ประเมินวงเงินรู้ผลใน 3 นาที

กับ กรุงศรี ออโต้ พร้อมสตาร์ท

เริ่มประเมินวงเงินพร้อมสตาร์ท
ผ่านมือถือ สแกนเลย

ดูวงเงินพร้อมสตาร์ทที่ได้รับ

เคยมั้ย? อยาก Refinance บ้าน แต่ไม่รู้เริ่มต้นยังไงดี

icon 26 มี.ค. 61 icon 9,163
เคยมั้ย? อยาก Refinance บ้าน แต่ไม่รู้เริ่มต้นยังไงดี


เคยมั้ย? อยาก Refinance บ้าน แต่ไม่รู้เริ่มต้นยังไงดี

สำหรับคนที่กำลังผ่อนบ้านมาสักระยะหนึ่งแล้ว จะเห็นได้ว่าโปรโมชั่นดอกเบี้ยที่เรากำลังผ่อนสบายๆ อยู่นี้ จะหมดโปรฯ ลงไปในไม่ช้า ซึ่งส่วนใหญ่แล้วก็จะอยู่ในช่วง 3 ปีแรก (ตามเงื่อนไขในสัญญา) และหลังจากนี้ดอกเบี้ยที่ดำเนินต่อไปก็จะสูงขึ้น แพงขึ้น แน่นอนว่าคนส่วนใหญ่ต้องการที่จะได้ดอกเบี้ยที่เท่าเดิมหรือถูกลง ดังนั้น บรรดาสถาบันการเงินต่างๆ จึงต้องออกผลิตภัณฑ์สินเชื่อมาเพื่อตอบสนองผู้บริโภคอย่างเราๆ ด้วยการจัดผลิตภัณฑ์ Refinance ขึ้นมา พร้อมกับจูงใจลูกค้าด้วยการเสนอดอกเบี้ยต่ำ และโปรโมชั่นอื่นๆ อีกมากมาย เพื่อนๆ เคยสงสัยกันมั้ยค่ะว่าถ้าเราต้องการจะ Refinance บ้าน จะต้องเริ่มต้นยังไง? วันนี้ CheckRaka.com มีคำตอบมาให้ทุกคนทำความเข้าใจและเตรียมพร้อมกับการ Refinance แล้วค่ะ 

การ "Refinance" บ้านคืออะไร?

"รีไฟแนนซ์" (Refinance) คือ การกู้ยืมเงินสินเชื่อก้อนใหม่เพื่อไปโปะหนี้ก้อนเดิม เนื่องจากได้รับผลประโยชน์หรือข้อเสนอที่ดีกว่าสัญญาเงินกู้ก้อนเดิม โดยจุดประสงค์ก็ขึ้นอยู่กับผู้กู้เอง บางคนรีไฟแนนซ์เพื่อเป็นการลดดอกเบี้ยเดิม หรือบางคนรีไฟแนนซ์เพื่อต้องการมีเงินส่วนต่างมาใช้จ่าย เป็นต้น ซึ่งไม่ว่าจะเป็นการรีไฟแนนซ์ด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม...จำไว้เสมอนะคะว่า ต้องคิดให้รอบคอบก่อนตัดสินใจเพราะมันจะส่งผลทำให้เราเป็นหนี้ระยะยาวขึ้นนั่นเอง 

มีเหตุผลอะไรบ้าง...ที่ทำให้คนส่วนใหญ่เลือกที่จะ Refinance?

จากความหมายของการรีไฟแนนซ์ข้างต้น เพื่อนๆ ก็พอจะเข้าใจกันแล้วนะคะว่ารีไฟแนนซ์คืออะไร มีประโยชน์ยังไง...คราวนี้มาถึงคำถามที่ว่าทำไมเราจะต้องเลือกรีไฟแนนซ์แทนการผ่อนชำระต่อเนื่องตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ตั้งแต่แรก เหตุผลหลักๆ ที่ทำให้คนหันมาขอกู้เงินด้วยการ Refinance ก็มีอยู่ด้วยกัน 2 ข้อ ดังนี้

