เปรียบเทียบ ใช้สิทธิ "ช้อปดีมีคืน" หรือ "คนละครึ่ง" แบบไหนคุ้มกว่ากัน...ที่นี่มีคำตอบ!

icon 13 พ.ย. 63 icon 5,284
เปรียบเทียบ ใช้สิทธิ "ช้อปดีมีคืน" หรือ "คนละครึ่ง" แบบไหนคุ้มกว่ากัน...ที่นี่มีคำตอบ!

เปรียบเทียบ "ช้อปดีมีคืน" หรือ "คนละครึ่ง" แบบไหนคุ้มกว่ากัน...ที่นี่มีคำตอบ!

จาก 2 โครงการรัฐที่ออกมาเพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายภาคครัวเรือนในช่วงปลายปีนี้ ทั้งช้อปดีมีคืน และคนละครึ่ง ซึ่งออกมาในช่วงเดียวกัน ต่างก็มีข้อดีและความคุ้มค่าในรูปแบบที่แตกต่างกัน โดยสำหรับ โครงการช้อปดีมีคืน มีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นการบริโภคในประเทศ และสามารถลดหย่อนภาษีสูงสุด 30,000 บาท สนับสนุนผู้ประกอบการที่อยู่ในระบบภาษี ส่งเสริมการผลิตสินค้าท้องถิ่น และส่งเสริมการอ่าน ซึ่งโครงการนี้จะเป็นการลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในปีภาษี 2563 สำหรับค่าซื้อสินค้า และบริการ ให้แก่ผู้ประกอบการจดทะเบียนตามจำนวนที่จ่ายจริง (ไม่เกิน 30,000 บาท) ส่วน โครงการคนละครึ่ง เป็นโครงการที่รัฐจะแจกเงิน 3,000 บาท ให้ประชาชนทั่วไป เพื่อให้นำไปใช้จ่ายกระตุ้นเศรษฐกิจ เป็นการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่บุคคลทั่วไป โดยต้องใช้จ่ายตามเงื่อนไขที่กำหนด
และด้วยเงื่อนไขที่เราจะสามารถเลือกใช้ได้แค่คนละ 1 โครงการเท่านั้น และสำหรับมนุษย์เงินเดือนอย่างเรา จะเลือกใช้โครงการไหนดี? วันนี้เราจะมาเทียบกันชัดๆ เลยค่ะ ว่า ระหว่างคนที่เงินเดือน 30,000 บาท กับคนที่เงินเดือน 60,000 บาทจะเลือกใช้โครงการไหนแล้วคุ้มค่ากว่ากัน...
 เปรียบเทียบเงื่อนไขโครงการ "ช้อปดีมีคืน" กับ "คนละครึ่ง"
ก่อนอื่นเรามาเปรียบเทียบเงื่อนไขของโครงการ ช้อปดีมีคืน" กับ "คนละครึ่ง" กันก่อนค่ะ ว่าใครที่สามารถเข้าร่วมโครงการได้บ้าง และมีเงื่อนไขของโครงการเป็นอย่างไร







เช็กเงื่อนไขของแต่ละโครงการแล้ว เราลองมาเปรียบเทียบกันค่ะว่าระหว่างคนที่มีรายได้ 30,000 บาท/เดือน กับ คนที่มีเงินเดือน 60,000 บาท/เดือน เลือกเข้าร่วมโครงการไหนจะคุ้มค่ากว่ากัน 
 คำนวณภาษีที่ต้องเสีย จากเงินได้สุทธิที่ได้รับต่อปี
สำหรับเงื่อนไขโครงการคนละครึ่ง เหมาะกับผู้ที่มีรายได้ไม่ถึงเกณฑ์ต้องเสียภาษี ซึ่งแต่ละคนก็มีรายได้ที่แตกต่างกัน เราจะลองมาคำนวณกันดูค่ะ ว่าระหว่างผู้ที่มีรายได้ต่อเดือน 30,000 บาท กับผู้มีรายได้ต่อเดือน 60,000 บาท จะเลือกใช้โครงการไหนถึงจะคุ้มค่ากว่ากัน โดยในการคำนวณการลดหย่อนภาษีจะคิดจากยอดเงินได้สุทธิต่อปี ซึ่งหักค่าใช้จ่าย และค่าลดหย่อนต่างๆ เรียบร้อยแล้ว ในตัวอย่างจะแสดงการหักลดหย่อนเพียงค่าลดหย่อนส่วนตัว และเงินสมทบกองทุนประกันสังคมเท่านั้น ซึ่งในความเป็นจริงหากเรามีค่าลดหย่อนอื่นๆ เพิ่มเติมก็สามารถนำมาคำนวณเพิ่มเติมได้เลยค่ะ 

