru
เขียนโดย เช็คราคา.คอม Condo Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)