x
icon-filter ค้นหาโทรศัพท์มือถือ
product filter
product filter
product filter
product filter

เปิดทางเลือก! ฝากไฟล์และรูปภาพที่ไหนได้บ้าง? ในวันที่ Google Photo ไม่ได้ฟรีอีกต่อไป

icon 20 ธ.ค. 64 icon 3,134
เปิดทางเลือก! ฝากไฟล์และรูปภาพที่ไหนได้บ้าง? ในวันที่ Google Photo ไม่ได้ฟรีอีกต่อไป
เนื่องจากตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2564 เป็นต้นไป บริการ Google Photo ของ Google ที่เปิดให้บริการฝากไฟล์รูปภาพหรือวีดีโอขึ้น Google Cloud เพื่อสำรองข้อมูลรูปภาพ วีดีโอ แบบไม่จำกัดจะถูกยกเลิกการให้บริการแบบฟรี! อย่างเป็นทางการ และจะเริ่มนำพื้นที่บัญชี Google ของผู้ใช้คนๆ นั้นมาคำนวณพื้นที่ในการเก็บข้อมูลแทน ซึ่งทาง Google จะให้พื้นที่เริ่มต้นฟรีทุกคนที่ 15GB และหลังจากนั้นหากต้องการพื้นที่ที่มากขึ้นจะต้องเสียค่าบริการเพิ่มตามปริมาณพื้นที่เก็บข้อมูลที่ต้องการ โดยเริ่มที่ 70 บาท ต่อ 100GB เพื่อให้สามารถฝากไฟล์รูปภาพและวีดีโอได้อย่างต่อเนื่อง 
จึงทำให้มีผู้ใช้หลายคนเกิดความลังเลใจหรือสงสัยว่า ถ้าหากไม่อยากจะเสียค่าบริการกับ Google ต่อไป จะมีทางเลือกอะไรบ้างไหมที่เราจะเลือกได้ นอกจากต้องเสียค่าบริการให้กับ Google เพื่อจะได้ฝากไฟล์รูปภาพและวีดีโอบนระบบ Cloud ต่อไป ดังนั้นครั้งนี้ผมจึงหยิบทางเลือกที่น่าสนใจมาแนะนำให้ทุกคนที่กำลังมองหาทางเลือกใหม่ของการฝากรูปภาพและวีดีโอมาแนะนำกันครับ

ถ้าชอบ Google Photo ก็เลือกต่อบริการผ่าน Google One

มาเริ่มกันที่ทางเลือกแบบง่าย ๆ สำหรับคนที่ติดกับไลฟ์สไตล์การใช้งานร่วมกับ Google Photo ไปซะแล้ว นั่นคือการเลือกซื้อบริการพื้นที่เพิ่มกับทาง Google ผ่าน Google One ที่เป็นบริการ Cloud Storage ของกูเกิ้ลเองครับ โดยมีค่าบริการรายเดือนเริ่มต้นที่ 70 บาท เท่านั้น ซึ่งเราจะได้พื้นที่เก็บข้อมูลเพิ่มอีก 100GB รวมกับพื้นที่ฟรีอีก 15GB ที่กูเกิ้ลให้ทุกคนเมื่อเริ่มต้นใช้งานบัญชี Google เราก็จะมีพื้นที่ขนาด 115GB สามารถเก็บรูปภาพได้ประมาณ 3,000 - 5,000 รูป (ขึ้นกับขนาดไฟล์) โดยมีค่าใช้จ่ายเดือนละ 70 บาท แต่! อย่าลืมนะครับว่า Google Photo นั้นใช้พื้นที่ร่วมกับ Google Drive และ Gmail ด้วย ดังนั้นใครที่ไม่ได้แยกบัญชีการใช้งานออก อย่าลืมคำนวณการใช้งานในส่วนการทำงานด้วยนะ!
ค่าบริการ Google One รายเดือน
  • พื้นที่ขนาด 15GB : ใช้ฟรี
  • พื้นที่ขนาด 100GB : 70 บาทต่อเดือน | เหมารายปี 700 บาท
  • พื้นที่ขนาด 200GB : 99 บาทต่อเดือน | เหมารายปี 990 บาท
  • พื้นที่ขนาด 2TB : 350 บาทต่อเดือน | เหมารายปี 3,500 บาท

หาบริการ Cloud ใหม่ มีให้บริการสำหรับลูกค้าใหม่!

