7 ประเภทการออมอย่างชาญฉลาด ... ที่ไม่ต้องเสียภาษี!

icon 24 ก.ค. 60 icon 98,342
7 ประเภทการออมอย่างชาญฉลาด ... ที่ไม่ต้องเสียภาษี!

7 ประเภทการออมอย่างชาญฉลาด ... ที่ไม่ต้องเสียภาษี!
เพื่อนๆ หลายคนคงมีปัญหากับการออม ที่เมื่อออมแล้วยังจะต้องเสียภาษี ทั้งๆ ที่ดอกเบี้ยหรือเงินปันผลก็น้อยอยู่แล้ว แต่เดี๋ยวก่อน! ทุกคนรู้หรือไม่คะว่า ภาษีเงินได้จากการออมบางประเภทเราสามารถหลีกเลี่ยงการจ่ายภาษีได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย วันนี้เราจึงนำประเภทการออม โดยไม่ต้องเสียภาษีเลยสักบาท มาฝากเพื่อนๆ ชาว CheckRaka กันค่ะ ซึ่งเราจะขอจำแนกประเภทการออมเหล่านี้เป็น "7 ประเภทการออมอย่างชาญฉลาด...ที่ไม่ต้องเสียภาษี!" ดังนี้
การออมประเภทที่ 1 : เงินฝากเผื่อเรียก (สลากออมทรัพย์) จากธนาคารออมสิน และ ธกส.

เงินฝากเผื่อเรียก หรือที่เรียกกันว่า "สลากออมทรัพย์" เป็นการออมเงินที่เหมือนการฝากเงินกับธนาคาร โดยผู้ซื้อสลากนั้นจะได้รับดอกเบี้ยในอัตราที่ธนาคารกำหนด แต่จะได้รับสิทธิประโยชน์พิเศษที่มากกว่าเงินฝากธนาคารทั่วไป โดยผู้ซื้อสลากจะได้รับสิทธิ์ในการลุ้นรางวัลทุกเดือนหรือทุกงวดจนกว่าจะครบกำหนดอายุของสลากนั้นๆ โดยตามกฎหมาย (มาตรา 42(8)(ก) และ (11) แห่งประมวลรัษฎากร) ได้ระบุไว้ว่า "ดอกเบี้ยสลากออมสิน หรือดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ของรัฐบาลเฉพาะประเภทฝากเผื่อเรียก" และ "รางวัลบัตรออมทรัพย์ของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร" ได้รับสิทธิ์ยกเว้นภาษีนะคะ
การออมประเภทที่ 2 : ฝากเงินกับสหกรณ์ออมทรัพย์

"สหกรณ์" เป็นคณะบุคคลร่วมกันดำเนินกิจการเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคม โดยช่วยเหลือตนเองและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน แต่ก่อนที่เราจะฝากเงินกับสหกรณ์ได้นั้น เราจะต้องเป็นสมาชิกของสหกรณ์นั้นๆ ก่อน (ตามเงื่อนไขและจุดประสงค์ของแต่ละสหกรณ์) โดยผลตอบแทนที่ได้จากสหกรณ์จะมีทั้งในรูปแบบของ "เงินปันผล" และ "ดอกเบี้ยเงินฝาก(ออมทรัพย์)" ซึ่งผลตอบแทนทั้ง 2 รูปแบบนี้จะสูงกว่าดอกเบี้ยจากธนาคารพาณิชย์ทั่วไป แถมยังได้รับการยกเว้นภาษีตามกฎหมาย (มาตรา 42 (8)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และพระราชกฤษฎีกาฉบับที่ 40) อีกด้วยนะคะ
การออมประเภทที่ 3 : เงินฝากประจำระยะเวลาตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป สำหรับผู้มีอายุ 55 ปีบริบูรณ์
คุณสมบัติของเงินฝากประจำของธนาคารพาณิชย์ทั่วไปที่จะได้รับยกเว้นภาษีตามกฎหมาย (มาตรา 50(2) และมาตรา 56 แห่งประมวลรัษฎากร) นั้น จะต้องเป็นดอกเบี้ยเงินฝากประจำที่มีระยะเวลาการฝากตั้งแต่ 1 ปี (12 เดือน) ขึ้นไป และเมื่อรวมกับดอกเบี้ยเงินฝากประจำทุกประเภทรวมกันแล้วต้องมีจำนวนทั้งสิ้นไม่เกิน 30,000 บาทตลอดปีภาษีนั้น และผู้ฝากเงินดังกล่าวจะต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 55 ปีบริบูรณ์ โดยนับตามวัน เดือน ปีเกิดของผู้ฝาก
การออมประเภทที่ 4 : การฝากเงินในบัญชีออมทรัพย์ โดยดอกเบี้ยต้องไม่เกิน 20,000 บาท
เงินฝากประเภทออมทรัพย์ที่จะได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ต้องเป็นออมทรัพย์ที่ไม่ใช้เช็คในการถอน ไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อม ผ่านระบบการหักหรือโอนเงินจากบัญชีออมทรัพย์นี้ไปยังบัญชีเงินฝากกระแสรายวันหรือบัญชีเงินฝากอื่นใด และจะต้องมีจำนวนดอกเบี้ยรวมกันทุกบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ของทุกธนาคารทั้งสิ้นไม่เกิน 20,000 บาท ตลอดปีภาษีนั้น
การออมประเภทที่ 5 : เงินฝากประจำปลอดภาษี
"เงินฝากปลอดภาษี" เป็นการฝากเงินรายเดือนติดต่อกันมีระยะเวลาไม่น้อยกว่า 24 เดือนนับแต่วันที่เริ่มฝาก โดยยอดเงินฝากแต่ละครั้งต้องมีจำนวนเท่ากันทุกเดือน และยอดเงินที่ฝากในแต่ละครั้งจะต้องไม่เกิน 25,000 บาทต่อเดือน ซึ่งรวมทั้งหมดแล้วต้องไม่เกิน 600,000 บาท ทั้งนี้ ดอกเบี้ยของเงินฝากดังกล่าวจะได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แต่ข้อจำกัดของบัญชีประเภทนี้ที่สำคัญที่สุด คือสามารถเปิดได้คนละ 1 บัญชีเท่านั้นนะคะ (รวมทุกธนาคาร) ห้ามขี้โกงเด็ดขาด ไม่เช่นนั้น คุณจะไม่ได้รับสิทธิ์ยกเว้นภาษีแน่นอน!

