วางแผนการเงินต้อนรับปีใหม่ 2566 อย่างไร ให้ไปถึงเป้าหมาย

icon 26 ธ.ค. 65 icon 5,684
วางแผนการเงินต้อนรับปีใหม่ 2566 อย่างไร ให้ไปถึงเป้าหมาย
เผลอแป๊บเดียวก็เข้าสู่เดือนสุดท้ายของปี 2565 แล้ว เชื่อว่าเพื่อนๆ หลายๆ คนคงได้วางแผนท่องเที่ยวเพื่อพักผ่อนจากการทำงานตลอดทั้งปี นอกจากการท่องเที่ยวแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่เพื่อนๆ หลายๆ คนอยากทำด้วยเหมือนกัน คงเป็นเรื่องการตั้งเป้าหมายปีใหม่ เพื่อการใช้ชีวิตให้ดีขึ้นกว่าเดิม หนึ่งในเป้าหมายปีใหม่คงหนีไม่พ้นเรื่องการวางแผนการเงิน บทความนี้จะมาแชร์ 4 ขั้นตอนการวางแผนการเงินต้อนรับปีใหม่ ให้ไปถึงเป้าหมายได้สำเร็จ!

ขั้นตอนที่ 1 รู้จักการตั้งเป้าหมายเพื่อการวางแผนการเงิน

ทุกเรื่องในชีวิตล้วนต้องใช้เงิน ตั้งแต่การใช้จ่ายทั่วไปในชีวิตประจำวัน ทั้งค่าอาหาร ค่าเดินทาง ไปจนถึงการใช้จ่ายด้วยเงินก้อนใหญ่ อย่างการท่องเที่ยว การเรียนต่อปริญญาโท การแต่งงาน การเลี้ยงดูบุตร การวางแผนเกษียณ ฯลฯ
 
ทุกเป้าหมายดูจะสำคัญไปหมด แต่จะวางแผนเก็บเงินอย่างไรให้ไปถึงเป้าหมาย ควรจะแบ่งการตั้งเป้าหมายตามระยะเวลา ซึ่งสามารถแบ่งได้ 3 ระยะ คือระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว ดังนี้
 
เป้าหมายระยะสั้น (น้อยกว่า 3 ปี)
 
บางคนอาจจะมีเป้าหมายเก็บเงินแสนแรกให้ได้ เก็บเงินซื้อโทรศัพท์เครื่องใหม่ ซึ่งเป้าหมายระยะสั้นแบบนี้ เราควรเก็บเงินในสินทรัพย์ที่ความเสี่ยงต่ำ และมีสภาพคล่องสูง สามารถเปลี่ยนกลับมาเป็นเงินสดได้เร็ว อย่างกองทุนรวมตราสารหนี้ระยะสั้น และกองทุนรวมตราสารหนี้ระยะกลาง เพราะเมื่อถึงเวลาที่ต้องใช้เงินก้อนนี้ เงินจะเข้าบัญชีในอีกเพียง 1-2 วันทำการเท่านั้น หลังจากกดคำสั่งขาย และมีผลตอบแทนสูงกว่าดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์
 
เป้าหมายระยะกลาง (3-7 ปี)
 
สำหรับเป้าหมายของเพื่อนๆ ที่มีระยะเวลาเพิ่มมากขึ้น อย่างการเก็บเงินค่าดาวน์บ้าน ค่าเทอมลูก เป็นเป้าหมายที่สามารถลงทุนสินทรัพย์ความเสี่ยงสูงได้มากขึ้น เหมาะกับการลงทุนในกองทุนรวมผสม เป็นกองทุนที่ลงทุนในหลากหลายสินทรัพย์ ไม่ว่าจะเป็นหุ้น และตราสารหนี้ทั่วโลก กองทุนอสังหาฯ ฯลฯ อาจมีบางช่วงเวลาที่เงินต้นขาดทุนบ้าง แต่มีโอกาสได้รับผลตอบแทนที่มากขึ้นเช่นกัน
 
เป้าหมายระยะยาว (> 7 ปี)
 
เป้าหมายระยะสุดท้าย อาจเป็นเป้าหมายในการเก็บเงินล้านแรก หรือการเก็บเงินเพื่อการเกษียณ ถือว่ามีระยะเวลาที่ยาวนานมากพอ เหมาะสมกับการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงสูงอย่างกองทุนรวมหุ้น หรือหุ้นพื้นฐานดี

