ประเมินวงเงินรู้ผลใน 3 นาที

กับ กรุงศรี ออโต้ พร้อมสตาร์ท

เริ่มประเมินวงเงินพร้อมสตาร์ท
ผ่านมือถือ สแกนเลย

ดูวงเงินพร้อมสตาร์ทที่ได้รับ

ประกาศสัญญาเช่าซื้อรถฉบับใหม่...ได้อัตราดอกเบี้ยน้อยลงจริง หรือเป็นแค่ความเข้าใจผิด!!

icon 10 ก.ย. 61 icon 17,167
ประกาศสัญญาเช่าซื้อรถฉบับใหม่...ได้อัตราดอกเบี้ยน้อยลงจริง หรือเป็นแค่ความเข้าใจผิด!!

ประกาศสัญญาเช่าซื้อรถฉบับใหม่...ได้อัตราดอกเบี้ยน้อยลงจริง หรือเป็นแค่ความเข้าใจผิด!!

ผลจากการที่รัฐบาลประกาศควบคุมสัญญาเช่าซื้อฉบับใหม่ เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2561 ที่ผ่านมา ในการกำหนดให้ผู้ประกอบการต้องทำการคิดดอกเบี้ย "แบบลดต้นลดดอกเบี้ย" จากเดิมที่คิดดอกเบี้ยเช่าซื้อ "แบบคงที่" เพื่อเพิ่มความคุ้มครองผู้บริโภคเช่าซื้อรถ โดยหวังว่าจะเป็นการลดการถูกเอาเปรียบลงได้นั้น ทำให้หลายคนตีความไปว่า ได้ดอกเบี้ยถูกลง หรือจ่ายดอกเบี้ยน้อยลง เป็นต้น แต่ในความเป็นจริงแล้ว มาตรการหรือประกาศฉบับนี้เป็นไปตามที่ผู้บริโภคส่วนใหญ่คิดหรือไม่? วันนี้ CheckRaka.com หาคำตอบมาให้เพื่อนๆ ได้เข้าใจตรงกันแล้วค่ะ

เหตุเกิดจากความเข้าใจของคนส่วนใหญ่!!

เมื่อได้ยินข่าวจากประกาศนี้มา การนำเสนอข่าวส่วนใหญ่จะเป็นไปในเชิงบวก ดูแล้วเหมือนว่าผู้บริโภคที่กำลังจะซื้อรถใหม่จะได้ใช้รูปแบบการคิดดอกเบี้ยใหม่ ที่ดีกว่าเดิม ถูกกว่าเดิม ไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบจากผู้ประกอบการอีกต่อไป และจากเหตุนี้เองที่ทำให้ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ต้องออกประกาศมาชี้แจงและแจ้งความจริงให้ผู้บริโภคได้เข้าใจตรงกันในสัญญาที่รัฐบาลได้ประกาศใช้ก่อนหน้านี้

ประกาศจริงจาก "ราชกิจจานุเบกษา"

ประกาศว่าด้วยสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ รถจักรยานยนต์ ที่มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2561 มีเนื้อหาโดยละเอียดดังนี้  ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่อง ให้ธุรกิจให้เช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์เป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา 

ประกาศคุมธุรกิจเช่าซื้อรถยนต์-มอเตอร์ไซค์ฯ ของ สคบ.

ประกาศฉบับนี้เป็นประกาศที่สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ออกเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2561 เพื่อชี้แจงจากประกาศที่ทางรัฐบาลได้แจ้งก่อนหน้านี้ โดยเหตุเกิดจากมีการเผยแพร่ในโซเชียลมีเดียที่มีความเข้าใจคลาดเคลื่อน ซึ่งอาจมีผลทำให้ผู้บริโภคส่วนใหญ่เกิดความเข้าใจผิดขึ้นได้ จึงได้มีประกาศชี้แจงดังนี้

สรุป...ใจความสำคัญจากประกาศการควบคุมสัญญาเช่าซื้อรถ ฉบับใหม่!!

