x
icon-filter ค้นหาคอนโด
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter

8 จุดเสี่ยงควรระวัง! เพื่อความปลอดภัยของเด็กในคอนโด

icon 11 เม.ย. 65 icon 10,130
8 จุดเสี่ยงควรระวัง! เพื่อความปลอดภัยของเด็กในคอนโด
ปัจจุบันการพักอาศัยบนตึกสูงๆ หรือคอนโดมิเนียมเป็นรูปแบบที่กำลังได้รับความนิยม เพราะการเดินทางที่สะดวกสบายอยู่ในตัวเมืองหรืออยู่ในระยะที่ใช้รถไฟฟ้าได้ แต่ด้วยการออกแบบและสภาพแวดล้อมต่างๆ บนตึกสูงในปัจจุบัน อาจจะยังไม่ได้ให้ความสำคัญกับเด็กที่จะเข้ามาอยู่ด้วยมากนัก บวกกับวัยอันซุกซน ความอยากรู้อยากเห็น และความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของเด็กๆ ด้วยแล้ว จึงทำให้หลายๆ จุดบนคอนโดอาจกลายเป็นจุดเสี่ยงที่อาจะเป็นอันตรายต่อเด็กๆ ได้ จะมีจุดไหนบ้างที่เราควรระวังไปดูกันค่ะ
1. ระเบียงห้อง
ระเบียงห้อง ถือว่าเป็นจุดที่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ โดยมี 2 เรื่องที่ต้องระวัง คือ 
1. ช่องว่างระหว่างระเบียง เนื่องจากระเบียงนั้นมีลักษณะเป็นช่องๆ และอาจมีช่องว่างระหว่างช่องขนาดใหญ่ ทำให้เด็กเล็กๆ สามารถคลานหรืออาจมุดรอดตกลงไปได้ อาจป้องกันได้ด้วยการติดเหล็กดัดปิดไว้ ในแง่การดีไซน์เพื่อความปลอดภัยของเด็ก ช่องว่างเหล่านี้ไม่ควรเกิน 9 ซม.
2. ความสูงของราวระเบียง ราวระเบียงของบางโครงการอาจไม่ค่อยสูงมากนัก จะอยู่ที่ประมาณ 90 เซนติเมตร อีกทั้งบางโครงการยังมีคอมเพรสเซอร์แอร์ ติดตั้งชิดอยู่ที่ราวระเบียงอีกด้วย ทำให้เด็กๆ ที่โตขึ้นมาหน่อยอาจซุกซนปีนและอาจตกลงมาได้ ในแง่การดีไซน์เพื่อความปลอดภัยของเด็ก ความสูงของระเบียงควรเกิน 120 ซม.ไปเลย
2. ลิฟต์โดยสาร
บริเวณช่องว่างเล็ก ๆ ที่เป็นรอยต่อระหว่างตัวลิฟต์กับพื้นของชั้น หากดูแลเด็กไม่ดี เด็กอาจนำมือแหย่เข้าไปแล้วติดได้ หรือในกรณีที่ก้าวเดินแล้วพลาดทำให้ขาเด็กอาจเข้าไปติดในช่องว่างนั้นได้ ดังนั้นจึงถือเป็นอีกจุดที่ต้องระวังมากเป็นพิเศษ
3. หน้าต่าง
หน้าต่างเป็นอีกจุดที่เด็กๆ สามารถพลัดตกลงไปได้ ดังนั้นจึงไม่ควรเอาสิ่งของเครื่องใช้ หรือเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ ไปติดตั้งหรือวางชิดริมผนังที่มีหน้าต่าง ไม่ว่าจะเป็น โต๊ะ เก้าอี้ ตู้ เตียง ชั้นวางของ หรืออะไรก็แล้วแต่ที่เด็กๆ สามารถใช้ปีนป่ายขึ้นถึงหน้าต่างได้
4. บานประตูกระจก
1. ประตูตรงระเบียง : ส่วนใหญ่ของหลายๆ โครงการจะเป็นประตูใสแบบบานเลื่อน เพราะทำให้ห้องดูโปร่ง และสามารถชมความสวยงามของวิวด้านนอกอาคารได้ แต่ประตูแบบนี้สำหรับเด็ก 3-4 ขวบขึ้นไปอาจสามารถจะเปิดออกเองได้แล้ว ซึ่งหากเปิดไปออกไปเล่นที่ระเบียงในขณะที่ไม่มีผู้ใหญ่ดูแลอาจทำให้พลัดตกลงไปได้ ในแง่การดีไซน์เพื่อความปลอดภัยของเด็กนั้น ประตูกระจกบานเลื่อนพวกนี้ควรเป็นบานประตูที่เปิดยากสำหรับเด็กๆ ไม่ว่าจะเป็นดีไซน์ที่ทำให้มีน้ำหนักมากขึ้น หรือมีตัวล็อคที่กลอนบานประตู
2. ประตูกระจก : นอกจากประตูกระจกตรงระเบียงแล้วประตูที่เป็นกระจกทุกจุดก็เป็นจุดเสี่ยงที่ควรระวังเช่นกัน เพราะเด็กๆ อาจเดินไม่ระวังแล้วเดินชนกระจกทำให้เจ็บตัวได้ เช่น บานประตูกระจกบริเวณครัวตามรูปข้างบน
5. สระว่ายน้ำ