  1. เพื่อให้มีภาระผ่อนชำระน้อยลง ซึ่งเป็นที่รู้กันดีอยู่แล้วว่าดอกเบี้ยจากการกู้ซื้อบ้านจะเป็นแบบลอยตัว โดยช่วงแรกดอกเบี้ยที่ได้รับจะมีอัตราที่ค่อนข้างต่ำเพื่อเป็นสิ่งจูงใจให้ผู้กู้รายใหม่สนใจและเลือกที่จะกู้ซื้อบ้านกับสถาบันการเงินนั้นๆ (ส่วนใหญ่จะอยู่ที่ 3 ปีแรก) แล้วหลังจากนั้นดอกเบี้ยที่เคยต่ำก็จะลอยตัวสูงขึ้นตามลำดับที่เป็นไปตามเงื่อนไขของสัญญาเงินกู้ แต่ละสถาบันการเงินก็จะไม่เท่ากัน ดังนั้น เราในฐานะผู้กู้จะต้องตรวจสอบดูส่วนต่างระหว่างการผ่อนต่อกับสถาบันการเงินเดิม หรือการเริ่มรีไฟแนนซ์กับสถาบันการเงินใหม่ที่ไหนคุ้มค่ากว่ากัน ทำการบวกลบคูณหารให้ดี หากมีกำไรคุ้มค่าจากการรีไฟแนนซ์ที่ใหม่ ก็ทำการย้ายไปได้เลยค่ะ

  2. เพื่อนำส่วนต่างออกมาใช้จ่าย แน่นอนว่าการรีไฟแนนซ์บ้านทุกครั้งจะต้องมีการประเมินมูลค่าของหลักทรัพย์ค้ำประกันใหม่ทุกครั้ง ซึ่งก็คือบ้านที่เรากำลังผ่อนอยู่นั่นเอง และส่วนใหญ่แล้วราคาบ้าน ราคาที่ดิน ก็จะมีการเพิ่มมูลค่าขึ้นทุกปี จึงทำให้เงินจากการขอรีไฟแนนซ์นั้นได้มาเยอะกว่าหนี้สินที่เหลืออยู่ ซึ่งเกิดเป็นส่วนต่างที่เราสามารถนำเงินจำนวนนั้นมาใช้จ่ายได้ และทำให้หลายคนขอกู้รีไฟแนนซ์ด้วยเหตุผลนี้เนื่องจากสภาพคล่องทางการเงินลดลง จำเป็นจะต้องมีเงินสดมาหมุนเวียนซึ่งอาจจะเป็นได้ทั้งเอามาใช้หมุนเวียนในธุรกิจ หรือชำระหนี้สินอื่น เช่น หนี้บัตรเครดิต หรือหนี้สินเชื่อส่วนบุคคล เป็นต้น

4 เทคนิคเริ่มต้น "รีไฟแนนซ์"


