รู้หรือไม่... เงินฝากเราได้รับความคุ้มครองแค่ไหน?

icon 6 ก.ย. 59 icon 102,913
รู้หรือไม่... เงินฝากเราได้รับความคุ้มครองแค่ไหน?

รู้หรือไม่... เงินฝากเราได้รับความคุ้มครองแค่ไหน?
ทุกวันนี้ เวลาเราฝากเงินกับธนาคาร แล้วถ้าต่อมาธนาคารนั้นถูกปิด หรือโดนถอนใบอนุญาตขึ้นมา ไม่ได้หมายความว่าเราจะได้รับเงินฝากคืนทั้งหมดนะคะ วันนี้ CheckRaka.com จะมาอธิบายแบบง่ายๆ ให้พวกเราดูกันค่ะว่า ถ้าธนาคารเรามีปัญหา เราจะได้คืนเต็มจำนวนหรือเปล่า และมีเงื่อนไขอะไรบ้าง
คนฝากเงินเป็น "เจ้าหนี้" ธนาคารเสมอ
ต้องอธิบายเบื้องต้นก่อนว่า โดยหลักการนั้น การฝากเงินกับธนาคารจะทำให้เรามีสถานะเป็น "เจ้าหนี้" ธนาคาร ดังนั้น ไม่ว่าธนาคารจะมีปัญหา ล้มละลาย ถูกเพิกถอนใบอนุญาต ไม่มีปัญหาเลย หรือสถานะดียังไงก็ตาม ธนาคารก็มีหนี้ต่อเราที่จะต้องจ่ายคืนเงินฝากให้เราทั้งเงินต้น และดอกเบี้ยทุกจำนวนเสมอ
สถาบันคุ้มครองเงินฝาก
ตั้งแต่ปี 2551 ที่ผ่านมา บ้านเรามีการตั้ง "สถาบันคุ้มครองเงินฝาก" (Deposit Protection Agency) ขึ้นมาภายใต้ พรบ. สถาบันคุ้มครองเงินฝาก พศ. 2551 โดยมีวัตถุประสงค์หลักๆ เพื่อลดภาระทางการคลังของรัฐบาล และเพื่อให้สถาบันการเงินแข่งขันกันในแง่ความมั่นคงกับผู้ฝากเงินมากกว่าการแข่งขันกันในเรื่องของแถมแจกโน่นฟรีนี่ แต่การคุ้มครองก็มีข้อจำกัดหลายอย่าง เช่น ไม่ครอบคลุมธนาคารรัฐ และจำนวนที่คุ้มครองจะเป็นจำนวนจำกัด สาเหตุที่ไม่คุ้มครอง 100% เพราะในแง่เศรษฐศาสตร์ หากคุ้มครอง 100% ทุกกรณี จะเกิดสภาวะที่ผู้ฝากเงินจะเล่นกับความเสี่ยงฝากเงินกับธนาคารที่ให้ดอกเบี้ยสูงๆ โดยไม่สนใจใดๆ ทั้งสิ้น เพราะรู้ว่าในท้ายที่สุดจะมีคนเข้ามาแบกรับภาระเงินฝากตรงนี้ให้ในทุกกรณี (ทฤษฎีนี้เมืองนอกเรียกกันง่ายๆ ว่า "Moral Hazard")

เราจะได้คืนหรือไม่ และแค่ไหน?

ทีนี้ ถ้าสมมติเราฝากเงินกับสถาบันการเงินแล้ว พอครบกำหนดเงินฝาก สถาบันการเงินนั้นไม่มีปัญหา ก็จะสามารถคืนเงินให้เราได้เต็มจำนวน แต่ถ้าสถาบันการเงินนั้นเกิดโดนเพิกถอนใบอนุญาต ปิดกิจการ หรือล้มละลายระหว่างทางขึ้นมาก่อนเงินฝากเราครบกำหนด เราจะได้การคุ้มครอง หรือค้ำประกันโดยสถาบันคุ้มครองเงินฝากแค่ไหน ก็ขึ้นอยู่กับปัจจัย 3 อย่างคือ
1. ฝากกับใคร?
ประเภท
สถาบันการเงิน
 ขอบเขตความคุ้มครอง
ธนาคารรัฐ พรบ. สถาบันคุ้มครองเงินฝากจะไม่ครอบคลุมธนาคารรัฐ (ซึ่งหลักๆ ก็มีธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย) ซึ่งหมายถึงว่าสถาบันคุ้มครองเงินฝากจะไม่รับผิดชอบเงินฝากของประชาชนถ้าธนาคารรัฐเหล่านี้ปิดกิจการ หรือล้มละลาย แต่คำถามที่สำคัญที่สุดในเรื่องนี้ก็คือ แล้วรัฐบาลจะเข้ามารับผิดชอบเงินฝากของประชาชนที่ฝากไว้กับธนาคารรัฐเหล่านี้หรือไม่? คำถามนี้ดูจะมีความไม่ชัดเจนอยู่บ้าง ฝ่ายรัฐบาลก็บอกว่าจะรับผิดชอบหมดเพราะถือว่าเป็นธนาคารของรัฐ แต่ก็มีเอกชนหลายๆ ท่านได้แสดงความเห็นแตกต่าง และยังมีข้อสงสัยกันอยู่

