x
icon-filter ค้นหาคอนโด
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter

อยู่คอนโดติดตั้งอินเทอร์เน็ต Fiber Optic ได้หรือไม่? มีข้อดีอะไรบ้าง?

icon 10 ต.ค. 65 icon 26,954
อยู่คอนโดติดตั้งอินเทอร์เน็ต Fiber Optic ได้หรือไม่? มีข้อดีอะไรบ้าง?
การติดตั้งอินเทอร์เน็ตในคอนโดนั้นค่อนข้างจะมีข้อจำกัดอยู่ค่ะ เนื่องจากการออกแบบเป็นอาคารแนวตั้ง ทำให้การเดินสายนั้นอาจจะเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก บางที่อาจจะยังใช้อินเทอร์เน็ต VDSL อยู่ ซึ่งจะอย่างไรก็ตามปัจจุบันคอนโดหลายๆ โครงการก็หันมาออกแบบให้ตัวอาคารนั้นสามารถติดตั้งอินเทอร์เน็ตแบบสายสัญญาณใยแก้วนำแสง (Fiber Optic) ได้แล้ว ซึ่งอินเทอร์เน็ต Fiber Optic นี้ เป็นเทคโนโลยีล่าสุดที่ช่วยในเรื่องของความเร็ว และความเสถียรกว่าแบบเก่าๆ วันนี้เราจะพาไปทำความรู้จักกับ "การติดตั้งอินเทอร์เน็ตคอนโดด้วยสาย Fiber Optic" กันค่ะ
  • Dial-up Modem ความเร็วสูงสุด 56k เชื่อมต่อด้วยสายโทรศัพท์
  • ADSL ความเร็วสูงสุด 1 Mbps ระยะการใช้งาน 5 กม.
  • VDSL ความเร็วสูงสุด 100 Mbps ระยะการใช้งาน 1.5 กม.
  • Fiber Optic ความเร็วสูงสุด 1000 Mbps ระยะการใช้งาน 100 กม.
ทำไมต้อง Fiber Optic ?
เหตุผลง่ายๆ ที่ต้องติดตั้งอินเทอร์เน็ตด้วยสาย Fiber Optic เลยก็คือ เพราะเป็นเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดของอินเทอร์เน็ตบ้านที่ให้ความเร็วในการรับส่งข้อมูล และมีความเสถียรที่สุดในเวลานี้ นั่นเองค่ะ เดี๋ยวเราไปดูกันค่ะว่า Fiber Optic มีดีอย่างไรบ้าง?
ข้อดีของ Fiber Optic
1. Fiber Optic แบนด์วิธเยอะกว่า ทำให้สามารถรองรับความเร็วในการรับส่งข้อมูลได้สูงสุดถึง 1 Gbps ทำให้สามารถโอนย้ายถ่ายข้อมูลในโลกอินเทอร์เน็ตด้วยไฟล์ใหญ่ๆ ได้อย่างรวดเร็ว
2. อัปโหลดได้รวดเร็วกว่าเดิม สิ่งนี้ทำให้สามารถไลฟ์สดได้โดยไม่กระตุก ยิ่งพวกสายสตรีมมิ่ง หรือเกมเมอร์ทั้งหลายน่าจะชอบ เพราะจะทำให้การไลฟ์สดของคุณลื่นไหล หรือแม้แต่การอัปโหลดวิดีโอลง Social Media ด้วยขนาดไฟล์ที่ใหญ่ๆ ก็ไม่ต้องใช้เวลารอนานอีกต่อไป
3. เน็ตไหลลื่นไม่ต้องรอนาน สังเกตได้จากเวลาที่เราเข้าเว็บไซต์ๆ หนึ่ง พอเอ็นเทอร์ปุ๊บ หน้าเว็บนั้นก็จะขึ้นมาทันทีแบบไม่ต้องรอ เหมาะกับยุคสมัยที่ต้องเร่งรีบแบบทุกวันนี้เลยค่ะ
4. ไม่มีสัญญาณไฟฟ้าคอยรบกวน อย่างที่เราเห็นได้จากเทคโนโลยีเก่าๆ บางทีที่เห็นเน็ตหลุดบ้างอะไรบ้าง นั่นอาจจะเกิดจากการที่มีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ารบกวน แต่ถ้าเป็นสายไฟเบอร์ออปติกที่รับส่งข้อมูลผ่านเส้นใยแก้วนำแสง (ชื่อก็บอกอยู่นะคะว่าผ่านแสง) ก็จะทำให้สัญญาณเสถียรขึ้นนั่นเอง
5. ตัวสายสัญญาณเป็นแก้ว ไม่นำไฟฟ้า จึงไม่โดนดูด ต่อให้เป็นเส้นใยนำแก้วเปลือยออกมา ไม่มีฉนวนหุ้มเลยก็ไม่ดูดจ้า (แต่จะขาดเสียมากกว่า)
6. มีความปลอดภัยที่มากกว่าสายทองแดง เนื่องจากสายทองแดงแผ่รังสีแม่เหล็กออกมานอกสายสัญญาณได้ แต่สายไฟเบอร์จะไม่มีการแผ่รังสีออกมา
ข้อจำกัดของการติดตั้งอินเทอร์เน็ต Fiber Optic ในคอนโด
สำหรับคอนโดที่มีอายุแล้ว หรือบางคอนโดก็อาจจะก่อสร้างมาโดยที่ไม่ได้รองรับการเดินสายของ Fiber Optic ซึ่งเมื่อเราไปสอบถามกับทางผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตแล้ว เขาอาจจะบอกเราว่าสามารถติดตั้งได้ ซึ่งก็ติดตั้งได้แค่ในส่วนที่เป็น Fiber Optic จากนอกอาคาร แต่พอเป็นสายที่แยกเข้าไปในห้องแล้ว ก็ยังเป็นสายทองแดงแบบเดิมอยู่ดีค่ะ ทั้งนี้เกิดจากข้อจำกัดในเรื่องของความเร็วในการรับส่งสัญญาณอินเทอร์เน็ตนั่นเอง เช่น ต่อให้ใช้แพ็กเกจอินเทอร์เน็ตด้วยความเร็ว 1000 Mbps แต่สายทองแดงก็รองรับได้แค่ 150 mbps เท่านั้นค่ะ

