วางแผนการเงินให้ดี...ซื้อรถ EV ตอนนี้ดีหรือไม่? เลือกยังไง? มีใช้จ่ายอะไรเพิ่มบ้าง?

icon 24 พ.ย. 65 icon 4,320
วางแผนการเงินให้ดี...ซื้อรถ EV ตอนนี้ดีหรือไม่? เลือกยังไง? มีใช้จ่ายอะไรเพิ่มบ้าง?
รถยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicle : EV) ทางเลือกใหม่สำหรับคนรักษ์โลก ที่ต้องการรถยนต์สักคันเพื่อใช้งาน ไปพร้อมๆ กับดูแลโลกของเรา แต่ยังมีผู้คนจำนวนมากที่ยังไม่แน่ใจ หรือ มีความกังวลต่อความคุ้มค่า ว่าสุดท้ายแล้ว EV จะตอบโจทย์เงินในกระเป๋าของเราหรือไม่ บทความนี้จะพาทุกคนมาดูกันว่า ควรซื้อรถ EV ในตอนนี้หรือไม่ ควรเลือกอย่างไร และมีค่าใช้จ่ายอะไรเพิ่มบ้าง มาดู checklist กันทีละข้อเลย...

ค่าพลังงาน
 
รถยนต์ทั่วๆ ไปจะสามารถวิ่งได้ 10-17 กิโลเมตรต่อน้ำมัน 1 ลิตร ขณะที่รถยนต์ไฮบริดจะวิ่งได้ 15-24 กิโลเมตร เมื่อเทียบกับราคาน้ำมันที่ถูกที่สุดในปัจจุบัน เท่ากับว่ารถยนต์ทั้งสองประเภทนี้ มีค่าใช้จ่ายต่ำที่สุดที่ 2.3 บาท และ 1.4 บาทต่อกิโลเมตร
 
ขณะที่รถ EV นั้น โดยทั่วไปแล้ว หากชาร์จที่บ้านจะถูกกว่าชาร์จตามสถานีทั่วๆ ไป จะมีค่าใช้จ่าย 2.6369-5.7982 บาทต่อหน่วย แล้วแต่ช่วงเวลาในการชาร์จ ซึ่งไฟฟ้า 1 หน่วยนั้น รถจะสามารถวิ่งได้ 4-7 กิโลเมตร ทำให้ค่าใช้จ่ายต่ำสุดจะอยู่ที่ประมาณ 0.37 บาทต่อกิโลเมตร ดังนั้นในแง่นี้ EV นับว่าคุ้มค่า
 
ราคารถยนต์ EV
 
เนื่องจากรถยนต์ EV มีรัฐบาลให้การสนับสนุน ทั้งการลดภาษีนำเข้า ให้เงินอุดหนุน และลดภาษีลง จนทำให้ EV บางรุ่น ได้ส่วนลดมากสุดถึง 246,000 บาทด้วยกัน แต่เมื่อเทียบกับรถยนต์ขนาดเดียวกัน อย่าง MG ZS ที่มีราคาเริ่มต้นรุ่น C+ ที่ 689,000 บาท และสูงสุดตัวท็อป รุ่น V 799,999 บาท และ MG ZS EV หลังหักส่วนลด มีราคาเริ่มต้นรุ่น D ที่ 949,000 บาท และตัวท็อป รุ่น X 1,023,000 บาท
จะเห็นว่าราคารถยนต์ EV ก็ยังสูงกว่ารถน้ำมันมากเลยทีเดียว เพื่อนๆ ที่มองความคุ้มค่าเป็นหลัก รถยนต์น้ำมันอาจเป็นทางเลือกที่ดีกว่าในช่วงเวลานี้ แต่หากเพื่อนๆ มองเรื่องการรักษ์โลก เทคโนโลยีใหม่ สัมผัสใหม่ในการขับขี่ การเลือกรถยนต์ EV อาจเป็นทางเลือกที่ดีกว่า
 
สมรรถนะที่เหนือกว่า
 
เนื่องจากรถยนต์ EV ใช้มอเตอร์ไฟฟ้า ซึ่งมีแรงบิดมากกว่าตั้งแต่ออกตัว ทำให้อัตราเร่งนั้นสูงกว่าเมื่อเทียบกับรถยนต์ทั่วๆ ไป ทำให้เมื่อนำราคาเทียบกับสมรรถนะ อยู่ในจุดที่ต่ำกว่ามาก เช่น กรณีของ MG ZS EV ที่มี 177 แรงม้า ด้วยราคา หลังหักส่วนลดทั้งหมดแล้วที่ 1,023,000 บาท ทำให้เราต้องจ่ายเงินเพียง 5,779.66 บาทต่อ 1 แรงม้าเท่านั้น ขณะที่รถยนต์ทั่วๆ ไปที่แรงม้าใกล้เคียงกัน อาจมีราคาประมาณ 2,000,000 บาทขึ้นไป ทำให้เราต้องจ่ายเงินถึง 11,299 บาทต่อแรงม้าเลยทีเดียว
 
