รู้ยัง! ฟรีแลนซ์ก็มีบำนาญ

icon 15 ก.ย. 60 icon 5,833
รู้ยัง! ฟรีแลนซ์ก็มีบำนาญ

รู้ยัง! ฟรีแลนซ์ก็มีบำนาญ

ใครๆ ก็อยากมีอิสระในการทำงาน...จริงมั๊ยคะ? และด้วยความอยากมีอิสระในการทำงานทำให้งาน "ฟรีแลนซ์" กลายเป็นงานที่หลายคนใฝ่ฝัน แต่ก็ยังรั้งรอที่จะตัดสินใจทำ ด้วยเหตุผลที่ว่า ตอนนี้มีแรงก็ทำงานหาเงินกันไป แต่หากหาได้ไม่มากพอล่ะ เมื่อสูงวัยแล้วจะเอาเงินจากที่ไหนมาใช้จ่าย บำเหน็จบำนาญก็ไม่มี สวัสดิการอะไรก็ไม่มี วันนี้เช็คราคาเอาข่าวดีฝากค่ะ...เพียงคุณทำการออมผ่าน "กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.)" คุณก็จะสามารถมีเงินบำนาญได้เหมือนกับข้าราชการกันเลยนะคะ ว่าแต่...กอช. คืออะไร และต้องทำอย่างไรบ้าง ไปดูกันค่ะ

กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) คืออะไร 

กอช. หรือกองทุนการออมแห่งชาติ คือ กองทุนบำนาญสำหรับคนไทยที่มีอาชีพอิสระ ซึ่งก็คือ ผู้ที่อยู่ในกลุ่มแรงงานนอกระบบ ไม่มีนายจ้าง โดย กอช. ถูกจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายพระราชบัญญัติกองทุนการออมแห่งชาติ พ.ศ.2554 เพื่อให้สิทธิแก่ผู้มีอาชีพอิสระในการออมเงิน แล้วรับผลประโยชน์ตอบแทนโดยรัฐจ่ายเงินสมทบให้ และยังได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนพร้อมกับสิทธิที่จะได้รับบำนาญเมื่อเกษียณอายุ

ใครสามารถเป็นสมาชิกกองทุนได้บ้าง?


ประโยชน์ที่จะได้รับจากการเป็นสมาชิก กอช.

1. ได้รับผลประโยชน์ตอบแทนของเงินออม 2 ลักษณะ คือ เงินสมทบจากรัฐบาล และผลตอบแทนจากการลงทุน ซึ่งรวมกันแล้วไม่ต่ำกว่าร้อยละ 4 - 9 โดยคำนวณจากฐานเงินออม 13,200 บาทต่อปี
2. รัฐบาลมีการค้ำประกันดอกผล หรือผลตอบแทนจากการลงทุน หมายความว่า การออมเงินกับ กอช. ไม่มีความเสี่ยงที่จะขาดทุนเงินต้น เพราะสมาชิกจะได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนไม่ต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 12 เดือน เฉลี่ย 5 ธนาคารขนาดใหญ่
3. มีสิทธิได้รับบำนาญตลอดชีวิตเมื่อเกษียณอายุ ถ้าสมาชิกมีจำนวนเงินออมเพียงพอตามหลักเกณฑ์การคำนวณบำนาญ
4. ออมสบาย ไม่ผูกมัด เพราะสมาชิกสามารถส่งเงินออมได้ตามที่สะดวกไม่มีข้อกำหนดว่าจะต้องส่งทุกเดือน และยอดเงินออมที่ส่งแต่ละครั้งจะเท่ากัน หรือไม่เท่ากันก็ได้

วิธีการออม และสิทธิการได้รับเงินสมทบจากรัฐบาล


การออมเงินผ่านกองทุนการออมแห่งชาติ หรือ กอช. สมาชิกสามารถส่งเงินสะสมได้ตั้งแต่งวดแรกที่สมัคร โดยออมตั้งแต่เดือนละ 50 และไม่เกิน 13,200 บาทต่อปี โดยที่สมาชิกไม่จำเป็นต้องส่งเงินเข้ากองทุนเท่ากันทุกเดือน และรัฐบาลจะจ่ายเงินสมทบให้ทุกเดือนตามจำนวนที่สมาชิกท่านนั้นออม หากเดือนไหนไม่มีการออม เดือนนั้นรัฐบาลก็จะไม่สมทบให้ 

