x
icon-filter ค้นหาคอนโด
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter

คอนโดฯ ลีสโฮลด์ จะซื้ออยู่ หรือ ซื้อลงทุนก็คุ้มทุกทางเลือก

ข่าว icon 29 ก.ค. 63 icon 2,030
คอนโดฯ ลีสโฮลด์ จะซื้ออยู่ หรือ ซื้อลงทุนก็คุ้มทุกทางเลือก


จากข้อมูลของ บริษัท เน็กซัส พร็อพเพอร์ตี้ มาร์เก็ตติ้ง จำกัด เปิดเผยว่า ช่วงโควิด-19 ลูกค้าที่มีความต้องการซื้อคอนโดมิเนียมอยู่แล้ว หันมาตัดสินใจซื้อได้รวดเร็วยิ่งขึ้น เนื่องจากราคาคอนโดมิเนียมปรับตัวลดลงกว่าภาวะปกติ โดยเฉพาะกลุ่มลูกค้าที่ซื้อคอนโดมิเนียมเพื่อการลงทุน ซึ่งส่วนใหญ่มีเกณฑ์ในการเลือกลงทุนที่สำคัญ คือ ราคาต้นทุนห้องที่ไม่สูง สามารถปล่อยเช่าได้เร็ว และมีผลตอบแทนที่ดี ซึ่งคอนโดมิเนียมลีสโฮลด์ในระดับราคาไม่เกิน 5 ล้านบาท เป็นกลุ่มสินค้าที่ลูกค้าสนใจมากที่สุด
วันนี้ เน็กซัสมีข้อมูลเกี่ยวกับการเลือกซื้อคอนโดมิเนียมเพื่อการลงทุนระยะยาวมาฝากเพิ่มเติมด้วย

ก่อนอื่น เราคงต้องมาทำความรู้จักกันก่อนว่าคอนโดมิเนียมแบบลีสโฮลด์ (Leasehold) และคอนโดมิเนียมแบบฟรีโฮลด์ (Freehold) นั้น เหมือนหรือต่างกันอย่างไร
คอนโดมิเนียมแบบลีสโฮลด์ (Leasehold) คือ คอนโดมิเนียมประเภทสิทธิการเช่าที่ถือครองกรรมสิทธิ์ ตามช่วงระยะเวลาที่กำหนด ส่วนคอนโดมิเนียมแบบฟรีโฮลด์ (Freehold) คือ คอนโดมิเนียมประเภทซื้อขาดโดยการครอบครองกรรมสิทธิ์เป็นของผู้ซื้อโดยถาวร โดยคอนโดมิเนียมประเภทลีสโฮลด์ (Leasehold) มักจะตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ CBD อาทิ ราชดำริ ปทุมวัน หลังสวน สีลม สาทร พระราม 4 ซึ่งเมื่อตีวงเฉพาะในย่านนี้จะพบว่าปัจจุบันมีโครงการที่เป็นคอนโดมิเนียมแบบลีสโฮลด์ (Leasehold) ถึง 25 โครงการ โดยปิดการขายไปแล้ว 21 โครงการ และยังคงเหลือขายอยู่เพียง 4 โครงการ เท่านั้น โดยความน่าสนใจที่สุด คือ ระดับราคาขายเฉลี่ยของคอนโดมิเนียมแบบลีสโฮลด์ (Leasehold) ส่วนใหญ่จะถูกกว่าคอนโดมิเนียมแบบฟรีโฮลด์ (Freehold) ถึง 30-40% เนื่องจากสิทธิ์ในการครอบครองมีจำกัด ตามแต่อายุสัญญาที่ผู้พัฒนาโครงการได้รับสิทธิ์จากเจ้าของที่ในการดำเนินการพัฒนาโครงการ
สำหรับคอนโดมิเนียมแบบลีสโฮลด์ (Leasehold) ส่วนใหญ่จะตั้งอยู่ในใจกลางเมือง ซึ่งเป็นทำเลที่มีศักยภาพสูง และมีราคาต่ำกว่าคอนโดมิเนียมแบบฟรีโฮลด์ (Freehold) ทำให้กลุ่มลูกค้าที่ซื้อคอนโดมิเนียมเพื่อลงทุนปล่อยเช่าหันมาให้ความสนใจมากขึ้น เพราะนอกจากจะสามารถปล่อยเช่าห้องได้ทันทีและต่อเนื่องแล้ว ผู้ลงทุนยังได้รับผลตอบแทนที่สูงกว่า โดยพบว่าอัตราผลตอบแทนเฉลี่ยจากการปล่อยเช่าห้องที่เป็นโครงการลีสโฮลด์ (Leasehold) สูงถึง 6.2% ต่อปี
จากข้อมูลที่เน็กซัสได้ทำการเก็บข้อมูลมานั้นพบว่า การปล่อยเช่าคอนโดมิเนียมแบบฟรีโฮลด์ (Freehold) โดยทั่วไปจะให้ผลตอบแทน (Yield) เฉลี่ยอยู่ที่ 4.5% ต่อปี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับทำเลที่ตั้งโครงการด้วย ขณะที่ผลตอบแทนที่ได้จากการปล่อยเช่าคอนโดมิเนียมแบบลีสโฮลด์ (Leasehold) จะเห็นว่าสามารถสร้างผลตอบแทนได้สูงกว่า โดยตัวเลขล่าสุดที่ได้ทำการเก็บข้อมูลมานั้น ได้แก่ โครงการทริปเปิ้ล วาย เรสซิเด้นซ์ (Triple Y Residence) สามารถสร้างผลตอบแทน (Yield) ให้นักลงทุนได้สูงสุดถึง 8.6% ซึ่งหากเปรียบเทียบกับดอกเบี้ยเงินฝากประจำของธนาคารในปัจจุบัน เราจะได้ผลตอบแทนเฉลี่ย (Yield) เพียง 1.2% ต่อปี จะเห็นได้ว่าการลงทุนในคอนโดมิเนียมได้ผลตอบแทนสูงกว่ามาก
โดยทั่วไปการเป็นเจ้าของคอนโดมิเนียมยังมีความปลอดภัยในการลงทุน เนื่องจากสามารถเก็บเป็นทรัพย์สินได้ และผลตอบแทนด้านการลงทุนนั้น ยังได้ในเรื่องของกำไรจากการขายต่อ หรือ Capital Gain ซึ่งเป็นผลตอบแทนที่ผู้ลงทุนจะได้รับเมื่อขายห้องได้ ยกตัวอย่างเช่น โครงการลีสโฮลด์ (Leasehold) บางโครงการบริเวณสามย่าน สามารถลบล้างความเชื่อเรื่องราคาลดลงเมื่อระยะเวลาการเช่าลดลงได้เป็นอย่างดี โดยโครงการเปิดขายในปี 2555 ด้วยราคาขาย 52,000 บาท/ตร.ม. และปัจจุบันราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 82,000 บาท/ตร.ม. ด้วยระยะเวลาเพียง 8 ปี ราคาต่อตารางเมตรเติบโตขึ้นถึง 57% และเมื่อเปรียบเทียบกับโครงการฟรีโฮลด์ (Freehold) ย่านเดียวกัน ที่เปิดขายในระยะเวลาใกล้เคียงกัน ปัจจุบันราคาขายต่อตารางเมตรก็เพิ่มขึ้นถึง 20% โดยราคาคอนโดแต่ละทำเลจะมีราคาเพิ่มขึ้นไปในทิศทางเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็น ฟรีโฮลด์ (Freehold) หรือ ลีสโฮลด์ (Leasehold) แต่สิ่งที่แตกต่างกัน คือ ต้นทุนที่เราลงทุนไป และสิ่งที่ได้คือกลับมานั่นเอง
ดังนั้น จะเห็นได้ว่าการพิจารณาเลือกซื้อคอนโดมิเนียมประเภทลีสโฮลด์ (Leasehold) ถือเป็นทางเลือกที่สามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีให้กับลูกค้าที่ต้องการลงทุนระยะยาว นั่นเอง

