GURU อยากบอก!! "คลินิกแก้หนี้" แก้ทุกปัญหาหนี้...เพิ่มยาแรงสู้โควิด-19 พร้อมขยายเวลาช่วยเหลือถึงสิ้นปี (ธ.ค. 64)

icon 1 ต.ค. 64 icon 6,083
GURU อยากบอก!! "คลินิกแก้หนี้" แก้ทุกปัญหาหนี้...เพิ่มยาแรงสู้โควิด-19 พร้อมขยายเวลาช่วยเหลือถึงสิ้นปี (ธ.ค. 64)
 

GURU อยากบอก!! "คลินิกแก้หนี้" แก้ทุกปัญหาหนี้...เพิ่มยาแรงสู้โควิด-19 พร้อมขยายเวลาช่วยเหลือถึงสิ้นปี (ธ.ค. 64)

สถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 ที่กำลังสร้างปัญหาให้กับการดำเนินชีวิตของทุกคนบนโลกนี้ โดยเฉพาะเรื่องของหนี้สิน หลายคนเกิดปัญหาต้องตกงาน ถูกเลิกจ้าง รายได้ที่เคยได้รับก็ขาดหายไป ทำให้ต้องตกอยู่ในสถานการณ์ที่ยากลำบาก เพราะหนี้สินที่มีอยู่ยังคงเท่าเดิม หรืออาจมากขึ้น เป็นหนี้แต่ไม่สามารถผ่อนชำระได้ จนมีผลต่อประวัติเครดิตบูโร ปัญหานี้ทำให้หลายคนท้อ ไม่มีทางออก ไม่รู้จะทำยังไง? วันนี้ GURU อยากบอกเพื่อนๆ ด้วยการนำเสนอทางเลือกในการแก้ไขปัญหาหนี้ที่เกิดขึ้นอีก 1 ช่องทาง ซึ่งส่วนใหญ่มองว่าหมดหนทางแล้ว แต่รู้มั้ยคะ...วันนี้มีโครงการ "คลินิกแก้หนี้" มาช่วยแก้ไขปัญหาหนี้สินส่วนบุคคลที่เป็นหนี้ค้างชำระกับสถาบันการเงิน เพื่อให้ลูกหนี้สามารถแก้ไขปัญหาหนี้สินได้เบ็ดเสร็จครบวงจรในที่เดียว มาดูรายละเอียด และทำความเข้าใจกับ "คลินิกแก้หนี้" ไปพร้อมกันเลยค่ะ
 ทำความรู้จักกับ "คลินิกแก้หนี้"
"คลินิกแก้หนี้" เกิดขึ้นเมื่อไหร่...มีความเป็นมาอย่างไร?
โครงการคลินิกแก้หนี้เริ่มต้นขึ้นเมื่อปี 2560 ในระยะที่ 1 นั้น โครงการคลินิกแก้หนี้เกิดขึ้นจากความคิดริเริ่มของธนาคารแห่งประเทศไทย ด้วยความร่วมมือจากสมาคมธนาคารไทย และสมาคมธนาคารนานาชาติ เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาหนี้สินส่วนบุคคลที่ไม่มีหลักประกันของลูกหนี้รายย่อยที่มีหนี้ค้างชำระอยู่กับธนาคารเจ้าหนี้ให้สามารถแก้ไขปัญหาหนี้สินได้เบ็ดเสร็จครบวงจรในที่เดียว ธนาคารเจ้าหนี้ 16 แห่งที่เข้าร่วมโครงการ มอบหมายให้บริษัทบริหารสินทรัพย์สุขุมวิท จำกัด (บสส.) หรือ SAM เป็นหน่วยงานกลางเชื่อมโยงระหว่างลูกหนี้และเจ้าหนี้ทุกราย ควบคู่กับการส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับการวางแผนและวินัยทางการเงินที่ดี เพื่อสร้างค่านิยมที่ถูกต้องด้านการลดความฟุ้งเฟ้อ ฟุ่มเฟือย และสร้างเสริมสุขภาพทางการเงินที่ดีให้แก่คนรุ่นใหม่ในสังคม นำไปสู่การลดปัญหาหนี้ภาคครัวเรือนทั้งทางตรงและทางอ้อม
