มนุษย์เงินเดือน "ลงทุนคอนโด" ได้...แต่อย่าโลภ!!

icon 7 มี.ค. 59 icon 8,617
มนุษย์เงินเดือน "ลงทุนคอนโด" ได้...แต่อย่าโลภ!!

มนุษย์เงินเดือน "ลงทุนคอนโด" ได้...แต่อย่าโลภ!!

"มนุษย์เงินเดือน" จะได้รับค่าจ้างเป็นรายเดือน ดังนั้น การจะนำเงินที่ได้รับมาไปลงทุนในอสังหาริมทรัพย์มีเรื่องที่ควรต้องคำนึงถึงพอสมควร เช่น ความสามารถในการผ่อนดาวน์ หรือว่าผ่อนเงินกู้ธนาคาร ความสามารถในการขอเงินกู้จากทางธนาคาร เงินคงเหลือสุทธิหลังจากที่หักค่าใช้จ่ายอื่นๆ รวมทั้งเงินผ่อนอสังหาริมทรัพย์แล้วจะต้องเพียงพอต่อการใช้ชีวิต เป็นต้น คนกลุ่มนี้มีโอกาสในการลงทุนอสังหาริมทรัพย์ค่อนข้างมาก เพราะว่าเงินเดือนที่ได้รับมานั้นเป็นการรับผ่านระบบธนาคารเกือบทั้งหมด จึงทำให้มีหลักฐานการรับเงินเป็นรายเดือนที่แน่นอน การขอสินเชื่อก็ดูจะผ่านด่านได้ไม่ยาก

6 เรื่องต้องระวังของมนุษย์เงินเดือนที่ต้องการลงทุนในอสังหาฯ

1. ต้องคิดเสมอว่าอสังหาริมทรัพย์นั้นเป็นการซื้อเพื่ออยู่อาศัยเอง เพราะหากการลงทุนไม่เป็นไปตามที่เราตั้งใจไว้ เราจะได้นำมาใช้ประโยชน์ด้วยการอยู่อาศัยได้ด้วยความสุข
2. อย่าโลภมากเกินไป ด้วยการลงทุนซื้ออสังหาริมทรัพย์เป็นจำนวนมากเกินไป เพราะนั่นอาจทำให้เรามีหนี้สินมากเกินความจำเป็น และตกที่นั่งลำบากในยามที่เศรษฐกิจตกต่ำ
3. ต้องมั่นใจว่ามีศักยภาพและความพร้อมในการโอนกรรมสิทธิ์อสังหาริมทรัพย์มาเป็นของตัวเอง เมื่อเลือกแล้วเราต้องมั่นใจว่าจะไม่ถูกหลอกลวงจากพวกมิจฉาชีพ
4. ไม่ได้ลงทุนเพื่อหวังเก็งกำไรใบจอง ซึ่งการเก็งกำไรจากใบจองเพียงอย่างเดียวอาจส่งผลทำให้เราต้องมีหนี้สินเพิ่มมหาศาล
5. ขยันหาข้อมูลก่อนจะตัดสินใจลงทุน เพื่อทำความเข้าใจในการลงทุน และตัวอสังหาริมทรัพย์เองอย่างลึกซึ้ง คนที่รู้มักมีชัยมากกว่าคนไม่รู้นะคะ
6. อย่าไปเชื่อหรือฟังคนอื่นมากเกินไป ต้องไม่ทำตัวเป็นคนหูเบา เพราะการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์นี้เป็นการลงทุนด้วยเงินก้อนโต เพราะถ้าผิดพลาดขึ้นมา ชีวิตเราก็จบด้วยเช่นกัน
ก่อนจะลงทุนจึงจำเป็นต้องศึกษาข้อมูลโครงการที่สนใจและโครงการอื่นๆ เพื่อเปรียบเทียบ รวมทั้งหาข้อมูลมาเพื่อเปรียบเทียบกับสิ่งที่พนักงานขายบอกเราด้วย รวมทั้งดูว่าโครงการอื่นๆขายได้เป็นอย่างไร เพื่อจะได้รู้ว่าแถวนั้นมีความต้องการคอนโดมิเนียมมากแค่ไหน ข้อมูลข้างต้นดังกล่าวถือว่าสำคัญสำหรับคนที่ต้องการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์เพื่อไม่ให้เรามีภาระเพิ่มมากเกินกว่าจะรับได้ในอนาคต
แท็กที่เกี่ยวข้อง
Money Guru
เขียนโดย เช็คราคา.คอม Money Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่



เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)