ประเมินวงเงินรู้ผลใน 3 นาที

กับ กรุงศรี ออโต้ พร้อมสตาร์ท

เริ่มประเมินวงเงินพร้อมสตาร์ท
ผ่านมือถือ สแกนเลย

ดูวงเงินพร้อมสตาร์ทที่ได้รับ

x
icon-filter ค้นหารถยนต์
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter

ประกันภัยรถยนต์ไม่บังคับก็ควรทำ

icon 4 พ.ค. 59 icon 55,620
ประกันภัยรถยนต์ไม่บังคับก็ควรทำ


ประกันภัยรถยนต์ไม่บังคับก็ควรทำ
 
 
 

เชื่อแน่ว่าพวกเราทุกคนพอได้รถมาเชยชมแล้วก็คงอยากรักษารถไว้ให้อยู่ในสภาพที่ดีกันทุกคนใช่มั้ยครับ?  ซึ่งการจะรักษาสภาพรถไว้ บางทีก็ต้องใช้สตางค์อยู่ไม่น้อย แต่แหล่งเงินแหล่งหนึ่งที่อาจช่วยท่านได้ โดยเฉพาะเวลาที่รถท่านเกิดอุบัติเหตุ หรือสูญหายก็คือประกันภัยรถยนต์นั่นเอง แต่ประกันภัยรถยนต์ไม่ได้มีประโยชน์แค่นั้นนะครับ เราลองมาดูกันดีกว่าว่า ประกันภัยรถยนต์มีประโยชน์อย่างไร และเราควรรู้อะไรบ้างก่อนทำประกัน

 



 

ทำไมต้องเสียเงินทำประกันด้วยล่ะ

 


 
 

โดยหลักแล้ว ประกันภัยรถไม่ว่าจะเป็นแบบกฎหมายบังคับ หรือที่เราทำเองโดยสมัครใจ มีประโยชน์หลายอย่างทั้งต่อตัวท่านเอง และรถของท่าน ที่สำคัญๆ เลยก็คือ เป็นกระเป๋าสตางค์ไว้ชำระค่าเสียหายต่อตัวรถ ผู้ขับขี่ และบุคคลภายนอกที่อาจไม่รู้อีโหน่อีเหน่ได้รับความเสียหายจากการขับรถของเรา เป็นต้น (ซึ่งรายละเอียดประกันภัยแต่ละแบบจะแตกต่างกันไปตามที่จะพูดถึงต่อไป) นอกจากนี้ เวลาเกิดอุบัติเหตุที่มีคู่กรณี ก็ไม่ต้องกังวล หรือเสียเวลากับเรื่องนี้มากนัก เพราะจะมีบริษัทประกันภัยเข้ามาคอยช่วยเหลือจัดการตรงนี้ให้ ไม่ว่าจะช่วยพิจารณาดูว่าใครถูกใครผิด หรือพิจารณาว่าค่าเสียหายเท่าไหร่ เป็นต้น และในกรณีอุบัติเหตุไม่ว่าเราจะเป็นฝ่ายถูก หรือฝ่ายผิด บริษัทประกันก็จะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้เรา หรือจัดการซ่อมรถให้เราได้เลย เช่น ถ้าเราเป็นฝ่ายถูก บริษัทประกันก็จะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายแทนเรา แล้วเข้าไปสวมสิทธิของเราไปเรียกค่าสินไหมทดแทนจากฝ่ายที่ผิด หรือถ้าเราเป็นฝ่ายผิด บริษัทประกันก็จะจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้แก่ฝ่ายที่ถูกได้ทันที เป็นต้น

 


 
 

เลือกประกันภัยยังไงดี

 