ขั้นตอนที่ 2 ตั้งเป้าหมายแบบ SMART

SMART คือ หลักในการตั้งเป้าหมายให้ชัดเจนและสามารถทำได้จริง โดยที่..
  • S = Specific มีความชัดเจน
  • M = Measurable สามารถวัดผลได้
  • A = Achievable วิธีการที่จะทำให้สำเร็จ
  • R = Realistic สามารถเกิดขึ้นจริงได้
  • T = Time-Bound มีระยะเวลากำหนดที่แน่นอน
ตัวอย่างเป้าหมายที่ SMART

จะเก็บเงินสำรองเผื่อฉุกเฉิน เพื่อใช้จ่ายในยามจำเป็น จำนวน 100,000 บาท โดยจะหักออมจากเงินเดือน เดือนละ 5,000 บาท เป็นระยะเวลา 20 เดือน
  • Specific = เก็บเงินสำรองฉุกเฉิน เพื่อใช้จ่ายในยามจำเป็น
  • Measurable = จำนวน 100,000 บาท
  • Achievable = ออมเงินโดยการหักจากเงินเดือน
  • Realistic = เดือนละ 5,000 บาท
  • Time-Bound = เป็นระยะเวลา 20 เดือน

ขั้นตอนที่ 3 พร้อมแล้วลุยเลย

เมื่อรู้จักระยะเวลาของเป้าหมายที่เหมาะสม และการตั้งเป้าหมายที่ชัดเจน เป็นไปได้จริงแล้ว ก็เตรียมตัวเริ่มทำตามแผนได้เลย สำหรับเพื่อนๆ ที่มีบัญชีลงทุนอยู่แล้ว สามารถตั้ง DCA ในการออมเงินแต่ละเดือนได้เลย แต่สำหรับเพื่อนๆ ที่ยังไม่มีบัญชี สามารถศึกษาหาข้อมูลบริษัทหลักทรัพย์ที่สนใจ และทำการเปิดพอร์ตไว้ เพื่อจะได้เริ่มเก็บเงินได้ตั้งแต่เดือนแรกของปีใหม่
 
ปัจจุบันการเปิดบัญชีหุ้นและกองทุนหลายๆ ที่ สามารถทำผ่านออนไลน์ได้สะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย ไม่ต้องเดินทาง ไม่ต้องใช้เอกสาร
 
10 ตัวอย่างบริษัทหลักทรัพย์สำหรับเปิดบัญชีหุ้น
 
บริษัทหลักทรัพย์ เว็บไซต์ ค่าธรรมเนียม ขั้นต่ำ
บริษัทหลักทรัพย์ บัวหลวง จำกัด (มหาชน) https://www.bualuang.co.th/ 0.157% ไม่มี
บริษัทหลักทรัพย์ กสิกรไทย จำกัด (มหาชน) https://www.kasikornsecurities.com/ 0.157% 50 บาท
บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี จำกัด (มหาชน) https://www.krungsrisecurities.com/ 0.157% 50 บาท
บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส จำกัด https://www.asiaplus.co.th/ 0.157% ไม่มี
บริษัทหลักทรัพย์ ฟินันเซีย ไซรัส จำกัด (มหาชน) https://www.finansiahero.com/ 0.157% ไม่มี
บริษัทหลักทรัพย์ หยวนต้า (ประเทศไทย) จำกัด https://www.yuanta.co.th/ 0.157% ไม่มี
บริษัทหลักทรัพย์ ฟิลลิป (ประเทศไทย) จํากัด (มหาชน) https://www.poems.in.th/ 0.157% ไม่มี
บริษัทหลักทรัพย์ โนมูระ พัฒนสิน จำกัด (มหาชน) https://www.nomuradirect.com/ 0.157% 50 บาท
บริษัทหลักทรัพย์ เอสบีไอไทย ออนไลน์ จำกัด https://www.sbito.co.th/ 0.082% ไม่มี
บริษัทหลักทรัพย์ จีเอ็มโอ-แซด คอม (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) https://th.trade.z.com/ 0.072% ไม่มี
 
