มีเงิน 500,000 บาท กับมีเงิน 1,000,000 บาท จะฝากแบบพิเศษๆ ที่ไหนให้ได้ดอกเบี้ยคุ้มสุด

icon 12 ก.ย. 61 icon 72,945
มีเงิน 500,000 บาท กับมีเงิน 1,000,000 บาท จะฝากแบบพิเศษๆ ที่ไหนให้ได้ดอกเบี้ยคุ้มสุด

มีเงิน 500,000 บาท กับมีเงิน 1,000,000 บาท จะฝากแบบพิเศษๆ ที่ไหนให้ได้ดอกเบี้ยคุ้มสุด

การที่เราทำงานเก็บเงินกว่าจะได้ 500,000 บาท กว่าจะได้ 1,000,000 บาท มันก็ยากในระดับหนึ่งแล้ว แต่ที่ยากกว่าคือ จะทำอย่างไรให้เงินนั้นงอกเงย หลายเสียงก็จะบอกว่าเอาไปลงทุนสิ ซื้อหุ้น ซื้อกองทุนรวม ถ้าเลือกดีๆ ก็อาจจะได้ผลตอบแทนกลับมาเยอะเลย (แต่การลงทุนเหล่านี้ก็มีความเสี่ยงมากตามผลตอบแทนที่อาจจะได้มากนั่นแหละค่ะ) ซึ่งก็ไม่ค่อยมีคนแนะนำให้เอาเงินก้อนไปฝากไว้กับธนาคาร คงเพราะด้วยอัตราดอกเบี้ยน้อย ฝากตั้งนานก็คงได้ดอกเบี้ยไม่เท่าไหร่
แต่สำหรับคนที่ไม่กล้าลงทุนอะไรที่มีความเสี่ยง เพราะทำใจไม่ได้ถ้าจะต้องเห็นเงินเก็บที่เอาไปลงทุนลดลงในช่วงระยะเวลาสั้นๆ การฝากเงินกับธนาคารก็ถือเป็นการออมเงินที่คลาสสิกที่สุด เพราะความเสี่ยงต่ำ เงินต้นไม่หายไปไหน และก็ยังได้ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นมาแน่นอน แต่จะเพิ่มเท่าไหร่ เราลองมาคำนวณกันดีกว่าค่ะ

ฝากเงิน 500,000 บาท กับฝากเงิน 1,000,000 บาท ในระยะเวลาเท่าๆ กัน จะได้ดอกเบี้ยมากน้อยต่างกันเท่าไหร่?  

คำถามยอดฮิตที่มักถามกันบ่อยๆ เวลาที่เราฝากเงินกับธนาคาร คือ เราจะอยากรู้ว่า ฝากเท่านี้ สุดท้ายแล้วเราจะได้ดอกเบี้ยเป็นจำนวนเงินเท่าไหร่? วันนี้เรามาลองคำนวณจากยอดเงินฝาก 500,000 บาท และ 1,000,000 บาท กันค่ะ ว่าฝากไว้ 12 เดือน กับ 24 เดือน จะได้ดอกเบี้ยแตกต่างกันอย่างไร 
ตัวอย่างการคำนวณ
 ระยะเวลาการฝาก
12 เดือน   24 เดือน  
 อัตราดอกเบี้ย 

 1.75% ต่อปี   1.85% ต่อปี 
จำนวนเงินฝาก
 
 500,000 บาท 1,000,000 บาท  500,000 บาท  1,000,000 บาท 
 ดอกเบี้ย
(500,000 x 1.75%) x 1 ปี
= 8,750 บาท
(1,000,000 x 1.75%) x 1 ปี
= 17,500 บาท
(500,000 x 1.85%) x 2 ปี
= 18,500 บาท
(1,000,000 x 1.85%) x 2 ปี
= 37,000 บาท
 หักภาษี ณ ที่จ่าย 15%
ของดอกเบี้ยรับ 
8,750 x 15% 
= 1,312.50 บาท
17,500 x 15% 
= 2,625 บาท
18,500 x 15% 
= 2,775 บาท
37,000 x 15% 
= 5,550 บาท
 ดอกเบี้ยสุทธิที่ได้รับ 7,437.50 บาท  14,875 บาท  15,725 บาท  31,450 บาท 
หมายเหตุ : 
  • การคำนวณข้างต้นเป็นการคำนวณคร่าวๆ เพื่อให้เห็นภาพของอัตราดอกเบี้ยที่เราจะได้รับจากการฝากเงินในระยะเวลา 12 เดือน หรือ 24 เดือนเท่านั้น โดยไม่คำนวณละเอียดถึงจำนวนวันที่ลูกค้าฝากไว้จริง
  • สำหรับการคำนวณดอกเบี้ยของธนาคาร ธนาคารจะคำนวณดอกเบี้ยตามจำนวนวันที่เราฝากไว้จริง ซึ่งอาจจะมีความคลาดเคลื่อนจากตัวเลขในตารางเล็กน้อย
  • สำหรับการฝากเงินแบบประจำ ธนาคารจะมีการหักภาษี ณ ที่จ่าย 15% ของดอกเบี้ยที่ลูกค้าจะได้รับ 
  • การคำนวณดอกเบี้ยข้างต้นเป็นการคำนวณตามพื้นฐานของดอกเบี้ยที่ได้รับสุทธิ (ไม่ใช่ดอกเบี้ยทบต้น)

บัญชีเงินฝากประจำพิเศษ ที่ให้ดอกเบี้ยสูงแบบรายเดือน จากธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์

ถ้าเรามีเงินก้อนหนึ่ง การที่เราจะเลือกฝากเงินที่ไหน นอกจากความสะดวกในการใช้บริการสถาบันการเงินแล้ว เราก็คงต้องเลือกฝากกับสถาบันการเงินที่ให้ผลตอบแทนคุ้มตามที่เราต้องการค่ะ และธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ เองก็ได้จัดโปรโมชั่น บัญชีเงินฝากประจำพิเศษมาให้ลูกค้าได้เลือกฝากกันแล้ว ไม่เพียงแต่ให้ดอกเบี้ยสูง แต่ยังให้ดอกเบี้ยทุกเดือนอีกด้วย เรามาดูเงื่อนไขบัญชีนี้กันเลยค่ะ ว่าจะน่าสนใจแค่ไหน 

บัญชีเงินฝากประจำพิเศษ จาก ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ เป็นอีกหนึ่งบัญชีที่สามารถตอบโจทย์สำหรับคนที่ชอบเก็บออมเงินโดยการฝากไว้กับธนาคาร สามารถเลือกฝากได้ทั้งแบบระยะเวลาฝาก 12 เดือน หรือ 24 เดือน ให้ดอกเบี้ยสูงตามระยะเวลาที่เลือกฝาก และยังจ่ายดอกเบี้ยให้ทุกเดือนโดยโอนเข้าบัญชีให้อัตโนมัติเลยค่ะ  

*สนใจเปิดบัญชี สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ ทุกสาขา หรือ โทร. 02-359-0000
แท็กที่เกี่ยวข้อง เงินฝากประจำ บัญชีเงินฝากประจำพิเศษ ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ lh bank เงินฝากดอกเบี้ยสูง เงินฝากประจำพิเศษ 12 เดือน เงินฝากประจำพิเศษ 24 เดือน
Money Guru
เขียนโดย เช็คราคา.คอม Money Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่



เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)