 
  ถ้าว่ากันแบบง่ายๆ ตรงไปตรงมา พวกเราก็มักจะพิจารณากันจากจำนวนค่าเบี้ยประกันเป็นหลักเสมอ แต่ถ้ามองให้ลึกแล้ว จำนวนค่าเบี้ยประกันเป็นเพียงส่วนหนึ่งในข้อพิจารณาหลายๆ ข้อเท่านั้น เพราะมีอีกหลายปัจจัยที่เราควรพิจารณาประกอบ เช่น จำนวนเงินค่าคุ้มครองที่เราพึงพอใจ สมเหตุสมผลกับประเภทรถ หรือสภาพรถของเรา ณ ขณะนั้นๆ การบริการที่ดีของบริษัทประกัน เช่น เมื่อเกิดอุบัติเหตุโทรแจ้งแล้วมาเร็วหรือไม่ การเจรจาค่าซ่อมพยายามบีบให้เราซ่อมถูกๆ หรือไม่ เอารถเข้าซ่อมรถที่ไหนได้บ้าง หลายที่หรือไม่ เข้าศูนย์ได้หรือไม่ เป็นต้น นอกจากนี้ เรื่องสำคัญอีกอย่างก็คือ ความมั่นคงทางการเงินของบริษัทประกัน เพราะหากบริษัทประกันมีสถานะการเงินไม่ดี หรือจะล้มละลาย ก็อาจมีปัญหา หรือขาดความสภาพคล่องที่จะจ่ายเงินประกันให้เรา หรือบริษัทซ่อมรถได้ แต่ในบางกรณีก็ต้องยอมรับว่าเราอาจไม่มีสิทธิเลือกบริษัท หรือประเภทของการประกันภัยเหมือนกัน เช่น ในกรณีขอสินเชื่อเช่าซื้อรถ บริษัทให้สินเชื่อมักจะระบุมาเลยว่าให้ใช้ที่ใด และประกันแบบไหน และในบางกรณีประกันภัยรถก็มีการแถมฟรีเป็นส่วนหนึ่งของโปรโมชั่นรถ ซึ่งเราก็จะไม่มีทางเลือกเช่นกันต้องรับมาเลยตามสภาพที่ฟรีนั้น  


ทำอย่างไรให้เบี้ยประกันน้อยๆ หน่อย

 



 

ก่อนที่จะทำประกันภัยรถ เราลองมาดูกันนะครับว่า ต้องพิจารณาอะไรบ้าง เป็นแนวทางคร่าวๆ เพื่อให้เราประหยัดเบี้ยประกันของประกันภัยประเภททำเองโดยสมัครใจลงได้บ้าง (โดยเฉพาะเบี้ยประกันชั้น 1)

 


 
  1.

จำนวนทุนประกันภัยยิ่งสูง เบี้ยประกันก็จะสูงตาม (ไม่ว่าจะเป็นทุนเอาประกันตัวรถ ทุนประกันความรับผิดชอบต่อบุคคลภายนอก หรือทุนประกันคุ้มครองบุคคลภายในรถ)

 


 
  2.

จำนวนเบี้ยประกันจะแปรผันไปตามอายุของผู้ทำประกันรถ เช่น ถ้าอายุยิ่งมาก จำนวนเบี้ยประกันก็จะสูงตาม (เฉพาะประกันประเภทคุ้มครองผู้ขับ)

 


 
  3.

ประเภท และยี่ห้อรถ โดยเฉพาะรถที่อะไหล่แพง หรือนำเข้ามาเพียงไม่กี่คัน ซ่อมยาก หรือรถที่เป็นเป้าหมายโจรกรรมบ่อย รถเหล่านี้เบี้ยประกันก็จะสูง (เฉพาะประกันภัยประเภทที่คุ้มครองตัวรถที่เอาประกัน)

 


 
  4.

ถ้ารถเราประวัติดี ไม่ค่อยเกิดอุบัติเหตุ ไม่ค่อยมีการเคลมประกัน เบี้ยประกันก็อาจมีแนวโน้มลดลง (No Claim Bonus)

 


 
  5. ความเสียหายส่วนแรก (Deductible) เป็นจำนวนเงินส่วนแรกที่เราต้องร่วมรับผิดในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุแล้วเราเป็นฝ่ายผิด เช่น ถ้าประกันภัยรถของเราฉบับหนึ่งมีค่าความเสียหายส่วนแรกที่ 2,000 บาท และต่อมาเกิดอุบัติเหตุแล้วเราเป็นฝ่ายผิด ค่าเสียหายทั้งหมดคำนวณออกมาได้ 10,000 บาท เราจะต้องรับผิดชอบ 2,000 บาทแรกเอง และที่เหลืออีก 8,000 บาท บริษัทประกันจะเป็นผู้รับผิดชอบ เป็นต้น ซึ่งโดยหลักการแล้วถ้ามีตัวเลขค่าความเสียหายส่วนแรกสูงๆ เบี้ยประกันก็จะลดลง   


