กองทุนรวมมีกี่ประเภท ซื้อกองทุนรวมแบบไหนดี

icon 3 ก.พ. 65 icon 3,511
กองทุนรวมมีกี่ประเภท ซื้อกองทุนรวมแบบไหนดี
ปฏิเสธไม่ได้ว่าสินทรัพย์การเงินที่เหมาะสมกับมือใหม่ รวมถึงมนุษย์เงินเดือนที่อยากเริ่มต้นลงทุนที่สุด คือ “กองทุนรวม” เพราะเราไม่ค่อยมีเวลามาศึกษามากนัก การที่มีมืออาชีพอย่างผู้จัดการกองทุนคอยบริหารเงินให้เรา ก็ช่วยเพิ่มความสะดวกให้เราได้มากเลยทีเดียว แต่เราก็ควรจะต้องศึกษาเพิ่มเติมด้วย เพราะขึ้นชื่อว่าเป็นการลงทุน ยังไงก็แลกมากับความเสี่ยงเสมอ
 
ในบทความนี้ จะมาเล่าให้เพื่อนๆ ฟังว่ากองทุนรวมมีทั้งหมดกี่ประเภท? แล้วถ้าอยากจะซื้อกองทุนรวมสักกอง ควรจะเลือกซื้อแบบไหนดี?

กองทุนรวมมีกี่ประเภท
 
หากแบ่งตามระดับความเสี่ยง กองทุนรวมจะมีทั้งหมด 8 ประเภท จะมีประเภทไหนบ้าง อ่านกันต่อได้เลย

ที่มา: https://www.setinvestnow.com
 
ความเสี่ยงระดับที่ 1 - กองทุนรวมตลาดเงินในประเทศ
 
เน้นลงทุนในตราสารหนี้ระยะสั้น ทั้งเงินฝาก ตั๋วเงิน ที่เป็นตราสารหนี้ที่มีอายุคงเหลือไม่เกิน 1 ปี ซึ่งเป็นการกู้เงินของสถาบันการเงิน อย่างธนาคาร รวมถึงรัฐบาล ทำให้มีความเสี่ยงต่ำที่สุด เพราะมีความมั่นคง และความน่าเชื่อถือสูง
 
ความเสี่ยงระดับที่ 2 - กองทุนรวมตลาดเงินต่างประเทศ
 
ลงทุนในสินทรัพย์เหมือนความเสี่ยงระดับที่ 1 แต่อาจมีการลงทุนในต่างประเทศบางส่วน ทำให้มีความเสี่ยงเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนเข้ามา แต่กองทุนประเภทนี้ จะมีการป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนไว้อยู่แล้ว ยังถือว่ามีความเสี่ยงที่ต่ำ
 
ความเสี่ยงระดับที่ 3 - กองทุนรวมพันธบัตรรัฐบาล
 
เน้นลงทุนในตราสารหนี้ภาครัฐ ที่มีอายุคงเหลือมากกว่า 1 ปีขึ้นไป อย่างพันธบัตรรัฐบาล และพันธบัตรรัฐวิสาหกิจ ทำให้มีความผันผวนเรื่องราคามากกว่ากองทุนรวมตลาดเงิน
 
ความเสี่ยงระดับที่ 4 - กองทุนรวมตราสารหนี้
 
นอกจากจะลงทุนในตราสารหนี้ภาครัฐแล้ว ยังลงทุนในภาคเอกชน หรือที่เรียกว่าหุ้นกู้ด้วย ซึ่งอายุคงเหลือของตราสารหนี้จะมีทั้งแบบไม่เกิน 1 ปี จะเรียกว่ากองทุนรวมตราสารหนี้ระยะสั้น และมากกว่า 1 ปี จะเรียกว่ากองทุนรวมตราสารหนี้ระยะยาว
 
ความเสี่ยงระดับที่ 5 - กองทุนรวมผสม
 
เป็นกองทุนรวมที่ลงทุนผสมกันระหว่างตราสารหนี้และตราสารทุน ซึ่งสัดส่วนการลงทุนจะลงทุนอาจจะเป็น 50:50 หรือ 40:60 หรือจะเป็นเท่าไหร่ ต้องไปดูที่นโยบายการลงทุนของกองทุน ยิ่งมีสัดส่วนการลงทุนของตราสารทุนมาก ความเสี่ยงก็จะเพิ่มขึ้น
 
ความเสี่ยงระดับที่ 6 - กองทุนรวมตราสารทุน (หุ้น)
 
เป็นกองทุนที่มีสัดส่วนของตราสารทุน หรือ หุ้น ไม่ต่ำกว่า 65% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม ยังสามารถแตกประเภทได้อีกมากมาย เช่น กองทุนรวมหุ้นไทย กองทุนรวมหุ้นต่างประเทศ รวมไปถึงกองทุนประหยัดภาษีอย่าง SSF ด้วยเช่นกัน
 