แต่ในระหว่างธนาคารรัฐด้วยกันเองนั้น สิ่งหนึ่งที่ธนาคารออมสินแตกต่างจากธนาคารรัฐอื่นๆ ในแง่กฎหมายก็คือในตัวกฎหมายจัดตั้งธนาคารออมสิน (คือพรบ.ธนาคารออมสิน (มาตรา 21)) มีการระบุไว้ชัดเจนว่า รัฐบาลไทยจะค้ำประกันเงินฝากของธนาคารออมสิน ในขณะที่กฎหมายจัดตั้งของธนาคารรัฐอื่นไม่มีการเขียนเรื่องการค้ำประกันโดยรัฐบาลไว้อย่างชัดเจนแบบของธนาคารออมสินนี้
ธนาคาร และสถาบันการเงินเอกชนทั่วไป กรณีนี้ พรบ.สถาบันคุ้มครองเงินฝากจะเข้ามามีบทบาท ซึ่งหมายถึงว่าเงินฝากกับสถาบันการเงินเอกชนตามรายชื่อข้างล่างนี้ จะได้รับความคุ้มครองโดยหน่วยงานของรัฐที่เรียกว่า "สถาบันคุ้มครองเงินฝาก" แต่ทั้งนี้ต้องดูรูปแบบ หรือตราสารเงินฝาก และจำนวนที่จะได้รับความคุ้มครองในข้อ (ข) และ (ค) ข้างล่างนี้ต่อไปด้วย
รายชื่อสถาบันการเงินที่ได้รับความคุ้มครอง
ธนาคารพาณิชย์
  1. ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BBL)
  2. ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) (KTB)
  3. ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) (Krungsri)
  4. ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) (KBANK)
  5. ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) (TMB)
  6. ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน) (CIMB)
  7. ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) (SCB)
  8. ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) จำกัด (มหาชน) (SCBT)
  9. ธนาคารยูโอบี จำกัด (มหาชน) (UOB)
  10. ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน) (TBANK)
  11. ธนาคารทิสโก้ จำกัด (มหาชน) (TISCO)
  12. ธนาคารเมกะ สากลพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) MEGA (ICBC)
  13. ธนาคารเกียรตินาคิน จำกัด (มหาชน) (KK)
  14. ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) (LH Bank)
  15. ธนาคารไอซีบีซี (ไทย) จำกัด (มหาชน) (ICBC)
  16. ธนาคารไทยเครดิต เพื่อรายย่อย จำกัด (มหาชน) (TCRB)
  17. ธนาคารเดอะรอยัลแบงก์อ๊อฟสกอตแลนด์ เอ็น.วี. (RBS)
  18. ธนาคารเจพีมอร์แกน เชส (J.P. Morgan)
  19. ธนาคารโอเวอร์ซี-ไชนีส แบงกิ้ง คอร์ปอเรชั่น จำกัด (OCBC)
  20. ธนาคารแห่งโตเกียว-มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ จำกัด (BTMU)
  21. ธนาคารซิตี้แบงก์ (Citibank)
  22. ธนาคารอาร์ เอช บี จำกัด (RHB)
  23. ธนาคารแห่งอเมริกา เนชั่นแนล แอสโซซิเอชั่น (AMERICA)
  24. ธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้ จำกัด (HONGKONG)
  25. ธนาคารดอยซ์แบงก์ (DEUTSHE)
  26. ธนาคารมิซูโฮ คอร์ปอเรต จำกัด (MHCB)
  27. ธนาคารบีเอ็นพี พารีบาส์ (BNPP)
  28. ธนาคารซูมิโตโม มิตซุย แบงกิ้ง คอร์ปอเรชั่น (SMBC)
  29. ธนาคารแห่งประเทศจีน จำกัด (BOC)
  30. ธนาคารอินเดียน โอเวอร์ซีส์ จำกัด (I.O.B.)
บริษัทเงินทุน
  1. บริษัทเงินทุนกรุงเทพธนาทร จำกัด (มหาชน)  
  2. บริษัทเงินทุนแอ็ดวานซ์ จำกัด (มหาชน) 
บริษัทเครดิตฟองซิเอร์
  1. บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ลินน์ ฟิลลิปส์ มอร์ทเก็จ จำกัด
  2. บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ เวิลด์ จำกัด
  3. บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ แคปปิตอล ลิ้งค์ จำกัด
2. ฝากในรูปแบบไหน?
ประเภท
สถาบันการเงิน
ขอบเขตความคุ้มครอง
ธนาคารรัฐ ตามที่พูดมาแล้วในตารางข้างต้น ในกรณีของธนาคารรัฐอาจไม่ค่อยชัดเจนว่ารัฐบาลจะเข้ารับผิดชอบเงินที่พวกเราฝากไว้กับธนาคารรัฐหรือไม่ เพียงใด ยกเว้นในกรณีของธนาคารออมสิน ซึ่งตัวกฎหมายจัดตั้งเขียนไว้ชัดเจนว่า รัฐบาลค้ำประกันเงินฝากของลูกค้าธนาคารออมสิน ดังนั้น กรณีของธนาคารออมสิน ถ้าเราฝากในรูปของบัญชีเงินฝาก เราก็จะได้รับการค้ำประกันโดยรัฐบาลเต็มจำนวน 
ธนาคารและสถาบันการเงินเอกชนทั่วไป แม้จะได้รับความคุ้มครองตาม พรบ.สถาบันคุ้มครองเงินฝาก แต่เงินฝากเฉพาะรูปแบบเหล่านี้เท่านั้น ถึงจะได้รับความคุ้มครอง
  • เงินฝากกระแสรายวัน
  • เงินฝากประจำ
  • เงินฝากออมทรัพย์
  • บัตรเงินฝาก
  • ใบรับฝากเงิน (ที่เป็นเงินบาท)
  • เงินฝากใน "บัญชีร่วม" และเงินฝากใน "บัญชีเพื่อ" ในกรณีนี้ผู้ฝากจะได้รับการคุ้มครองตามสัดส่วนของแต่ละคนที่เป็นเจ้าของบัญชีร่วมตามหลักฐานที่สถาบันการเงินมี หากไม่ทราบหรือไม่ได้ระบุสัดส่วนการร่วมกันไว้ชัดเจน ก็ให้แบ่งเท่ากันเสมอ แล้วนำไปรวมกับบัญชีเดี่ยวของแต่ละคนที่มี รวมแล้วได้รับความคุ้มครองไม่เกินจำนวนที่กำหนด
ตัวอย่าง นายสมชายและนางสมศรีมีเงินฝากที่ธนาคารยิ่งรวย ดังนี้

