x
icon-filter ค้นหาคอนโด
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter

อยากเช่าคอนโด : ต่อรอง "ค่าเช่า" ยังไงให้ถูกลง?

icon 18 มี.ค. 59 icon 15,730
อยากเช่าคอนโด : ต่อรอง "ค่าเช่า" ยังไงให้ถูกลง?

อยากเช่าคอนโด : ต่อรอง "ค่าเช่า" ยังไงให้ถูกลง? 

ปัจจุบันมีคนนิยมลงทุนคอนโดเพื่อมาปล่อยเช่ากันมากขึ้น ราคาปล่อยเช่าเริ่มตั้งแต่หลักพันปลายๆ จนไปถึงหลักหมื่น ขึ้นอยู่กับขนาดพื้นที่ใช้สอย และ segment ของคอนโด ถึงแม้ว่ามีผู้นำคอนโดมาปล่อยเช่าเยอะขึ้นแต่ความต้องการในการเช่าคอนโดก็มีมากขึ้นเช่นกัน เพราะส่วนใหญ่คอนโดจะอยู่ในเมืองหรือใกล้กับรถไฟฟ้า ทำให้เดินทางสะดวก มีระบบรักษาความปลอดภัยที่ดี นอกจากนั้นยังได้ใช้ส่วนกลางที่ทางโครงการมีให้ ดีกว่าไปเช่าหอพักหรืออพาร์ตเมนต์ค่ะ วันนี้ Checkraka จึงขอเสนอ 8 ทริคง่ายๆ เอาไว้ผู้ที่กำลังจะเช่าคอนโดไปต่อรองขอลดราคาเช่าคอนโดค่ะ

1.   อ้อนกันตรงๆ เลยว่าลดราคาอีกได้ไหม?

วิธีแรกและเป็นวิธีที่ง่ายที่สุดเลยก็คือถามไปตรงๆ เลยค่ะ อ้อนนิดๆ ว่าลดให้อีกได้ไหมลองใช้เหตุผลที่เหมาะสม เช่น กำลังเรียนอยู่ ชอบที่นี่มากแต่ว่ามีกำลังทรัพย์แค่นี้ เป็นต้น วิธีนี้อาจได้ผลหรือไม่ได้ผลขึ้นอยู่กับดวงและการพูดของเราเท่านั้นค่ะ เพราะบางทีเจ้าของห้องอาจจะถูกชะตาเรา หรือว่าอาจต้องการหาคนเช่าแบบเร่งด่วน การต่อรองไว้ก่อนก็ไม่เสียหาย 

2.   เปรียบเทียบค่าเช่าหลายๆ ที่แล้วเอามาต่อรอง

เวลาเราจะเช่าคอนโด แน่นอนว่าเราไม่ได้หาที่เดียวแล้วเลือกเลยใช่ไหมคะ เราก็ต้องดูหลายๆ ที่ให้ตรงกับความต้องการอยู่แล้ว แต่บางทีเราอาจจะเอามาเปรียบเทียบแค่ในเรื่องของฟังก์ชันว่าใช่แบบที่เราต้องการหรือไม่ เช่น อยากได้แบบ Studio เท่านั้น หรือเรื่องทำเลที่จะเอามาเปรียบเทียบกันว่าที่ไหนใกล้ BTS มากกว่า หรือเดินทางสะดวกกว่า และด้านราคาส่วนใหญ่จะเปรียบเทียบว่าที่ไหนถูกกว่ากัน ซึ่งตรงนี้เราสามารถนำราคาที่ได้มาจากหลายๆ ที่นำมาต่อรองกับคอนโดที่เราต้องการเช่าก็ได้ค่ะ อาจจะพูดประมาณว่า "ลดราคาหน่อยได้ไหมคะ ละแวกนี้ราคาจะประมาณนี้หมดเลย ของพี่จะราคาสูงกว่านิดนึง แต่หนูชอบห้องพี่มากๆ" อาจจะต้องบวก Skill การอ้อนวอนเพิ่มเข้าไปด้วยค่ะ
ตัวอย่างราคาปล่อยเช่าคอนโด 1 ห้องนอน ในเว็บไซต์ต่างๆ    
 คอนโด  ขนาดห้อง  ราคาโดยประมาณ/บาท/เดือน  ประกาศบนเว็บไซต์
 M SILOM  53 ตร.ม.  40,000 www.prakard.com
 IDEO Mobi พระราม 9 45 ตร.ม.   28,000 www.ddproperty.com
Noble Remix สุขุมวิท 36   42 ตร.ม. 35,000 www.bkkcitismart.com
 The Crest สุขุมวิท 34
35 ตร.ม.   33,000 www.prakard.com 
Rhythm สุขุมวิท 42   45 ตร.ม. 36,000  www.hipflat.co.th 
A Space ME สุขุมวิท 77   28 ตร.ม.  8,500  ilovecondo.net
Condo U Ratchayothin   30 ตร.ม. 9,000  www.hipflat.co.th  
Whizdom สถานีปุณณวิถี   35 ตร.ม.  13,000 www.ddproperty.com
 The Tempo รัชดา  30 ตร.ม. 13,000   ilovecondo.net 
รวบรวมโดย Checkraka.com
ข้อมูล ณ วันที่ 16 มีนาคม 2559

3.   แอบเช็คดูว่าโครงการเดียวกันนั้นมีคนประกาศปล่อยเช่ากันเยอะหรือเปล่า?

