x
icon-filter ค้นหาบ้าน
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter

ปัญหาบ้านหน้าฝน : Step เคลียร์บ้านหลังน้ำลด กลับเข้าบ้านอย่างไรให้ปลอดภัย

icon 24 ต.ค. 66 icon 1,752
ปัญหาบ้านหน้าฝน : Step เคลียร์บ้านหลังน้ำลด กลับเข้าบ้านอย่างไรให้ปลอดภัย
หากบ้านเราเกิดน้ำท่วมนิดหน่อยก็คงทำความสะอาดได้ไม่ยากนัก แต่ถ้าหากท่วมถึงเข่า ถึงเอวขึ้นไปแล้วล่ะก็เรียกได้ว่าเป็นงานใหญ่เลยค่ะ เพราะทั้งแบคทีเรีย เชื้อโรคต่างๆ มาแบบเต็มๆ รวมถึงอาจจะมีสัตว์มีพิษ เช่น งู ตะขาบ ซ่อนตัวอยู่ได้ตามเฟอร์นิเจอร์หรือตามซอกต่างๆ และที่สำคัญที่สุดคือ กระแสไฟฟ้าที่ไม่มั่นใจเลยว่าจะช็อตเราหรือเปล่า วันนี้เราเลยมีวิธีเบื้องต้นในการก้าวเท้าเข้าไปในบ้านเมื่อน้ำลดแล้วค่ะ ควรจะทำอะไรก่อน และต้องเตรียมตัวยังไงไปดูกันเลย

1. เตรียมอุปกรณ์ป้องกันตัวเอง

อันดับแรก คือต้องเตรียมความพร้อมให้กับตัวเองก่อนเลยค่ะ ซึ่งอุปกรณ์ที่เป็นเหมือนเกราะป้องกันมีดังต่อไปนี้
1. ชุดที่รัดกุมและทะมัดทะแมง - ควรเป็นเสื้อแขนยาว กางเกงขายาวเพราะจะได้ป้องกันผิวหนังจากการระคายเคืองต่างๆ 
2. ถุงมือยาง - ป้องกันไม่ให้มือสัมผัสเชื้อโรคโดยตรงและยังป้องกันไฟดูดได้ด้วย
3. รองเท้าบูท - เมื่อน้ำลดก็จะมีโคลนตมมากับน้ำ ดังนั้นรองเท้าบูทเป็นรองเท้าที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการเข้ามาดูบ้านครั้งแรกค่ะ ป้องกันเชื้อโรค ไฟดูด และป้องกันการบาดเจ็บจากของหล่นใส่ได้ระดับหนึ่งด้วย
4. แว่นตาที่ครอบทั้งตา - ป้องกันมาหลายอย่างก็อย่าลืมดวงตาของเราด้วยค่ะ เพราะหลังน้ำลดเชื้อโรคเยอะมาก เชื้อโรคเหล่านี้อาจจะเป็นละอองเล็กๆ มาเข้าตาเป็นเหตุให้ตาเราอักเสบได้
5. หน้ากากกรองฝุ่น - ถ้ามีชนิด N95 ก็ควรใช้แบบนั้นเลยค่ะ เพราะจะกรองทั้งฝุ่นละออง เชื้อโรค และกลิ่นอับได้ 
6. ไฟฉาย - เมื่อเข้าไปในบ้านครั้งแรกก็ควรจะเปิดประตูและหน้าต่างออกให้หมดเพื่อระบายอากาศและให้แสงเข้า แต่นั่นก็อาจจะไม่เพียงพอให้เราเห็นสิ่งของหรือสัตว์ต่างๆ ในมุมบ้าน ดังนั้นควรพกไฟฉายติดตัวไปด้วย
7. หมวกนิรภัย - ป้องกันของหรือชิ้นส่วนต่างๆ ที่ผุพังของบ้านพังลงมา

2. เช็คโครงสร้างของบ้าน

เมื่อเตรียมตัวพร้อมแล้วก่อนจะเข้าไปในบ้านควรจะเช็คโครงสร้างกันก่อนเลยค่ะ ไม่ว่าจะจากกระแสน้ำกัดเซาะหรือวัสดุบางอย่างเมื่อโดนน้ำก็จะมีความชื้นและการผุกร่อนไป เช่น เหล็ก หรือไม้ ดังนั้นเราควรเช็คโครงสร้างก่อนว่ายังอยู่ในสภาพที่แข็งแรง อาศัยอยู่ต่อได้ และมั่นใจว่าจะไม่มีอะไรพังมาทับผู้อยู่อาศัยภายหลัง และการเข้าไปเช็คบ้านนั้นควรไปกันหลายๆ คน แต่ไม่ควรเข้าไปในบ้านทั้งหมด เพราะถ้าหากเกิดอุบัติเหตุขึ้นคนที่อยู่ด้านนอกก็จะได้เข้าช่วยเหลือได้ทันท่วงที รวมถึงเข้าไปแล้วควรถ่ายรูปไว้เป็นหลักฐานเอาไว้สำหรับกรณีชดเชยความเสียหายด้วย

3. เดินระบบไฟใหม่ทั้งหมด

ถึงแม้ว่าน้ำจะลด ปลั๊กไฟต่างๆ จะแห้งแล้วก็ไม่ควรใช้ไฟฟ้าทันที ห้ามสัมผัสสื่อไฟฟ้าทั้งหมดจนกว่าจะให้ช่างไฟฟ้าที่มีความรู้ความชำนาญช่วยตรวจสอบให้ รวมถึงควรทิ้งอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ ที่ถูกน้ำท่วมไปแล้ว ตัดใจทิ้งดีกว่านะคะเพราะจะได้ไม่คุ้มเสีย