ผังภาพการปล่อยสัญญาณจากเสาไฟเบอร์ เข้ามายังห้อง Control Room ส่งไปยังห้องในคอนโด
แต่ถ้าคอนโดไหนที่มีการติดตั้งสายไฟเบอร์แล้ว ถ้าจะติดตั้งอินเทอร์เน็ตแบบ Fiber Optic ไปเลยก็น่าจะเป็นเรื่องที่ดีเลย เราสามารถเดินไปติดต่อสอบถามกับทางผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตที่เราสนใจได้เลย ส่วนในกรณีที่คอนโดไม่มีสายไฟเบอร์ แต่เราอยากได้ต้องทำอย่างไร? เราสามารถยื่นเรื่องต่อนิติบุคคลเพื่อพิจารณาการติดตั้งสาย Fiber Optic ภายในอาคาร ก็ได้เหมือนกันค่ะ แต่สำหรับบริษัทที่จะเดินสาย Fiber ให้ก็จะมีข้อแม้อยู่บ้าง เช่น มีจำนวนยูนิตเพียงพอไหม? หรือ มีผู้ใช้งานตามเปอร์เซ็นต์ที่กำหนดไหม? เป็นต้น เพื่อที่จะได้คุ้มค่าต่อการติดตั้ง เนื่องจากการติดตั้งระบบเดินสาย Fiber ในอาคารสูงนั้นค่อนข้างเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก ซับซ้อน และมีค่าใช้จ่ายสูงอยู่เหมือนกัน
ติดตั้งยังไง
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันมีหลายโครงการที่หันมาใส่ใจเรื่องการติดตั้งอินเทอร์เน็ตด้วยสาย Fiber กันมากขึ้น และบางที่ก็มีบริษัทรับติดตั้งสาย Fiber ไปเสนอให้ถึงโครงการ เดี๋ยวเราจะพาไปดูตัวอย่างภาพคร่าวๆ ที่แสดงถึงการติดตั้งสายไฟเบอร์ภายในอาคาร รวมไปถึงการส่งตรงมายังห้องของเรากันค่ะ ว่าเขาทำยังไง
วิธีติดตั้งสาย Fiber เข้าห้อง (ภาพเพื่อประกอบบทความเท่านั้น ไม่ใช่ภาพการติดตั้งจริงๆ แต่อย่างใด)
1. ติดตั้งตู้สำหรับเชื่อมต่อสายไฟเบอร์ออปติก ภายในห้อง Control Room ที่อยู่ภายในโครงการคอนโด
2. ติดตั้งรางเก็บสายในแนวดิ่ง เพื่อส่งสายไปในแต่ละชั้นของอาคาร และติดตั้งกล่องกระจายสัญญาณ เพื่อรองรับการเชื่อมต่อสายไฟเบอร์เข้าห้อง
3. ติดตั้งท่อร้อยสายบนฝ้า ตามแนวทางเดิน
4. ติดตั้งสายเข้าไปยังในแต่ละห้อง ผ่านกล่อง Termination Box เท่านี้ก็มี Fiber Optic อยู่ในห้องเราแล้วจ้า สามารถไปติดต่อผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต เลือกแพ็กเกจที่สนใจได้เลย
เราสามารถติดเน็ตของอะไรได้บ้าง
การติดตั้งอินเทอร์เน็ต Fiber Optic ขึ้นอยู่กับพื้นที่ให้บริการของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตว่ามีชุมสายมาถึงหรือไม่ ซึ่งถ้าหากมีเจ้าที่เราต้องการ เราสามารถติดต่อไปยังผู้ให้บริการเพื่อติดตั้งอินเทอร์เน็ตตามแพ็กเกจที่เราต้องการได้เลย สำหรับบางโครงการอาจจะต้องไปถามกับนิติก่อนว่า คอนโดของเรานั้นมีอินเทอร์เน็ตเจ้าไหนให้บริการอยู่บ้าง ซึ่งอาจจะไม่ครบทุกเจ้าที่มีอยู่ตอนนี้ หลักๆ แล้วก็จะมีดังต่อไปนี้ค่ะ

AIS

True

3BB

TOT

C internet by Cat Telecom

NT Broadband


ดูโปรโมชั่นอินเทอร์เน็ตแต่ละเจ้าได้ที่นี่ 7 ข้อแนะนำการเลือก "อินเทอร์เน็ตบ้าน" พร้อมโปรจากทุกค่าย

ขอบคุณข้อมูลจาก
แท็กที่เกี่ยวข้อง อินเทอร์เน็ตบ้าน อินเทอร์เน็ตคอนโด
Condo Guru
เขียนโดย พชรธรณ์ ถิ่นสอน Condo Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)