ประเภทและความคุ้มครองของประกันภัยรถยนต์

 



  ประกันภัยรถยนต์แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ ประกันภัยรถยนต์แบบสมัครใจ และประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ (ประกันภัยประเภทที่สองนี้เรียกกันทั่วๆ ไปว่า “พ.ร.บ.” ซึ่งเป็นคำเรียกย่อของพระราชบัญญัติว่าด้วยการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ซึ่งประกันภัย พ.ร.บ. นี้จะคุ้มครองเฉพาะบุคคลผู้ประสบภัยแต่ไม่คุ้มครองทรัพย์สิน เช่น ตัวรถ)   

  1. การประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ

 


ประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจเป็นประกันที่เจ้าของรถสามารถเลือกซื้อความคุ้มครองได้ตามความต้องการ ประกันภัยประเภทนี้มีความคุ้มครองให้เลือก 4 ประเภทหลักและ 2 ประเภทเสริม ซึ่งมีรายละเอียดโดยย่อดังนี้

 


 
    1.1 ประกันชั้น 1 ให้ความคุ้มครองครอบคลุมมากที่สุดต่อผู้เอาประกัน และบุคคลภายนอก ดังนี้

 


  • ความรับผิดต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก และผู้โดยสารในรถที่เอาประกันรวมถึงผู้ขับขี่
  • ความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก
  • การสูญหายของรถยนต์คันเอาประกันภัย
  • ความเสียหายของรถยนต์คันเอาประกันภัยจากไฟไหม้และการชน

 


 
    1.2 ประกันชั้น 2 ให้ความคุ้มครองตัวผู้เอาประกัน และบุคคลภายนอก ดังนี้

 


  • ความรับผิดต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก และผู้โดยสารในรถที่เอาประกันรวมถึงผู้ขับขี่
  • ความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก
  • การสูญหายของรถยนต์คันเอาประกันภัย
  • ความเสียหายของรถยนต์คันเอาประกันภัยจากไฟไหม้ (ไม่รวมความเสียหายจากการชน)

 


 
    1.3 ประกันชั้น 3 ความคุ้มครองเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับทรัพย์สิน ชีวิต และร่างกายของบุคคลภายนอก ดังนี้

 


ความรับผิดต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก และผู้โดยสารในรถที่เอาประกัน (ไม่รวมผู้ขับขี่)
ความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก

 


 
    1.4 ประกันชั้น 4 ให้ความคุ้มครองเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับทรัพย์สินบุคคลภายนอก

 


 
    1.5 ประกันชั้น 5 (2+) เป็นประกันภัยชั้น 2 ที่เพิ่มความคุ้มครองความเสียหายของรถที่เอาประกันอันเกิดจากการชนที่มีคู่กรณีเป็นยานพาหนะทางบก ซึ่งปกติประกันภัยชั้น 2 จะไม่คุ้มครอง

 


 
    1.6 ประกันชั้น 5 (3+) เป็นประกันภัยชั้น 3 ที่เพิ่มความคุ้มครองความเสียหายของรถที่เอาประกันอันเกิดจากการชนที่มีคู่กรณีเป็นยานพาหนะทางบก ซึ่งปกติประกันภัยชั้น 3 จะไม่คุ้มครอง  
   

 


เบี้ยประกันสำหรับประกันภัยภาคสมัครใจนี้จะแตกต่างกันออกไปในแต่ละประเภทชั้น และบริษัทประกันภัยแต่ละที่ก็จะคิดเบี้ยประกันสำหรับแต่ละประเภทชั้นไม่เท่ากัน ซึ่งก็เป็นสิทธิของผู้บริโภคอย่างเราที่จะดูให้ถี่ถ้วน และเลือกซื้อประกันภัยจากบริษัทประกันที่เราพอใจ และคุ้มค่าความคุ้มครองที่เราจะได้รับ

 

  2. การประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ (พ.ร.บ.)