ต่อมาในปี 2562 โครงการคลินิกแก้หนี้ ในระยะที่ 2 ได้ขยายขอบเขตให้รวมลูกหนี้บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลของผู้ประกอบการ non-bank 19 แห่งที่เข้าร่วมโครงการ เพื่อขยายโอกาสในการเข้าถึงลูกหนี้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น เริ่มตั้งแต่ 15 พฤษภาคม 2562 เป็นต้นไป ทำให้โครงการคลินิกแก้หนี้สามารถทำหน้าที่เป็นกลไกในการแก้ปัญหาหนี้ภาคครัวเรือน ซึ่งเป็นปัญหาเชิงโครงสร้างได้อย่างกว้างขวางและครบวงจรอย่างแท้จริง
โครงการคลินิกแก้หนี้เข้าสู่ระยะที่ 3 ในปี 2563 ได้ขยายขอบเขตให้สามารถแก้ไขหนี้บัตรที่มีเจ้าหนี้รายเดียว และหนี้บัตรที่อยู่ในกระบวนการของศาลและมีคำพิพากษาแล้ว รวมทั้งปรับปรุงคุณสมบัติผู้เข้าโครงการจากเดิมต้องมีหนี้บัตรที่เป็นหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ก่อนวันที่ 1 มกราคม 2562 มาเป็นวันที่ 1 มกราคม 2563 และปรับเงื่อนไขจากเป็นหนี้เสีย (NPL) ก่อนวันที่ 1 มกราคม 2563 มาเป็นวันที่ 1 กรกฎาคม 2563 เมื่อช่วงปลายปี
และในปัจจุบันโครงการคลินิกแก้หนี้ เล็งเห็นถึงความจำเป็นและความเดือดร้อนของประชาชนที่ยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง จึงได้ปรับปรุงคุณสมบัติผู้เข้าโครงการจากเดิมต้องมีหนี้บัตรที่เป็นหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ก่อนวันที่ 1 กรกฎาคม 2563 มาเป็นวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2564
วัตถุประสงค์หลักของโครงการ "คลินิกแก้หนี้"
เพื่อช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยที่เป็นหนี้เสียบัตรเครดิต บัตรกดเงินสด และสินเชื่อส่วนบุคคลที่ไม่มีหลักประกัน เพื่อให้มีโอกาสแก้ปัญหาหนี้ ควบคู่กับการส่งเสริมเรียนรู้การวางแผนและสร้างวินัยทางการเงินที่ดีให้แก่ลูกหนี้และประชาชนที่สนใจ เพื่อป้องกันมิให้เกิดปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศในระยะยาว
การดำเนินการของ "คลินิกแก้หนี้"
"คลินิกแก้หนี้" เป็นหน่วยงานกลางเชื่อมโยงระหว่างลูกหนี้ และเจ้าหนี้หลายราย เพื่อดำเนินการให้ลูกหนี้ และเจ้าหนี้ทุกรายได้รับการปฏิบัติที่เท่าเทียมกัน ต้องการส่งเสริมให้ลูกหนี้มีวินัยทางการเงินที่ดี ด้วยการอบรมให้ความรู้ทางการเงินกับลูกหนี้ ทั้งนี้ การเข้าร่วมโครงการ "คลินิกแก้หนี้" จะต้องเป็นความสมัครใจของลูกหนี้ และลูกหนี้จะต้องไม่ก่อหนี้ใหม่ในช่วงเวลาที่กำหนด ซึ่งทางโครงการฯ จะมีการให้อัตราดอกเบี้ย และระยะเวลาผ่อนชำระให้เหมาะกับการแก้ไขหนี้
 โครงการ "คลินิกแก้หนี้" ขยายเวลาในครั้งนี้ ให้ความช่วยเหลือยังไงบ้าง?