ด้วยความห่วงใยในผลประโยชน์ของผู้บริโภคจากสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) นี้เองที่ทำให้ สคบ. ต้องออก "ประกาศคุมธุรกิจเช่าซื้อรถยนต์-มอเตอร์ไซค์ฯ ของ สคบ. ไม่มีการคิดอัตราดอกเบี้ย "ลดต้น ลดดอก" ฉบับนี้ขึ้นมา ดังนั้น เรามาสรุปใจความสำคัญของประกาศฉบับนี้ย้ำกันอีกรอบ ซึ่งมีใจความสำคัญโดยสรุป ดังนี้
 การคิดดอกเบี้ยเช่าซื้อรถยนต์ และรถจักรยานยนต์ ยังคงใช้แบบ "เงินต้นคงที่" (Flat Rate) เหมือนเดิม : ตามที่ใช้ในการคำนวณค่าเช่าซื้อในแต่ละงวด
 กำหนดให้ผู้ประกอบการจัดทำตารางแสดงภาระหนี้สินตามสัญญาสำหรับผู้เช่าซื้อแต่ละราย โดย ให้ระบุ "อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงต่อปี (Effective Interest Rate) ซึ่งไม่ได้กำหนดว่าให้ใช้ Effective Interest Rate แต่อย่างใด

  กรณีผู้เช่าซื้อประสงค์จะปิดบัญชีค่าเช่าซื้อก่อนครบกำหนดสัญญา จะได้ส่วนลดอัตราดอกเบี้ยที่ยังไม่ถึงกำหนดชำระร้อยละ 50
 กำหนดให้การคิดเบี้ยปรับกรณีผู้เช่าซื้อผิดนัดชำระเงินค่างวดให้ผู้ประกอบธุรกิจ คิดเบี้ยปรับได้ไม่เกินอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงต่อปี (Effective Interest Rate) บวกร้อยละ 3 ต่อปี แต่ต้องไม่เกินร้อยละ 15 ต่อปี

ดูกันชัดๆ...เปรียบเทียบการคิดดอกเบี้ยระห่วางแบบ "เงินต้นคงที่" และ "ลดต้นลดดอก"

เพื่อให้เห็นภาพชัดขึ้นระหว่างการคิดดอกเบี้ยแบบ "เงินต้นคงที่" และ "ลดต้นลดดอก" นั้น จะทำให้ผลลัพธ์จากความแตกต่างนี้ ต่างกันหรือไม่? มาดูไปพร้อมกันกับตัวอย่างนี้เลยนะคะ


ตัวอย่างตารางอัตราดอกเบี้ยเช่าซื้อรถ ธนาคารธนชาต
การคิดดอกเบี้ยแบบเงินต้นคงที่ (Flat Rate)

จากสูตร...ดอกเบี้ยที่ต้องชำระทั้งหมด = 800,000 x 3.80% x 5
เพราะฉะนั้น ดอกเบี้ยที่ต้องชำระทั้งหมด = 152,000 บาท

จากสูตร...จำนวนเงินที่ต้องชำระในแต่ละงวด = (800,000 + 152,000) / 60
เพราะฉะนั้น จำนวนเงินที่ต้องชำระในแต่ละงวด = 15,866.67 บาท
 การคิดดอกเบี้ยเงินกู้แบบเงินต้นคงที่ (Flat Rate) เป็นการคิดดอกเบี้ยจากเงินต้นทั้งจำนวนและระยะเวลาในการผ่อนชำระทั้งหมด จากนั้นจะนำดอกเบี้ยที่คำนวณได้มารวมกับเงินต้น แล้วหารด้วยจำนวนงวดที่จะผ่อนชำระ โดยเงินที่ผ่อนชำระจะเท่ากันทุกงวด เช่นเดียวกับจำนวนเงินต้นและดอกเบี้ยที่จะคงที่ทุกงวดด้วย
การคิดดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอก (Effective Rate)

**จำนวนวันใน 1 ปี ขึ้นกับการกำหนดของแต่ละสถาบันการเงิน ซึ่งอาจเป็น 360 วัน, 365 วัน หรือ 366 วันก็ได้**
จากสูตร...ดอกเบี้ยจ่ายในงวดนั้น (งวดแรก) = (800,000 x 7.12% x 30) / 365
เพราะฉะนั้น ดอกเบี้ยจ่ายต่องวด = 4,746.67 บาท

จากสูตร...เงินต้นลดลง = 15,886.29 - 4,746.67
เพราะฉะนั้น เงินต้นลดลง = 11,139.62 บาท

จากสูตร...เงินต้นคงเหลือ (เพื่อคำนวณงวดถัดไป) = 800,000 - 11,139.62
เพราะฉะนั้น 
เงินต้นคงเหลือ = 788,860.38 บาท
ตัวอย่าง...ตารางคำนวณค่างวดในแต่ละเดือน แบบลดต้นลดดอก