 


เป็นประกันภัยที่กฎหมายบังคับให้รถทุกคัน และทุกประเภทต้องทำตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 (โดยหากเจ้าของรถ หรือผู้เช่าซื้อรถไม่ทำจะมีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาทตาม พรบ. นี้ด้วย) โดยจะคุ้มครองในความเสียหายต่อชีวิต และร่างกาย หรืออนามัยของผู้ประสบภัยจากรถทุกคน ดังนี้

 


 
    2.1 ค่าเสียหายเบื้องต้น เป็นความคุ้มครองเบื้องต้นโดยจะชำระให้เลยโดยไม่ต้องพิสูจน์กันว่าใครถูกใครผิด โดยจะคุ้มครองผู้ประสบภัยทุกคนรวมถึงผู้ขับขี่ และผู้โดยสารในรถที่เอาประกัน ทั้งนี้ บริษัทประกันภัยฝั่งของผู้ประสบภัยจะต้องชดใช้ค่าเสียหายให้ผู้ประสบภัย (หรือทายาทของผู้ประสบภัย) ภายใน 7 วันนับแต่วันที่บริษัทประกันภัยได้รับคำร้องขอค่าเสียหาย

 


 
    2.2 ค่าเสียหายเพิ่มเติม เป็นความคุ้มครองเพิ่มเติมภายหลังพิสูจน์ความผิดแล้ว โดยจะคุ้มครองผู้ประสบภัยทุกคน รวมถึงผู้โดยสารในรถที่เอาประกัน  แต่จะไม่คุ้มครองผู้ขับขี่ที่เป็นฝ่ายผิด หรือผู้ขับขี่ในกรณีที่ไม่มีคู่กรณีที่ต้องรับผิดตามกฎหมาย โดยบริษัทที่รับประกันภัยรถที่เป็นฝ่ายผิดจะต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้ประสบภัย (หรือทายาทของผู้ประสบภัย) โดยจ่ายเพิ่มเติมรวมกับค่าเสียหายเบื้องต้นตามข้อ 2.1 ที่ผู้ประสบภัย (หรือทายาทของผู้ประสบภัย) ได้รับแล้ว

 


 
   

 

เนื่องจากเป็นประกันภัยภาคบังคับ และมีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองประชาชน และสังคมโดยส่วนรวม รัฐฯจึงพยายามกำหนดเบี้ยประกันภาคบังคับนี้ให้ต่ำที่สุด (แต่ก็อยู่ในระดับที่บริษัทประกันภาคเอกชนก็ต้องอยู่รอดได้ด้วย) ปัจจุบันกรมการประกันภัยกำหนดอัตราเบี้ยประกันภาคบังคับตาม พ.ร.บ. นี้ให้เป็นอัตราคงที่อัตราเดียวแยกตามประเภทรถ และลักษณะการใช้รถ (ปัจจุบันนี้ ถ้าเป็นรถเก๋งทั่วไป เบี้ยประกัน พ.ร.บ. ก็จะเป็นประมาณ 600 บาท)


ความคุ้มครองของประกันภัยภาคบังคับ สามารถสรุปเป็นหลักการคร่าวๆ ได้ดังนี้

 

 ค่าเสียหาย  ความคุ้มครอง  วงเงินคุ้มครอง
1. ค่าเสียหายเบื้องต้น

 


    1.1 กรณีบาดเจ็บ

 


    1.2 กรณีสูญเสียอวัยวะ
          หรือทุพพลภาพอย่างถาวร

  



    1.3 กรณีเสียชีวิต

 



    1.4 กรณีบาดเจ็บแล้ว
          สูญเสียอวัยวะหรือทุพพลภาพ
          อย่างถาวร และ/หรือเสียชีวิต
 

 


ค่ารักษาพยาบาล

 


ค่าทดแทน

 



ค่าปลงศพ

 



ค่ารักษาพยาบาล ค่าทดแทน และค่าปลงศพ แล้วแต่กรณี


 


จ่ายตามจริง
ไม่เกิน 15,000 บาทต่อคน

 


35,000 บาทต่อคน

 



35,000 บาทต่อคน

 



รวมกันสูงสุด
ไม่เกิน 50,000 บาทต่อคน
2. ค่าเสียหายเพิ่มเติม
    (ภายหลังพิสูจน์ความผิดแล้ว)