สรุปข้อดีของการซื้อคอนโดมิเนียมประเภทลีสโฮลด์ (Leasehold)
1) ราคา ที่ขายให้กับผู้เช่าซื้อนั้นจะถูกกว่าคอนโดมิเนียมแบบฟรีโฮลด์ (Freehold) หมายความว่า บนพื้นที่ใกล้เคียงกัน เช่น หากโครงการที่เราต้องการซื้อเป็นโครงการประเภทลีสโฮลด์ (Leasehold) ซึ่งขายในราคา 3,600,000 บาท อีก 1 โครงการ ที่เป็นฟรีโฮลด์ (Freehold) ข้างๆ อาจจะขายในราคาถึง 6,000,000 บาท เพราะว่าราคาต้นทุนที่ดินที่ต่างกัน โดยเราสามารถนำเงินส่วนต่างอีก 2,400,000 บาท ไปลงทุนประเภทอื่นได้
2) ทำเลที่ตั้งโครงการ สำหรับโครงการที่เป็น ลีสโฮลด์ (Leasehold) จะเป็นโครงการที่อยู่ใน CBD ซึ่งปัจจุบันที่ดินกลางเมืองมีน้อยลงไปทุกวัน ทำให้มั่นใจได้ว่าหากคุณเลือกลงทุนในโครงการลีสโฮลด์ (Leasehold) จะเป็นโครงการที่อยู่ใน Prime location อย่างแท้จริง
3) ฟังก์ชันห้องตอบโจทย์ลูกค้า เนื่องจากต้นทุนไม่สูงทำให้ออกแบบห้องได้กว้างขวาง และมีพื้นที่ใช้สอยมากขึ้นตามไปด้วย ข้อดี คือ หากต้องการปล่อยเช่าก็จะสามารถเรียกราคาค่าเช่าได้สูงกว่าห้องขนาดเล็ก หรือมีโอกาสในการปล่อยเช่าได้มากกว่า หรือ หากอยู่เองก็จะสะดวกสบายเป็นสัดส่วนมากกว่า
4) ผู้ประกอบการ ที่จะได้พัฒนาโครงการบนพื้นที่ ลีสโฮลด์ (Leasehold) นั้นต้องเป็นผู้ประกอบการที่แข็งแกร่ง มีชื่อเสียงมานาน และมีความน่าเชื่อถือ
5) การดูแลหลังการขายโดยผู้ประกอบการเอง ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญเพราะโครงการจะยังคงสวยงาม และได้รับการดูแลอย่างดีตลอดอายุสัญญา
6) ต่างชาติสามารถถือครองได้ 100% เนื่องจากเป็นสิทธิ์การเช่าซื้อ ดังนั้น เมื่อมีการขายต่อไม่ต้องกังวลว่าสิทธิ์ของต่างชาติจะเต็ม

แท็กที่เกี่ยวข้อง

โควิด-19 ข่าวโควิด19 ลงทุนซื้อคอนโด 2563

ข่าวและอีเว้นท์คอนโดล่าสุด




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)