การตัดสินใจว่าจะรีไฟแนนซ์หรือไม่นั้น เราควรพิจารณาหลายๆ ด้านนะคะ เพราะถ้าจะทำแล้วต้อง "คุ้มค่า" ที่สุด คือทำแล้วต้องดีกว่าเดิม ซึ่งคงจะมีหลายคำถามตามมาว่า...แล้วจะมีวิธีเลือกอย่างไร ให้การรีไฟแนนซ์ครั้งนี้เป็นไปด้วยความคุ้มค่าที่สุด วันนี้เรามีคำตอบมาให้ทุกคนด้วย 4 เทคนิคเริ่มต้น "รีไฟแนนซ์" มาฝากค่ะ
1. เปรียบเทียบอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เก่า และใหม่
เราควรดูและตรวจสอบอัตราดอกเบี้ยของหลายๆ ธนาคารที่มีบริการผลิตภัณฑ์รีไฟแนนซ์มาเปรียบเทียบกับอัตราดอกเบี้ยของธนาคารเดิมที่กำลังจะปรับเพิ่มขึ้น คำนวณดูว่าธนาคารไหนเสนอดอกเบี้ยถูกที่สุด คุ้มที่สุด ยิ่งมีโปรโมชั่นยิ่งดีค่ะ (ดูอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบ้านธนาคารไหนถูกสุด?...ดูได้ที่นี่ และสินเชื่อรีไฟแนนซ์ (REFINANCE) บ้าน แบงค์ไหนถูก? แบงค์ไหนแพง?)
2. คำนวณค่าใช้จ่ายทั้งหมดจากการขอ Refinance
สอบถามค่าธรรมเนียมทุกอย่างจากธนาคารที่ขอกู้รีไฟแนนซ์ให้ครบถ้วน นำมาบวก ลบ คูณ หาร ให้เรียบร้อย แล้วดูว่าค่าใช้จ่ายทั้งหมดมันคุ้มหรือไม่ เพราะการรีไฟแนนซ์ก็คือการขอกู้เงินก้อนใหม่ ค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายให้กับธนาคารก็ต้องเริ่มใหม่เช่นกัน ซึ่งมีทั้ง
  • ค่าสรุปยอดหนี้
  • ค่าประเมินทรัพย์สิน ประมาณ 2,500 บาท - 0.25% ของราคาประเมิน (จ่ายให้กับสถาบันการเงินใหม่)
  • ค่าธรรมเนียมสินเชื่อตามสัญญาใหม่ ประมาณ 0 - 1% ของวงเงินกู้ใหม่ (จ่ายให้กับสถาบันการเงินใหม่)
  • ค่าอากรแสตมป์ ประมาณ 0.05% ของวงเงินกู้ใหม่ (จ่ายให้กับสถาบันการเงินใหม่)
  • ค่าประกันอัคคีภัย ประมาณ 2,000 บาทต่อปี สำหรับบ้านมูลค่า 1 ล้านบาท (จ่ายให้กับสถาบันการเงินใหม่)
  • ค่าออกเช็ค, ค่านิติกรรม ประมาณ 1,000 - 2,000 บาท
  • ค่าไถ่ถอน (จ่ายให้กับกรมที่ดิน)
  • ค่าจดจำนอง ประมาณ 1% ของวงเงินกู้ (ไม่เกิน 200,000 บาท) (จ่ายให้กับกรมที่ดิน)
  • ค่าปรับปิดบัญชีก่อนกำหนด (กรณีไถ่ถอนจากสินเชื่อเดิมก่อนกำหนดจากสถาบันการเงินเดิม) ประมาณ 2-3% ของวงเงินกู้ทั้งจำนวน โดยอาจจะคิดจากมูลหนี้ที่เหลืออยู่ (จ่ายให้กับสถาบันการเงินเดิม กรณีรีไฟแนนซ์ก่อนครบกำหนด)
ทั้งหมดนี้ ค่าธรรมเนียมบางอย่างในช่วงโปรโมชั่นของบางธนาคารก็อาจจะได้รับยกเว้น เพราะฉะนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องตรวจสอบให้รอบคอบก่อนที่จะต้องเสียเงินไปแบบไม่คุ้มค่านะคะ ตัวอย่างเช่น

โปรโมชั่นสินเชื่อรีไฟแนนซ์บ้าน ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย

