ประเมินวงเงินรู้ผลใน 3 นาที

กับ กรุงศรี ออโต้ พร้อมสตาร์ท

เริ่มประเมินวงเงินพร้อมสตาร์ท
ผ่านมือถือ สแกนเลย

ดูวงเงินพร้อมสตาร์ทที่ได้รับ

รูดบัตรเครดิตต่างประเทศ: รู้มั้ยแต่ละบัตรชาร์จค่าธรรมเนียมกันเท่าไร?

icon 24 ต.ค. 67 icon 456,925
รูดบัตรเครดิตต่างประเทศ: รู้มั้ยแต่ละบัตรชาร์จค่าธรรมเนียมกันเท่าไร?
เวลาไปเที่ยวต่างประเทศ หลายคนนิยมใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิต เพราะว่าสะดวก และค่อนข้างปลอดภัย ไม่ต้องพกเงินสดเยอะๆ แถมยังมีโปรโมชันพิเศษเพิ่มเติมจากบริษัทบัตรเครดิตต่างๆ โดยปกติเวลาเราใช้บัตรเครดิตที่ต่างประเทศ จะมีการชาร์จค่าธรรมเนียมที่เรียกว่า "ค่าความเสี่ยงจากการแปลงสกุลเงิน" ด้วยซึ่งหลายคนอาจสงสัยว่า เอ๊ะ.. ชาร์จแบบนี้รวมไปรวมมาจะซื้อของได้ราคาถูกหรือแพงกว่าที่เมืองไทยกันแน่? วันนี้เราก็ได้รวบรวมข้อมูลมาให้เพื่อนๆ ดูกันว่า แต่ละธนาคารชาร์จ "ค่าความเสี่ยงจากการแปลงสกุลเงิน" กันเท่าไหร่บ้าง? พร้อมกับวิธีการคำนวณง่ายๆ ซึ่งจะทำให้เราคำนวณได้เองคร่าวๆ ว่า ตกลงที่เราใช้บัตรเครดิตซื้อของที่เมืองนอกนั้น จริงๆ แล้วจะออกมาถูกหรือแพงแค่ไหน ถ้าหากต้องบวกค่าธรรมเนียมพวกนี้เข้าไปด้วยค่ะ

สูตรการคำนวณเป็นเงินบาทเวลารูดบัตรเครดิตที่ต่างประเทศ พร้อมตัวอย่าง

เวลาเราใช้บัตรเครดิตไปรูดซื้อของที่ต่างประเทศ เราจะไม่ได้เสียแค่เงินค่าซื้อของเท่านั้น เราจะต้องเสียค่าธรรมเนียมความเสี่ยงจากการแปลงสกุลเงินด้วย ซึ่งทุกธนาคารจะชาร์จค่าธรรมเนียมเหล่านี้ เพราะถือว่าธนาคารก็ต้องลดความเสี่ยงในเรื่องความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนที่ขึ้นๆ ลงๆ ทุกวันด้วยเช่นกัน ซึ่งไม่ว่าเราจะรูดบัตรฯ เป็นสกุลเงินตราต่างประเทศอะไรก็ตาม ถ้าไม่ได้รูดเป็น USD จะต้องนำไปแปลงเป็น USD ก่อนเสมอ และจะต้องแปลงจากหน่วยเงินสกุล USD มาเป็น THB อีกครั้งก่อนที่จะนำไปคำนวณรวมกับค่าความเสี่ยงจากการแปลงสกุลเงิน ซึ่งเราสามารถคำนวณได้ง่ายๆ ดังนี้
 
สูตรคำนวณค่าความเสี่ยงจากการแปลงสกุลเงิน : A = { (C/B) x D} + 2%*
 
🔹A =  ยอดเงินที่จะถูกเรียกเก็บ รวมค่าความเสี่ยงที่เกิดจากการแปลงสกุลเงิน (สกุลเงินบาท)
🔹B = อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐ (USD) ต่อจำนวนหน่วยสกุลเงินตราต่างประเทศที่ใช้จ่ายผ่านบัตรฯ (สามารถตรวจสอบอัตราแลกเปลี่ยนได้จากเว็บไซต์บริษัทบัตรนั้นๆ )
🔹C =  อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐ (USD) ต่อจำนวนหน่วยสกุลเงินบาท (สามารถตรวจสอบอัตราแลกเปลี่ยนได้จากเว็บไซต์บริษัทบัตรนั้นๆ )
🔹D =  ยอดเงินตราต่างประเทศที่ใช้จ่ายผ่านบัตรฯ (ตามที่ปรากฎในเซลล์สลิป)

*2% คือตัวอย่างอัตราค่าความเสี่ยงจากการแปลงสกุลเงิน ในที่นี้ยกตัวอย่างของบัตรเครดิตเคทีซี
ขอบคุณข้อมูลจาก www.ktc.co.th
 
