เกาะกระแส ภาวะ "เงินเฟ้อ" ส่งผลกระทบกับใครอย่างไรบ้าง และเราจะรับมืออย่างไร?

icon 29 มี.ค. 65 icon 8,063
เกาะกระแส ภาวะ "เงินเฟ้อ" ส่งผลกระทบกับใครอย่างไรบ้าง และเราจะรับมืออย่างไร?
ปัญหาเรื่องปากท้อง เป็นเรื่องใกล้ตัวที่เราทุกคนไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ โดยเฉพาะ เมื่อเราต้องเจอกับภาวะ "เงินเฟ้อ" ที่ของกินของใช้มีราคาแพงขึ้น เช่น ในวันที่เราซื้อก๋วยเตี๋ยว 1 ชามด้วยเงิน 20 บาทไม่ได้แล้ว…วันที่อัตราดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารไม่ถึงร้อยละ 1 บาท หรือแม้แต่การที่เรากำเงิน 100 บาท ไปซื้อของที่ตลาด เราจะได้อะไรกลับมาบ้าง จากวันวานจนถึงวันนี้ เราเห็นได้ชัดว่า "ค่าของเงิน" เปลี่ยนไป ปัญหาเหล่านี้เกิดจากอะไร และเราในฐานะประชาชนทั่วไป จะวางแผนการเงินเพื่อรับมือกันกับสภาวะการณ์นี้อย่างไร มาหาคำตอบไปพร้อมกันที่นี่ค่ะ 

"เงินเฟ้อ" คืออะไร และเกิดจากอะไร?
 
ภาวะเงินเฟ้อ คือ การที่ราคาสินค้า และบริการโดยทั่วไปเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และหากเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นมากๆ จะส่งผลกระทบในเรื่องของ ฐานะ และความเป็นอยู่ของประชาชน ซึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อ คือ 
 
  • การที่ประชาชนมีความต้องการซื้อสินค้า และบริการเพิ่มขึ้น ( Demand – Pull Inflation) โดยที่สินค้า และบริการนั้นๆ มีไม่เพียงพอ ส่งผลให้ผู้ขายมีการปรับราคาสินค้า และบริการให้สูงขึ้น
  • การมีต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้น (Cost – Push Inflation) ทำให้ผู้ผลิตต้องปรับราคาสินค้า และบริการให้สูงขึ้น เพื่อลดภาระต้นทุนที่สูงขึ้นนั่นเอง
 
ผลกระทบจากภาวะเงินเฟ้อ 

สำหรับภาวะเงินเฟ้อ เมื่อเกิดขึ้นแล้วจะส่งผลกระทบกับหลายภาคส่วน ทั้งประชาชนทั่วไป ผู้ประกอบการ รวมถึงผลกระทบต่อประเทศ โดยขอแจกแจง รายละเอียด ดังนี้
 
ผลกระทบต่อประชาชนทั่วไป
  • รายจ่ายหรือภาระค่าครองชีพสูงขึ้น ทำให้ประชาชนมีอำนาจซื้อน้อยลง มีความสามารถจับจ่ายซื้อสินค้าและบริการได้น้อยลง และอาจทำให้รายได้ที่มีหรือเงินที่หามาได้ไม่ เพียงพอกับการยังชีพ
  • อัตราเงินเฟ้อยิ่งสูง จะส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยที่หักเงินเฟ้อออก หรือที่เรียกว่า "อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง" จะมีค่าลดลงไป เนื่องจากดอกเบี้ยที่เราได้รับเอาไปใช้ซื้อของได้น้อยลง
ผลกระทบต่อผู้ประกอบการ
  • เมื่อสินค้ามีราคาแพงขึ้น ยอดขายก็จะลดลง ในขณะเดียวกัน ต้นทุนการผลิตก็จะสูงขึ้นด้วย ส่งผลให้เจ้าของธุรกิจบางรายอาจตัดสินใจชะลอการผลิต ลดการลงทุน และการจ้างงาน ทำให้คนตกงานมากขึ้น
  • ความสามารถในการแข่งขันของภาคธุรกิจในประเทศลดลง เนื่องจากราคาสินค้าส่งออกของเราจะสูงขึ้นเมื่อเทียบกับราคาสินค้าออกของประเทศอื่นๆ
ผลกระทบต่อประเทศ
  • ในภาวะที่ประชาชนซื้อของน้อยลง ธุรกิจไม่สามารถขายของได้ การลงทุนเพื่อผลิตสินค้าก็จะชะลอออกไป ทำให้การพัฒนาศักยภาพการผลิตของประเทศในระยะยาวอาจชะลอลงตามไปด้วย
  • ถ้าอัตราเงินเฟ้อสูงจนทำให้อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงติดลบนาน ๆ ประชาชนก็จะหันไปเก็งกำไรในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูง สะสมปัญหาฟองสบู่ในสินทรัพย์ต่างๆ (asset price bubble) และความไม่สมดุลในภาคการเงินของประเทศได้ เช่น หนี้ครัวเรือน
ประชาชนทั่วไปจะรับมือกับภาวะเงินเฟ้อได้อย่างไร?
 