4. ทำความสะอาดบ้านและสิ่งของต่างๆ

ข้าวของเครื่องใช้ที่ถูกน้ำท่วมแล้วนั้นต้องทำความเข้าใจก่อนว่าบางอย่างสามารถทำความสะอาดนำกลับมาใช้ได้ แต่บางอย่างนั้นไม่ควรนำกลับมาใช้แล้ว ณ จุดนี้เจ้าของบ้านก็ควรเผื่อใจไว้ส่วนหนึ่ง อาทิ ที่นอน เฟอร์นิเจอร์ที่ทำจากไม้สังเคราะห์ ไม้อัด หมอน ตุ๊กตาต่างๆ ควรจะทิ้งค่ะ ส่วนของอื่นๆ ถ้ายังโครงสร้างดีอยู่ก็ทำความสะอาดตามวิธีดังนี้ได้เลย
1. ขนของออกจากบ้านให้หมด - เพราะถ้าถูหรือเช็ดไปทั้งๆ ที่เลอะอยู่แบบนั้นก็จะไม่เสร็จสักที ควรขนเฟอร์นิเจอร์ของใช้ออกไปก่อนเพื่อความสะดวกในการทำความสะอาดพื้นและผนัง
2. ล้างผนัง กำแพง พื้น - เริ่มต้นจากผนังก่อนค่ะ ขัดล้างให้เต็มที่เลยไม่ต้องกลัวสีหลุด ถ้าใครติดวอลเปเปอร์ควรลอกออกมาดีที่สุด มิฉะนั้นแล้วเชื้อรามาแน่ๆ ในส่วนของพื้นให้กวาดดินออกให้หมด รื้อวัสดุปูพื้นออก เช่น เสื่อน้ำมัน พรม หรือไม้สังเคราะห์ที่บวมแล้ว จากนั้นขัดพื้นให้สะอาดควรผสมน้ำยาฆ่าเชื้อโรคร่วมด้วย จากนั้นให้เป่าด้วยพัดลมใบพัดความแรงสูง เพื่อเร่งให้ความชื้นออกไปจากตัวบ้าน
3. ทำความสะอาดเฟอร์นิเจอร์และเครื่องใช้ - เฟอร์นิเจอร์ที่ทำจากผ้า ฟองน้ำ ใยสังเคราะห์ต่างๆ หากยังอยากใช้ต่อควรเลาะวัสดุหุ้มภายนอกออกและทำใหม่ไปเลย ไม่เช่นนั้นแล้วอาจจะเป็นเหตุให้เชื้อรามาหาเราได้ ส่วนจาน ชามต่างๆ ล้างน้ำเปล่าจากนั้นนำไปต้มในน้ำเดือดเพื่อฆ่าเชื้อโรคก่อนนำมาใช้ ส่วนเสื้อผ้าให้ล้างด้วยน้ำเปล่า ซักด้วยน้ำยาซักผ้า และแช่น้ำยาฆ่าเชื้อ ส่วนเฟอร์นิเจอร์ที่ทำมาจากไม้ไม่ควรนำไปตากแดด ควรปล่อยให้แห้งไว้ในที่โล่งปกติ

5. ห้ามใช้น้ำจากก๊อกโดยตรง

เมื่อเกิดน้ำท่วมแน่นอนว่าท่อประปาก้ต้องท่วมด้วย แรกๆ ที่เปิดมาอาจมีโคลนออกมาด้วยสีอาจจะคล้ายชานมหรือชาเย็น เมื่อเปิดไปเรื่อยๆ อาจจะใสขึ้นแต่อย่าเพิ่งมั่นใจเรื่องความสะอาด ควรนำน้ำมาต้มก่อนบริโภค

6. ทำความสะอาดบ้านหมดแล้ว แต่กลิ่นไม่หาย

ปัญหานี้อาจจะมาจากความชื้นภายในบ้าน ควรเปิดประตู - หน้าต่าง เปิดพัดลมเพื่อระบายอากาศ วางมะกรูดหรือน้ำหอมปรับอากาศตามมุมห้องก็จะช่วยได้ แต่ถ้าเป็นกลิ่นเหม็นจากท่อที่อาจจะตันด้วยดิน โคลน เศษต่างๆ ที่มากับน้ำแนะนำให้ใช้เบกกิ้งโซดา+น้ำส้มสายชู 1:1 แล้วราดด้วยน้ำเดือดจะช่วยให้ท่อที่ตันอยู่หายไปได้ค่ะ
หวังว่า Step ในการเคลียร์บ้านที่เช็คราคารวมมาให้จะเป็นประโยชน์กับทุกท่านนะคะ หรือใครที่น้ำยังไม่ท่วมอ่านไว้เพื่อเตรียมตัวก็ไม่เสียหาย เพราะสิ่งที่ห้ามไม่ได้เลยก็คือ อุบัติภัยทางธรรมชาติ รู้ไว้ก่อนก็รับมือและแก้ปัญหาได้ก่อน 
แท็กที่เกี่ยวข้อง เคลียร์บ้านหลังน้ำท่วม ปัญหาบ้านหน้าฝน ดูแลบ้านช่วงหน้าฝน
Property Guru
เขียนโดย เช็คราคา.คอม Property Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)