การแปลงค่าเงินเป็น USD เราสามารถใช้อัตราแลกเปลี่ยนตามแบรนด์บัตรเครดิตที่เรารูดไป โดยดูอัตราแลกเปลี่ยนได้จากเว็บไซต์ต่างๆ ดังนี้ VISA CARD, MASTERCARD, UNION PAY, JCB, AMEX
 
ตัวอย่างวิธีการคำนวณ : นาย A ใช้บัตรเครดิต KTC JCB เพื่อรูดซื้อของที่ประเทศญี่ปุ่นเป็นเงินจำนวน 25,000 เยน ในวันที่ 31 พฤษภาคม 2567 นาย A จะต้องชำระเงินให้กับบริษัท บัตรกรุงไทย (KTC) เป็นเงินไทยบาทเท่าไร ณ วันที่บริษัทฯ เรียกเก็บ?
 
A : ยอดเงินที่จะถูกเรียกเก็บ รวมค่าความเสี่ยงที่เกิดจากการแปลงสกุลเงิน = ?
B : USD 1 = JPY 156.7585
C : USD 1 = THB 36.72
D : ยอดเงินที่ใช้ไป 25,000 JPY 
*ค่าความเสี่ยงจากการแปลงสกุลเงิน บัตรเครดิต KTC = 2%
 
สามารถแทนค่าตามสูตรการคำนวณได้ดังนี้ :
 
▶️ สูตรการคำนวณ A = { (C/B) x D} + 2%*

▶️ แทนค่า {(36.72/156.7585) x 25,000} + 2%  = 5,973.265 บาท โดยประมาณ
 
ดังนั้น ณ วันที่บริษัทบัตรเครดิตเรียกเก็บเงินตามรอบบิล นาย A จะต้องจ่ายเงินสำหรับการใช้จ่ายเป็นเงินสกุล JPY 25,000 เยน รวมค่าความเสี่ยงจากการแปลงสกุลเงินแล้วเป็นเงิน 5,973.265 บาท

ตารางแสดง "ค่าความเสี่ยงจากการแปลงสกุลเงิน" ของบัตรเครดิตแต่ละสถาบันการเงิน

"ค่าความเสี่ยงจากการแปลงสกุลเงิน" ของแต่ละธนาคาร หรือสถาบันการเงินในไทย จะเป็นไปตามตารางข้างล่างนี้ค่ะ ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะอยู่ระหว่าง 2.0% - 2.5% ของยอดค่าใช้จ่าย แต่บางช่วงเวลา บางธนาคารก็จะมีโปรโมชันส่วนลดค่าธรรมเนียมความเสี่ยงฯ ให้เราได้ช้อปปิ้งกันแบบชิลๆ ค่ะ ซึ่งก็ต้องคอยติดตามโปรโมชันของแต่ละธนาคารกันดู ส่วนค่าธรรมเนียมความเสี่ยงฯ หลักๆ จะเป็นดังตารางด้านล่างนี้
 
ธนาคาร/สถาบันการเงิน ค่าความเสี่ยงจากการแปลงสกุลเงิน (ปกติ)
​บัตรเครดิตธนาคารกรุงเทพ
ไม่เกิน 2.5% ของยอดค่าใช้จ่าย
​บัตรเครดิตธนาคารกสิกรไทย
ไม่เกิน 2.5% ของยอดค่าใช้จ่าย
​บัตรเครดิต เซ็นทรัล เดอะวัน
ไม่เกิน 2.5% ของยอดค่าใช้จ่าย
บัตรเครดิตธนาคารทหารไทยธนชาต
ไม่เกิน 2.5% ของยอดค่าใช้จ่าย
บัตรเครดิต โลตัส
ไม่เกิน 2.5% ของยอดค่าใช้จ่าย
บัตรเครดิต​ธนาคารไทยพาณิชย์
ไม่เกิน 2.5% ของยอดค่าใช้จ่าย
บัตรเครดิตคาร์ด เอ็กซ์
ไม่เกิน 2.5% ของยอดค่าใช้จ่าย
บัตรเครดิต​แบงค์ออฟไชน่า
ไม่เกิน 2.5% ของยอดค่าใช้จ่าย
​บัตรกรุงไทย
ไม่เกิน 2.0% ของยอดค่าใช้จ่าย
​บัตรกรุงศรีอยุธยา
ไม่เกิน 2.5% ของยอดค่าใช้จ่าย
บัตรเครดิตกรุงศรีเฟิร์สช้อยส์
ไม่เกิน 2.5% ของยอดค่าใช้จ่าย
บัตรเครดิต​ธนาคารยูโอบี
ไม่เกิน 2.5% ของยอดค่าใช้จ่าย
บัตรเครดิต​อเมริกัน เอ็กซ์เพรส
ไม่เกิน 2.5% ของยอดค่าใช้จ่าย
​บัตรเครดิตธนาคารออมสิน
ไม่เกิน 2.5% ของยอดค่าใช้จ่าย
​บัตรเครดิตอิออน
ไม่เกิน 2.5% ของยอดค่าใช้จ่าย
​บัตรเครดิตธนาคารไอซีบีซี (ไทย)
ไม่เกิน 2.0% ของยอดค่าใช้จ่าย
 