วิธีการในการรับมือกับปัญหา "เงินเฟ้อ" สำหรับประชาชนทั่วไป คือ ควรมีการวางแผนการเงินอย่างสม่ำเสมอ ทั้งในสถานการณ์ที่เกิดหรือไม่เกิดภาวะเงินเฟ้อ ควรมีการกระจายเงินออม และเงินลงทุนให้เหมาะสม โดยก่อนที่จะลงทุนอะไรก็ตามควรมีเงินสดสำรองเผื่อสำหรับสถานการณ์ฉุกเฉิน ไว้ในระดับที่เหมาะสมด้วยนะคะ 
 
 
  1. ในสถานการณ์ที่เกิดภาวะเงินเฟ้อ จะส่งผลให้ดอกเบี้ยเงินฝากอยู่ในระดับต่ำ เราสามารถวางแผนการลงทุน โดยนำเงินที่มีไปลงทุนในสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนที่สูงกว่า เช่น ลงทุนหุ้น ลงทุนในกองทุนรวม หรือลงทุนอสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น แต่การลงทุนในสินทรัพย์ใดก็ตามที่ให้ผลตอบแทนที่มากกว่า ก็มักจะมีในเรื่องของความเสี่ยงที่มากขึ้นด้วยเช่นกัน ดังนั้น เราควรศึกษาข้อมูลให้ดีก่อนตัดสินใจลงทุนนะคะ
     
  2. การเลือกลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความมั่นคง ปลอดภัย เช่น  "ทองคำ" เพราะทองคำถือเป็นถือเป็นสินทรัพย์ที่ มีมูลค่าในตัวเองเสมอ และไม่เสื่อมสภาพตามกาลเวลา เช่น หากลงทุนเป็นทองคำแท่ง เมื่อเกิดเหตุจำเป็นต้องการใช้เงิน ก็สามารถแปรเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ทันที
     
  3. หลีกเลี่ยงการก่อหนี้ที่ไม่ทำให้เกิดรายได้ ใช้จ่ายด้วยความระมัดระวัง และหลีกเลี่ยงการซื้อของที่ไม่จำเป็น และการวางแผนการใช้จ่ายอย่างรัดกุม  
          
  4. ติดตามข่าวสารต่างๆ อยู่เสมอ เพราะเรื่อง "เงินเฟ้อ" เป็นเรื่องที่มีผลกระทบต่อฐานะ และการดำรงชีพของเราอย่างมีนัยยะสำคัญ เราควรติดตามอย่างใกล้ชิด เพื่อที่จะได้เตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์ต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที
ดัชนีราคาผู้บริโภคของประเทศ เดือนกุมภาพันธ์ 2565 (ข้อมูลล่าสุด ณ วันที่ 4 มีนาคม 2565)

ดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนกุมภาพันธ์ 2565 เท่ากับ 104.10 (ปีฐาน 2562 = 100)
 