รีไฟแนนซ์บ้าน ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 3.29% ฟรี 3 ต่อ
  • ฟรี! ค่าจดจำนอง สูงสุด 100,000 บาท
  • ฟรี! ค่าประเมินราคาหลักทรัพย์
  • ฟรี! ค่าอากรแสตมป์
รีไฟแนนซ์บ้านและขอวงเงินเพิ่ม ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 3.99%
  • ฟรี 3 ต่อ ไม่เข้าร่วมรายการ
ระยะเวลาโปรโมชั่นตั้งแต่วันที่ 1 ก.ย. - 31 ธ.ค. 60
3. ศึกษาเงื่อนไขจากสัญญาเงินกู้เดิม และใหม่ให้ละเอียด
ก่อนคิดจะตัดสินใจขอกู้สินเชื่อรีไฟแนนซ์นั้น เราต้องดูเงื่อนไขสัญญาเงินกู้ฉบับเดิมด้วยว่า ต้องผ่อนชำระขั้นต่ำกี่ปีถึงจะไม่ต้องเสียค่าปรับ (ส่วนใหญ่ประมาณ 3 ปี) ถ้าเราขอรีไฟแนนซ์ก่อนระยะเวลาที่เงื่อนไขกำหนดอาจจะทำให้เราต้องเสียทั้งค่าปรับจากสัญญาฉบับเดิม และเสียค่าธรรมเนียมใหม่จากสัญญาเงินกู้ใหม่ด้วย ซึ่งไม่คุ้มแน่นอน (แบบนี้ไม่แนะนำให้รีไฟแนนซ์นะคะ เพราะมีแต่เสียกับเสีย) และควรดูด้วยว่าการ Refinance ต้องมีขั้นตอนในสัญญาเดิมอะไรบ้าง..เช่นต้องแจ้งล่วงหน้า 30 วัน เป็นต้น
4. นำเงินส่วนต่างมาใช้ให้เกิดประโยชน์
บางครั้งการรีไฟแนนซ์จะทำให้เราได้เงินส่วนต่างจากการประเมินหลักทรัพย์ที่สูงกว่าหนี้ก้อนเดิม ดังนั้น เมื่อเราได้เงินส่วนต่างจำนวนนี้มาเราควรใช้มันให้คุ้มค่าที่สุด ไม่ใช้จ่ายสุรุ่ยสุร่าย ถ้าใครมีหนี้บัตรเครดิตก็ควรเอาไปปิดหนี้บัตรให้หมด หรือใครมีหนี้สินเชื่อบุคคลก็ควรเอาไปปิดหนี้สินเชื่อให้หมด เพราะดอกเบี้ยจากสินเชื่อพวกนี้แพงกว่าสินเชื่อรีไฟแนนซ์แน่นอนค่ะ ส่วนในทางกลับกันถ้าเราไม่จำเป็นต้องใช้เงินส่วนต่างนี้เราสามารถแจ้งสถาบันการเงินใหม่ได้ หากต้องการกู้เงินเท่ากับจำนวนหนี้สินที่ค้างอยู่ ในกรณีนี้จะทำให้เราได้ทั้งดอกเบี้ยที่ต่ำลง และหนี้สินที่หมดเร็วขึ้นนะคะ
เคล็ดลับจากเทคนิคที่นำเสนอนี้ เป็นสิ่งที่เราควรฉุกคิดก่อนเพื่อให้ได้มาซึ่งความคุ้มค่าจากการรีไฟแนนซ์ในทุกครั้ง ที่สำคัญนอกเหนือจากความคุ้มค่าในการผ่อนชำระแล้ว เราต้องพยายามใช้หนี้ก้อนนั้นให้หมดเร็วที่สุด พร้อมกับการวางแผนการใช้เงินของเรา โดยพยายามอย่าให้ตัวเองเดือดร้อน พิจารณาและคำนวณวงเงินให้ดีๆ เพราะถ้าเรายื่นกู้เงินไปแล้วได้รับการอนุมัติวงเงินที่เยอะเกินไป สุดท้ายเราอาจจะผ่อนไม่ไหวทำให้เกิดปัญหาเป็นดาบสองคมให้ตัวเราเองได้

ขั้นตอนการ "Refinance" บ้านต้องทำยังไง?

หลังจากที่เราตัดสินใจแล้วว่าจะต้องทำการรีไฟแนนซ์แน่นอน สิ่งที่เราควรทำก็ไม่มีอะไรยุ่งยากเลยค่ะ โดยพิจารณา 2 ข้อนี้ก่อน ดังนี้
  1. กรณี "รีไฟแนนซ์" บ้านเพื่อให้มีภาระผ่อนชำระน้อยลง เราต้องตรวจสอบกับสถาบันการเงินว่าที่ไหนให้อัตราดอกเบี้ยต่ำที่สุด เงื่อนไขดีที่สุด และโปรโมชั่นเจ๋งที่สุด มีขั้นตอนต้องแจ้งหรือขอความยินยอมจากธนาคารหรือไม่? ถ้าเลือกได้แล้วก็จัดการยื่นเอกสารได้เลยค่ะ

