มาตรการลดวงเงินสินเชื่อส่วนบุคคลฉบับใหม่ แก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนได้จริงหรือไม่? ที่นี่มีคำตอบ!!

icon 28 พ.ย. 60 icon 4,971
มาตรการลดวงเงินสินเชื่อส่วนบุคคลฉบับใหม่ แก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนได้จริงหรือไม่? ที่นี่มีคำตอบ!!

มาตรการลดวงเงินสินเชื่อส่วนบุคคลฉบับใหม่ แก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนได้จริงหรือไม่? ที่นี่มีคำตอบ!!

จากปัญหาหนี้ครัวเรือนที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ทำให้เศรษฐกิจชาติมีปัญหาไม่น้อย ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ให้ความสำคัญ พร้อมดูแลแก้ไขเพื่อให้กระทบภาพรวมของเศรษฐกิจในประเทศระยะยาวน้อยที่สุด ด้วยการส่งเสริมการให้ความรู้ทางการเงินแก่ประชาชน ซึ่งจะเห็นได้จากการมีโครงการแก้ปัญหาหนี้ส่วนบุคคลที่ไม่มีหลักประกัน และคลินิกแก้หนี้ขึ้น
ล่าสุด!! ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกมาตรการปรับปรุงแนวทางกำกับดูแลสินเชื่อส่วนบุคคลที่จะช่วยดูแลการก่อหนี้ให้เหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจมากขึ้น ทั้งนี้ สาเหตุก็มาจากการที่เราเข้าถึงสินเชื่อประเภทนี้ง่าย แถมยังเป็นสินเชื่อแบบไม่มีหลักประกัน จึงทำให้ได้มาง่าย ใช้จ่ายง่าย จนก่อหนี้เกินความสามารถในการชำระหนี้ของตัวเองได้
โดยมาตรการสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับนี้ ได้ปรับวงเงินการให้สินเชื่อสำหรับผู้มีรายได้ต่ำกว่า 30,000 บาทต่อเดือน วงเงินไม่เกิน 1.5 เท่าของรายได้ และให้ได้รับวงเงินสินเชื่อส่วนบุคคลจากสถาบันการเงินไม่เกิน 3 ราย ส่วนผู้ที่มีรายได้ต่อเดือนเกิน 30,000 บาทขึ้นไป กำหนดวงเงินไม่เกิน 5 เท่า แต่ไม่จำกัดจำนวนสถาบันการเงินที่จะให้สินเชื่อแต่ละราย โดยยังคงเพดานอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่สถาบันการเงินจะเรียกเก็บ

ระยะเวลาแนวทางการกำหนดวงเงินสินเชื่อส่วนบุคคลนี้จะมีผลใช้บังคับกับผู้ขอมีสินเชื่อส่วนบุคคลรายใหม่ ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2560 เป็นต้นไป และสำหรับเพดานอัตราดอกเบี้ย

มาตรการนี้ใช้ได้กับใคร และสินเชื่อส่วนบุคคลแบบไหน?

สำหรับมาตรการสินเชื่อส่วนบุคคลที่ออกมาใหม่นี้ จะมีผลบังคับใช้กับสินเชื่อบุคคลที่ไม่มีหลักประกันเท่านั้น เช่น บัตรกดเงินสด โดยจะไม่รวมสินเชื่อส่วนบุคคลอื่นที่มีหลักประกัน เช่น สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย / รถยนต์ / รถจักรยานยนต์ หรือสินเชื่อส่วนบุคคลที่ไม่มีหลักประกันประเภทอื่น ได้แก่ สินเชื่อเพื่อการศึกษา / สินเชื่อเพื่อการเดินทางไปทำงานต่างประเทศ / สินเชื่อเพื่อสวัสดิการพนักงาน

ประโยชน์ที่จะได้จากการปรับปรุงมาตรการนี้ คืออะไร?

จากมาตรการที่ปรับปรุงนี้ หลายคนเชื่อว่าจะช่วยลดโอกาสในการก่อหนี้สินล้นพ้นตัวของคนที่กำลังจะเริ่มสร้างหนี้ได้ พร้อมเป็นการแก้ไขปัญหาหนี้ภาคครัวเรือนอย่างยั่งยืน เนื่องจากเป็นสินเชื่อประเภทที่เข้าถึงง่ายและอาจบั่นทอนความมั่นคงทางการเงิน ซึ่งเมื่อมีการลดเพดานหนี้ก็จะทำให้คนเป็นหนี้น้อยลงได้เช่นกัน
แท็กที่เกี่ยวข้อง ธนาคารแห่งประเทศไทย สินเชื่อส่วนบุคคล รายได้ วงเงิน มาตรการ หนี้ครัวเรือน
Money Guru
เขียนโดย เช็คราคา.คอม Money Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)