ประเมินวงเงินรู้ผลใน 3 นาที

กับ กรุงศรี ออโต้ พร้อมสตาร์ท

เริ่มประเมินวงเงินพร้อมสตาร์ท
ผ่านมือถือ สแกนเลย

ดูวงเงินพร้อมสตาร์ทที่ได้รับ

เคยรู้รึเปล่า? "ค่าธรรมเนียมชาร์จบัตรเครดิต" ไม่จ่ายก็ได้นะ!

icon 19 มี.ค. 61 icon 71,286
เคยรู้รึเปล่า? "ค่าธรรมเนียมชาร์จบัตรเครดิต" ไม่จ่ายก็ได้นะ!

เคยรู้รึเปล่า? "ค่าธรรมเนียมชาร์จบัตรเครดิต" ไม่จ่ายก็ได้นะ!

เคยมั้ย??... เวลาไปซื้อของ หรือกินข้าวที่ห้างสรรพสินค้าใหญ่ๆ แล้วหยิบบัตรเครดิตขึ้นมาจ่าย ส่วนใหญ่ "เราจะไม่ค่อยถูกชาร์จค่าธรรมเนียมบัตรเครดิต" กันเท่าไหร่นัก แต่เวลาจะไปรูดบัตรเครดิตที่ร้านค้าเล็กๆ นอกห้าง หรือร้านค้าทั่วๆ ไป ก็อดที่จะถามก่อนรูดไม่ได้ว่า "ขอโทษนะคะ.. จ่ายด้วยบัตรเครดิตได้มั้ย แล้วมีชาร์จเพิ่มมั้ย?" และถ้าคำตอบที่ได้คือ "ชาร์จ 3%" ปุ๊บ! เราก็แทบจะวิ่งไปกดเงินสดมาจ่ายทันที! โดยหารู้ไม่ว่า จริงๆ แล้วเราสามารถปฏิเสธการจ่ายค่าธรรมเนียมชาร์จบัตรเครดิตนั้นได้ เพราะอะไร? ไปดูคำตอบกัน
ค่าธรรมเนียมชาร์จบัตรเครดิต คืออะไร?
 ก่อนอื่นเรามาดูกันว่า.. เจ้าค่าธรรมเนียมที่ร้านค้าชาร์จเวลารูดบัตรเครดิต มันคืออะไร?
 จริงๆ แล้ว ค่าธรรมเนียมชาร์จบัตรเครดิต.. ที่ร้านค้าเรียกเก็บจากลูกค้านั้น เป็นหน้าที่ของร้านค้าที่จะต้องจ่ายให้กับธนาคารเจ้าของเครื่องรูดบัตร แต่ร้านค้าบางร้านก็ผลักภาระมาให้ลูกค้าหรือผู้บริโภคด้วยการเรียกเก็บจากลูกค้าแทน ส่วนใหญ่จะชาร์จตั้งแต่ 0.1% - 3% แต่มันมีระเบียบข้อบังคับของบริษัทบัตรเครดิตวีซ่า มาสเตอร์การ์ด ที่กำหนดไว้ว่า "ร้านค้าไม่มีสิทธิ์เรียกเก็บค่าธรรมเนียมการรูดบัตรเพื่อซื้อสินค้าจากลูกค้า" หากร้านไหนทำผิดระเบียบตรงนี้.. ธนาคารเจ้าของเครื่องสามารถยึดเครื่อง EDC คืนได้ทันที คำถามก็คือ.. ทำไมร้านค้าบางร้านถึงต้องชาร์จค่าธรรมเนียมเพิ่มจากลูกค้าล่ะ?
มีใครได้ - ใครเสีย จากการรูดบัตรเครดิตแต่ละครั้ง?
เวลาที่เราไปซื้อสินค้า/ บริการอะไรก็ตาม และจ่ายด้วยบัตรเครดิต เราในฐานะที่เป็นลูกค้าเป็นคนจ่ายเงิน อาจจะไม่รู้ว่าลึกๆ แล้ว การเรียกเก็บเงินผ่านบัตรเครดิตนั้นมันมีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง? จึงอยากจะนำเสนอให้ได้ทราบกันว่า ขั้นตอนการจ่ายเงินผ่านบัตรเครดิตที่ใช้เวลาเพียงไม่กี่วินาทีนั้น มันมี process อย่างไร และใครได้ค่าธรรมเนียมเท่าไหร่กันบ้าง?
ลองมาดูว่าผู้ที่มีส่วนร่วมในการจ่ายเงินผ่านบัตรเครดิตนั้นมีใครบ้าง?
 ลูกค้าที่จ่ายเงิน
 ร้านค้าที่รับเงิน
 ธนาคารเจ้าของบัตรเครดิตของลูกค้า
 ธนาคารเจ้าของเครื่องรูดบัตรของร้านค้า
 ตัวกลางในการชำระเงินระหว่างธนาคารเจ้าของบัตรเครดิตของลูกค้า และธนาคารเจ้าของเครื่องรูดบัตรของร้านค้า เช่น VISA, MasterCard, JCB, Unionpay เป็นต้น
ยกตัวอย่างง่ายๆ.. ลูกค้าซื้อสินค้า 1 ชิ้น ราคา 100 บาท จ่ายเงินด้วยบัตรเครดิต SCB Ultra Platinum (ประเภท VISA) ณ ร้านค้าที่มีเครื่องรูดบัตรของธนาคารกสิกรไทย จะมีขั้นตอนการจ่ายเงินดังนี้

