ประเมินวงเงินรู้ผลใน 3 นาที

กับ กรุงศรี ออโต้ พร้อมสตาร์ท

เริ่มประเมินวงเงินพร้อมสตาร์ท
ผ่านมือถือ สแกนเลย

ดูวงเงินพร้อมสตาร์ทที่ได้รับ

เก็บเงินได้แน่ แค่จัดการ และบริหารการใช้เงินให้เป็น

icon 2 มี.ค. 64 icon 6,631
เก็บเงินได้แน่ แค่จัดการ และบริหารการใช้เงินให้เป็น

เก็บเงินได้แน่ แค่จัดการ และบริหารการใช้เงินให้เป็น

หลังจากที่เราผ่านช่วงวิกฤต COVID-19 หลายคนก็ประสบปัญหาทางการเงินในรูปแบบที่แตกต่างกัน ซึ่งในวิกฤตนี้ เราสามารถพลิกสถานการณ์ให้กลายเป็นโอกาสที่เราจะหันมาสำรวจพฤติกรรมด้านการเงินของตัวเองกันนะคะว่า ตลอดช่วงระยะเวลาตั้งแต่เราทำงานมา เราละเลย หรือหย่อนยาน ในเรื่องของกับการเก็บเงินอย่างไรบ้าง และจะได้เริ่มต้นจัดการ และบริหารการใช้เงินกันใหม่ สถานการณ์การเงินของเราก็จะไม่โอนเอนไปตามกระแสที่เกิดขึ้น และจะได้ไม่ต้องมานั่งปวดหัว ต้องมาหาหยิบยืมจากคนอื่นถ้าหากเกิดวิกฤตครั้งต่อไป วันนี้...เรามาเริ่มต้นจัดการการเงินใหม่กับ 4 ขั้นตอนง่ายๆ ไปด้วยกันนะคะ
 จัดลำดับความสำคัญการใช้เงิน
เริ่มต้นง่ายๆ ตั้งแต่วันที่เราได้รับเงินเดือนเลยค่ะ เริ่มจากการจดบันทึกรายรับ - รายจ่ายประจำวันในแบบที่ตัวเองเข้าใจ ซึ่งเมื่อทำไปสักระยะก็จะรู้โดยอัตโนมัติว่าในแต่ละเดือนเราใช้เงินส่วนใหญ่ไปกับเรื่องอะไร จำเป็นหรือไม่จำเป็น และในเดือนถัดไป เราจะสามารถจัดสรร หรือจัดลำดับความสำคัญของการใช้เงินได้อย่างถูกต้อง โดยลำดับแรกเราควรให้ความสำคัญกับเงินออมก่อน เพราะเงินออมไม่ใช่เงินที่เหลือจากการใช้จ่ายในแต่ละเดือน เราควรแบ่งออกมาเก็บไว้ตั้งแต่ได้รับเงินเดือนเลยค่ะ 
โดยเราใช้วิธีจัดสัดส่วนของการเก็บออม และการใช้เงินจากกฏ 50/30/20 PERCENT RULE ซึ่งเป็นวิธีในการแบ่งสัดส่วนของรายรับที่มีอยู่ตามหมวดหมู่ที่เราตั้งไว้ เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการกำหนดจำนวนเงินที่จะใช้จ่ายในแต่ละเดือนค่ะ