ณ วันที่ 1 พฤศจิกายน 2558 (วงเงินคุ้มครองไม่เกิน 25 ล้านบาท)
หากธนาคารยิ่งรวยถูกปิดกิจการ
  • นายสมชายจะได้รับเงินฝากคืน 2,500,000 บาท
  • นางสมศรีจะได้รับเงินฝากคืน 1,800,000 บาท
ณ วันที่ 1 พฤศจิกายน 2559 (วงเงินคุ้มครองไม่เกิน 1 ล้านบาท)
หากธนาคารยิ่งรวยถูกปิดกิจการ
  • นายสมชายจะได้รับเงินฝากคืน 1,000,000 บาท ส่วนที่เหลือสถาบันคุ้มครองเงินฝากจะทำหน้าที่ชำระบัญชีธนาคารยิ่งรวย เพื่อนำเงินมาจ่ายคืนให้เพิ่มเติม
  • นางสมศรีจะได้รับเงินฝากคืน 1,000,000 บาท ส่วนที่เหลือสถาบันคุ้มครองเงินฝากจะทำหน้าที่ชำระบัญชีธนาคารยิ่งรวย เพื่อนำเงินมาจ่ายคืนให้เพิ่มเติม
ทั้งนี้ ประเภทเงินฝากทั้งหมดนี้จะต้องเป็นเงินฝากสกุล "เงินบาท" ของบัญชีเงินฝากภายในประเทศเท่านั้น 
อนึ่ง ตราสารหรือรูปแบบการฝากต่อไปนี้จะไม่ได้รับการคุ้มครอง
(ก) เงินฝากในบัญชีเงินบาทของบุคคลที่มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน
(ข) เงินฝากที่มีอนุพันธ์แฝง เช่น Structured Deposit
(ค) เงินฝากระหว่างสถาบันการเงิน
(ง) ตั๋วแลกเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงิน และหุ้นกู้ ก็จะไม่ได้รับความคุ้มครองเช่นกัน เพราะถือว่าเป็นสถาบันการเงินกู้เงินจากเรา ไม่ใช่รับฝากเงินจากเรา
3. สถาบันการเงินถูกปิดกิจการเมื่อใด?
ประเภท
สถาบันการเงิน
ขอบเขตความคุ้มครอง
ธนาคารรัฐ ตามที่พูดมาแล้วในตารางข้างต้น ในกรณีของธนาคารรัฐอาจยังมีความไม่ชัดเจนว่ารัฐบาลจะเข้ารับผิดชอบเงินที่พวกเราฝากไว้กับธนาคารรัฐหรือไม่ ยกเว้นในกรณีของธนาคารออมสิน ซึ่งตัวกฎหมายจัดตั้งเขียนไว้ชัดเจนว่า รัฐบาลค้ำประกันเงินฝากของลูกค้าธนาคารออมสินโดยไม่มีข้อจำกัดเรื่องจำนวน และเวลา ดังนั้น ในแง่หลักการ เราจะได้รับความคุ้มครองและได้เงินคืนเต็มจำนวนไม่ว่าธนาคารออมสินจะล้มละลาย หรือถูกปิดกิจการเมื่อใดก็ตาม
ธนาคารและสถาบันการเงินเอกชนทั่วไป เราจะได้รับเงินคืน หรือได้รับความคุ้มครองจากสถาบันคุ้มครองเงินฝากเท่าไหร่นั้น ขึ้นอยู่กับว่าสถาบันการเงินที่ถือเงินฝากเราอยู่ ถูกปิดกิจการเมื่อใด ซึ่งวงเงินคุ้มครองตามพระราชกฤษฏีกำหนดจำนวนเงินฝากที่ได้รับการคุ้มครองเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2555 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 11 สิงหาคม 2555 เป็นดังนี้
  • หากถูกปิดกิจการในช่วง 11 สิงหาคม 2555 - 10 สิงหาคม 2558 จะได้เงินคืนไม่เกิน 50 ล้านบาท
  • หากถูกปิดกิจการในช่วง 11 สิงหาคม 2558 - 10 สิงหาคม 2559 จะได้เงินคืนไม่เกิน 25 ล้านบาท
  • หากถูกปิดกิจการในช่วง 11 สิงหาคม 2559 เป็นต้นไป จะได้เงินคืนไม่เกิน 1 ล้านบาท
ทั้งหมดนี้ ต่อผู้ฝาก 1 รายต่อ 1 สถาบันการเงิน (ไม่ว่าจะมีกี่บัญชี หรือกี่สาขาของสถาบันการเงินแห่งเดียวกันนั้นก็ตาม) 