 
อัตราเงินเฟ้อเดือนกุมภาพันธ์ 2565 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนสูงขึ้นร้อยละ 5.28 (YoY) ซึ่งเป็นการขยายตัวค่อนข้างมาก โดยในเดือนมกราคม 2565 สูงขึ้นร้อยละ 3.23 การเพิ่มสูงขึ้นในเดือนนี้มีปัจจัยสำคัญจากราคาสินค้าในกลุ่มพลังงาน ได้แก่ ค่ากระแสไฟฟ้า และน้ำมันเชื้อเพลิง ตามราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในตลาดโลก ที่มีการเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
 
อย่างไรก็ตาม ภาครัฐได้มีการปรับลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซล ซึ่งมาตรการดังกล่าว สามารถช่วยลดภาระค่าครองชีพของประชาชนได้ส่วนหนึ่ง นอกจากนี้ สินค้าในกลุ่มอาหาร โดยเฉพาะอาหารบริโภคในบ้านและนอกบ้าน อาทิ กับข้าวสำเร็จรูป อาหารตามสั่ง ก๋วยเตี๋ยว ข้าวแกง/ข้าวกล่อง มีการปรับราคาสูงขึ้นในเกือบทุกพื้นที่ตามต้นทุนวัตถุดิบที่เพิ่มขึ้น สำหรับเนื้อสุกร และผักสดแม้ว่าราคาจะยังคงสูงขึ้น เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมาแต่ราคาลดลงจากเดือนก่อนหน้าค่อนข้างมาก อย่างไรก็ตาม มีสินค้าสำคัญที่ราคาลดลง ได้แก่ ข้าวสารเจ้า ข้าวสารเหนียว และเครื่องนุ่งห่ม เป็นต้น ขณะที่ราคาสินค้าและบริการในหมวดอื่น ๆ ส่วนใหญ่ยังทรงตัวและเคลื่อนไหวสอดคล้องกับปริมาณผลผลิต และความต้องการในการบริโภคของประชาชน
 
ทั้งนี้ เมื่อหักอาหารสดและพลังงานออกแล้ว เงินเฟ้อพื้นฐานขยายตัวที่ร้อยละ 1.80 และเฉลี่ย 2 เดือน (ม.ค.- ก.พ.) 2565 เงินเฟ้อทั่วไปสูงขึ้นร้อยละ 4.25 (AoA) และเงินเฟ้อพื้นฐานสูงขึ้นร้อยละ 1.16 (AoA)
 
 
สำหรับแนวโน้มเงินเฟ้อเดือนมีนาคม 2565 คาดว่ายังคงอยู่ในระดับสูง ตามราคาพลังงานที่เพิ่มขึ้น (น้ำมันเชื้อเพลิง ค่ากระแสไฟฟ้า) เมื่อเทียบกับปีก่อน ซึ่งจะส่งผลให้สินค้าอุปโภคบริโภคปรับราคาสูงขึ้นได้เช่นกัน รวมทั้งสินค้าในกลุ่มอาหารสำเร็จรูป และเครื่องประกอบอาหารมีการปรับราคาเพิ่มขึ้น ประกอบกับฐานราคาในช่วงต้นปี 2564 ค่อนข้างต่ำ ซึ่งจะส่งผลต่อการขยายตัวของเงินเฟ้อได้อีกทาง

อย่างไรก็ตาม สินค้าที่เริ่มปรับตัวลดลง อาทิ กลุ่มอาหารสด โดยเฉพาะเนื้อสุกร ผักสด และผลไม้ รวมทั้งมาตรการของภาครัฐในรูปแบบต่างๆ ที่คาดว่าจะมีอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายของประชาชน จะส่งผลให้เงินเฟ้อทั่วไปอยู่ในระดับที่เหมาะสม (ข้อมูลจากสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่นี่
 
ขอบคุณข้อมูลบางส่วนจากธนาคารแห่งประเทศไทย และสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.)
แท็กที่เกี่ยวข้อง เงินเฟ้อ ภาวะเงินเฟ้อ ดัชนีราคาผู้บริโภค
Money Guru
เขียนโดย ชนานาถ จินตกสิกรรม Money Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่



เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)