สัดส่วน 50% เราจะแบ่งไว้สำหรับการใช้จ่ายในสิ่งที่จำเป็นในการใช้ชีวิตในแต่ละวัน เช่น ค่ากิน ใช้ เดินทาง รวมถึงค่าสาธารณูปโภคต่างๆ เป็นต้น แต่เราไม่จำเป็นต้องใช้ให้หมดทั้ง 50% นี้นะคะ หากเราสามารถประหยัดเพิ่มได้ เราก็เอาเงินส่วนที่เหลือมาเก็บออมเพิ่มได้อีกค่ะ
สัดส่วน 30% เราจะแบ่งไว้สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายในสิ่งที่ต้องการ เพื่อสร้างความสุขให้กับตัวเอง ซื้อของที่เราอยากได้ ถือเป็นการให้รางวัลกับตัวเอง แต่ต้องระวังอย่าใช้ให้เกินกว่าที่เรากำหนดไว้ เพราะแทนที่จะเป็นการสร้างความสุข อาจจะกลายเป็นเพิ่มความทุกข์ให้เราได้นะคะ
สัดส่วน 20% เป็นสิ่งสำคัญที่สุด เพราะเป็นส่วนในการสร้างความมั่งคั่งในอนาคตค่ะ โดยเราอาจจะเก็บเป็นเงินออม หรือนำไปลงทุน เพื่อให้เงินงอกเงยขึ้นนั่นเองค่ะ ซึ่งควรแบ่งเงินในส่วนนี้ไว้เป็นอันดับแรกหลังจากที่เราได้รับเงินเดือนมาเลยนะคะ ส่วนวิธีการเก็บออม หรือช่องทางการลงทุน ก็ควรเลือกวิธีที่เราสะดวก และเข้าใจมากที่สุดค่ะ
ทั้งนี้ เราสามารถปรับเปลี่ยนสูตรการบริหารเงินได้ตามความเหมาะสม โดยอิงจากอายุ รายได้ ค่าใช้จ่าย ภาระหนี้สิน รวมถึงเป้าหมายทางการเงิน และหากเราจัดสรรการใช้เงินในแต่ละเรื่องให้ชัดเจนจะช่วยให้เราสามารถบริหารเงิน และควบคุมค่าใช้จ่ายต่างๆ ได้ดีขึ้นค่ะ
 การใช้จ่ายอย่างประหยัด
การใช้จ่ายอย่างประหยัด ถือเป็นเคล็ดลับที่ง่ายที่สุดที่จะทำให้เรามีเงินเหลือเก็บมากขึ้น เพราะนอกจากเราจะจัดสัดส่วนการใช้เงินได้เป็นอย่างดีแล้ว หากเราใช้จ่ายอย่างประหยัด เราก็จะมีเงินเหลือเก็บจากสัดส่วนอื่นๆ เพิ่มมากขึ้น เช่น หากในสัดส่วนของ 50% ที่เราเก็บไว้ใช้จ่ายเราใช้ไม่หมด พอสิ้นเดือน เราก็สามารถโยกเงินจากสัดส่วนนี้มาเก็บออมเพิ่มได้อีก ก็จะยิ่งช่วยให้เรามีเงินเก็บเพิ่มมากขึ้นค่ะ 
 กู้ยืมเท่าที่จำเป็น
เมื่อเรามีการวางแผนการใช้เงินมาเป็นอย่างดีแล้ว การกู้ยืมเงินก็แทบไม่มีความจำเป็นเลยค่ะ เว้นแต่ เราต้องการจะกู้ยืมเงินเพื่อสร้างความมั่นคงให้กับครอบครัว เช่น กู้ซื้อที่อยู่อาศัย เป็นต้น และเมื่อกู้เงินแล้ว เราก็ควรมาปรับแผนการใช้เงินให้สอดคล้องกันด้วยนะคะ และที่สำคัญ เราควรหลีกเลี่ยงการกู้ยืมเพื่อการบริโภคหรือช้อปปิ้ง เพราะการกู้เงินเพื่อวัตถุประสงค์เหล่านี้ เป็นสัญญาณของการก่อให้เกิดหนี้เกินตัวค่ะ
 บัตรเครดิตใช้ได้ แต่ต้องจ่ายเต็ม
เพราะการใช้บัตรเครดิตถือเป็น Item ที่สะดวกมาก แถมใช้แล้วก็เหมือนเงินในกระเป๋ายังอยู่ครบตลอดเวลา แต่ก็เป็นที่รู้กันดีนะคะว่าดอกเบี้ยบัตรเครดิตนั้นสูงมาก หากเราเลือกชำระคืนแบบขั้นต่ำ ยอดส่วนที่ค้างก็จะก่อดอกเบี้ยเพิ่มให้เราตลอดเวลา ดังนั้น เราควรใช้บัตรเครดิตเท่าที่จำเป็น และต้องชำระหนี้คืนแบบเต็มจำนวนนะคะ เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาหนี้ก้อนใหญ่ที่อาจเกิดขึ้นค่ะ เพราะเมื่อใดก็ตามที่เราใช้บัตรเครดิต และเลือกชำระขั้นต่ำตลอด แล้วเรายังใช้บัตรเครดิตใบนั้นต่อเนื่อง ยอดค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นใหม่ก็จะถูกคิดดอกเบี้ยไปด้วย ก็จะกลายเป็นว่าเราจะมีภาระหนี้ที่เพิ่มขึ้น เพราะดอกเบี้ยบัตรเครดิตที่เพิ่มหลายเด้งนั่นเองค่ะ 

ไม่ว่าที่ผ่านมา เราจะละเลย หรือหย่อนยานในเรื่องของการเก็บออมไปบ้าง แต่หากเราเริ่มต้นใหม่ตั้งแต่วันนี้ และฝึกตัวเองให้มีวินัยด้านการเงิน เชื่อแน่ว่าไม่ว่าจะผ่านมาอีกกี่วิกฤต สถานะทางการเงินของเราก็จะไม่สั่นคลอน และเราจะมีเงินเหลือใช้ เหลือเก็บอย่างแน่นอนค่ะ 
แท็กที่เกี่ยวข้อง บริหารการเงิน การจัดการทางการเงิน ทริคเงินออม การออมเงิน
Money Guru
เขียนโดย ชนานาถ จินตกสิกรรม Money Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่

แนะนำ Big bike ล่าสุด

ดูทั้งหมด
Suzuki | Burgman
ซูซูกิ Suzuki Burgman 400 ABS ปี 2024
Honda | Forza
ฮอนด้า Honda Forza 350 Special Edition H2C by Honda ปี 2025
Kawasaki | Ninja
คาวาซากิ Kawasaki Ninja ZX-6R ปี 2025
Yamaha | XMAX
ยามาฮ่า Yamaha XMAX Connected ปี 2025
Triumph | Tiger
ไทรอัมพ์ Triumph Tiger Sport 660 ปี 2025
Harley-Davidson | Pan America 1250
ฮาร์ลีย์-เดวิดสัน Harley-Davidson Pan America 1250 ST ปี 2025
Ducati | Panigale
ดูคาติ Ducati Panigale V2 ปี 2025
Honda | ADV
ฮอนด้า Honda ADV 350 (Standard) ปี 2025



เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)