  2. กรณี "รีไฟแนนซ์" บ้านเพื่อนำส่วนต่างออกมาใช้จ่าย ถ้าในเวลานั้นเรามีภาระที่ต้องดำเนินการ เช่น ใช้หมุนเวียนธุรกิจ, ปิดบัญชีบัตรเครดิต หรือปิดบัญชีสินเชื่อส่วนบุคคล สิ่งที่เราต้องทำ คือ ตรวจสอบอัตราดอกเบี้ยและเงื่อนไขที่ดีที่สุด แล้วลองยื่นเอกสารกับสถาบันการเงินที่ถูกใจอย่างน้อย 3 แห่งขึ้นไป หลังจากนั้นดูผลว่าสถาบันการเงินไหนประเมินราคาหลักทรัพย์และให้วงเงินกู้สูงสุดก็ให้เลือกสถาบันการเงินนั้น (สาเหตุที่ต้องลองยื่นเอกสารหลายแห่งก็เพราะบริษัทประเมินราคาของแต่ละสถาบันการเงินจะเป็นคนละบริษัทกัน ซึ่งอาจทำให้จำนวนเงินกู้ที่จะ Refinance ได้ แตกต่างกันพอสมควร) 
เริ่มขั้นตอนการรีไฟแนนซ์ด้วย...
  • ติดต่อขอรายการสรุปยอดหนี้สินเชื่อบ้านกับสถาบันการเงินเดิม
  • นำรายการยอดหนี้ที่ได้มาไปยื่นขอรีไฟแนนซ์บ้านกับสถาบันการเงินใหม่
  • รอเจ้าหน้าที่มาดำเนินการประเมินราคาหลักทรัพย์ค้ำประกัน (บ้าน)
  • รอผลอนุมัติสินเชื่อรีไฟแนนซ์
  • กรณีสินเชื่อรีไฟแนนซ์ได้รับการอนุมัติแล้ว ให้นำเอกสารไปไถ่ถอนบ้านจากสินเชื่อเงินกู้ฉบับเดิม
  • เริ่มทำสัญญาสินเชื่อรีไฟแนนซ์กับสถาบันการเงินใหม่ พร้อมกับนัดวันโอนบ้านที่ใช้เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน ทั้งจากสถาบันการเงินเดิม และใหม่
  • กรณีที่สินเชื่อรีไฟแนนซ์ได้วงเงินกู้สูงกว่าราคาไถ่ถอน เราจะได้รับเช็ค 2 ฉบับ แบ่งเป็นเช็คสำหรับไถ่ถอน และเช็คส่วนต่างที่สามารถนำไปใช้จ่ายได้
  • ดำเนินการจัดการเรื่องโอนกรรมสิทธิ์ที่สำนักงานที่ดิน เขตที่บ้านตั้งอยู่ โดยมีเจ้าหน้าที่จากทั้ง 2 สถาบันการเงินไปด้วย
  • ยื่นโฉนดที่ดินให้กับสถาบันการเงินผู้ให้กู้สินเชื่อฉบับใหม่ ขั้นตอนเสร็จสิ้น

เมื่อยื่นกู้ "Refinance" ต้องระวังอะไรบ้าง?

การรีไฟแนนซ์นับได้ว่าเป็นทางเลือกที่ดีของคนที่ต้องการใช้ประโยชน์จากสินเชื่อประเภทนี้ แต่ถ้าเราใช้ประโยชน์จากสิ่งนั้นโดยไม่ระวังก็อาจจะทำให้เราได้รับโทษจากสิ่งนั้นด้วยเช่นกัน เพราะฉะนั้นทาง CheckRaka.com จึงไม่พลาดที่จะเตือนเพือนๆ ด้วย "ข้อควรระวัง" จากการใช้สินเชื่อรีไฟแนนซ์ มาฝากกันค่ะ (ย้ำกันให้เข้าใจ จะได้ไม่ลืมนะคะ)
  1. ควรคำนวณค่าใช้จ่ายทั้งหมดในการรีไฟแนนซ์ให้ดี เพราะอาจทำให้การตัดสินใจในครั้งนี้ไม่คุ้มค่า
  2. Rate อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของแต่ละสถาบันการเงินไม่เท่ากัน การเปรียบเทียบดอกเบี้ยหลังหมดโปรโมชั่นของแต่ละสถาบันการเงินจึงไม่เท่ากัน
  3. บางสถาบันการเงินเราสามารถต่อรองดอกเบี้ยหลังจากหมดโปรโมชั่นได้ ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้นเราก็ไม่จำเป็นต้องขอรีไฟแนนซ์กับสถาบันการเงินใหม่ แถมยังไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายหรือค่าธรรมเนียมอื่นเพิ่มเติม
  4. ค่าใช้จ่ายในการรีไฟแนนซ์บางสถาบันการเงินอาจมีเงื่อนไขพิเศษ เช่น ฟรีค่าจดจำนอง ซึ่งเหมาะกับคนที่ไม่สะดวกเตรียมค่าจดจำนองในวันโอนกรรมสิทธิ์
  5. ประกันภัย หรือประกันชีวิตต่างๆ ที่สถาบันการเงินขายคู่กับสินเชื่อนั้น เราสามารถต่อรองได้ และควรเลือกที่เหมาะสมกับเราที่สุด 