แต่สำหรับนักลงทุนมือใหม่ที่กำลังอยากเริ่มต้น การเริ่มต้นด้วยกองทุนรวมจะมีความเสี่ยงน้อยกว่า เพราะมีผู้จัดการกองทุนคอยดูแลเงินของเราให้ มีนโยบายการลงทุนให้เลือกหลากหลาย และสินทรัพย์มีความเสี่ยงหลายระดับตั้งแต่เสี่ยงต่ำไปจนถึงเสี่ยงสูง และในปัจจุบันมีบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนมากกว่า 20 แห่ง จึงควรเลือกเปิดบัญชีกองทุนกับบริษัทที่สามารถซื้อได้หลากหลายกองทุนในบัญชีเดียว เช่น FINNOMENA, Phillip, NOMURA
 
ตัวอย่างการเปิดบัญชีกองทุนกับ FINNOMENA
 
 
  1. โหลดแอปฯ FINNOMENA ผ่าน App Store หรือ Play Store
  2. สมัครสมาชิก
  3. เลือกแผนการลงทุนที่สนใจ เช่น ต้องการเก็บเงินระยะสั้น ให้เลือกพอร์ต Money Plus หรือ Plus ต้องการเก็บเงินระระยาวตามเป้าหมายแบบ DCA ให้เลือกพอร์ต 1st Million สำหรับการเก็บเงินล้านแรก เลือกพอร์ต Goal สำหรับการเก็บเงินเพื่อเป้าหมายอื่นๆ เช่น ดาวน์รถ/บ้าน เรียนต่อปริญญาโท การศึกษาลูก เกษียณอายุ 
  4. เปิดบัญชีลงทุน โดยเตรียมบัตรประชาชนตัวจริงไว้ถ่ายรูปยืนยันตัวตน และบัญชีธนาคารที่ใช้ในการหักเงินเพื่อลงทุน รวมถึงรับเงินเมื่อขายกองทุน
  5. รออนุมัติ 1 วันทำการ แล้วลงทุนได้เลย

ขั้นตอนที่ 4 ทบทวน และปรับแผน

เพื่อนๆ ควรกลับมาทบทวนแผนการออมการลงทุน ทุกๆ 6 เดือนหรือ 1 ปี เพื่อให้แน่ใจว่าเรายังทำตามแผนอยู่ ซึ่งถ้าทุกอย่างราบรื่น ก็ถือว่าเป็นเรื่องที่ดี แต่ก็ใช่ว่าทุกเป้าหมายจะเป็นไปตามแผนที่วางไว้ได้ เพราะระหว่างทางอาจเจอเหตุการณ์อื่นๆ นอกเหนือจากเป้าหมายเข้ามาแทรก ซึ่งเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้
 
ดังนั้นหากทุกๆ 6 เดือน หรือ 1 ปี มาทบทวนแผนแล้วเห็นว่ามีหลายๆ เป้าหมายหลุดจากแผนไป เพื่อนๆ สามารถปรับแผนการออม การลงทุนใหม่ให้เหมาะสมได้ อาจจะเพิ่มระยะเวลาให้มากขึ้น ลดจำนวนเงินออมในแต่ละเดือนลง เพื่อให้ยังสามารถทำตามแผนได้

และนี่ก็เป็น 4 ขั้นตอนที่ทีมงานตั้งใจให้เพื่อนๆ ได้ไปปรับใช้ให้เข้ากับเป้าหมายของตัวเอง ขอให้เพื่อนๆ ทุกคนตั้งเป้าหมาย และทำตามแผนได้สำเร็จ แต่ถ้าไม่สำเร็จตามที่วางแผนไว้ ก็ไม่ต้องกดดันตัวเองจนเกินไป ลองขยับขยายเวลา หรือ ลดจำนวนเงินออม เพื่อรักษาวินัยให้เรายังออมเงินต่อไป และเพื่อนๆ จะสำเร็จในทุกๆ เป้าหมายอย่างแน่นอนครับsmiley
แท็กที่เกี่ยวข้อง วางแผนการเงิน วางแผนเกษียณ วางแผนการเงินแบบมืออาชีพ ทริคการเงิน วางแผนการเงินปี 2566
Money Guru
เขียนโดย เช็คราคา.คอม Money Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่



เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)