10 สถิติที่ต้องรู้ก่อนวางแผนซื้อรถ ORA Good Cat

icon 25 พ.ย. 65 icon 3,819
10 สถิติที่ต้องรู้ก่อนวางแผนซื้อรถ ORA Good Cat
รถยนต์ไฟฟ้า หรือ EV เป็นหนึ่งในเทรนด์ที่ถูกพูดถึงกันมากทั่วโลก ในฐานะหนึ่งเทรนด์สำคัญที่จะลดการปล่อยมลภาวะสู่โลก และช่วยให้โลกของเรานั้นมีโอกาสรอดพ้นจากภาวะโลกร้อนได้มากขึ้น ในปัจจุบันนี้รถยนต์ EV สามารถหาซื้อได้ง่าย ในราคาที่จับต้องได้ และมีศักยภาพในการใช้ชีวิตประจำวันมากยิ่งขึ้น
 
ส่วนหนึ่งเป็นเพราะมีการสนับสนุนให้ซื้อรถยนต์ไฟฟ้ากันมากขึ้น ทำให้มีหลากหลายบริษัทนำเข้ารถยนต์จากต่างประเทศ หรือบริษัทจากต่างประเทศนั้นนำเข้า EV มาจำหน่ายในไทยมากขึ้นนั่นเอง และหนึ่งในแบรนด์ที่ถูกพูดถึงกันมากก็คือ ORA Good Cat หนึ่งในแบรนด์ของบริษัท Great Wall Motor (GWM)
ORA Good Cat มีทั้งหมด 4 รุ่น ประกอบไปด้วย 400 TECH, 400 PRO, 500 ULTRA และ GT ซึ่งจะแตกต่างกันไปในรายละเอียดปลีกย่อย สำคัญคือ ก่อนที่เราจะตัดสินใจรับร้บน้องแมว (ORA Good Cat) เหล่านี้มาเลี้ยงดู จะต้องพิจารณาอะไรบ้าง และควรเตรียมวางแผนการเงินอย่างไร บทความนี้รวบรวมมาให้ 10 สถิติด้วยกันครับ

ข้อที่ 1 ความแตกต่างของแต่ละรุ่น
 
รุ่น 400 TECH และ 400 PRO เรียกได้ว่าเป็นพี่น้องฝาแฝดกัน มีความเหมือนกันมากทั้งในแง่ของขนาดรถ มอเตอร์ไฟฟ้า แบตเตอรี่ที่ใช้แบบลิเธียมไอออนฟอสเฟต กำลังการขับ และกลไกหลักๆ เช่น ช่วงล่าง และระบบเบรค
 
แต่จะมีความแตกต่างกันเล็กน้อย ในแง่ของระบบไฟฟ้า อุปกรณ์ตกแต่ง วัสดุภายในรถ และขนาดล้อ จุดแตกต่างสำคัญคือ 400 PRO จะมีระบบความสะดวกสบายที่เหนือกว่าอย่างชัดเจน เช่น ระบบปรับไฟสูง-ต่ำอัตโนมัติ ระบบปัดน้ำฝนอัตโนมัติ หลังคาซันรูฟที่ เปิด - ปิดด้วยระบบไฟฟ้า ระบบไล่ฝ้าภายในห้องโดยสาร และระบบชาร์จโทรศัพท์แบบไร้สาย เป็นต้น
 
ขณะที่ 500 ULTRA มีขนาด มอเตอร์ไฟฟ้า กำลังการขับ และกลไกหลักๆ เช่น ช่วงล่าง และระบบเบรคเหมือนกับ 2 รุ่นแรก แต่จะแตกต่างเพิ่มเติม คือ แบตเตอรี่ที่ใช้เป็น ลิเธียม Ternary ช่วยเพิ่มระยะการขับขี่ให้ไกลกว่า สีตกแต่งภายในที่มีให้เลือกหลากสี และมีความสะดวกสบาย และระบบความปลอดภัยที่เพิ่มขึ้น ทั้งระบบเบาะนวดไฟฟ้าสำหรับคนขับ ระบบช่วยจอดรถอัจฉริยะ ระบบช่วยควบคุมรถให้อยู่ในเลนในภาวะฉุกเฉิน เป็นต้น
 