ความเสี่ยงระดับที่ 7 - กองทุนรวมหมวดอุตสาหกรรม
 
เน้นลงทุนในหุ้นแบบเจาะจงอุตสาหกรรม เช่น กลุ่ม Healthcare กลุ่มเทคโนโลยี หรือกลุ่มพลังงาน ทำให้มีความเสี่ยงสูงกว่าระดับที่ 6 เพราะต้องมีความรู้ ความเข้าใจในอุตสาหกรรมนั้นๆ มากขึ้น
 
ความเสี่ยงระดับที่ 8 - กองทุนรวมทางเลือก
 
เน้นลงทุนในสินทรัพย์ทางเลือกอื่นๆ นอกเหนือจากตราสารหนี้และตราสารทุน เช่น ทองคำ น้ำมัน และอสังหาริมทรัพย์ ผู้ลงทุนส่วนใหญ่จะลงทุนในกองทุนประเภทนี้เพื่อกระจายความเสี่ยง ซึ่งเป็นตัวช่วยลดความเสี่ยงของพอร์ตโดยรวมได้
 
ซื้อกองทุนรวมแบบไหนดี
 
หลังจากได้รู้จักประเภทของกองทุนรวมไปแล้ว เพื่อนๆ คงอยากรู้ต่อว่าถ้าอยากเลือกซื้อกองทุนรวมสักกอง จะเลือกแบบไหนดี สิ่งที่จะตอบได้ว่า เราควรจะซื้อกองทุนรวมแบบไหนดี คือ "เป้าหมายการเงิน" ของเราเอง
 
ลองมาสำรวจกันดูว่า เราลงทุนไปเพื่อเป้าหมายอะไร
  • ต้องการสภาพคล่อง : ควรลงทุนในกองทุนรวมที่ระดับความเสี่ยงต่ำ ที่มีความสามารถในการเปลี่ยนกลับมาเป็นเงินสดได้เร็ว คือ กองทุนรวมใน 3 ระดับความเสี่ยงแรก ได้แก่ กองทุนรวมตลาดเงินในประเทศ กองทุนรวมตลาดเงินต่างประเทศ และกองทุนรวมพันธบัตรรัฐบาล เมื่อทำรายการขายกองทุนแล้ว จะได้รับเงินเข้าบัญชีในวันทำการวันถัดไป
     
  • ต้องการเก็บเงินก้อน : ไม่ว่าจะเป็นการเก็บเงินซื้อของทั่วไป วางแผนไปเที่ยว เรียนต่อปริญญาโท ดาวน์รถ ดาวน์บ้าน ไปจนถึงการวางแผนเกษียณอายุ ควรเลือกกองทุนให้เหมาะสมกับระยะเวลาที่ต้องการใช้เงิน
    - ต้องการใช้เงินในภายใน 1-3 ปี (ระยะสั้น) เนื่องจากเป็นเป้าหมายระยะสั้น ควรเก็บเงินไว้ในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำ อย่างกองทุนรวมตราสารหนี้
    - ต้องการใช้เงินภายใน 3-7 ปี (ระยะกลาง) เนื่องจากมีระยะเวลามากขึ้น สามารถขยับความเสี่ยงขึ้นมาลงทุนในกองทุนรวมผสม ที่มีการลงทุนในตราสารหนี้และตราสารทุน ในสัดส่วน 40:60 50:50 หรือ 60:40
    - ต้องการใช้เงินหลังจาก 7 ปีขึ้นไป (ระยะยาว) เป็นระยะเวลาที่ครบรอบวัฏจักรเศรษฐกิจ 1 รอบแล้ว สามารถลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงสูงอย่างกองทุนรวมหุ้นได้ เพื่อเพิ่มโอกาสในการรับผลตอบแทนที่มากขึ้น
     
  • ต้องการเงินปันผลประจำ : บางคนที่เกษียณแล้วอาจต้องการรายได้ประจำในรูปแบบของเงินปันผลโดยเงินลงทุนไม่ลดลง ในกรณีนี้สามารถซื้อกองทุนรวมตราสารหนี้ที่มีการปันผลได้ แต่ถ้าหากอายุยังไม่มากแต่อยากได้ปันผลมาใช้จ่าย แนะนำให้ลงทุนกองทุนรวมผสมหรือกองทุนรวมตราสารทุนแบบปันผล

สุดท้ายขึ้นชื่อว่าการลงทุน ไม่ว่าจะมีระดับความเสี่ยงที่ต่ำ หรือสูง ก็ย่อมมีความเสี่ยงทั้งนั้น ทางทีมงานหวังว่าบทความนี้จะทำให้ทุกคนสามารถเริ่มต้นลงทุนได้อย่างระมัดระวังมากขึ้น และช่วยให้ทุกคนประสบความสำเร็จ ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้
แท็กที่เกี่ยวข้อง กองทุนรวม มือใหม่หัดลงทุน ลงทุนกองทุนรวม กองทุนรวม ปี 2565 เป้าหมายการเงิน
Money Guru
เขียนโดย เช็คราคา.คอม Money Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่



เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)