   


    2.1 กรณีบาดเจ็บ

 

 


    2.2 กรณีสูญเสียอวัยวะ
          หรือทุพพลภาพอย่างถาวร

 



    2.3 กรณีเสียชีวิต


 



    2.4 กรณีเข้ารักษาพยาบาล
          ในฐานะผู้ป่วยใน

  




    2.5 กรณีบาดเจ็บแล้ว
          สูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพ
          อย่างถาวร และ/หรือเสียชีวิต


 


ค่ารักษาพยาบาล


 


ค่าทดแทน


 



ค่าปลงศพ


 



ค่าชดเชยรายวันเพิ่มเติม

 




ค่ารักษาพยาบาล  ค่าทดแทน
และค่าปลงศพ แล้วแต่กรณี
 

 


จ่ายตามจริง ไม่เกิน 50,000 บาทต่อคน เมื่อรวมกับค่ารักษาพยาบาลเบื้องต้นตามข้อ 1.1 ที่รับไปแล้ว

 


200,000 บาทต่อคน
หักด้วยค่าทดแทนเบื้องต้น
ตามข้อ 1.2 ที่รับไปแล้ว

 



200,000 บาทต่อคน
หักด้วยค่าปลงศพเบื้องต้น
ตามข้อ1.3 ที่รับไปแล้ว

 



200 บาทต่อวัน แต่ไม่เกิน 20 วัน
(หรือ ไม่เกิน 4,000 บาท)

 




สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาทต่อคน
เมื่อรวมค่าเสียหายเบื้องต้นตามข้อ 1
และค่าเสียหายเพิ่มเติมตามข้อ 2 ทุกกรณี (ยกเว้นค่าชดเชยรายวันกรณีคนไข้ในตามข้อ 2.4)
 


มาถึงตรงนี้แล้ว หวังว่าผู้อ่านจะได้ความรู้ไปไม่มากก็น้อยก่อนทำประกันภัยรถยนต์ แต่ข้อมูลนี้เป็นเพียงเกร็ดความรู้เบื้องต้นเท่านั้น รายละเอียดของกรมธรรม์ประกันภัยภาคสมัครใจที่ออกโดยบริษัทประกันภัย แต่ละฉบับอาจมีรายละเอียดปลีกย่อย ข้อยกเว้น หรือเงื่อนไขแตกต่างกันออกไป จึงเป็นเรื่องที่เราจะต้องอ่าน และพิจารณากันเป็นรายๆ ไปนะครับ สุดท้ายนี้ ขอสรุปความคุ้มครองประกันรถทั้งภาคบังคับ และสมัครใจ ออกมาเป็นตารางเพื่อให้เข้าใจกันง่ายยิ่งขึ้นครับ
 


ตารางสรุปความคุ้มครองของประกันภัยรถยนต์
 

ประเภทประกันภัยรถยนต์
รับผิดชอบต่อ
บุคคลภายนอก
คุ้มครองรถยนต์
คันที่เอาประกันภัย
คุ้มครองบุคคล
ภายในรถคันที่เอาประกัน
ทรัพย์สิน ชีวิต -
ร่างกาย
สูญหาย ไฟไหม้ การชน อุบัติเหตุ
ส่วนบุคคล
ค่ารักษา
พยาบาล
ประกันตัว
ผู้ขับขี่
ประกันภัยรถยนต์ชั้น  1







ประกันภัยรถยนต์ชั้น  2



-


ประกันภัยรถยนต์ชั้น  3

- - -


ประกันภัยรถยนต์ชั้น  4
- - - - - - -
ประกันภัยรถยนต์ชั้น 5 (2+)



*


ประกันภัยรถยนต์ชั้น 5 (3+)

- - *


ประกันภัยพ.ร.บ.
- - -

-
  หมายเหตุ *ต้องเกิดจากกรณีอุบัติเหตุที่มีคู่กรณีเป็นยานพาหนะทางบกเท่านั้น



แท็กที่เกี่ยวข้อง ประกัน ประกันภัย ประกันรถยนต์
CAR GURU
เขียนโดย เช็คราคา.คอม CAR GURU

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)