เราอาจจะเช็คดูได้จากเว็บไซต์ที่เจ้าของห้องออกมาประกาศหาคนเช่ากัน เช่น www.prakard.com ดูว่าโครงการที่เราสนใจนั้นปล่อยเช่ากันเยอะหรือไม่ ถ้าปล่อยเช่ากันเยอะนั่นก็หมายความว่าเราสามารถต่อรองได้หลายห้องและเลือกห้องที่ถูกใจและราคาถูกที่สุดได้ค่ะ อย่างเช่นตัวอย่างในภาพจะเป็นโครงการ Noble RE:D มีคนมาปล่อยเช่ากันเยอะมาก เราก็สามารถเลือกและต่อรองได้เลยจนกว่าจะหาราคาที่ต้องการได้

เข้าไปดูในเว็บไซต์จะเห็นว่าเขาประกาศปล่อยเช่ากันเยอะแค่ไหน

4.   หาเหตุผลดีๆ มาช่วย เช่น เป็นคนใช้ของระวังหรืออยู่ไม่บ่อย

ตอนที่เราไปเจรจาหรือไปดูห้องครั้งแรกเราอาจจะบอกกับเจ้าของห้องไปว่าเราเป็นคนสะอาด ใช้ของระมัดระวัง หรือใช้เวลาอยู่ในห้องแค่เพียงกลางคืนเท่านั้น การที่เราบอกแบบนี้จะเป็นการยืนยันว่าเราจะไม่ทำของในห้องพัง หลังจากที่ออกแล้วก็ไม่เลอะเทอะเปรอะเปื้อน ซึ่งเจ้าของห้องอาจจะใจอ่อนลดราคาให้เราก็ได้ค่ะ แต่สิ่งที่กล่าวมาทั้งหมดนี้เราก็ต้องทำให้สอดคล้องด้วยนะคะ เช่นบอกว่าเป็นคนสะอาด แต่เนื้อตัวและเสื้อผ้ามีกลิ่นหรือเปรอะเปื้อนก็อาจจะต่อรองไม่สำเร็จ 

5.   อยู่นานจะได้ราคาถูกกว่าอยู่สั้นๆ

เมื่อเราได้คอนโดที่ถูกใจแล้ว ตกลงว่าจะเช่าที่นี่แน่ๆ และข้อตกลงในสัญญาว่าระบุว่าจะพักอาศัยเป็นระยะเวลานาน 1 ปี เราอาจจะขยายระยะเวลาในสัญญาออกไปเป็น 2 ปีเพื่อขอลดค่าเช่าให้ถูกลงอีก ซึ่งวิธีนี้เป็นวิธีการต่อรองที่ดีทีเดียว เพราะเจ้าของห้องส่วนใหญ่ก็อยากจะให้มีคนเช่าห้องตลอดอยู่แล้วค่ะ

6.   ทำตัวให้ดีๆ เวลาต่อสัญญาจะได้ต่อรองได้อีก 


ถ้าหากว่าช่วงที่ผ่านมาเราทำตามข้อตกลงระบุที่อยู่ในสัญญาตลอด เช่น จ่ายค่าเช่าตรงเวลา ไม่ทำเฟอร์นิเจอร์เสียหาย ไม่เจาะหรือติดอะไรลงบนผนัง ฯลฯ เราสามารถที่จะขอลดราคาค่าเช่าหรือว่าขอให้ไม่ขึ้นค่าเช่าในการต่อสัญญาครั้งต่อไปได้ค่ะ ฉะนั้นแล้วเราต้องทำตัวน่ารักๆ เป็นผู้เช่าที่ดี ไม่ทำเรื่องที่จะนำความเดือดร้อนและเสียหายมาให้แก่เจ้าของห้องและทางโครงการค่ะ

7.   ต่อรองว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าบางอย่างเราไม่ได้ใช้

บอกเจ้าของห้องว่าของบางอย่างเราไม่ได้ใช้ ลดให้อีกได้ไหม เช่น ที่จอดรถ บอกว่าเราไม่มีรถยนต์และใช้รถไฟฟ้าเป็นหลัก ดังนั้นที่จอดรถจะไม่ได้ใช้เลย เจ้าของห้องห้องยังสามารถมาใช้ที่จอดรถได้ หรือบอกว่าไมได้ใช้ครัว เพราะปกติแล้วเป็นคนไม่ทำอาหาร ก็อาจจะทำให้เจ้าของห้องยอมได้ เพราะไม่ทำครัวก็จะทำให้ห้องไม่เลอะเทอะ ลดการมีปัญหากับห้องข้างเคียงเนื่องจากทำอาหารที่มีกลิ่นแรงได้

8.   ศึกษากฎหมายการเช่าให้ดี 


ก่อนจะเช่าคอนโดเราต้องศึกษากฎหมายการเช่าให้ดีนะคะ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องค่ามัดจำ การได้คืนค่ามัดจำ ไม่เช่นนั้นแล้วเราอาจจะถูกเอาเปรียบจากผู้ให้เช่าได้ ในทางกลับกันถ้าเราไม่ศึกษาเราอาจจะไปทำอะไรที่อาจผิดกฎหมาย และส่งผลให้เราเองเดือดร้อนได้ค่ะ เช่น ถ้าเราทำผิดสัญญาเราจะโดนยึดหรือปรับอะไรบ้าง เป็นต้น (ดูข้อแนะนำในการทำสัญญาเช่าคอนโดได้ที่นี่)
หวังว่าทั้ง 8 ทริคนี้จะทำให้คนที่กำลังจะไปเช่าคอนโดได้เช่าคอนโดราคาถูกกันถ้วนหน้านะคะ พบกับบทความแนะนำเรื่องเกี่ยวกับบ้านและคอนโด จาก Checkraka.com คราวหน้านะคะ สวัสดีค่ะ  
แท็กที่เกี่ยวข้อง
Condo Guru
เขียนโดย เช็คราคา.คอม Condo Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)