ค่าดูแลรักษา
 
รถยนต์ EV ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนน้ำมันเครื่อง ทำให้มีค่าดูแลรักษาตามรอบที่ต่ำกว่า เพียงแค่หลักร้อยเท่านั้น หากยังไม่ถึงรอบการเปลี่ยนระบบอื่นๆ เช่น กรองอากาศ หรือ แบตเตอรี่เสื่อม ทำให้เมื่อเทียบกันแล้ว ในระดับราคาที่เท่าๆ กันการใช้ EV นับว่าคุ้มค่ากว่ามาก ทั้งในแง่ของราคาที่ได้รับการสนับสนุน สมรรถนะที่เหนือกว่า ค่าใช้จ่ายในการดูแลที่ต่ำกว่า การประหยัดค่าเชื้อเพลิง และความสามารถในการช่วยโลกของเรา

ข้อเสียของรถยนต์ EV
 
ไม่ใช่ว่า EV จะมีแต่ข้อดี เพราะความที่ EV ยังใหม่สำหรับโลก และประเทศของเรา ทำให้อาจมีข้อกวนใจ ที่ยังต้องคำนึงถึงอยู่บ้าง เช่น
 
 
  • สถานีชาร์จที่ยังไม่แพร่หลาย ทำให้การเดินทางไกล อาจต้องมีการวางแผนเพิ่มเติมมากขึ้น เพื่อให้มั่นใจว่าจะมีสถานีชาร์จระหว่างทาง และทำให้เราไปถึงเป้าหมายได้ หรือ อาจทำให้เหมาะกับไลฟ์สไตล์ของคนที่เดินทางในเส้นทางเดิมๆ ที่มีสถานีชาร์จแน่นอน หรือ เดินทางด้วยระยะทางต่อวันไม่เกินที่ EV จะพาไปได้
  • ใช้เวลาชาร์จนาน หากเป็นการชาร์จระหว่างทางแบบ DC ที่เร็วกว่าการชาร์จทั่วๆ ไป จะต้องใช้เวลาประมาณ 30-45 นาที เพื่อให้แบตเตอรี่ขึ้นมาเป็น 80% ทำให้ต้องวางแผนมากขึ้น
  • การติดตั้งที่ชาร์จที่บ้าน มีค่าใช้จ่ายที่สูงประมาณ 40,000-100,000 บาท ซึ่งแม้จะเป็นการจ่ายครั้งแรกครั้งเดียว แต่ก็นับว่าเป็นเงินก้อนที่ไม่เล็กสำหรับใครหลายๆ คน
  • แบตเตอรี่เสื่อมคือเรื่องใหญ่ เนื่องจากเบตเตอรี่ คือ หัวใจสำคัญของ EV แม้จะมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง แต่ราคาในปัจจุบันนั้นยังนับว่าไม่เป็นมิตรเท่าไหร่ อยู่ที่ราคา 370,000-600,000 บาทเลยทีเดียว ซึ่งแม้จะมีระยะการรับประกันที่ยาวนาน แต่หากเผชิญคราวเคราะห์ แบตเตอรี่เสื่อมนอกระยะเวลาการรับประกัน ก็อาจต้องเตรียมค่าใช้จ่ายส่วนนี้ หรือ พิจารณาซื้อรถคันใหม่เผื่อไว้ด้วย
  • ยังไม่เหมาะกับที่อยู่อาศัยบางชนิด เช่น คอนโด เพราะหากคอนโดนั้นไม่มีสถานีชาร์จแบบ DC อาจทำให้การชาร์จ EV กลายเป็นปัญหากวนใจรายวันได้ เนื่องจากระยะเวลาชาร์จแบบ AC กินเวลานานถึง 6-8 ชั่วโมงเลยทีเดียว
ดังนั้นแล้ว การที่เราจะตัดสินใจเปลี่ยนจากรถยนต์ทั่วๆ ไป มาใช้ EV จึงต้องนำปัจจัยเหล่านี้มาพิจารณาด้วย เช่น
  • ไลฟ์สไตล์ของเรา ว่าเดินทางซ้ำๆ หรือไม่ เดินทางไกลแค่ไหนต่อวัน หรือเดินทางเร่งด่วนบ่อยมากน้อยแค่ไหน
  • ที่พักของเรา สามารถติดตั้งที่ชาร์จได้หรือไม่ และพร้อมจะจ่ายเพิ่มเติมหรือไม่
  • ทำเลที่พัก ต้องเผชิญกับน้ำท่วมหรือไม่ เพราะโดยทั่วไปนั้นแบตเตอรี่มักอยู่ต่ำ ซึ่งหากต้องเผชิญกับน้ำท่วมขังบ่อยๆ อาจส่งผลต่อการเสื่อมสภาพและทำให้มีค่าใช้จ่ายที่ตามมาได้เร็วกว่าคาด
  • เนื่องจากอู่ของ EV เฉพาะทางในไทยยังมีค่อนข้างจำกัด ทำให้อาจต้องพิจารณาเรื่องของรายละเอียด และระยะเวลาการันตีชิ้นส่วนต่างๆ ของ EV โดยเฉพาะอย่างยิ่งแบตเตอรี่ ว่ายาวนานมากน้อยแค่ไหน และมีรายละเอียดเช่นใด เพื่อที่จะได้ลดโอกาสต้องเสียเงินก้อนใหญ่ ก่อนเวลาอันควร
ทั้งหมดนี้นำไปสู่การวางแผนการเงินให้ดี ตั้งแต่เริ่มต้นวางเงินดาวน์ว่าเท่าไหร่จึงเหมาะสม ต่ออัตราการผ่อนของเรา โดยทั่วไปแล้วไม่ควรผ่อนเกิน 40% ของรายได้ทั้งหมด เพื่อให้เรามั่นใจได้ว่าจะสามารถใช้จ่ายได้อย่างคล่องมือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อประกอบกับค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นระหว่างทาง เช่น ค่าประกันรถยนต์ ที่จะต้องมาเยือนเราในทุกๆ ปี ที่มักจะนิยมใช้บริการประกันชั้น 1 ซึ่งมีค่าเบี้ยสูงขึ้นตามทุนประกันของราคารถ ทำให้ค่าเบี้ยสามารถเป็นไปได้ตั้งแต่ 10,000 บาท ไปจนถึง 30,000 บาทต่อปีเลยทีเดียว
 