การออมประเภทที่ 6 : ลงทุนในกองทุนรวมที่ไม่มีนโยบายจ่ายเงินปันผล

เงินได้จากการขายหน่วยลงทุนในกองทุนรวมประเภทนี้ จะได้รับสิทธิ์ยกเว้นภาษี เนื่องจากเงินปันผลของกองทุนรวมต่างๆ นั้น จะถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ 10% (มาตรา 48(3) วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร) ไว้แล้วซึ่งถือเป็นสิทธิพิเศษสำหรับเงินได้ประเภทนี้ที่จะเลือกเสียภาษีในอัตราที่ถูกหักไว้ (Final TAX) โดยไม่ต้องนำไปคำนวนเป็นเงินได้เมื่อยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ทั้งนี้ การเลือกลงทุนในกองทุนแต่ละกองจะต้องพิจารณาหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขหลายๆ ปัจจัยประกอบกันนะคะ
การออมประเภทที่ 7 : ลงทุนในกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure Fund)

กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน หรือ Infrastructure Fund คือ กองทุนรวมประเภทหนึ่งที่ตั้งขึ้นเพื่อระดมทุนจากผู้ลงทุนเพื่อนำไปใช้พัฒนากิจการโครงสร้างพื้นฐานเพื่อสาธารณประโยชน์ของประเทศ ไม่ว่าจะเป็นโครงการของรัฐหรือเอกชน เช่น ไฟฟ้า ประปา ถนน ทางพิเศษ ทางสัมปทาน ท่าอากาศยาน ท่าเรือน้ำลึก โทรคมนาคม รถไฟฟ้า รถไฟฟ้าใต้ดิน เป็นต้น โดยกองทุนรวมที่จัดตั้งต้องระบุเฉพาะเจาะจงว่าจะนำเงินไปลงทุนในกิจการโครงสร้างพื้นฐานประเภทใด ซึ่งกองทุนดังกล่าวถูกกำหนดให้บุคคลธรรมดาได้รับสิทธิ์ยกเว้นสำหรับเงินปันผลที่ได้จากกองทุนรวมนี้ เป็นเวลา 10 ปีภาษีต่อเนื่องกันนับแต่ปีภาษีที่มีการจดทะเบียนจัดตั้งกองทุนรวม นอกจากนี้แล้วกำไรที่ได้จากการขายหลักทรัพย์ก็ยังได้รับสิทธิ์ยกเว้นภาษีอีกด้วยเช่นกัน

จากที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ถือได้ว่าเป็น 7 ทางเลือกในการออมแบบชาญฉลาด ที่จะทำให้เพื่อนๆ ได้มีเงินออมแบบปราศจากภาษีได้อย่างไม่ต้องกังวล แต่ในทางกลับกัน จาก 7 ทางเลือกที่กล่าวมานี้เช่นกัน จะเห็นได้ว่าผลตอบแทนของการออมแต่ละประเภทก็จะมีทั้งสูงและต่ำแตกต่างกันไป มีทั้งความเสี่ยงจากการลงทุนในกองทุน และผลตอบแทนจากดอกเบี้ยเงินฝาก ดังนั้น ก่อนการตัดสินใจทุกครั้ง เพื่อนๆ อย่าลืมศึกษาหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขการออมจากทุกสถาบันการเงินที่เราเลือกให้เข้าใจ โดยนำปัจจัยเรื่อง "ไม่เสียภาษี" ที่เรานำเสนอนี้มาเป็นข้อมูลในการช่วยตัดสินใจนะคะ
แท็กที่เกี่ยวข้อง การออม
Money Guru
เขียนโดย เช็คราคา.คอม Money Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่



เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)