และพี่ใหญ่อย่าง GT ที่แม้ภายนอกจะดูคล้ายกัน แต่ภายในนั้นแตกต่างกันมากพอสมควร ทั้งการเลือกใช้สีดำ-แดงภายใน การตกแต่งระบบเบรกด้วยคาลิปเปอร์สีแดง ทั้งหน้าและหลัง ช่วยให้มีความสปอร์ตมากขึ้น ระบบความสะดวกสบายที่เพิ่มขึ้น เช่น ระบบเบาะนวดไฟฟ้าที่มาทั้งคนขับและเบาะนั่งด้านหน้า และศักยภาพที่เพิ่มขึ้น โดย GT นั้นจะมีแรงบิด และกำลังสูงสุดมากกว่า 3 รุ่นที่เหลือ 

ข้อที่ 2 ราคาเท่าไหร่
 
ปัจจุบันราคาล่าสุดของแต่ละรุ่นมีดังนี้
  • 400 TECH : 763,000 บาท
  • 400 PRO : 825,000 บาท
  • 500 ULTRA : 959,000 บาท
  • GT : 1,286,000 บาท
เมื่อเทียบกับรถยนต์เดิมๆ ทั่วๆ ไป ในราคาใกล้เคียงกันจะมีให้เลือกตั้งแต่รถ SUV อย่าง MG HS 2022 ที่มีราคาตั้งแต่ 939,000 - 1,159,000 บาท และ MG HS PHEV 2022 ที่มีราคาตั้งแต่ 1,299,000 - 1,379,000 บาท หรือรถ Sedan 4 ประตูอย่าง Toyota Corolla Altis 2022 ที่มีราคาตั้งแต่ 879,000 - 1,114,000 บาท 
 
เมื่อดูในราคาที่ใกล้เคียงกันแล้ว ยังมีตัวเลือกอื่นที่ขนาดใหญ่กว่า กว้างกว่า เอนกประสงค์กว่าอีกมาก และปฏิเสธไม่ได้ว่าในช่วงเวลานี้ การเติมน้ำมันยังให้ความสะดวกกว่าการชาร์จรถไฟฟ้ามากเช่นกัน แต่หากใครที่ต้องการเทคโนโลยีใหม่ ประสบการณ์ขับรถแบบใหม่ และรูปลักษณ์ของรถที่เป็นเอกลักษณ์ ORA Good Cat ก็เป็นรุ่นที่ตอบโจทย์มาก

ข้อที่ 3 ขับได้ไกลแค่ไหน
 
 
แม้ EV จะได้รับการสนับสนุนอย่างมาก แต่ยังใหม่พอสมควรสำหรับประเทศไทย ทำให้ผู้ที่สนใจรับน้องแมวมาไว้ใช้งานนั้น อาจต้องประเมินคร่าวๆ ถึงระยะทางที่ ORA Good Cat สามารถพาไปได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการเดินทางออกต่างจังหวัด หรือ ไปในเส้นทางไม่ประจำ ซึ่งอาจทำให้มองหาสถานีชาร์จได้จำกัด
 
โดยหลักๆ แล้ว 400 PRO และ TECH จะขับได้สูงสุด 400 กิโลเมตร ขณะที่ GT และ 500 ULTRA จะขับได้สูงสุด 500 กิโลเมตรด้วยกัน แต่ยังมีปัจจัยอื่นๆ มากระทบอีกมาก เช่น การใช้ความเร็ว สไตล์การขับ รถติดมากน้อยแค่ไหน ทำให้อาจต้องเผื่อระยะทางเอาไว้บ้าง ที่ 70-80% ของระยะทางที่บริษัทเคลมไว้
 