ตัวอย่างสินเชื่อรีไฟแนนซ์บ้านที่น่าสนใจ

"รีไฟแนนซ์บ้าน" ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย เป็นสินเชื่อเพื่อการไถ่ถอนสินเชื่อที่อยู่อาศัยจากสถาบันการเงินอื่น ช่วยลดภาระด้วยอัตราดอกเบี้ยต่ำ เปลี่ยนบ้านหลังเดิมมาเป็น "บ้านประหยัดดอกเบี้ย" รีไฟแนนซ์บ้าน" ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 3.29%

รีไฟแนนซ์บ้าน ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 3.29% ฟรี 3 ต่อ
  • ฟรี! ค่าจดจำนองสูงสุด 100,000 บาท
  • ฟรี! ค่าประเมินราคาหลักทรัพย์
  • ฟรี! ค่าอากรแสตมป์
ระยะเวลาโปรโมชั่นตั้งแต่วันที่ 1 ก.ย. - 31 ธ.ค. 60
รีไฟแนนซ์บ้านและขอวงเงินเพิ่ม* ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี 3.99%
*ฟรี 3 ต่อ ไม่เข้าร่วมรายการ
อัตราดอกเบี้ย
รีไฟแนนซ์บ้าน Re-finance Balance Transfer Program
ประเภท ปีที่ 1 ปีที่ 2 ปีที่ 3 ระยะเวลาที่เหลือ อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา
MRTA 10 ปี MRR-4.46% MRR-4.46% MRR-4.46% MRR-2.25% 3.29% 5.00%
MRTA 5 ปี MRR-4.31% MRR-4.31% MRR-4.31% MRR-2.25% 3.44% 5.04%
No MRTA  MRR-4.16% MRR-4.16% MRR-4.16% MRR-2.25%  3.59%  5.07% 
รีไฟแนนซ์บ้านและขอวงเงินเพิ่ม Re-finance + Top up Program
ประเภท ปีที่ 1 ปีที่ 2 ปีที่ 3 ระยะเวลาที่เหลือ อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา
MRTA MRR-3.76% MRR-3.76% MRR-3.76% MRR-2.00% 3.99% 5.36%
No MRTA MRR-3.26% MRR-3.26% MRR-3.26% MRR-2.00% 4.49% 5.48%
หมายเหตุ :
  1. อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงข้างต้นเป็นเพียงตัวอย่างที่ใช้ในการคำนวณจากวงเงินกู้ 2 ล้านบาท ระยะเวลา 30 ปีเท่านั้น
  2. MRR = 7.75% ประกาศ ณ วันที่ 16 มิ.ย. 60
คุณสมบัติผู้สมัคร
  • ประเภทหลักประกัน ได้แก่ บ้านเดี่ยว, บ้านแฝด, ทาวน์เฮ้าส์, ทาวน์โฮม, คอนโดมิเนียม และ อาคารพาณิชย์ (สัญญาเงินกู้เดิมต้องเป็นสัญญาเพื่ออยู่อาศัย)
  • กรณี Re-finance Balance Transfer Program ต้องมีวงเงินสินเชื่อเดิมไม่ต่ำกว่า 2 ล้านบาท
  • สัดส่วนวงเงินกู้ต่อมูลค่าหลักประกัน เมื่อรวมค่าเบี้ยประกันชีวิต (MRTA) และ ค่าเบี้ยประกันอัคคีภัย ทั้งนี้ ต้องไม่เกินภาระหนี้คงค้างเดิม
    - กรณี Re-finance Balance Transfer Program สูงสุด 95% ของวงเงินสินเชื่อที่อยู่อาศัยเดิม
    - กรณี Re-finance + Top up Program สูงสุด 95% ของราคาประเมิน กรณีวงเงินไม่เกิน 30 ล้านบาท กรณีวงเงินเกิน 30 ล้านบาท สูงสุด 85% ของราคาประเมิน
  • กรณีลูกค้าได้รับการยกเว้นค่าจดจำนอง 1% ของวงเงินกู้ (สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท) หากลูกค้าปิดบัญชีก่อน 5 ปี ธนาคารจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดจำนอง 1% คืน โดยจะคำนวณจากวงเงินกู้ในสัญญา (วงเงินอนุมัติ) ทั้งนี้ ลูกค้าสามารถคืนค่าจดจำนองเป็นเงินสดหรือเช็คได้
  • หลักเกณฑ์และเงื่อนไขอื่นๆ เป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด
  • ธนาคารขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงข้อกำหนดและเงื่อนไข ระยะเวลา และสิทธิประโยชน์ต่างๆ โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า
รายได้ต่อเดือน
รีไฟแนนซ์บ้าน Re-Finance Balance Transfer Program
อาชีพ สถานที่ทำงาน
กรุงเทพฯ และปริมณฑล ต่างจังหวัด
พนักงานกรณีกู้เดี่ยว >15,000 บาทขึ้นไป >15,000 บาทขึ้นไป
พนักงานกรณีมีผู้กู้ร่วม
- กู้หลัก
- กู้รอง
- กู้หลัก + กู้รอง