สำหรับใครที่ยังอยากใช้บริการฝากไฟล์รูปภาพและวีดีโอฟรี! การหาบริการ Cloud หน้าใหม่น่าจะเป็นทางเลือกที่เหมาะสม เพราะส่วนมากผู้ให้บริการ Cloud ที่มีอยู่ในปัจจุบัน มักจะมีออปชั่นเปิดให้ลูกค้าใหม่สามารถใช้งานฝากไฟล์ได้ฟรีอย่างน้อย 6-12 เดือนหรือมากกว่านั้น เพื่อต้องการเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ใช้งานให้ติดการใช้งานด้วยระบบฝากไฟล์ของตนเอง โดยตอนนี้ที่กำลังได้รับความนิยมก็น่าจะเป็น "Terabox" ผู้ให้บริการน้องใหม่จากบริษัท Flextech ของสหรัฐฯ ซึ่งตอนนี้เปิดให้ใช้งานได้ฟรีถึง 1TB เลยทีเดียว สามารถใช้งานได้ทั้ง Android OS และ iOS ใครที่สนใจก็ลองไปใช้บริการกันดูได้ครับ

ใช้ Android OS ก็ใช้ประโยชน์จากการเพิ่ม MicroSD Card ได้!

ส่วนใครที่ใช้สมาร์ตโฟน Android OS อยู่ คุณอย่าลืม! เรื่องของ "Freedom" ที่เป็นจุดเด่นของระบบปฏิบัติการบนสมาร์ตโฟนเบอร์หนึ่งของ Google ไปเชียว เพราะด้วยความอิสระในการใช้งาน จึงทำให้ผู้ใช้งานยังสามารถเลือกเพิ่มหน่วยความจำบนตัวเครื่อง ด้วย "MicroSD Card" ได้ และยิ่งถ้าเป็นสมาร์ตโฟนรุ่นใหม่ ๆ จะสามารถรอบรับ MicroSD มาตรฐานที่สูงขึ้น ทำให้สามารถถ่ายโอนไฟล์ข้อมูลต่าง ๆ บนตัวเครื่องไปยัง MicroSD Card ได้รวดเร็วมาก ๆ ด้วย แต่ข้อเสียก็คือมีราคาที่ค่อนข้างสูง ขึ้นอยู่ตามมาตรฐานและขนาดพื้นที่หน่วยความจำของ MicroSD Card ที่เราเลือกใช้งาน

ใช้ iOS ก็กลับไปหารักเก่า 'iCloud'

คนที่ใช้ iOS อยู่แล้ว การกลับไปหารักแรกพบอย่าง "iCloud" ก็เป็นอีกทางเลือกที่ดีครับ เพราะด้วยความเป็น iOS ที่ทาง Apple ตั้งใจสร้างรูปแบบการใช้งานให้ผู้ใช้งานรู้สึกผูกพันกับ Apple Ecosystem ดังนั้นการเลือกใช้บริการของ Apple เอง ก็จะช่วยเพิ่มความสะดวกสบาย และความคล่องตัวในการทำงานไปด้วย โดย iCloud มีค่าบริการรายเดือนเริ่มต้นเพียง 35 บาทเท่านั้น กับขนาดพื้นที่ 50GB และยิ่งตอนนี้ทาง Apple เปิดให้บริการ "Apple One" บริการที่มัดรวมบริการของ Apple ทั้งหมดในราคาเหมาจ่ายรายเดือนในราคาเริ่มต้น 225 บาท ก็ยิ่งคุ้มค่าเข้าไปอีก และถ้าสมัครแบบ Family Share ก็ยิ่งลดค่าใช้จ่ายต่อคนลงไปได้อีกด้วยนะ

