x
icon-filter ค้นหาคอนโด
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter

10 คำถามเกี่ยวกับ "เครื่องตรวจจับควัน" ป้องกันไฟไหม้ในคอนโด

icon 7 ต.ค. 64 icon 24,481
10 คำถามเกี่ยวกับ "เครื่องตรวจจับควัน" ป้องกันไฟไหม้ในคอนโด
เครื่องตรวจจับควันไฟและเครื่องตรวจจับความร้อน เป็นอีก 1 เทคโนโลยีที่ช่วยให้ผู้อยู่อาศัยได้เตรียมตัวหรืออพยพได้ทันท่วงที ก่อนเหตุเพลิงไหม้จะลุกลาม คนที่อยู่คอนโดหรือหอพักเงยหน้าขึ้นไปบนเพดานก็จะเห็นเจ้าเครื่องกลมๆ ขาวๆ นี้อยู่ บางท่านรีดผ้าอยู่ดีๆ ก็มีนิติบุคคลเข้ามาหาบ้าง เพราะว่าเครื่องไปเตือนที่ส่วนกลาง ทำให้เกิดข้อสงสัยเกี่ยวกับเจ้าเครื่องนี้มากมายว่าสรุปภายใต้ข้อดีที่มีนี้ ก็ซ่อนปัญหาในการอยู่อาศัยหลายอย่าง วันนี้เรามาตอบ 10 ข้อสงสัยเกี่ยวกับเครื่องตรวจจับควันไฟและเครื่องตรวจจับความร้อนกันค่ะ
 
1. เครื่องตรวจจับควันคืออะไร?
 
เครื่องตรวจจับควัน (Smoke Detector) คืออุปกรณ์ตรวจจับควันที่เกิดจากเหตุเพลิงไหม้ ซึ่งโดยมากการเกิดเพลิงไหม้จะเกิดควันก่อน จึงทำให้สามารถตรวจพบเพลิงไหม้ตั้งแต่การเกิดเพลิงไหม้ระยะแรก และระงับเหตุเพลิงไหม้ได้อย่างรวดเร็ว
เครื่องตรวจจับความร้อน (Heat Detector) คืออุปกรณ์ตรวจจับความร้อนจากการเผาไหม้ของวัตถุ สามารถตรวจจับไฟไหม้ที่มีความร้อนสูงแต่ไม่มีควัน โดยมี 2 แบบหลักๆ คือ 1. แบบอุณหภูมิคงที่ (Fixed Temperature) ที่นิยมก็คือถ้าเกินกว่า 58 องศาเซลเซียสเครื่องก็จะเตือน ส่วนแบบที่ 2 คือ แบบอัตราเพิ่มของอุณหภูมิ (Rate of rise) เครื่องจะเตือนเมื่ออุณหภูมิสูงเกินที่กำหนด เช่น  58 องศาเซลเซียสต่อนาที เป็นต้น
2. ทำไมต้องมีเครื่องตรวจจับควัน?
 
คอนโดที่เป็นอาคารขนาดใหญ่ มีขนาดพื้นที่ทั้งหมดเกิน 2,000 ตารางเมตรหรือ อาคารที่สูงเกิน 23 เมตร กฎหมายกำหนดให้ต้องติดตั้งระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ คือ เครื่องตรวจจับควัน (Smoke Detector) หรือเครื่องตรวจจับความร้อน (Heat Detector) และตัวส่งสัญญาณเตือนไฟไหม้ (Fire Alarm) ให้เหมาะสมด้วย ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยของผู้อยู่อาศัย เพราะการอยู่คอนโดเป็นการอยู่รวมกันของคนจำนวนมาก อาจทำให้การดูแลและการระงับเหตุไฟไหม้ได้ไม่ทันท่วงที อุปกรณ์เหล่านี้ก็จะช่วยให้เราไม่เสียชีวิตและทรัพย์สิน หรือเสียหายน้อยที่สุด
ขอบคุณภาพจาก www.firehoseandcabinet.com
นอกจากนั้นแล้วกฎหมายยังกำหนดให้ต้องมีสายดับเพลิงอย่างน้อยชั้นละ 1 จุด ยาว 30 เมตร และสปริงเกลอร์ดับเพลิง (Sprinkler) ด้วย ซึ่งวิธีการทำงานของ Sprinkler คือ เมื่อเกิดความร้อนจนถึงอุณหภูมิที่กำหนด หัว Sprinkler จะพ่นน้ำจากท่อน้ำที่เดินไว้ทั้งอาคาร ก็จะช่วยให้ควบคุมเพลิงได้อีกทางหนึ่ง 
 
3. ถ้าคอนโดไม่มีซื้อมาติดเองได้ไหม?
 