>10,000 บาทขึ้นไป
ไม่กำหนดขั้นต่ำ
>15,000 บาทขึ้นไป

>10,000 บาทขึ้นไป
ไม่กำหนดขั้นต่ำ
>15,000 บาทขึ้นไป
ประกอบธุรกิจส่วนตัวกรณีกู้เดี่ยว >30,000 บาทขึ้นไป/คน/ธุรกิจ
>20,000 บาทขึ้นไป/คน/ธุรกิจ
ประกอบธุรกิจส่วนตัวกรณีมีผู้กู้ร่วม
- กู้หลัก
- กู้รอง
- กู้หลัก + กู้รอง

>30,000 บาทขึ้นไป/คน/ธุรกิจ
ไม่กำหนดขั้นต่ำ
>30,000 บาทขึ้นไป/คน/ธุรกิจ

>20,000 บาทขึ้นไป/คน/ธุรกิจ
ไม่กำหนดขั้นต่ำ
>20,000 บาทขึ้นไป/คน/ธุรกิจ
หมายเหตุ : ปริมณฑล ได้แก่ นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ นครปฐม สมุทรสาคร
รีไฟแนนซ์บ้านและขอวงเงินเพิ่ม Refinance + Top up Program
อาชีพ สถานที่ทำงาน
กรุงเทพฯ และปริมณฑล ต่างจังหวัด
พนักงาน
กรณีกู้เดี่ยว 30,000 บาทขึ้นไป 30,000 บาทขึ้นไป
กรณีมีผู้กู้ร่วม
  • กู้หลัก
  • กู้รอง
  • กู้หลัก + กู้รอง

30,000 บาทขึ้นไป
ไม่กำหนดขั้นต่ำ
30,000 บาทขึ้นไป

30,000 บาทขึ้นไป
ไม่กำหนดขั้นต่ำ
30,000 บาทขึ้นไป
เอกสารประกอบการสมัคร
พนักงานประจำ/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ/พนักงานสัญญาจ้างของหน่วยงานราชการหรือรัฐวิสาหกิจ ผู้ประกอบธุรกิจส่วนตัว/เจ้าของกิจการ 
เอกสารส่วนตัว
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน / สำเนาบัตรข้าราชการ / สำเนาบัตรพนักงานรัฐวิสาหกิจ (ที่มีเลขบัตรประชาชนระบุ)
  • สำเนาทะเบียนบ้าน
  • สำเนาใบเปลี่ยนชื่อ-ชื่อสกุล / ทะเบียนสมรส / ทะเบียนหย่า (ถ้ามี)
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน / สำเนาบัตรข้าราชการ / สำเนาบัตรพนักงานรัฐวิสาหกิจ (ที่มีเลขบัตรประชาชนระบุ)
  • สำเนาทะเบียนบ้าน
  • สำเนาใบเปลี่ยนชื่อ-ชื่อสกุล / ทะเบียนสมรส / ทะเบียนหย่า (ถ้ามี)
เอกสารแสดงรายได้
  • สลิปเงินเดือน (สำเนา / ต้นฉบับ) หรือ หนังสือรับรองเงินเดือนจากบริษัท โดยสลิปเงินเดือน / หนังสือรับรองเงินเดือนย้อนหลังไม่เกิน 2 เดือนนับจากปัจจุบัน
  • สำเนาบัญชีธนาคารที่เงินเดือนเข้า ย้อนหลัง 3 เดือนต่อเนื่องกันนับจากปัจจุบัน 
  • สำเนาหนังสือจดทะเบียนการค้า หรือ สำเนาทะเบียนนิติบุคคล (กรณีเป็นบริษัทจำกัด เพิ่มบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น) ที่รับรองสำเนาโดยกระทรวงพาณิชย์ ลงวันที่ย้อนหลังไม่เกิน 6 เดือน หรือ หลักฐานการประกอบธุรกิจที่ออกจากหน่วยงานราชการ / หน่วยงานหรือองค์กรธุรกิจที่น่าเชื่อถือและสามารถตรวจสอบได้
  • สำเนาบัญชีธนาคารที่ใช้หมุนเวียนในธุรกิจ ย้อนหลัง 6 เดือนต่อเนื่องกัน 
เอกสารหลักประกัน  
  • สำเนาใบเสร็จการผ่อนชำระเงินกู้ หรือ ใบแจ้งยอดหนี้เงินกู้ (Statement) ย้อนหลังอย่างน้อย 3 เดือน
  • สำเนาหนังสือสัญญาเงินกู้เดิม
ดูรายละเอียดผลิตภัณฑ์ "รีไฟแนนซ์บ้าน" เพิ่มเติม