1. สระว่ายน้ำแบบเปิดโล่ง : สำหรับห้องสุดหรูที่มีสระว่ายน้ำส่วนตัว รวมถึงห้องที่อยู่ใกล้กับสระว่ายน้ำส่วนกลางของโครงการ ส่วนใหญ่จะเป็นสระแบบเปิดโล่งไม่มีรั้วกั้น เด็กๆ สามารถเข้าไปได้อย่างง่ายดาย ควรระมัดระวังไม่ปล่อยให้เด็กไปเล่นบริเวณสระว่ายน้ำเพียงลำพัง เพราะอาจพลัดตกลงไปในน้ำและก่อให้เกิดอันตรายได้
2. ไฟฟ้ารั่วในสระว่ายน้ำ : ในบางครั้งสระว่ายน้ำก็อาจเกิดเหตุการณ์ไฟฟ้ารั่วได้ ทำให้คนที่ลงไปเล่นในสระไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่อาจจะโดนไฟฟ้าช็อต หรือไฟดูดได้ โดยจุดที่ควรระวังเป็นอย่างมากคือบริเวณวัตถุที่เป็นเป็นโลหะทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นบันไดขึ้น-ลงสระ หลอดไฟใต้สระว่ายน้ำ หรือเสาไฟฟ้าบริเวณใกล้ๆ สระว่ายน้ำ ฯลฯ เพราะโลหะเหล่านี้ล้วนเป็นตัวนำไฟฟ้าที่ดีหากบริเวณนั้นเกิดมีไฟฟ้ารั่ว นอกจากนี้เวลาที่ฟ้าครึ้มๆ หรือฝนกำลังจะตกก็ไม่ควรใช้สระว่ายน้ำเช่นกัน เพราะอาจเกิดเหตุการณ์ฟ้าผ่าลงมาที่สระว่ายน้ำได้ ถึงแม้จะมีโอกาสเกิดได้น้อยมากแต่มันก็สามารถเกิดขึ้นได้ (เช่น เหตุการณ์ไฟช็อตสระว่ายน้ำในคอนโดแถวสุขุมวิทเมื่อปี 2557 ดูข่าวได้ที่นี่)
6. ทางหนีไฟ
บางครั้งประตูบันไดหนีไฟในบางโครงการคอนโดก็เป็นแบบที่เปิดได้จากด้านในตัวอาคารออกไปด้านนอกได้เพียงอย่างเดียว ไม่สามารถเปิดจากด้านนอกเข้ามาด้านในได้ สำหรับเด็กโตขึ้นมาหน่อยที่พอเปิด-ปิดประตูเองได้ อาจจะซุกซนผลักประตูออกไปเล่นบริเวณบันไดหนีไฟแล้วอาจจะเปิดกลับเข้ามาในส่วนอาคารไม่ได้ หรือหากไปเล่นที่บันไดก็อาจจะพลัดตกบันไดเป็นอันตรายได้
7. มุมแหลมคมจากเฟอร์นิเจอร์
ทุกวันนี้หลายๆ โครงการมักมีแถมเฟอร์นิเจอร์ลอยตัว เช่น โต๊ะ เก้าอี้ เตียง มาด้วย ซึ่งเฟอร์นิเจอร์บางทีก็ทำมาด้วยมาตรฐานที่ไม่ดีหรือทำแบบลวกๆ เร็วๆ ไม่มีการลดมุมแหลมคม ขอบโต๊ะ หรือขอบเก้าอี้ออก ซึ่งเป็นอันตรายมากกับเด็ก และผู้ใหญ่ เวลาเดินชนหรือพลาดไปโดน ดังนั้นควรตรวจสอบให้แน่ใจว่า เฟอร์นิเจอร์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโต๊ะทานข้าว ตู้ เตียง หรือเฟอร์นิเจอร์เกือบทุกชิ้นที่อยู่บริเวณกลางห้องที่เด็กๆ มักเดินผ่านบ่อยๆ ไม่มีมุมที่แหลมคม หรือไม่มีช่องใดๆ ที่นิ้วเด็กจะแหย่เข้าไปติดได้ หากมีก็ควรหาวัสดุผ้ามาห่อหุ้มป้องกันไว้ ป้องกันการเดินชนของเด็กๆ ตัวอย่างเช่น โฟมกันกระแทกตามรูปด้านบน
8. คนแปลกหน้า
คนแปลกหน้า ถึงแม้ในคอนโดจะมีระบบรักษาความปลอดภัย หรือกล้องวงจรปิดเพื่อป้องกันบุคคลภายนอกเข้ามาโดยไม่ได้รับอนุญาตก็ตาม แต่ยังไงก็ควรระวัง เพราะในคอนโดมีคนอยู่มากหน้าหลายตา ซึ่งเราไม่อาจรู้ได้ว่าคนไหนเป็นลูกบ้านในโครงการ และคนไหนเป็นคนแปลกหน้าจากนอกโครงการ หากไม่รู้จักหรือสนิทกันจริง คุณก็ไม่ควรปล่อยให้เด็กอยู่ด้วย หรือปล่อยให้ออกไปเดินเล่นนอกห้องตามลำพัง
รู้อย่างนี้แล้วผู้ปกครองที่มีเด็กๆ อาศัยอยู่ในคอนโดฯ ด้วยควรระมัดระวังให้มาก ไม่ประมาท เผอเรอ หรือปล่อยให้เด็กอยู่ตามลำพัง เพราะเพียงแค่เสี้ยวนาทีก็อาจเกิดอุบัติเหตุขึ้นได้ เด็กๆ นั้นยังอยู่ในวัยอันซุกซน มีความอยากรู้อยากเห็น และอาจรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ดังนั้นถ้าหากรู้ว่าจุดใดของคอนโดเป็นจุดเสี่ยงหรืออันตรายแล้วก็ควรหาวิธีหลีกเลี่ยง หรือป้องกันไว้ก่อนเพื่อความปลอดภัยอันสูงสุดต่อลูกหลานที่คุณรักนะคะ
แท็กที่เกี่ยวข้อง เลี้ยงเด็กในคอนโด
Condo Guru
เขียนโดย ดวงพร คล้ายมี Condo Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)