ลงทุนเอง! ด้วย my Storage Cloud 

ถ้าการจ่ายรายเดือนกับผู้ให้บริการทำให้คุณคิดว่า ครบ 1 ปี สุดท้ายเราก็ไม่ได้อะไรกลับมา! ทางเลือกนี้จะเหมาะกับคุณมาก ๆ ครับ กับการลงทุนซื้อ my Storage Cloud หรือ NAS มาใช้งานเองที่บ้าน เป็นการสร้างระบบ Cloud ของคุณขึ้นมาเอง ผ่านอุปกรณ์ Storage Cloud ซึ่งมีความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยในระดับสูง เพราะตัวคุณเองจะเป็นเพียงคนเดียวเท่านั้น ที่รู้ข้อมูลการเข้าสู่ Storage Cloud นี้ได้ และลดความเสี่ยงต่อการถูกโจรกรรมข้อมูลออนไลน์ได้ด้วย และที่สำคัญราคาของ my Storage Cloud เริ่มต้นประมาณ 4,xxx บาท เท่านั้น ส่วนข้อเสียของทางเลือกนี้ก็น่าจะเป็น "ค่าไฟ" ล่ะครับ เพราะเราต้องเสียบปลั๊กเปิดใช้งานไว้ตลอด เมื่อใดที่ปิดหรือถอดปลั๊กระบบ Cloud ก็จะปิดไปด้วย 

ย้อนยุคกลับไปพก Extranal Drive

ใครที่ยังรู้สึกว่า ยังไง "ออนไลน์" ก็ยังมีความเสี่ยงอยู่ดี ทางเลือก Back to Basic ก็อาจจะเป็นคำตอบของคุณก็ได้นะครับ กับการกลับไปพก Extranal Drive ติดตัวไปทำงานด้วยทุกที่ และยิ่งในปัจจุบันผู้ผลิตได้มีการพัฒนาให้รองรับ "Plug&Play" กับสมาร์ตโฟน Android OS ในหลาย ๆ รุ่น ก็ยิ่งช่วยเพิ่มความคล่องตัวได้เป็นอย่างดีเลย รวมทั้งยังมีทางเลือกเป็น SSD Storage เข้ามาด้วย ก็ยิ่งช่วยเพิ่มความเร็วในการถ่ายโอนไฟล์ได้เร็วขึ้นเป็นเท่าตัว แต่แน่นอนว่าทางเลือกนี้มีความเสี่ยงกับข้อมูลสูงมาก เพราะถ้าหากตัว Storage ของเรามีความเสียหายขึ้นมา โอกาสที่เราจะสูญเสียข้อมูลไปด้วยก็มีสูงมากด้วยเช่นกัน

กลับสู่พื้นฐาน! ฝากทุกอย่างไว้บนคอมพิวเตอร์ที่บ้าน

เมื่อทุกอย่างที่กล่าวมาทั้งหมด ยังไม่เข้าตากรรมการ ดังนั้นการกลับสู่ยุคดั้งเดิมที่ใช้ "Computer" เป็นทุกอย่างในชีวิตคือทางเลือกสุดท้ายที่ผมหยิบมาแนะนำกันครับ การใช้คอมพิวเตอร์ไม่ว่าจะเป็นแบบ Pc Desktop หรือ Laptop สำรองข้อมูลไว้บนเครื่อง เป็นสิ่งเหล่าโปรแกรมเมอร์ยุคแรก ๆ ใช้กันเป็นประจำ เพียงแต่วิธีนี้นอกจากต้องแบกรับน้ำหนักและความไม่คล่องตัวในการที่ต้องพกคอมฯ เครื่องที่เราสำรองไฟล์ไว้ไปยังสถานที่ต่าง ๆ แล้ว วิธีนี้ยังมีความเสี่ยงในเรื่องของข้อมูลหายสูงพอ ๆ กับทางเลือก Extranal Drive เลยล่ะครับ เพราะถ้าหากคอมฯ เกิดมีปัญหาขึ้นมา แน่นอนว่าโอกาสเสี่ยงต่อข้อมูลของคุณบนคอมฯ เครื่องนั้นก็สูงตามไปด้วย
แท็กที่เกี่ยวข้อง google google photo
Mobile Guru
เขียนโดย วินระพี นาคสวัสดิ์ Mobile Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)