ข้อที่ 4 ชาร์จนานแค่ไหน
 
โดยทั่วไปแล้วสถานีชาร์จจะมี 2 ระบบด้วยกัน คือ AC (ไฟฟ้ากระแสสลับ) และ DC (ไฟฟ้ากระแสตรง) ซึ่งการชาร์จแบบ DC จะเร็วกว่ามาก โดยเวลาที่ระบุไว้ของทั้ง 4 รุ่นนั้น หากต้องการชาร์จจาก 0 - 80% จะใช้เวลาเพียง 32 - 40 นาทีเท่านั้น ขณะที่หากชาร์จด้วยระบบ AC หรือไฟฟ้าตามบ้านเราทั่วๆ ไป จะต้องใช้เวลา 8 - 10 ชั่วโมงเลยทีเดียว ทำให้เราต้องพิจารณาถึงที่พักของเราด้วย

ข้อที่ 5 การชาร์จไฟ EV คุ้มค่ามากแค่ไหน
 
 
หนึ่งในสาเหตุสำคัญที่คนจำนวนมากเลือกใช้ EV คือเพื่อที่จะประหยัดค่าน้ำมัน โดยปกติแล้วรถยนต์ทั่วๆ ไปจะสามารถวิ่งได้ 10 - 17 กิโลเมตรต่อน้ำมัน 1 ลิตร ขณะที่รถยนต์ไฮบริดจะวิ่งได้ 15 - 24 กิโลเมตร เมื่อเทียบกับราคาน้ำมันที่ถูกที่สุดในปัจจุบัน เท่ากับว่ารถยนต์ทั้งสองประเภทนี้ มีค่าใช้จ่ายต่ำที่สุดที่ 2.3 บาท และ 1.4 บาทต่อกิโลเมตร
 
ขณะที่รถ EV นั้น โดยทั่วไปแล้ว หากชาร์จที่บ้านจะถูกกว่าชาร์จตามสถานีทั่วๆ ไป จะมีค่าใช้จ่าย 2.6369 - 5.7982 บาทต่อหน่วย แล้วแต่ช่วงเวลาในการชาร์จ ซึ่งไฟฟ้า 1 หน่วยนั้น รถจะสามารถวิ่งได้ 4 - 7 กิโลเมตร ทำให้ค่าใช้จ่ายต่ำสุดจะอยู่ที่ประมาณ 0.37 บาทต่อกิโลเมตร ถ้ามองในแง่นี้ EV นับว่าคุ้มค่า แม้จะคำนวณจากอัตราค่าไฟในช่วงเวลาที่สูงสุดก็ตาม 
 
แต่สิ่งที่ต้องพิจารณาคู่กัน คือ เรื่องของระยะเวลาที่หากเติมน้ำมัน อาจใช้เวลาเพียง 5-10 นาทีเท่านั้น ขณะที่ EV จะต้องใช้เวลาประมาณ 30 นาทีขึ้นไป ในกรณีที่เป็นระบบจ่ายแบบ DC 
 
หากไลฟ์สไตล์เร่งรีบ การใช้ EV อาจต้องวางแผนการเดินทางล่วงหน้าพอสมควร โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับหลายๆ ท่านที่เมื่อชาร์จ EV ตามสถานีต่างๆ แล้วต้องใช้จ่ายทั้งซื้ออาหาร หรือ สินค้าในบริเวณใกล้เคียงระหว่างรอ เมื่อคำนวณแล้วอาจเสียค่าใช้จ่ายมากกว่าการใช้รถน้ำมันได้ ทำให้ต้องพิจารณาทั้งไลฟ์สไตล์การขับขี่ และการใช้จ่ายระหว่างรอชาร์จไฟเข้าไปรวมด้วย