โครงการ "คลินิกแก้หนี้" ได้ขยายเวลามาตราความช่วยเหลือลูกหนี้ต่อไปอีกจนถึงเดือน ธันวาคม 2564 เนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 ระลอกที่ 3 ยังคงน่าเป็นห่วง และส่งผลกระทบในวงกว้าง โดยลูกหนี้สามารถชำระหนี้ตามความสามารถหรือจ่ายเท่าที่ไหว ซึ่งจะได้รับส่วนลดดอกเบี้ย 1 - 2% ขึ้นอยู่กับจำนวนเงินที่ชำระในช่วงเวลามาตรการ แบ่งออกเป็น 2 แบบ ดังนี้
แบบที่ 1 รายที่จ่ายค่างวดเฉลี่ยตั้งแต่ร้อยละ 80 ขึ้นไป จะได้รับส่วนลดดอกเบี้ย 2%
แบบที่ 2 รายที่จ่ายค่างวดเฉลี่ยตั้งแต่ร้อยละ 40 แต่ไม่ถึงร้อยละ 80 จะได้รับส่วนลดดอกเบี้ย 1%
*โดยส่วนลดดอกเบี้ยที่คำนวณได้จะถูกนำไปตัดเงินต้นในเดือนมกราคม 2565 ซึ่งจะทำให้หมดหนี้เร็วขึ้น
ทั้งนี้ มาตรการช่วยเหลือในช่วง 6 เดือนข้างหน้านี้ จะมีผลอัตโนมัติกับลูกหนี้ทุกรายและลูกหนี้ใหม่ในโครงการโดยไม่ต้องลงทะเบียนโดยที่ลูกหนี้ต้องชำระหนี้ต่อเนื่อง สำหรับลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจทำให้ไม่สามารถชำระหนี้ได้ในช่วงนี้ โดยสามารถขอผ่อนผันการชำระหนี้ได้ตามเงื่อนไขของโครงการ สำหรับคนที่อยู่ในกลุ่มนี้ขอให้ติดต่อโครงการเพื่อสอบถามรายละเอียด ซึ่งผลการพิจารณาผ่อนผันขึ้นกับดุลพินิจของโครงการ
นอกจากนี้ คณะกรรมการกำกับดูแลโครงการคลินิกแก้หนี้ยังเห็นชอบให้ผ่อนปรนหลักเกณฑ์การสมัครเข้าโครงการ 2 ประการ คือ ประการแรก เกณฑ์ด้านอายุ จากเดิมไม่เกิน 65 ปี เป็นไม่เกิน 70 ปี (เมื่อรวมระยะเวลาการปรับโครงสร้างหนี้) และประการที่ 2 ปรับอัตราดอกเบี้ยจากเดิมร้อยละ 4-7 เป็นอัตราเดียวที่ร้อยละ 5 ซึ่งเป็นค่าเฉลี่ยของอัตราดอกเบี้ยในโครงการ การปรับหลักเกณฑ์ดังกล่าวจะช่วยขยายความช่วยเหลือให้ลูกหนี้และช่วยให้การดำเนินการเร็วขึ้น โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2564 เป็นต้นไป
 มีธนาคารไหนบ้าง?...เข้าร่วมกับโครงการ "คลินิกแก้หนี้"
 มีสถาบันการเงิน "Non-Bank" ที่ไหนบ้าง...เข้าร่วมโครงการฯ?
 ใคร...เข้าร่วมโครงการ "คลินิกแก้หนี้" ได้บ้าง?