ได้วิธีการคำนวณค่าความเสี่ยงจากการแปลงสกุลเงิน และอัตราที่ธนาคารต่างๆ คิดกันไปแล้ว เวลาไปเที่ยวต่างประเทศเราก็จะสามารถคำนวณค่าใช้จ่ายได้เองเบื้องต้น แต่ที่สำคัญกว่าคือ หากเราชื่นชอบการท่องเที่ยวในต่างประเทศ และใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตอยู่เป็นประจำ ก็ควรเลือกสมัครบัตรเครดิตให้เหมาะสมและตรงกับไลฟ์สไตล์การใช้จ่ายของเราด้วยนะคะ หรืออาจจะใช้บัตรเครดิตที่มีค่าความเสี่ยงจากการแปลงสกุลเงินน้อยๆ เข้าไว้ เพื่อความประหยัดและคุ้มค่าที่สุดของการใช้จ่ายค่ะ

หมายเหตุ :
  1. ค่าความเสี่ยงจากการแลกเปลี่ยนสกุลเงิน คิดจากค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่ผ่านบัตรเครดิต รวมไปถึงการถอนเงินสด (Cash Advance) ที่เป็นสกุลเงินต่างประเทศ โดยจะถูกเรียกเก็บเป็นสกุลเงินบาทไทยตามอัตราแลกเปลี่ยนที่สถาบันการเงินนั้นๆ ถูกเรียกเก็บจากบริษัทบัตรเครดิตที่สถาบันการเงินนั้นเป็นสมาชิกอยู่ ณ วันที่มีการเรียกเก็บยอดค่าใช้จ่ายดังกล่าวกับสถาบันการเงิน
  2. ในกรณีที่สกุลเงินต่างประเทศที่ทำรายการผ่านบัตรเครดิตไม่ใช่สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ ยอดค่าใช้จ่ายดังกล่าวจะถูกแปลงเป็นสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐก่อนที่จะทำการแปลงเป็นสกุลเงินบาทเพื่อเรียกเก็บ
  3. *การยกเว้นค่าธรรมเนียมความเสี่ยงจากการแปลงสกุลเงินจากบัตรเครดิตยูเนียนเพย์ธนาคารแห่งประเทศจีน จำกัดสิทธิพิเศษเฉพาะการใช้จ่ายผ่านบัตรฯ ภายในประเทศจีนเท่านั้น (Mainland)
  4. บทความนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นการรวบรวมข้อมูลค่าความเสี่ยงจากการแลกเปลี่ยนสกุลเงิน และอัตราแลกเปลี่ยนของแต่ละประเภทบัตรอ้างอิงตามบริษัทบัตร VISA, MASTER, UNION PAY, JCB และ AMEX หากมีค่าใช้จ่ายอื่นใดที่ธนาคารเจ้าของบัตรเรียกเก็บเพิ่มเติม โปรดสอบถามโดยตรงจากสถาบันการเงินผู้ออกบัตรฯ นั้นๆ
แท็กที่เกี่ยวข้อง บัตรเครดิต credit card สมัครบัตรเครดิต shopping ค่าธรรมเนียมการแปลงสกุลเงิน ค่า FX Rate คำนวณอย่างไร ค่า FX Rate ธนาคารไหนคิดเท่าไหร่บ้าง ซื้อของต่างประเทศชาร์จค่าธรรมเนียมแพงหรือไม่
Money Guru
เขียนโดย ชนานาถ จินตกสิกรรม Money Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่

แนะนำ Big bike ล่าสุด

ดูทั้งหมด
Suzuki | Burgman
ซูซูกิ Suzuki Burgman 400 ABS ปี 2024
Honda | Forza
ฮอนด้า Honda Forza 350 Special Edition H2C by Honda ปี 2025
Kawasaki | Ninja
คาวาซากิ Kawasaki-Ninja ZX-6R-ปี 2025
Yamaha | XMAX
ยามาฮ่า Yamaha XMAX Connected ปี 2025
Triumph | Tiger
ไทรอัมพ์ Triumph Tiger Sport 660 ปี 2025
Harley-Davidson | Pan America 1250
ฮาร์ลีย์-เดวิดสัน Harley-Davidson Pan America 1250 ST ปี 2025
Ducati | Panigale
ดูคาติ Ducati Panigale V2 ปี 2025
Honda | ADV
ฮอนด้า Honda ADV 350 (Standard) ปี 2025



เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)