โดยปกติอาคารขนาดใหญ่ที่มีขนาดพื้นที่ทั้งหมดเกิน 2,000 ตารางเมตรหรือ อาคารที่สูงเกิน 23 เมตร จะต้องติดตั้งทั้งระบบ ทั่วอาคาร ถ้าไม่มีแสดงว่าผิดกฎหมายนะคะ ลองติดต่อนิติบุคคลเพื่อสอบถามดูได้เลย แต่ถ้าหากเป็นอาคารปกติ อยากติดตั้งเองสามารถทำได้เลยค่ะ สามารถซื้อทางออนไลน์หรือร้านขายอุปกรณ์ไฟฟ้าในบ้านได้ ควรเลือกแบบที่มีการส่งสัญญาณในเครื่องเลย (Smoke Alarm) เพราะไม่ได้เชื่อมต่อกับระบบอาคาร อย่างน้อยก็เตือนได้ที่ห้องหรือบ้านของเราค่ะ
ในส่วนของการเลือกใช้เครื่องนั้นถ้าในห้องครัวควรจะติดตั้งเป็นเครื่องตรวจจับความร้อน (Heat Detector) จะเหมาะสมกว่า เพราะในครัวควันจากการทำอาหารจะเยอะป้องการเครื่องร้องเตือนบ่อยๆ ส่วนพื้นที่อื่นๆ จะติดตั้งเป็นเครื่องตรวจจับควัน (Smoke Detector) ก็ได้ค่ะ 
เช็คราคาเครื่องตรวจจับควัน
  • ทำงานแบบ Photoeletric ตรวจจับควันต่างๆ ได้ดี
  • เสียงแจ้งเตือน : >80dB (ระยะ 3 เมตรจากตัวเครื่อง)
  • ความจุแบตเตอรี่ : 2400mAh
  • อายุการใช้งานแบตเตอรี่ : 5 ปี
 
  • ทำงานแบบ Microprocessor Intelligent Control & infrared Photoelectric Sensor
  • เสียงแจ้งเตือน : 85dB 
  • แบตเตอรี่ : ใช้ถ่าน 1.5V AA Batteries จำนวน 3 ก้อน
  • ทำงานแบบ Lonization
  • เสียงแจ้งเตือน : 85dB (ระยะดัง 3 เมตร)
  • แบตเตอรี่ :แบตเตอรี่ 9V ประมาณ 1 ปี สำหรับแบตเตอรี่คาร์บอน
ราคา ณ วันที่ 6/9/2021
4. ติดเครื่องตรวจจับควันตำแหน่งไหนดี
 
การติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับควันและความร้อนต้องติดตั้งในตำแหน่งที่ตรวจจับได้สะดวก ก่อนติดตั้งต้องมีการวิเคราะห์ทิศทางของลม พื้นผิวของเพดาน โดยปกติแล้วเราก็จะเห็นติดอยู่ที่บริเวณกลางห้อง ติดที่เพดานความสูงไม่เกิน 10.50 เมตรจากพื้น (คอนโดทั่วไปก็เฉลี่ยอยู่ที่ 2.60 เมตร) ง่ายๆ เลยก็คือติดที่เพดานห้องหรือผนังห้องในจุดที่สูงไม่เกิน 10 เมตรค่ะ แต่ก็ไม่ควรต่ำเกินไป เพราะควันจะลอยขึ้นที่สูงเสมอ
 
5. ในคอนโดสัญญาณเตือนดังยังไง?
 
หากเครื่องตรวจจับควันหรือความร้อนได้ เครื่องจะทำการส่งสัญญาณเตือนไปที่ส่วนกลาง จะไม่ได้ร้องดังที่ห้องของเรา เจ้าหน้าที่และรปภ. ก็จะปิดสัญญาณเตือนส่วนแรกก่อน หลังจากนั้นก็จะเข้ามาสอบถามที่ห้องของเราดูว่าเราทำอะไรที่เป็นเหตุให้เครื่องดัง แต่ถ้าเจ้าหน้าที่ปล่อยให้สัญญาณที่ส่วนกลางดังนานเกินไป ระบบก็จะส่งให้เสียงนั้นดังไปทั่วอาคาร เพื่อแจ้งเตือนเหตุไฟไหม้ ให้ทุกคนอพยพลงมาที่จะรวมพล อีก 1 กรณีก็คือมีผู้ดึงหรือกดปุ่มสัญญาณเตือนไฟไหม้ค่ะ
 
6. เมื่อสัญญาณเตือนดังขึ้น จะมีน้ำพ่นลงมาไหม?
 