โครงการ "คลินิกแก้หนี้" นี้ ช่วยเหลือและให้ทางแก้ไขปัญหาหนี้สินกับบุคคลธรรมดา ที่มีรายได้ อายุไม่เกิน 70 ปี เป็นหนี้เสียบัตรเครดิต บัตรกดเงินสด หรือสินเชื่อส่วนบุคคลที่ไม่มีหลักประกันของสถาบันที่เข้าร่วมโครงการ เป็นหนี้รวมไม่เกิน 2 ล้านบาท โดยต้องเป็นหนี้เสีย (NPL) ก่อนวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2564*
*ตามรายงานเครดิตบูโร ณ เดือนมกราคม 2564 ต้องมีสถานะค้างชำระ 91 - 120 วันขึ้นไป
 สนใจเข้าร่วมโครงการ "คลินิกแก้หนี้" ต้องทำยังไง?
เมื่อเข้าใจแล้วว่า "คลินิกแก้หนี้" คืออะไร ช่วยเหลือแบบไหน ถึงเวลาที่จะเข้าร่วมโครงการฯ แล้ว มาทำตามขั้นตอนได้เลยค่ะ
ขั้นตอนที่ 1 : ตรวจสอบคุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
ขั้นตอนที่ 2 : กรอกข้อมูลในแบบฟอร์มใบสมัคร (เข้าไปดำเนินการได้ที่ "คลินิกแก้หนี้")
ขั้นตอนที่ 3 : จัดเตรียมเอกสารประกอบการเข้าร่วมโครงการ ดังนี้
  • ใบสมัครเข้าร่วมโครงการ
  • รายงานเครดิตบูโร
  • สำเนาบัตรประชาชน
  • สำเนาทะเบียนบ้าน
  • สำเนาใบเปลี่ยนชื่อ-สกุล (ถ้ามี)
  • เอกสารแสดงรายได้ (แยกตามกรณี)
กรณีพนักงานประจำ : สลิปเงินเดือนย้อนหลัง 1 เดือน
กรณีอาชีพอิสระ : รายการเดินบัญชีย้อนหลัง 3 เดือน หรือหนังสือรับรองรายได้
ขั้นตอนที่ 4 : ส่งเอกสารมาที่ ตู้ปณ. 40 ปณฝ.ซันทาวเวอร์ส กรุงเทพฯ 10905
สุดท้ายนี้...GURU อยากบอกให้ทุกคนที่มีปัญหาหนี้บัตรเครดิต บัตรกดเงินสดที่เป็นหนี้เสีย ให้รีบสมัครเข้าโครงการ "คลินิกแก้หนี้" ซึ่งคนที่สมัครในช่วงนี้ถึงสิ้นปี 2564 จะได้รับประโยชน์จากส่วนลดอัตราดอกเบี้ย 1 - 2% ตามที่แจ้ง นอกจากนี้ก็อยากฝากเตือนเพื่อนๆ ว่า หากมีผู้แอบอ้างว่าเป็นตัวแทน ธปท. สามารถช่วยเจรจาปรับโครงสร้างหนี้หรือเรื่องใด ๆ และมีการเรียกเก็บค่าดำเนินการ กรณีดังกล่าวไม่เป็นความจริง หรือหากมีข้อสงสัยจากการถูกสอบถามข้อมูลส่วนตัวและภาระหนี้สิน สามารถแจ้งเรื่องหรือสอบถามได้ที่ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน (ศคง.) โทร. 1213 รวมทั้งสามารถติดตามการเปิดรับสมัคร และข่าวสารของโครงการคลินิกแก้หนี้ผ่านทาง Website LINE Facebook ของคลินิกแก้หนี้ หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Call Center คลินิกแก้หนี้ 0 2610 2266 หรือ 1443 เปิดให้บริการทุกวัน เวลา 9.00-19.00 น. ค่ะ
แท็กที่เกี่ยวข้อง บัตรเครดิต บัตรกดเงินสด ลูกหนี้ คลินิกแก้หนี้ โควิด-19 มาตรการช่วยเหลือ หนี้เสีย
Money Guru
เขียนโดย สินีนาฏ มากทองหลาง Money Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)