ข้อที่ 6 ที่พักเป็นอย่างไร อยู่ในทำเลไหน และไกลแค่ไหน
 
แม้จำนวนที่ชาร์จ EV จะเติบโตต่อเนื่อง แต่ยังมีอยู่ค่อนข้างจำกัด เมื่อเทียบกับสถานีน้ำมันทั่วๆ ไป ทำให้เราต้องพิจารณาว่าที่พักของเราอยู่ห่างไกลแค่ไหนจากสถานที่ที่เดินทางประจำ เช่น ที่ทำงาน เพื่อที่จะได้คำนวณความถี่ของการชาร์จได้อย่างเหมาะสม
 
หรือหากพักอาศัยในคอนโด มีที่ชาร์จหรือไม่ หากไม่มี หรือมีแต่สถานีชาร์จแบบ AC ที่กินเวลาถึง 8 ชั่วโมง อาจทำให้ยากลำบากในการชาร์จขึ้นไปอีกระดับ
 
นอกจากนั้นแล้ว ทำเลยังมีผล เช่น มีน้ำท่วมขังหรือไม่ และบ่อยแค่ไหน เพราะการท่วมขังอาจส่งผลต่ออายุของแบตเตอรี่ในระยะยาว ซึ่งแน่นอนว่าจะส่งผลต่อภาระค่าใช้จ่ายในการดูแลอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะราคาแบตเตอรี่ที่เป็นหัวใจของ EV ปัจจุบันอยู่ที่ 370,000 - 600,000 บาทเลยทีเดียว ซึ่งแม้จะมีระยะการรับประกันที่ยาวนาน แต่หากแบตเตอรี่เสื่อมนอกระยะเวลาการรับประกัน หรือเสื่อมเพราะการใช้งานที่ผิดเงื่อนไขก็อาจต้องเตรียมค่าใช้จ่ายส่วนนี้ หรืออาจพิจารณาซื้อรถคันใหม่ในอนาคตเผื่อไว้ด้วย
 
ข้อที่ 7 ค่าใช้จ่ายในการติดตั้งที่ชาร์จที่บ้านเท่าไหร่
 
จากข้อ 5 ทำให้มาสู่การพิจารณาการติดตั้งที่ชาร์จที่บ้าน ที่มีค่าใช้จ่ายตามมา ทั้งที่เกี่ยวข้องกับการติดตั้งโดยตรง เช่น ค่าแรง อุปกรณ์ ไปจนถึงค่าใช้จ่ายทางอ้อม เช่น ค่าเปลี่ยนแปลงมิเตอร์ไฟ หรือ ค่าธรรมเนียมการไฟฟ้า เป็นต้น ซึ่งเป็นไปได้ตั้งแต่ 40,000 บาทถึงเกือบ 100,000 บาท แล้วแต่กำลังไฟ แบรนด์ และรุ่นที่ต้องการ
 
ข้อที่ 8 ค่าบำรุงรักษาเท่าไหร่
 
รถยนต์ EV มีค่าบำรุงรักษาที่ไม่ถูกเมื่อเทียบกับรถยนต์ทั่วๆ ไป ในระยะยาว ชิ้นส่วนสำคัญที่สุดของ EV อย่าง ORA Good Cat คือแบตเตอรี่ ที่ในปัจจุบันยังมีราคาสูงระดับ 400,000 - 600,000 บาทด้วยกัน แต่ถึงอย่างนั้น ทาง GWM เองก็ไม่ได้ปล่อยให้ลูกค้ารับความเสี่ยงไว้ทั้งหมด เนื่องจากจะมีการรับประกัน 8 ปี หรือ 180,000 กิโลเมตรไว้ให้ ดังนั้นอาจต้องพิจารณาในส่วนนี้อย่างถี่ถ้วนด้วย