นอกจากนี้เราอาจต้องชั่งน้ำหนักระหว่างเงินค่าติดตั้งที่ชาร์จ กับเวลาที่อาจประหยัดได้ เพราะการไม่ติดตั้งที่ชาร์จนั้นทำให้ต้องใช้สถานีชาร์จสาธารณะ และต้องใช้เวลาในการชาร์จระหว่างวัน ซึ่งหมายถึงการเสียเวลา 30-45 นาทีต่อการชาร์จ 1 ครั้งสำหรับ DC หรือหากติดตั้งอาจมีค่าใช้จ่ายตั้งแต่ 40,000 บาทไปจนถึง 100,000 บาท ขึ้นอยู่กับว่ามองว่าสิ่งใดคุ้มกว่ากัน หรือ อาจวางแผนในการออมเงิน เพื่อติดตั้งที่ชาร์จที่บ้านหลังจากซื้อ EV มาแล้วเป็นระยะเวลาหนึ่งก็สามารถทำได้เช่นกัน
 
สิ่งที่ตามมาในการใช้รถยนต์ไม่ว่าจะเป็น EV หรือรถใดๆ ก็ตามคือค่าพลังงาน ที่แม้ EV นั้นจะมีค่าไฟฟ้าที่ถูกกว่า แต่การชาร์จที่บ้านก็ยังมีค่าใช้จ่ายที่ไม่คงที่เสียทีเดียว เพราะระบบการคำนวณอัตราค่าไฟของไทย แบ่งออกเป็นช่วง Off Peak ที่มีราคา 2.6369 บาทต่อหน่วย และ On Peak ทื่มีราคาแพงกว่าเกือบ 2 เท่าตัวที่ 5.7982 บาทต่อหน่วย หรือหากชาร์จตามสถานีสาธารณะก็อาจมีค่าใช้จ่ายที่ประมาณ 7.5 บาทต่อหน่วยเลยทีเดียว ทำให้ต้องเผื่อเงินค่าไฟเอาไว้ทั้ง 3 ลักษณะด้วย
 
และแน่นอนว่ากรณีเลวร้ายที่สุดที่อาจเกิดขึ้นคือ การเสื่อมของแบตเตอรี่ที่ราคายังสูงถึงหลักแสนบาท ทำให้ต้องวางแผนเผื่อว่า หากวันนั้นมาถึงจริง จะดึงเงินส่วนไหนมาใช้เป็นค่าเปลี่ยนแบตเตอรี่ หรือ จะพิจารณาขาย EV คันเก่าแล้วซื้อคันใหม่เลย

โดยสรุปแล้ว EV เป็นการตัดสินใจซื้อที่คุ้มค่า แต่ก็มีรายละเอียดปลีกย่อยเป็นจำนวนมากที่ต้องนำมาพิจารณา และวางแผนอย่างถี่ถ้วน เพื่อให้มั่นใจว่าการซื้อ EV ของเรานั้นจะอนุรักษ์โลก ไปพร้อมๆ กับเงินในกระเป๋าของเรา (หากใครสนใจรถยนต์ไฟฟ้า ORA Good Cat สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติม  10 สถิติที่ต้องรู้ก่อนวางแผนซื้อรถ ORA Good Cat ได้ที่นี่!)
แท็กที่เกี่ยวข้อง วางแผนการเงิน การจัดการการเงิน บทความการเงิน 2565 วางแผนการเงินก่อนซื้อรถ ซื้อรถ EV
Money Guru
เขียนโดย เช็คราคา.คอม Money Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่



เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)