หมายเหตุ : 
  1. เงินได้สุทธิ หมายถึง จำนวนเงินได้พึงประเมินหลังจากหักค่าใช้จ่าย และค่าลดหย่อนแล้ว และจะต้องนำไปคำนวณเพื่อเสียภาษี (เงินได้สุทธิ = เงินได้พึงประเมินตลอดทั้งปี - ค่าใช้จ่าย - ค่าลดหย่อน)
  2. อัตราภาษีที่เราต้องจ่าย เป็นอัตราภาษีแบบก้าวหน้า คือ จ่ายมากขึ้นตามยอดรายได้ที่เพิ่มขึ้น
  3. ทั้งนี้ในกรณีของเงินสมทบกองทุนประกันสังคมในช่วงโควิด-19 ที่ทางรัฐบาลประกาศลดยอดที่ต้องจ่ายลงโดย
  • จ่าย 750 บาท/เดือน จำนวน 6 เดือน คือ มกราคม, กุมภาพันธ์, มิถุนายน, กรกฎาคม, สิงหาคม และธันวาคม 
  • จ่าย 150 บาท/เดือน จำนวน 3 เดือน คือ มีนาคม, เมษายน และพฤษภาคม 
  • จ่าย 300 บาท/เดือน จำนวน 3 เดือน คือ กันยายน, ตุลาคม และพฤศจิกายน
    *ดังนั้น ยอดที่ต้องจ่ายสมทบกองทุนประกันสังคมต่อปี คิดเป็น 5,850 บาท (สำหรับยอดปี 2563)
จากข้อมูลตัวอย่าง ทั้งผู้มีรายได้ 30,000 บาท/เดือน และผู้มีรายได้ 60,000 บาท/เดือน ต้องเสียภาษีทั้ง 2 คนค่ะ แต่ถ้าทั้ง 2 คนจะเลือกเข้าร่วมโครงการช้อปดีมีคืน หรือคนละครึ่ง เลือกโครงการไหนจะคุ้มค่ากว่ากัน เรามาหาคำตอบไปพร้อมกันเลยค่ะ
 อัตราภาษี และสิทธิประโยชน์ที่จะได้รับ จากการเข้าร่วมโครงการ

กรณีเข้าร่วมโครงการช้อปดีมีคืน

สำหรับการเข้าร่วมโครงการช้อปดีมีคืน เราจะได้รับเงินคืนภาษีสูงสุดตามรายได้สุทธิต่อปีที่เราได้รับ โดยแบ่งเป็นลำดับ ดังนี้ค่ะ 

กรณีเข้าร่วมโครงการคนละครึ่ง

สำหรับการเข้าร่วมโครงการคนละครึ่ง หากเราเข้าเงื่อนไข และลงทะเบียนเรียบร้อยแล้ว เราจะได้รับเงินช่วยเหลือจากรัฐบาลสูงสุด 3,000 บาทตลอดอายุโครงการ โดยรัฐบาลจะช่วยจ่ายค่าอาหาร และเครื่องดื่ม จากร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการ คนละครึ่งกับเราค่ะ 
ในการใช้จ่าย เราจะได้รับเงินเข้ากระเป๋าเงิน G-Wallet วันละ 150 บาท รวมกับเงินที่เราต้องเติมเข้าใน G-Wallet ด้วย เราจะสามารถใช้จ่ายได้สูงสุด 300 บาทต่อวัน เช่น หากเราซื้ออาหารราคา 100 บาทจากร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการ เราสามารถจ่ายเงินผ่านแอปเป๋าตังค์ โดยร้านค้าจะหักยอดเงินเพียงครึ่งเดียว คือ 50 บาท ซึ่งหากเราใช้ไม่หมดก็จะทบคืนให้ใช้ต่อได้ในวันถัดไป และสามารถใช้ได้จนจบโครงการวันที่ 31 ธันวาคม 2563 นะคะ (รายละเอียดเพิ่มเติมโครงการคนละครึ่ง)
 สรุป... เลือกเข้าร่วมโครงการไหนคุ้มค่ากว่า
สรุปความคุ้มค่า และสิทธิประโยชน์สูงสุดที่จะได้รับจากโครงการช้อปดีมีคืน และโครงการคนละครึ่ง เมื่อใช้จ่ายตามเงื่อนไขที่กำหนด 