ข้อที่ 9 บริการหลังการขายมีอะไรบ้าง
 
นอกจากการรับประกันอุปกรณ์ และชิ้นส่วนทั้งหลายแล้ว บริการหลังการขายอื่นๆ ก็เป็นสิ่งที่น่าสนใจพิจารณาไม่แพ้กัน โดย ORA Good Cat มีให้ตั้งแต่ Application ที่จะช่วยหาสถานีชาร์จ เล่นกิจกรรมรับของรางวัล บริการช่วยเหลือฉุกเฉิน กุญแจสำรองฉุกเฉิน แพ็กเกจบำรุงรักษาตามระยะทางฟรี 5 ปี และ บริการ PICK-UP AND DELIVERY ON DEMAND ที่จะไปรับและส่งรถให้คุณในยามที่ต้องการนำเข้าตรวจสภาพ เป็นต้น

ข้อที่ 10 ผ่อนต่อเดือนเท่าไหร่
 
หากตัดสินใจที่จะเลือกซื้อ EV จากสิ่งที่ควรรู้ทั้งหมด 9 ข้อแล้ว สิ่งที่ตามมา คือ อัตราการผ่อนของน้องแมวที่ตรงสเปคเรา การใช้บริการสินเชื่อรถยนต์ จะสามารถผ่อนชำระยาวนานได้สูงสุด 5 - 7 ปี ด้วยอัตราดอกเบี้ยที่ 3 - 5% แล้วแต่โปรโมชัน ธนาคาร และอัตราดอกเบี้ยขณะนั้น
 
เมื่อพิจารณาจากราคาของน้องแมวทั้ง 3 รุ่น จะได้ราคาต่ำที่สุดคือ 400 TECH ที่ 828,500 บาท และราคาสูงสุดที่ 1,286,000 บาท สำหรับรุ่น GT ในที่นี้จะขอคำนวณที่อัตราดอกเบี้ยที่สูงที่สุดประมาณ 5% โดยไม่มีโปรโมชันใดๆ และไม่วางเงินดาวน์ เพื่อให้เห็นถึงกรณีที่เราต้องจ่ายสูงที่สุด
 
อัตราการผ่อน 5 ปีและ 7 ปีสำหรับ 400 TECH จะอยู่ที่ประมาณ 13,350 - 17,300 บาท ขณะที่สำหรับรุ่น GT นั้นจะอยู่ที่ประมาณ 21,000 - 22,300 บาทด้วยกัน
 
ท้ายที่สุดนี้จะเห็นได้ว่าการผ่อนชำระรถยนต์หนึ่งคันนั้น ค่อนข้างสูงเลยทีเดียว เพราะฉะนั้นแล้วการวางแผนการเงินจึงเป็นเรื่องสำคัญ ทั้งในส่วนของการวางเงินดาวน์เอง ที่เราสามารถทยอยออมไปได้เรื่อยๆ เพื่อให้ได้เงินดาวน์ที่สูงขึ้น ซึ่งจะช่วยลดอัตราผ่อนในแต่ละเดือนลง พร้อมกับลดดอกเบี้ยที่ต้องเสียไปด้วย 
 
รวมไปถึงการวางแผนการผ่อนในแต่ละเดือนที่ไม่ควรจะเกิน 40% ของเงินเดือน เพราะการซื้อรถหนึ่งคัน ไม่ใช่เพียงแค่ผ่อน หากแต่ยังมีรายจ่ายอื่นๆ ที่อาจตามมาได้ทั้งคาดฝัน และไม่คาดฝัน การวางแผนไว้ ย่อมดีมากกว่าและทำให้เรามั่นใจได้ว่าจะสามารถผ่อนรถคันนี้ได้อย่างราบรื่นนะครับ
แท็กที่เกี่ยวข้อง วางแผนการเงิน MOTOR EXPO 2022 บทความการเงิน 2565 The 39th Thailand International Motor Expo 2022 ซื้อรถ ORA Good Cat วางแผนการเงินก่อนซื้อรถ
Money Guru
เขียนโดย เช็คราคา.คอม Money Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่



เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)