สัญญาณเตือนเกิดขึ้นจาก 3 อย่างนี้ คือ 1. เครื่องตรวจจับควัน (Smoke Detector) มีควันถึงจุดที่กำหนด 2. เครื่องตรวจจับความร้อน (Heat Detector) มีความร้อนถึงอุณหภูมิที่กำหนด และ 3. มีผู้ดึงหรือกดสัญญาณเตือนไฟไหม้ (Fire Alarm) เท่านั้น ไม่ใช่ว่ามีสัญญาณแล้วน้ำจะพ่นลงมาอัตโนมัติค่ะ เพราะเป็นคนละระบบกัน น้ำที่พ่นลงมานั้นมาจากความร้อนทำให้หัว Sprinkler เปิดออก โดยกรณีที่อาจเกิดขึ้นได้ก็คือมีเครื่องตรวจจับความร้อนดัง ไม่นานก็อาจจะทำให้มีน้ำพ่นลงมาจาก Sprinkler ได้ ดังนั้นคอนโดใครมีที่เครื่องตรวจจับควันก็ไม่ต้องกลัวนะคะถ้าเกิดว่าเวลาทำอาหารหรือทำควันจนทำให้เครื่องร้องดังขึ้นมา ถ้าไม่มีความร้อนร่วมด้วย Sprinkler ไม่ทำงานแน่นอนค่ะ
 
7. จับได้แต่ควันใช่ไหม? 
 
เครื่องตรวจจับควันนั้นมี 2 แบบ การทำงานก็จะแตกต่างกันไป แต่จุดประสงค์คือแจ้งเตือนได้เหมือนกันค่ะ  แต่ถ้าหากสงสัยว่าเวลาตรวจจับนั้นเซ็นเซอร์นับเอาแต่ควันไฟใช่ไหม? ก็ต้องตอบว่าแบบ Lonization ใช่ค่ะ เพราะแบบนี้ภายในจะมีแผ่นโลหะที่มีขั้วไฟฟ้าต่างกัน และมีสารกัมมันตภาพรังสี (Radioactive) ซึ่งทำหน้าที่กระตุ้นอากาศภายในให้เกิดการแตกตัวเป็น Ion (ไอออน) โดยไอออนนี้ก็จะทำหน้าที่เป็นตัวนำไฟฟ้าให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านทั้งสองขั้ว เมื่อเกิดควันเข้าไปในกล่อง จะทำให้ค่าความนำไฟฟ้าของอากาศลด และกระแสไฟฟ้าจะลดลงเรื่อยตามปริมาณควันจนถึงค่าที่กำหนดไว้ ระบบก็จะทำงาน แบบนี้จะไม่ไวต่อไอน้ำ ควันจากการทำอาหาร แต่จะไวต่อควันที่เกิดจากการเผาไหม้เท่านั้น ส่วนแบบ Photoeletric นั้น ทำงานแบบวัดแสงจากตัวส่งและตัวรับ อะไรก็ตามที่ไปบดบังลำแสงทำให้ความเข้มข้นของแสงไปถึงตัวรับลดลง ระบบก็จะเตือนเลยทันที ดังนั้นสามารถตรวจจับได้ทั้งควัน ไอน้ำ ฝุ่น  
ดังนั้นเราก็ไม่อาจทราบได้ว่าทางคอนโดของเราติดเครื่องแบบไหนอะไรมาให้ เราก็ควรที่จะระวังทั้งควันบุหรี่ ควันจากการทำอาหาร ไอน้ำจากการรีดผ้า ทานชาบู สุกี้ หมูกะทะ หรือแม่แต่การหุงข้าวค่ะ และมีบางคนบอกว่าแค่รีดผ้าด้วยเตารีดไอน้ำ หรือแค่หุงเข้าบางทีเครื่องก็ร้องไปที่นิติบุคคลแล้ว
 
8. ถ้าไม่ได้ตั้งใจทำให้สัญญาณเตือนดัง จะถูกปรับหรือไม่?
 
ถ้าหากทำกับข้าว ปิ้งย่าง สูบบุหรี่ หรือทำเหตุให้เกิดควันไปโดนจุดเซ็นเซอร์ทำให้เครื่องเตือน สิ่งแรกที่จะเกิดขึ้นคือจะมีเจ้าหน้าที่เข้ามาระงับเหตุอย่างรวดเร็ว เพราะสามารถรู้จุดได้ทันทีว่าห้องไหน ตำแหน่งไหน ส่วนเรื่องการโดนปรับหรือไม่โดนปรับคงต้องอยู่ที่นิติบุคคลแต่ละโครงการค่ะ อาจจะต้องดูจุดประสงค์ด้วยว่าตั้งใจให้เกิดหรือไม่ได้ตั้งใจ อย่างไรก็ตามก็ไม่ควรให้พลาดเกิน 1 ครั้งค่ะ เพราะเรื่องไฟไหม้เป็นเรื่องใหญ่อาจทำให้เกิดความตกใจ เสียขวัญ หรืออาจทำให้เกิดความเสียหายโดยใช่เหตุได้
 
9. ถ้าไม่เอาฝาครอบออกหรือตั้งใจปิดเครื่อง ผิดกฎหมายหรือไม่?
 