Step 1
ไทยพาณิชย์รับเงินจากลูกค้าจำนวน 100 บาท ส่งต่อเงินไปยัง VISA จำนวน 98.20 บาท นั่นหมายความว่าไทยพาณิชย์จะได้รับเงินค่าธรรมเนียมเป็นจำนวน 1.80 บาท ในฐานะที่เป็นธนาคารเจ้าของบัตรเครดิต

Step 2
หลังจากที่ VISA ได้รับเงินจำนวน 98.20 บาท แล้ว จะส่งเงินต่อไปที่กสิกรไทย (ธนาคารเจ้าของเครื่องรูดบัตร) จำนวน 98.09 บาท นั่นหมายความว่า VISA จะคิดค่าธรรมเนียมการเป็นตัวกลางในการชำระเงินจำนวน 0.11 บาท

Step 3
หลังจากที่กสิกรไทย ได้รับเงินจำนวน 98.09 บาท แล้ว จะส่งต่อไปยังร้านค้าด้วยจำนวนเงิน 97.76 บาท โดยคิดเป็นค่าธรรมเนียมจำนวน 0.33 บาท จากการเป็นธนาคารเจ้าของเครื่องรูดบัตร

ใครได้ค่าธรรมเนียมเยอะที่สุด?
จากตัวเลขค่าธรรมเนียมที่มองเห็นได้ชัดคือ ธนาคารเจ้าของบัตรเครดิตได้รับค่าธรรมเนียมเยอะที่สุดถึง 1.80 บาท แต่อย่าลืมว่าธนาคารเจ้าของบัตรฯ ก็ต้องนำเงินไปเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดแคมเปญต่างๆ ให้ลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นคะแนนสะสม หรือ Cash Back ต่างๆ หรือเรียกว่าต้องใช้ต้นทุนในการจัดการมากที่สุดก็ได้ เพื่อเป็นแรงจูงใจให้ลูกค้าเก่าอยากใช้บัตรเครดิตต่อไป ลูกค้าใหม่อยากสมัครบัตรเครดิตมากขึ้น ในขณะที่ธนาคารเจ้าของเครื่องรูดบัตรฯ ได้รับเงินค่าธรรมเนียมรองลงมาคือ 0.33 บาท แต่ใช้แค่ต้นทุนในการจัดหาร้านค้าเพื่อติดตั้งเครื่องรูดบัตรของตนเท่านั้น