กรณีผู้มีรายได้ 30,000 บาท/เดือน (รายได้สุทธิต่อปี 194,150 บาท) : 

หากเลือกเข้าร่วมโครงการช้อปดีมีคืน จะได้รับเงินคืนภาษีสูงสุด 1,500 บาท ซึ่งต้องซื้อสินค้า 30,000 บาท ถึงจะได้รับเงินคืนภาษีที่ 1,500 บาทค่ะ แสดงให้เห็นว่าในกรณีตัวอย่างนี้ผู้มีรายได้ 30,000 บาท/เดือน เลือกเข้าโครงการคนละครึ่งจะคุ้มค่ากว่าค่ะ เพราะจะได้รับเงินช่วยเหลือจากรัฐบาลสูงสุดที่ 3,000 บาท

กรณีผู้มีรายได้ 60,000 บาท/เดือน (รายได้สุทธิต่อปี 554,150 บาท) : 

หากเลือกเข้าร่วมโครงการช้อปดีมีคืน จะได้รับเงินคืนภาษีสูงสุด 4,500 บาท โดยต้องซื้อสินค้า 30,000 บาท ถึงจะได้รับเงินคืนภาษีสูงสุดที่ 4,500 บาท แต่หากเข้าร่วมโครงการคนละครึ่ง จะได้รับเงินช่วยเหลือจากรัฐบาลสูงสุดที่ 3,000 บาท ซึ่งหากเปรียบเทียบจากยอดเงินที่จะได้รับแล้ว กรณีผู้มีรายได้ต่อเดือน 60,000 บาท เลือกเข้าร่วมโครงการช้อปดีมีคืนจะคุ้มค่ากว่าค่ะ 
แต่ทั้งนี้หากเราไม่ได้มีแผนที่จะซื้อสินค้าที่มีราคาสูง หรือไม่ได้มีความจำเป็นที่จะต้องจับจ่ายใช้สอยอะไรมากถึง 30,000 บาท เราก็จะได้รับสิทธิลดหย่อนภาษีตามที่เราใช้จ่ายไปจริงๆ ค่ะ ดังนั้นการจะวัดความคุ้มค่าของสิทธิประโยชน์ที่จะได้รับจากทั้ง 2 โครงการนี้ เราต้องตอบตัวเองให้ได้ก่อนว่าเราจำเป็นมากน้อยแค่ไหนที่จะซื้อของต่างๆ เพื่อรับสิทธิประโยชน์เหล่านั้น เพราะในโครงการช้อปดีมีคืน เราต้องใช้เงินเพื่อซื้อสินค้าถึง 30,000 บาท เพื่อได้รับสิทธิ์คืนภาษีตามที่ระบุไว้ (เคลียร์ให้ชัด! ก่อนช้อป มาตรการ "ช้อปดีมีคืน") และสำหรับโครงการคนละครึ่ง เราก็ต้องใช้สิทธิ์ซื้ออาหาร และเครื่องดื่ม สูงสุด 3,000 บาท รัฐบาลก็ช่วยเราจ่าย 3,000 บาท โดยจะกระจายยอดให้ใช้ได้เป็นรายวันไป ตามเงื่อนไขของโครงการ 
เห็นแบบนี้แล้ว ก่อนที่จะตัดสินใจเข้าร่วมโครงการไหนก็ลองมาคำนวณรายได้ และดูอัตราภาษีที่ต้องเสียกันจริงๆ ก่อน ก็จะช่วยให้เราตัดสินใจได้ง่ายขึ้นนะคะ แต่ยังไงก็ตามด้วยภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ การใช้จ่ายก็ควรใช้แต่พอดี เลือกใช้จ่ายเท่าที่จำเป็นก็พอนะคะ :)
แท็กที่เกี่ยวข้อง ลดหย่อนภาษี คนละครึ่ง ช้อปดีมีคืน ลดหย่อนภาษี 2563
Money Guru
เขียนโดย เช็คราคา.คอม Money Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่



เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)