อาจจะไม่ใช่เรื่องผิดกฎหมายแต่เป็นเรื่องความรับผิดชอบต่อส่วนรวมค่ะ การอยู่คอนโดเป็นการอยู่อาศัยร่วมกับคนจำนวนมาก ดังนั้นจำเป็นต้องเคารพกฎระเบียบอย่างเคร่งครัด การปิดเครื่องตรวจจับควันหรือเครื่องตรวจจับความร้อนนั้นเป็นสิ่งที่ไม่แนะนำอย่างยิ่ง เพราะเราอาจจะลืมกลับมาเปิดเมื่อทำอาหาร หรือกิจกรรมอื่นๆ เสร็จแล้ว และถ้าหากเกิดไฟไหม้จริงๆ การควบคุมเหตุก็อาจล่าช้าจนทำให้ไฟลุกลามไปมากก็ได้ ดังนั้นถ้าหากใครต้องการทำอาหาร ปิ้งย่าง ชาบูต่างๆ ในคอนโด แต่กลัวสัญญาณเตือนดังขึ้น แนะนำทำตามนี้ค่ะ
1. ติดเครื่องดูดควันหรือระบายควันออกสู่ด้านนอก เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดกลุ่มควันเป็นจำนวนมากในห้อง และยังช่วยลดกลิ่นสะสมในห้องด้วยค่ะ
2. เปิดพัดลมแรงๆ จ่อไปที่เครื่องตรวจจับควัน วิธีนี้ก็จะทำให้ควันไม่ไปโดนที่จุดเซ็นเซอร์จนร้องเตือนขึ้นมา
3. เอาถุงพลาสติกครอบและปิดเทปให้รอบ ควันก็จะไม่เข้าไปที่จุดเซ็นเซอร์ แต่อย่าลืมนำถุงออกเมื่อทำเสร็จแล้วด้วยนะคะ
4. ทำอาหารหรือปิ้งย่างที่ระเบียงคอนโด ใครระเบียงกว้างหน่อยก็ออกไปทำด้านนอกพร้อมเอาพัดลมเป่าไล่กลิ่นและควันได้เลยค่ะ
และที่สำคัญตัวเครื่องตรวจจับควันนั้นบางรุ่นจะมีฝาครอบสีแดง สีเหลือง หรือสีอื่นๆ อีก อย่าลืมเอาฝาครอบออกด้วยนะคะเพื่อให้เครื่องทำงานได้อย่างมทีประสิทธิภาพ
 
10. ถ้าถอดเครื่องออกจะเป็นอะไรมั้ย?
 
โดยปกติแล้วเครื่อง Smoke Detector และ Heat Detector จะมีไฟกระพริบเมื่อเครื่องอยู่ในสถานะที่ทำงาน บางท่านจะทำให้เกิดความรำคาญใจได้ สามารถถอดออกได้ไหม? อย่างที่บอกไปข้างต้นแล้วว่าห้ามปิดเครื่อง และยิ่งไปกว่านั้นคือห้ามถอดเครื่องออกด้วย เพราะเมื่อถอดเครื่องออกเสียงจะไปเตือนที่ส่วนกลางอยู่ดี อาจจะต้องเสียเงินค่าประกอบใหม่ค่ะ
เครื่องตรวจจับควันและเครื่องตรวจจับความร้อน เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมาก ช่วยเตือนเราให้รู้ตัวก่อนที่ไฟจะลุกลามไปทั่วทั้งอาคาร ยิ่งเป็นอาคารสูงคอนโดแล้วการเตือนภัย การอพยพ และความรู้เรื่องการหนีไฟเป็นสิ่งที่จำเป็นมากๆ เลยค่ะ และการซ้อมหนีไฟไหม้ก็ถือเป็นการตรวจเช็กระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ไปในตัวด้วย เพราะไม่ใช่แต่ติดตั้งแล้วหายไป เป็นหน้าที่ของนิติบุคคลที่ต้องหมั่นดูแลและเปลี่ยนเมื่อเครื่องไม่ทำงานแล้ว
แท็กที่เกี่ยวข้อง เครื่องตรวจจับควัน ไฟไหม้ smoke detector heat detector
Condo Guru
เขียนโดย ปรียานุช สองศร Condo Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)