และสุดท้าย.. ตัวกลางในการชำระเงินผ่านบัตรเครดิตที่ได้รับค่าธรรมเนียมเพียง 0.11 บาท มองดูเผินๆ อาจจะดูเป็นตัวเลขที่น้อยนิด แต่ถือว่าเป็นองค์กรที่ไม่ต้องเจอความเสี่ยงมากเท่ากับอีก 2 องค์กรที่กล่าวมา และใช้ต้นทุนในการดำเนินงานค่อนข้างน้อย เพราะไม่ต้องออกไปหาลูกค้าหรือหาร้านค้า แต่ก็ต้องลงทุนกับการสร้างภาพลักษณ์ความเป็นแบรนด์บัตรของตนเอง และด้วยความเป็นสังคมไร้เงินสดในปัจจุบัน ที่รณรงค์ให้มีการใช้บัตรกันมากกว่าใช้เงินสด ทำให้มองภาพในอนาคตได้ว่า Transactions ของการใช้บัตรต่างๆ น่าจะมีแนวโน้มสูงขึ้น.. แล้วประโยชน์สูงสุดจะตกไปไหนอื่นไกลได้ล่ะคะ
สรุป : ค่าธรรมเนียมชาร์จบัตรเครดิต ลูกค้าไม่จ่ายได้มั้ย?
จากภาพแสดงการจ่ายเงินผ่านบัตรเครดิต 100 บาท (ด้านบน) ผ่านขั้นตอนกระบวนการต่างๆ จากหน่วยงานผู้ที่เกี่ยวข้องในการชำระเงินทั้งหมด ก็น่าจะพอชี้ให้เห็นคร่าวๆ แล้วว่าเงินตกไปถึงร้านค้าแค่เพียง 97.76 บาท ซึ่งร้านค้าก็ได้รับไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วยสักเท่าไหร่ จึงทำให้ร้านค้าบางร้าน (เล็กๆ) ที่มีต้นทุนในการผลิต - การขายน้อย เรียกเก็บเงินค่าธรรมเนียมชาร์จบัตรเครดิตเพิ่มจากลูกค้าผู้ถือบัตรฯ และเราในฐานะที่เป็นลูกค้า เป็นคนจ่ายเงิน ก็คงจะได้คำตอบกันแล้วว่า สมควรจ่ายเงินจำนวนนั้นๆ หรือไม่? ถ้าการจ่ายด้วยบัตรเครดิตแล้วต้องเสียค่าธรรมเนียมการรูดเพียงเล็กน้อยเพื่อแลกกับความสะดวกสบาย และความรวดเร็วในบางครั้ง ก็ไม่น่าจะเสียหายอะไร แต่ถ้าร้านค้ามีช่องทางในการชำระเงินอื่นๆ นอกเหนือจากบัตรเครดิต เช่น QR Code หรือพร้อมเพย์ ก็ถือว่าเป็นอีกตัวเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ เพราะจะทำให้ทั้งเราและร้านค้าไม่มีใครได้ -ใครเสียผลประโยชน์.. จริงมั้ยคะ?
แท็กที่เกี่ยวข้อง บัตรเครดิต credit card
Money Guru
เขียนโดย เช็คราคา.คอม Money Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่

แนะนำ Big bike ล่าสุด

ดูทั้งหมด
Suzuki | Burgman
ซูซูกิ Suzuki Burgman 400 ABS ปี 2024
Honda | Forza
ฮอนด้า Honda Forza 350 Special Edition H2C by Honda ปี 2025
Kawasaki | Ninja
คาวาซากิ Kawasaki Ninja ZX-6R ปี 2025
Yamaha | XMAX
ยามาฮ่า Yamaha XMAX Connected ปี 2025
Triumph | Tiger
ไทรอัมพ์ Triumph Tiger Sport 660 ปี 2025
Harley-Davidson | Pan America 1250
ฮาร์ลีย์-เดวิดสัน Harley-Davidson Pan America 1250 ST ปี 2025
Ducati | Panigale
ดูคาติ Ducati Panigale V2 ปี 2025
Honda | ADV
ฮอนด้า Honda ADV 350 (Standard) ปี 2025



เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)