ไขข้อข้องใจ….รีไฟแนนซ์บ้านไปธนาคารใหม่ ประหยัดดอกเบี้ยได้เท่าไหร่ เมื่อเทียบกับธนาคารเดิม

icon 18 ก.ค. 66 icon 9,613
ไขข้อข้องใจ….รีไฟแนนซ์บ้านไปธนาคารใหม่ ประหยัดดอกเบี้ยได้เท่าไหร่ เมื่อเทียบกับธนาคารเดิม
ใครที่กำลังอยู่ในช่วงหมดโปร! สำหรับสินเชื่อบ้านที่ผ่านพ้นช่วงโปรโมชันดอกเบี้ยต่ำ และกำลังเข้าสู่ช่วงอัตราดอกเบี้ยลอยตัวแล้ว ก็คงกำลังเลือกเปรียบเทียบอัตราดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์จากหลายๆ ธนาคารอยู่ใช่หรือไม่คะ?
 
แล้วเราจะเลือกเปรียบเทียบจากอะไรดี จากอัตราดอกเบี้ยโปรโมชันช่วงแรก หรืออัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี แต่ละแบบแตกต่างกันอย่างไร แล้วเราจะรู้ได้ยังไงว่า เราจะสามารถประหยัดดอกเบี้ยได้เท่าไหร่ วันนี้! เรามาไขข้อข้องใจไปพร้อมกันเลยค่ะ 
 
ความแตกต่างของอัตราดอกเบี้ย
 
อัตราดอกเบี้ยของสินเชื่อบ้าน แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ อัตราดอกเบี้ยแบบคงที่ และอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ซึ่งอัตราดอกเบี้ยทั้ง 2 แบบมีความแตกต่างกัน ดังนี้
 
อัตราดอกเบี้ยคงที่ (Fixed Rate) เป็นอัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารกำหนดตัวเลขแน่นอน ไม่มีการเพิ่มหรือลดตามต้นทุนของธนาคาร ทำให้ผู้กู้รู้ค่างวดที่ต้องผ่อนชำระ และระยะเวลาการชำระที่ชัดเจน ทำให้สามารถวางแผนการเงินล่วงหน้า และควบคุมค่าใช้จ่ายได้
 
อัตราดอกเบี้ยลอยตัว (Floating Rate) เป็นดอกเบี้ยที่จะมีการเปลี่ยนแปลงตามข้อกำหนด หรือต้นทุนของธนาคาร มีการปรับขึ้น หรือลงตามสถานการณ์ ตัวเลขอัตราดอกเบี้ยจึงถูกกำหนดไว้แบบไม่ตายตัว โดยจะมีการประกาศเป็นรอบๆ อ้างอิงจากอัตราดอกเบี้ย MRR หรือ MLR และไม่ได้กำหนดระยะเวลาการปรับดอกเบี้ยที่แน่นอน 
อัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบ้านของธนาคาร A จะมีทั้งในส่วนของอัตราดอกเบี้ยคงที่ ในเดือนที่ 1 - 3 ที่ 0.66% ต่อปี และอัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัว ที่เป็นอัตราดอกเบี้ยต่ำในช่วงโปรโมชัน 3 ปีแรก โดยมีค่าเฉลี่ยของอัตราดอกเบี้ย 3 ปี อยู่ที่ 3.60% 

อัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบ้านของธนาคาร B จะเป็นอัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัว ดอกเบี้ยต่ำตั้งแต่ปีแรกถึงปีที่ 3 โดยดอกเบี้ยจะสูงขึ้นเรื่อยๆ ตามจำนวนปีที่เพิ่มขึ้นค่ะ และอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี ก็จะอยู่ระหว่าง 3.62 - 3.70% ขึ้นอยู่กับรูปแบบโปรโมชันที่เราเลือกนะคะ 
 
ซึ่งในการเลือกเปรียบเทียบ นอกจากเปรียบเทียบอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าในช่วงปีแรกๆ แล้ว อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี ก็มีส่วนสำคัญ เพราะโดยปกติ เราจะรีไฟแนนซ์เพื่อปรับลดอัตราดอกเบี้ยได้อีกครั้งเมื่อครบระยะสัญญา 3 ปี และหากเรามีแนวโน้มที่จะสามารถจ่ายโปะเงินต้น ได้มากกว่าในช่วงปีแรกๆ การเลือกธนาคารที่ให้ดอกเบี้ยต่ำในช่วงต้นก็น่าจะส่งผลดีต่อยอดหนี้ของเรามากกว่าค่ะ แต่หากเรามีแพลนการชำระหนี้ตามปกติแล้ว การดูอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยในระยะยาวประกอบไปด้วย ก็น่าจะเป็นอีกทางเลือกที่ดีนะคะ แต่ทั้งนี้ เราก็ควรคำนวณค่าใช้จ่ายในส่วนอื่นๆ ประกอบด้วย เช่น ค่าประเมินหลักประกัน ค่าจดจำนอง หรือแม้แต่ค่าปรับกรณีที่เราไถ่ถอนก่อนกำหนด เป็นต้น
 
รีไฟแนนซ์ครั้งนี้ประหยัดดอกเบี้ยได้เท่าไหร่? 
 
เมื่อถึงเวลาที่เราจะต้องเปรียบเทียบอัตราดอกเบี้ยเพื่อจะรีไฟแนนซ์ไปธนาคารใหม่ เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเราจะประหยัดดอกเบี้ยไปได้เท่าไหร่…วันนี้เรามาปักหมุดสูตรคำนวณกันไว้เลยค่ะ 
 
 
ตัวอย่างการคำนวณ : กรณีเงินต้น 2,000,000 บาท ระยะเวลาผ่อนชำระ 30 ปี อัตราดอกเบี้ยธนาคารเดิมตลอดอายุสัญญาอยู่ที่ 5.50% ต่อปี อัตราดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์ไปธนาคารใหม่สมมติให้อัตราดอกเบี้ยตลอดอายุสัญญาอยู่ที่ 3.35% ต่อปี เรามาคำนวณดูว่า รีไฟแนนซ์บ้านครั้งนี้เราจะประหยัดดอกเบี้ยได้เท่าไหร่
 
>>เริ่มคำนวณ ดอกเบี้ยที่ประหยัดได้ = เงินต้น x อัตราดอกเบี้ยที่ประหยัดได้ X จำนวนปี 
 
>>ใส่ค่าคำนวณจากตัวอย่าง ดอกเบี้ยที่ประหยัดได้ = 2,000,000 x (5.50% - 3.35%) X 30
 
>>ดังนั้น การรีไฟแนนซ์บ้านครั้งนี้ เราจะประหยัดดอกเบี้ยได้ = 1,290,000 บาท
 
 
สรุปแล้ว ก่อนที่เราจะตัดสินใจรีไฟแนนซ์บ้านไปธนาคารใหม่ นอกจากเปรียบเทียบอัตราดอกเบี้ย คำนวณความคุ้มค่าที่จะประหยัดได้แล้ว ยังต้องคำนึงถึงค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น เมื่อรีไฟแนนซ์ ประกอบด้วยนะคะ เมื่อคิดอย่างรอบคอบแล้วผลลัพธ์ออกมาคุ้มค่า ก็อย่ารอช้า รีบรีไฟแนนซ์เพื่อลดภาระดอกเบี้ยกันเลย…
แท็กที่เกี่ยวข้อง รีไฟแนนซ์บ้าน ประหยัดดอกเบี้ย บทความสินเชื่อ 2566
Money Guru
เขียนโดย ชนานาถ จินตกสิกรรม Money Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)