ตัวอย่างการออม


สำหรับวิธีการคำนวณหายอดเงินรายเดือนที่จะจ่ายคืนสมาชิก อ้างอิงจากสมมติฐานที่ว่า คนไทยมีอายุขัยเฉลี่ยหลังเกษียณเป็นระยะเวลา 20 ปี (240 เดือน) และจะมีการคำนวณละเอียดโดยสูตรทางคณิตศาสตร์ ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้จากตัวอย่างข้างต้นเป็นการทดลองคำนวณโดยแทนค่าอัตราผลตอบแทนสะสมจากการลงทุนเป็นอัตราสมมติ เท่ากับร้อยละ 3.5 ซึ่งในความเป็นจริงแล้วสมาชิกจะได้รับผลตอบแทนเท่าไหร่จะขึ้นกับอัตราผลตอบแทนสะสม ณ วันที่สมาชิกขอรับเงินคืนจากกองทุน
บำนาญตลอดชีพ คือ เงินที่ กอช. จ่ายคืนให้สมาชิกเมื่อเกษียณอายุ เป็นประจำทุกเดือนจนกว่าจะเสียชีวิต ซึ่งสมาชิกจะมีสิทธิได้รับเงินบำนาญตลอดชีพก็ต่อเมื่อคำนวณเงินรายเดือนแล้วได้ผลลัพธ์ไม่น้อยกว่า 600 บาทต่อเดือน และได้รับบำนาญนั้นตามจำนวณผลลัพธ์ที่คำนวณได้
เงินดำรงชีพ คือ เงินที่ กอช. จ่ายคืนให้สมาชิกเงื่อเกษียณอายุ โดยจ่ายเป็นประจำทุกเดือน เดือนละ 600 บาท จนกว่าจะครบตามจำนวนเงินที่ออมทั้งหมดที่สมาชิกมีอยู่ในกองทุน (ไม่ได้จ่ายให้จนกว่าจะเสียชีวิต) เพราะเมื่อคำนวณเงินรายเดือนแล้วได้ผลลัพธ์น้อยกว่า 600 บาทต่อเดือน

ออมได้ที่ไหน?

สำหรับใครที่สนใจสามารถสมัครสมาชิก สามารถสมัครได้ด้วยตนเอง พร้อมหลักฐานการสมัครเป็นบัตรประชาชน และสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารใดก็ได้ที่เราสะดวก โดยสมัคร และทำการออมผ่านธนาคารของรัฐ 3 แห่ง คือ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารออมสิน และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ตามเวลาทำการของสาขาธนาคารได้เลยนะคะ


เป็นยังไงคะพนักงานฟรีแลนซ์ และพนักงานประจำที่อยากเป็นฟรีแลนซ์ ไม่ยากเลยใช่มั๊ยที่จะมีเงินใช้ยามเกษียณ เพราะเงินที่คุณหามาได้เราก็เก็บออมไว้ในส่วนของคุณ และออมเพิ่มในส่วนของ กอช. คุณก็จะได้รับเงินสมทบจากรัฐบาลเพิ่มขึ้นอีก จำนวนเงินอาจจะไม่สูงมากนัก แต่อย่างน้อยก็พอทำให้คลายกังวลได้นะคะ ขั้นต่อไปก็อยู่ที่ตัวคุณแล้วล่ะค่ะ ว่า "คุณ!...พร้อมที่จะออกจาก Comfort Zone แล้วหรือยัง?" เราเป็นกำลังใจให้นะคะ :)
แท็กที่เกี่ยวข้อง บำนาญ กองทุนการออมแห่งชาติ กอช. ฟรีแลนซ์ อาชีพอิสระ บำเหน็จบำนาญ เงินกองทุน
Money Guru
เขียนโดย เช็คราคา.คอม Money Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่



เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)