ทำไมต้องกู้สินเชื่อ "รีไฟแนนซ์บ้าน" กับธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย

ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย เป็นธนาคารที่ให้ความสำคัญเรื่องความปลอดภัยของข้อมูลส่วนตัวลูกค้าที่ใช้ผลิตภัณฑ์และบริการต่างๆ ซึ่งเป็นที่ไว้วางใจแก่ลูกค้าของธนาคารเป็นอย่างมาก ในปัจจุบันธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย มีผลิตภัณฑ์ "รีไฟแนนซ์บ้าน" ออกมาให้บริการ นำเสนอลักษณะบริการเป็นที่น่าสนใจ และที่สำคัญคือ "ลดภาระด้วยอัตราดอกเบี้ยต่ำ" ด้วยการให้ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปีแรก 3.29% ต่อปี พร้อมฟรีค่าธรรมเนียม เมื่อเทียบกับแบงค์อื่นถือว่าถูกมาก และน่าสนใจที่สุดในตอนนี้ ลักษณะหลักทรัพย์ก็เปิดกว้างหลายรูปแบบทั้งที่เป็นบ้านเดี่ยว, บ้านแฝด, ทาวน์เฮ้าส์, ทาวน์โฮม, คอนโดมิเนียม และอาคารพาณิชย์ ขั้นตอนการขอสินเชื่อก็ไม่ยุ่งยาก หากยังไม่แน่ใจในรายละเอียดก็สามารถสอบถามได้ทั้งที่สาขาธนาคาร และ CIMB THAI care center 0-2626-7777 โดยมีเจ้าหน้าที่พร้อมให้บริการในทุกข้อสงสัยเรื่อง "รีไฟแนนซ์" ค่ะ

แท็กที่เกี่ยวข้อง เทคนิค รีไฟแนนซ์ refinance
Money Guru
เขียนโดย เช็คราคา.คอม Money Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่

แนะนำ Big bike ล่าสุด

ดูทั้งหมด
Suzuki | Burgman
ซูซูกิ Suzuki Burgman 400 ABS ปี 2024
Honda | Forza
ฮอนด้า Honda Forza 350 Special Edition H2C by Honda ปี 2025
Kawasaki | Ninja
คาวาซากิ Kawasaki-Ninja ZX-6R-ปี 2025
Yamaha | XMAX
ยามาฮ่า Yamaha XMAX Connected ปี 2025
Triumph | Tiger
ไทรอัมพ์ Triumph Tiger Sport 660 ปี 2025
Harley-Davidson | Pan America 1250
ฮาร์ลีย์-เดวิดสัน Harley-Davidson Pan America 1250 ST ปี 2025
Ducati | Panigale
ดูคาติ Ducati Panigale V2 ปี 2025
Honda | ADV
ฮอนด้า Honda ADV 350 (Standard) ปี 2025



เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)