 การคิดดอกเบี้ยเงินกู้แบบลดต้นลดดอก (Effective Rate) เป็นการคิดทีละงวดจากฐานเงินต้นที่ทยอยลดลงตามการชำระหนี้ ซึ่งถ้าชำระหนี้ในแต่ละงวดเท่าๆ กัน ในอัตราดอกเบี้ยเท่าเดิม จะพบว่า เงินที่จ่ายไปในงวดแรกๆ ส่วนใหญ่จะถูกจ่ายเป็นค่าดอกเบี้ย เนื่องจากจำนวนเงินต้นยังสูงอยู่นั่นเอง แต่เมื่อมีการผ่อนชำระไปสักพักก็จะเห็นว่าดอกเบี้ยค่อยๆ ลดลงตามจำนวนเงินต้นที่ค่อยๆ ลดลง
สุดท้าย...ท้ายสุด!!
จากที่ยกตัวอย่างให้ดูในครั้งนี้ก็เพราะอยากให้เพื่อนๆ ได้เข้าใจตรงกันในประกาศที่ออกมา พร้อมกับทำความเข้าใจเกี่ยวกับการคิดดอกเบี้ยของทั้ง 2 แบบ นั่นก็คือ 1)การคิดดอกเบี้ยแบบเงินต้นคงที่ (Flat Rate) และ 2)การคิดดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอก (Effective Rate) ว่าเป็นการแจ้งให้ผู้ประกอบการต้องระบุดอกเบี้ยทั้ง 2 แบบ ให้ผู้บริโภคทราบ ซึ่งไม่ได้เป็นการเปลี่ยนการคิดดอกเบี้ยอย่างที่หลายคนเข้าใจ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ผลลัพธ์จากการคิดคำนวณดอกเบี้ยของทั้ง 2 แบบ ก็ไม่ต่างกันมาก เนื่องจากการกำหนดให้ผู้ประกอบการจัดทำตารางแสดงภาระหนี้สินตามสัญญาสำหรับผู้เช่าซื้อแต่ละราย โดยให้ระบุ "อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงต่อปี (Effective Interest Rate) ด้วยนั้น ทางผู้ประกอบการจะต้องแปลงอัตราดอกเบี้ย จากอัตราดอกเบี้ยเงินกู้แบบเงินต้นคงที่ เป็นแบบลดต้นลดดอก ทำได้คร่าวๆ ด้วยการใช้ 1.8 หรือใช้ 2 คูณกับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้แบบเงินต้นคงที่ ซึ่งจะเห็นได้จากตัวอย่างด้านบนที่ถ้าเป็นอัตราดอกเบี้ยแบบเงินต้นคงที่ก็จะเท่ากับ 3.80% ต่อปี แต่ถ้าแปลงมาเป็นอัตราดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอกก็จะเท่ากับ 7.12% ต่อปี (ตัวอย่างอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อรถจากธนาคารธนชาต)
แท็กที่เกี่ยวข้อง อัตราดอกเบี้ย ดอกเบี้ย เช่าซื้อรถยนต์ สัญญาเช่าซื้อ สัญญาเช่าซื้อรถยนต์ คิดดอกเบี้ย อัตราดอกเบี้ยคงที่ อัตราดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอก ประกาศ ดอกเบี้ยเงินต้นคงที่ ดอกเบี้ยลดต้นลดดอก flat rate effective rate
Money Guru
เขียนโดย เช็คราคา.คอม Money Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่

แนะนำ Big bike ล่าสุด

ดูทั้งหมด
Suzuki | Burgman
ซูซูกิ Suzuki Burgman 400 ABS ปี 2024
Honda | Forza
ฮอนด้า Honda Forza 350 Special Edition H2C by Honda ปี 2025
Kawasaki | Ninja
คาวาซากิ Kawasaki Ninja ZX-6R ปี 2025
Yamaha | XMAX
ยามาฮ่า Yamaha XMAX Connected ปี 2025
Triumph | Tiger
ไทรอัมพ์ Triumph Tiger Sport 660 ปี 2025
Harley-Davidson | Pan America 1250
ฮาร์ลีย์-เดวิดสัน Harley-Davidson Pan America 1250 ST ปี 2025
Ducati | Panigale
ดูคาติ Ducati Panigale V2 ปี 2025
Honda | ADV
ฮอนด้า Honda ADV 350 (Standard) ปี 2025



เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)