เช็กก่อน….สินเชื่อรถแลกเงิน VS สินเชื่อหมุนเวียนส่วนบุคคล ต่างกันอย่างไร?

icon 1 ธ.ค. 66 icon 9,254
เช็กก่อน….สินเชื่อรถแลกเงิน VS สินเชื่อหมุนเวียนส่วนบุคคล ต่างกันอย่างไร?
การขอสินเชื่อ หรือการขอกู้เงินมักมีวัตถุประสงค์ คือต้องการเงินก้อน หรือวงเงินสำรอง เพื่อเสริมสภาพคล่องทางด้านการเงิน ไม่ว่าจะเป็นการขอสินเชื่อรูปแบบไหน เช่น สินเชื่อรถแลกเงิน หรือสินเชื่อหมุนเวียนส่วนบุคคล หลายคนก็คงมองว่ายังไงก็คือการกู้เงินเหมือนๆ กัน แต่ในความเป็นจริงแล้ว ประเภทของสินเชื่ออย่างสินเชื่อรถแลกเงิน และสินเชื่อหมุนเวียนส่วนบุคคล จะมีความแตกต่างกันในหลายๆ ด้าน แต่...จะมีข้อแตกต่างอะไรบ้างที่หากคิดจะขอสินเชื่อ เราควรรู้! ก่อนตัดสินใจเลือกประเภทสินเชื่อ ตามมาดูกันเลย…
1. รูปแบบของสินเชื่อ 
 
สินเชื่อรถแลกเงิน เป็นสินเชื่อที่ต้องใช้หลักทรัพย์ ซึ่งก็คือรถยนต์เป็นหลักทรัพย์ในการค้ำประกัน สามารถแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ 
  • สินเชื่อรถแลกเงินแบบโอนเล่ม ใช้รถเป็นหลักทรัพย์ในการค้ำประกัน และต้องโอนเล่มทะเบียนไว้กับผู้ให้บริการสินเชื่อจนกว่าจะผ่อนชำระหมด จึงจะได้รับโอนกรรมสิทธิ์คืน แต่ระหว่างทางยังสามารถนำรถยนต์กลับมาใช้งานได้ตามปกติ 
  • สินเชื่อรถแลกเงินแบบไม่โอนเล่ม ใช้รถเป็นหลักทรัพย์ในการค้ำประกันเช่นกัน แต่ไม่ต้องโอนเล่มทะเบียน วงเงินที่ได้อาจจะน้อยกว่าแบบโอนเล่มทะเบียน แต่จะได้รับอนุมัติเร็วกว่า 

    ดูรายละเอียดเพิ่มเติม :
    >> คนมีรถอยากได้เงินก้อน เลือกสินเชื่อรถแลกเงินแบบไหนดี
    >> อยากขอสินเชื่อรถแลกเงิน ต้องรู้อะไรบ้าง? 
สินเชื่อหมุนเวียนส่วนบุคคล เป็นสินเชื่ออเนกประสงค์ที่ไม่ต้องใช้หลักทรัพย์ หรือบุคคลค้ำประกัน แบ่งออกเป็น
  • สินเชื่อหมุนเวียนส่วนบุคคล เป็นสินเชื่อที่ไม่ต้องใช้หลักทรัพย์ค้ำประกัน รับเป็นเงินกัอนผ่อนชำระเป็นรายเดือนๆ ละเท่าๆ กัน
  • สินเชื่อบัตรกดเงินสด รับเป็นวงเงินสำรองเผื่อฉุกเฉินในบัตรฯ กดใช้เมื่อไหร่ ถึงจะมีการคิดดอกเบี้ย
  • สินเชื่อตามวัตถุประสงค์อื่นๆ เช่น สินเชื่อเพื่อประกอบธุรกิจ สินเชื่อเพื่อการศึกษา ฯลฯ
2. วงเงินกู้ 
 
สินเชื่อรถแลกเงิน : วงเงินสินเชื่อจะขึ้นอยู่กับราคาประเมินรถยนต์ รวมถึงรุ่นรถยนต์ สภาพรถยนต์ เป็นต้น สินเชื่อรถแลกเงินแต่ละแบบก็จะได้วงเงินกู้ที่แตกต่างกัน ดังนี้
  • สินเชื่อรถแลกเงินแบบโอนเล่มทะเบียน วงเงินสินเชื่อประมาณ 80% - 120% ของราคาประเมิน 
  • สินเชื่อรถแลกเงินแบบไม่โอนเล่มทะเบียน (โอนลอย) วงเงินสินเชื่อประมาณ 70% - 80% ของราคาประเมิน
สินเชื่อหมุนเวียนส่วนบุคคล : เป็นสินเชื่อที่มีข้อจำกัดในเรื่องของวงเงินกู้ โดยจะได้รับวงเงินอ้างอิงจากรายได้ของผู้ขอสินเชื่อ ความสามารถในการชำระหนี้ และประวัติการขอสินเชื่อในอดีต ส่วนใหญ่วงเงินที่ได้รับจะไม่เกิน 3 - 5 เท่าของรายได้
 
3. การคิดดอกเบี้ย 
 
เมื่อเกิดการกู้ยืม ผูัให้บริการสินเชื่อก็จะมีการคิดดอกเบี้ยจากเงินที่ให้กู้นั้น ซึ่งการคิดดอกเบี้ย แบ่งตามรูปแบบของดอกเบี้ยสำหรับสินเชื่อแต่ละประเภท ดังนี้
 
สินเชื่อรถแลกเงิน มีการคิดดอกเบี้ย 2 รูปแบบ คือดอกเบี้ยแบบคงที่ (Flat Rate) และอัตราดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอก (Effective Rate) ซึ่งก่อนขอสินเชื่อผู้กู้สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมจากผู้ให้บริการสินเชื่อ เพื่อลองคำนวณยอดผ่อนชำระต่อเดือนก่อนได้
 
สินเชื่อหมุนเวียนส่วนบุคคล เป็นการคิดอัตราดอกเบี้ยแบบแบบลดต้นลดดอก (Effective Rate) และมีระยะเวลาการผ่อนชำระที่ชัดเจน 

ทราบข้อแตกต่างของสินเชื่อรถแลกเงิน และสินเชื่อหมุนเวียนส่วนบุคคลกันไปแล้ว ลองเลือกสินเชื่อที่เหมาะสม และวางแผนการชำระเงินให้ดี เพื่อให้การขอสินเชื่อครั้งนี้เกิดประโยชน์สูงสุดนะคะ 
 
 
สอบถามข้อมูลความรู้เรื่องสินเชื่อเพิ่มเติม ทักมาพูดคุยกับ GURU ได้ที่นี่!! https://page.line.me/uht3147t
แท็กที่เกี่ยวข้อง รถแลกเงิน สินเชื่อหมุนเวียนส่วนบุคคล สินเชื่อรถแลกเงิน สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ สินเชื่อมีหลักประกัน สินเชื่ออนุมัติง่าย สินเชื่ออนุมัติเร็ว เงินด่วน
Money Guru
เขียนโดย ชนานาถ จินตกสิกรรม Money Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)