ตัวอย่าง สมชายฝากเงินไว้กับธนาคารยิ่งรวย และธนาคารเจริญทรัพย์ ดังนี้

หากธนาคารทั้งสองแห่ง ถูกปิดกิจการพร้อมกันในวันที่ 1 กันยายน 2559 นายสมชายจะได้รับคืนเงินฝากในธนาคารยิ่งรวย 1,000,000 บาท และได้รับคืนเงินฝากในธนาคารเจริญทรัพย์ 1,000,000 บาทเช่นกัน

ขั้นตอนการยื่นขอรับเงินของผู้ฝาก


ขอบคุณรูปภาพ และข้อมูลจากสถาบันคุ้มครองเงินฝาก
ดังนั้น โดยสรุปแล้ว D-Day ที่สำคัญสำหรับคนทั่วๆ ไปอย่างเราก็คือ วันที่ 11 สิงหาคม 2559 (ถ้ารัฐบาลไม่มีการเลื่อนวันออกไป) เพราะเงินฝากหลังจากวันนี้ พวกเราจะได้รับการคุ้มครองแค่ 1 ล้านบาทเท่านั้นนะคะ ดังนั้น หลังจากวัน D-Day นี้เป็นต้นไป ใครที่มีเงินสดเก็บไว้เกิน 1 ล้านบาท ก็เตรียมกระจายเงินฝากออกไปหลายๆ ที่ได้เลยค่ะ

แท็กที่เกี่ยวข้อง เงินฝาก ความคุ้มครองเงินฝาก
Money Guru
เขียนโดย เช็คราคา.คอม Money Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่



เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)